สมอ. ยกระดับมาตรฐานเพิ่มศักยภาพธุรกิจ ช่วยให้ SMEs เข้าถึงตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

สมอ. ยกระดับมาตรฐานเพิ่มศักยภาพธุรกิจ

ช่วยให้ SMEs เข้าถึงตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

 

มาตรฐานถือเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มผลผลิตในการจัดส่งงาน ในเวลาเดียวกันมาตรฐานช่วยให้ธุรกิจระบุวิธีการลดต้นทุนและการประกันคุณภาพที่สร้างขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดมาตรฐานสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า ทั้งยังช่วยธุรกิจในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้ในระดับสากล โดย สมอ. มีภารกิจด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยใช้มาตรฐานเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจ สร้างการยอมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า 

มาตรฐานของ สมอ. จึงเป็นเหมือนเครื่องหมายการันตีคุณภาพที่ผู้ประกอบการ SME สามารถนำไปใช้ในทางการตลาด

ทั้งนี้ มาตรฐานของ สมอ. มีหลายระดับ ตั้งแต่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.), มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส(มอก.เอส), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เป็นต้น โดย มอก.เอส ทำขึ้นมาสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะโดยมอก.เอส จะอยู่ระหว่าง มผช. กับ มอก. ผู้ประกอบการอาจพัฒนามาจาก มผช. แล้ว แต่ยังไม่ถึง มอก. ก็สามารถขอการรับรองในส่วนของ มอก.เอส ได้

มอก.เอส เริ่มประกาศใช้ในปี 2561 ผู้ประกอบการที่เคยได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก.เอส ดำเนินธุรกิจ อาทิ ที่นอนยางพารา, ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป, การบริการนวดและสปา, การบริการซักอบรีด, การบริการกำจัดปลวก หนูและแมลง เป็นต้น

สำหรับสถานการณ์ภาพรวมของ SMEs ปรากฏว่ามีบางรายที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ดังนั้น SMEs ควรเน้นเรื่องคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะบางครั้งกระบวนการผลิตของ SMEs ยังเป็นแบบพื้นๆ ทั่วไป และการรักษาคุณภาพยังไม่สม่ำเสมอ 

นอกจากนี้การเข้าสู่กระบวนการเพื่อขอการรับรองด้านคุณภาพยังทำให้ SMEs สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าในการผลิตให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน แม้ SMEs นั้นจะพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดก็ตาม ทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าสินค้าของ SMEs รายนั้นๆ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรองรับเทรนด์หรือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ยกตัวอย่าง เช่น หาก SMEs ผลิตสินค้าและพัฒนาจาก มผช. ไปสู่ มอก.เอส พัฒนาต่อให้ได้ มอก. และต่อไปถึงมาตรฐานสากล เป็นต้น

ในปัจจุบันเทรนด์ของการมาตรฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งยกระดับไปสู่ระบบการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความมั่นคงทางวัตถุดิบและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ สมอ.ได้กำหนดมาตรฐานเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว โดย SMEs ควรปรับตัวเรื่องกระบวนการผลิต เน้นกระบวนการนำวัตถุดิบกลับมาเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปริมาณของเสียให้ได้มากที่สุด รวมถึงเรื่อง Green การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย SMEs อาจหมุนเวียนใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น กล่อง หรือสิ่งของอื่นๆ หรืออย่างน้อยๆ SME ช่วยในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำกระบวนการให้เป็น Green

จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดตามเทรนด์การมาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาไม่หยุดนิ่งเพื่อสร้างการยอมรับแก่ผู้บริโภคและสังคม เพราะนอกจากคุณภาพมาตรฐานแล้ว อีกเรื่องสำคัญสำหรับ SMEs คือเรื่องการตลาดดิจิตอลและโซเซียล มีเดีย โดย SMEs ควรเรียนรู้เรื่องสื่อดิจิตอล เพื่อทำให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักและยอมรับ สมอ. จึงมีโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง OTOP, SME เกี่ยวกับสื่อดิจิตอล การตลาด การขายออนไลน์ เป็นต้น 

สรุปได้ว่า คุณภาพและมาตรฐานสินค้าบริการ บวกกับการตลาดในยุคดิจิตอล จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการสร้างความสามารถเชิงแข่งขันต่อไปในอนาคต

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

“ทีเส็บ” ผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยี หนุน SMEs ต่อยอดธุรกิจไมซ์ให้ยั่งยืนในอนาคต

“ทีเส็บ” ผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยี หนุน SMEs

ต่อยอดธุรกิจไมซ์ให้ยั่งยืนในอนาคต

 

            ทีเส็บเล็งเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจในทุกภาคส่วนมาโดยตลอดและได้มีการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม SMEs มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสนับสนุนตั้งแต่การสร้างฐานข้อมูล ส่งเสริมและพัฒนาตลาด สนับสนุนเงินทุน รวมถึงการให้องค์ความรู้

คุณจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า  เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจไมซ์สามารถนำข้อมูลหรือความรู้จากโครงการต่างๆ ที่ทางทีเส็บสนับสนุนไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ในการดำเนินธุรกิจ อาทิ โครงการ MICE Winnovation: Winning with the Innovation

“โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการจัดงานไมซ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์แบบครบวงจรในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดงานไมซ์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์จริงที่ตอบโจทย์แต่ละธุรกิจและองค์กร ทั้งการจัดทำแหล่งรวบรวมข้อมูลนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมไมซ์มาเชื่อมโยงเป็น Marketplace เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยในธุรกิจไมซ์ได้พบปะกับผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจให้มีความแตกต่างเหนือคู่แข่งและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนเงินทุนด้านการตลาด การจัดหาเวทีพบปะเจรจาธุรกิจ และการให้องค์ความรู้เพื่อให้เกิดการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้งานได้จริงเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของการทำธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

ทั้งนี้แนวทางการดำเนินงานของโครงการ MICE Winnovation มี 4 กิจกรรมหลัก คือ

  • MICE Innovation Catalog แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech Entrepreneurs) ครอบคลุม 10 ประเภทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไมซ์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะกับอุตสาหกรรมไมซ์เข้าร่วมบนแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นจำนวน 70 นวัตกรรม จาก 60 บริษัท และในปีนี้คาดว่าจะมีบริษัทผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าร่วมเพิ่มเป็น 100 นวัตกรรม จาก 70-80 บริษัทสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://innocatalog.tceb.or.th/
  • MICE Technomart กิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและแสดงศักยภาพของผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech Entrepreneurs) ผ่านการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) และการนำเสนอผลงานบริการให้กับผู้ประกอบการไมซ์ด้านต่างๆ ในทุกภูมิภาค
  • MICE Inno-Voucher มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดงานโดยจับคู่กับผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech Entrepreneurs) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ MICE Innovation Catalog เพื่อขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บในรูปแบบคูปองนวัตกรรม
  • MICE Digital Literacy of MICE พื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ในหัวข้อที่น่าสนใจกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการพูดคุย และกิจกรรมเวิร์คชอปทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

 

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่พร้อมให้บริการกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจไมซ์ คือ Thai MICE Connect เป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงธุรกิจและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ผ่านการรวบรวมฐานข้อมูลสินค้า บริการ สถานที่ บริษัท ในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งหมดให้เข้าถึงง่ายภายในเว็บไซต์เดียว ซึ่งทีเส็บได้พัฒนาจนสามารถเรียกได้ว่าเป็น e-Marketplace ของธุรกิจไมซ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดครั้งแรกของไทย (www.thaimiceconnect.com)

            โดยปัจจุบันมีข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอยู่ใน Thai MICE Connect แล้วกว่าหมื่นราย โดยข้อมูลต่างๆในแพลตฟอร์มนี้แบ่งออกเป็น 12 หมวดหมู่ คือ สถานที่จัดงาน ออแกไนเซอร์ ท่องเที่ยว/นำเที่ยว ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม บริการสำหรับผู้จัดงาน ธุรกิจบริการอื่น ๆ วิทยากร โชว์/การแสดง ร้านค้า/สินค้า โลจิสติกส์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ภาครัฐ/สมาคม) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการจัดกิจกรรมไมซ์ได้ง่ายขึ้น เพียงกรอกรายละเอียดเพื่อค้นหาสถานที่จัดงาน และบริการได้ตามประเภทธุรกิจ หรือจะเลือกจากรูปแบบกิจกรรมที่ต้องการจัด ระบบจะประมวลผลจับคู่ธุรกิจอัตโนมัติให้ทันที และยังพูดคุยผ่านแชตหรือวิดีโอคอลกับผู้ประกอบการได้โดยตรง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ข่าวสารในแวดวงไมซ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงการนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆ ได้อีกด้วย

            แพลตฟอร์ม Thai MICE Connect จึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลจากทั้งแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไมซ์ ผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเข้าร่วม Thai MICE Connect สามารถสมัครเป็นสมาชิกผ่านทาง www.thaimiceconnect.com โดยเลือกได้ว่าจะใช้อีเมล Faceboook, Line หรือเบอร์โทรศัพท์ในการสมัครซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะช่วยเพิ่มช่องทางการโปรโมตธุรกิจของสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการไมซ์ทุกภาคส่วนให้เป็นที่รู้จักเพิ่มโอกาสการขายผลิตภัณฑ์และการบริการ รวมถึงส่งเสริมการจัดงานไมซ์ในประเทศ สร้างรายได้ และสร้างการจ้างงานจากการจัดงานไมซ์ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Error! Hyperlink reference not valid. เฟซบุ๊ก www.facebook.com/ThaiMICEConnect/ ไลน์ @thaimiceconnect หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-021-5515 (ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้งาน)

นอกจากนี้ ทีเส็บยังมีโครงการอบรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจไมซ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรมมืออาชีพด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนวันที่ 23-24 พฤษภาคม ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ และจัดในรูปแบบออนไลน์ วันที่ 4 มิถุนายน-19 สิงหาคม ซึ่งดำเนินการจัดอบรมโดยฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ การอบรมออกแบบเมนูอาหารเพื่อสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ หรือ The Creative Healthy Food Design วันที่ 26พฤษภาคม ที่จังหวัดสงขลา การอบรมการตลาดออนไลน์แก่บุคลากรภาคการท่องเที่ยวเกาะสมุย วันที่ 25 มิถุนายน ที่สุราษฏร์ธานี และการอบรมผู้ประกอบการ Digital Marketing สู่การปรับตัวอย่างมืออาชีพวันที่ 19 กรกฎาคม ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งดำเนินการจัดอบรมโดยสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคใต้ เป็นต้น

ทีเส็บได้ดำเนินการจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมายที่พร้อมสนับสนุนและสรรหาองค์ความรู้ใหม่ๆ มามอบให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจไมซ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ อัปเดตข่าวสารและเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจ อาทิ

ศูนย์ข้อมูล MICE Intelligence Center บนเว็บไซต์ www.businesseventsthailand.com โดยเป็นศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องเทรนด์และองค์ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์ในมิติต่างๆ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ผ่านการนำเสนอเนื้อหาภาพรวมและโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ที่น่าเชื่อถือในรูปแบบบทวิเคราะห์ที่กระชับเข้าใจง่ายและน่าสนใจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น ข้อมูลบทวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในภาคอุตสาหกรรม (Real Sectors Analysis) แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ (S-Curve) สถิติตัวเลขนักเดินทางไมซ์ที่เข้ามาในประเทศไทยโดยแบ่งเป็นรายประเทศ รายได้ในการใช้จ่ายต่อคนต่อทริป จำนวนงานไมซ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี และการคาดการณ์ตัวเลขในอนาคตที่นำเสนอในรูปแบบ Interactive Dashboard รวมถึงข้อมูลนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากทีเส็บ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการ SMEsในธุรกิจไมซ์สามารถนำไปใช้วางแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการต่อยอดธุรกิจที่นำไปสู่การยกระดับการจัดงานไมซ์ของผู้ประกอบทุกรายได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าใช้บริการศูนย์ข้อมูลดังกล่าวแล้วกว่า 1.4 ล้านคน

อีกทั้ง ยังมีการจัดทำระบบการเก็บข้อมูลอุตสาหกรรมไมช์ในรูปแบบไฟล์ดิจิตัลและหนังสือดิจิตัล โดยรวบรวมในลักษณะห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ ที่เรียกว่า TCEB E-Library ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ทีเส็บได้จัดทำขึ้น เช่นวารสาร MICE Guru by TCEB โบว์ชัวร์ผลิตภัณฑ์ไมซ์ในเส้นทางต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจไมซ์ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในอุตสาหกรรมไมซ์ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม MICE Intelligence Talk 2022 ซึ่งจัดเป็นสัมมนาพิเศษร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้กลุ่ม Startup และผู้ประกอบการ SMEs ในยุค New Normal ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ ความสามารถในการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆ ไปพัฒนาและเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมไมซ์ในอนาคตต่อไปได้ โดยทีเส็บได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวไปแล้วในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และในส่วนของภูมิภาคจัดที่จังหวัดขอนแก่นเดือนพฤษภาคม และจังหวัดภูเก็ตเดือนมิถุนายน

ทุกท่านสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/miceinthailand หรือ https://www.businesseventsthailand.com

 

บทความแนะนำ

NIA เสริมแกร่ง SMEs ภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมครบ Ecosystem

บทสัมภาษณ์สําหรับลงในสื่อของ สสว. ภายใต้โครงการพัฒนาเนื้อหาให้บริการวิสาหิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย
ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อํานวยการด้านระบบนวัตกรรม สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ประเด็นถาม-ตอบ
1. นโยบายการให้ความช่วยเหลือSMEของNIAทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในมุมของการสนับสนุนและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ SME ได้ด้วยนวัตกรรมมีเรื่องใดบ้าง มาตรการระยะสั้น

  • -  มาตรการด้านการเงิน เน้นส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง SME, Startup, Social Enterprise และชุมชน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการมีความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ผ่านโครงการนวัตกรรมแบบเปิด และนวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย

  • -  มาตรการการสนับสนุนเพิ่มเติมการสนับสนุนด้านการเงิน (non-financial support) เป็น มาตรการเพิ่มเติมจากด้านการเงินเน้นการสร้างโอกาสการให้ผลิตภัณฑ์และบริการเกิดการขยายผล และสร้างให้เกิดการยอบรับและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ได้แก่ การจัดทํา Innovative product and service catalog การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ โครงการนิลมังกร โครงการ innomall และโครงการเสื้อติดดาบ เป็นต้น
    มาตรการระยะยาว

  • -  การเพิ่มจํานวนองค์กรและบุคลากรด้านนวัตกรรม ผ่านการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมจากหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ ของ NIA Academy เช่น หลักสูตร SME to IBE, PIN, IDE to IPO, PPCILและ CCIO เป็นต้น

  • -  การสร้างเมืองศูนย์กลางนวัตกรรม เน้นการทํางานกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมไปยังส่วนภูมิภาค ลดการกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่

  • -  การพัฒนาย่านนวัตกรรม เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีลักษณะฉพาะในการสร้างให้เกิด การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ เพื่อให้เกิดการลงทุน ใช้องค์ความรู้ การจ้างงาน และใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • -  การคาดการณ์อนาคตและเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เน้นการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนและข้อจํากัด เพื่อคาดการณ์และจัดทําข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใน ปัจจุบันและอนาคตที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้

  1. ตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการสนับสนุนและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ SME ได้ด้วย นวัตกรรม

- โครงการ นิลมังกรซึ่งเป็นโครงการที่นําผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในส่วน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย มาส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ในด้านนวัตกรรม รูปแบบธุรกิจนวัตกรรม และการสร้างแบรนด์และเล่าเรื่องสินค้าและบริการนวัตกรรม รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดระบบการ จับคู่ผู้เชี่ยวชาญในการให้คําปรึกษาในรายธุรกิจ เน้นการนําไปปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถทําให้ยอดขาย เติบโตอย่างน้อย 5 เท่า ในระยะเวลา 12 เดือน และมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมเป็นที่ รู้จักและยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในมิติต่างๆ ผ่าน หลักสูตรของ NIA Academy

  1. แผนงานของNIAในปีนี้จะโฟกัสไปที่เรื่องใดเป็นหลัก

สําหรับแผนงานของ NIA ในปีนี้จะโฟกัสใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. การขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม โดย NIA ดําเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม(Innovation-Based Enterprises: IBEs) เพื่อเพิ่มจํานวนผู้ประกอบการ IBEs ที่ไปขับเคลื่อน และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อ สังคม ที่เน้นการนํานวัตกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและพื้นที่ ผ่านการมีส่วนร่วมชุมชนและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการยกระดับความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมทางสังคม
  2. การขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับพื้นที่โดยNIAได้ดําเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสการพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรมที่จะไปช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการใช้ ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ ววน. ในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ และการทํางานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เช่น หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน เป็นต้น
  3. การขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยข้อมูลและองค์ความรู้โดยNIAดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงข้อมูลด้านนวัตกรรมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลและองค์ความรู้เปิดสําหรับ ผู้ประกอบการ นักนโยบาย และนักวิชาการ ในการเข้าถึงและนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการ ทํางานบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจถึง บริบทนวัตกรรมของประเทศในวงกว้าง
  4. มองSMEยุคใหม่เป็นอย่างไรโดยเฉพาะการนําเรื่องของนวัตกรรมมาใช้สร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันและสร้างการเติบโต
    - วิกฤตการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางฝั่งอุปทานและอุปสงค์เป็นอย่างมาก หลายครั้งเกิดเป็นพฤติกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "ความปกติใหม่" หรือ New Normal ซึ่งต้องยอมรับว่ามี SME ที่ล้มหายตายจากไปก็มาก หลายรายที่ต้องดิ้นรน เรียนรู้และปรับตัว และก็มีหลายรายที่เติบโตจากการอาศัยโอกาสในบริบทใหม่ๆ เหล่านี้ จะเห็นได้ว่า SME ที่ สามารถยืนหยัดและไปต่อได้จะต้องเรียนรู้และมีความพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และ ความเปลี่ยนแปลง โดยมี "นวัตกรรม" เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความแตกต่างเพื่อตอบสนองต่อ โอกาสใหม่ๆ "นวัตกรรม" ทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ หรือรูปแบบธุรกิจใหม่ จึง เป็นสิ่งสําคัญสําหรับ SME ที่ต้องการยืนหยัดและสร้างโอกาสจากบริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน

- สิ่งสําคัญที่ SME ต้องให้ความสําคัญคือ 1) กลยุทธ์นวัตกรรม นํานวัตกรรมมาสร้างโอกาสอย่างไรกับ ธุรกิจ 2) การลีนและเพิ่มประสิทธิภาพ นําเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมกระบวนการมาปรับใช้ อย่างไรเพื่อเค้นประสิทธิภาพการทํางาน และ 3) การบริหารจัดการทรัพยากรและความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ระบบเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อุปทาน และสภาวะการเมืองยังมีความผันผวน

  1. ความท้าทายใหญ่ของSMEในยุคPostCOVID-19ต้องเร่งปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถก้าวทันต่อ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ
  • -  ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับ 3 ภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจใหญ่ ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก (Economic Crisis) อันเนื่องมาจากโครงสร้างของการ ทําธุรกิจที่เปลี่ยนไปตามห่วงโซ่มูลค่าโลก ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขและการให้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปจากรูป แบบเดิม การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (Climate Change) และการระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ วิถีชีวิตของคนในสังคมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุขและสุขภาวะ ก่อให้เกิดความเหลื่อม ล้ําที่รุนแรง และเริ่มเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหลังจากการเกิดวิกฤตการณ์ ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้สร้าง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่หลายธุรกิจไม่มี แผนรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทําให้ประสบกับความยากลําบากในการทําธุรกิจ

  • -  จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ด้าน บ่งบอกให้เห็นว่าผู้ประกอบการ SME จําเป็นต้องมีการ ปรับตัวในเรื่องใหญ่ 4 เรื่อง ได้แก่ 1) นวัตกรรมข้อมูล (Data-Driven Innovation) 2) การนําดิจิทัล เข้ามาปรับเปลี่ยนองค์กร (Digital Transformation) 3) นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ (Business Model innovation) และ 4) เครือข่ายนวัตกรรม (Innovation Networks)
    เป้าหมายและความท้าทายของNIAในด้านการให้ความช่วยเหลือSMEไทยในปีนี้ NIA มีแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม ใน หลากหลายมิติเพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ไปสู่ ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation Based Enterprise: IBE) โดย NIA จะทําหน้าที่เป็น Focal Facilitator ในการประสานให้เกิดการทํางานร่วมกันระหว่างภาคส่วน ต่าง ๆ เพอื่ สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมไทย

บทความแนะนำ

สป.อว.ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทย ผ่านงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  

สป.อว.ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทย

ผ่านงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

 

การขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางการเกิดขึ้นของ Megatrends ที่เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ และส่งผลต่อการผลักดันภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนับจากนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างคน เพื่อรองรับต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่เชื่อมต่อจากรั้วมหาวิทยาลัยไปสู่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ไทย

ขณะเดียวกัน สป.อว. หรือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ

หน่วยงานสำคัญด้านบูรณาการงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ชุมชน ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)

ภายใต้แผนการการขับเคลื่อนกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ไทยด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) จะมีการร่วมวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนายอดงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม มีการบ่มเพาะ พัฒนา SMEs และ Startup ที่มีฐานจากงานวิจัย หรือภูมิปัญญา รวมทั้งเร่งการเติบโตของของธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง มีการสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับพื้นฐานสู่เชิงพาณิชย์ และยกระดับขีดความสามารถของสถานประกอบการด้วยกระบวนการ ววน. เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

รวมถึงมีบริการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยี เผยแพร่ความรู้ด้าน ววน. และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักด้าน ววน. และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งเสนอแนะมาตรการและแรงจูงใจในการปรังปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ เป็นต้น

ศจ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวแสดงทัศนะคติที่มีต่อ SMEs และ Startup ไทย มีความตั้งใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ในการนำองค์ความรู้ด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้ดี แต่ยังขาดการกระจายตัวในเรื่องของการใช้ทักษะ (Skill) ด้านดิจิทัล โดยจะเห็นได้ว่า SMEs และ Startup ที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ยังไม่สามารถนำทักษะด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ได้เท่ากับ SMEs และ Startup ในพื้นที่ส่วนกลาง

โดยแผนงานในปีนี้ ทางสป.อว.จะมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถของ SMEs และ Startup ให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการ และ Startup เนื่องจากภาคเอกชนมีประสบการณ์ด้าน

การตลาดค่อนข้างมาก

                ตัวอย่าง โครงการที่ประสบความสำเร็จ และส่งผลต่อการยกระดับขีดความสามารถของ SMEs คือ โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมายกระดับ SMEs ทำให้ SMEs มีศักยภาพในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น สามารถลดต้นทุนในการผลิตทั้งยังสามารถยกระดับความสามารถใช้เทคโนโลยีของ SMEs อีกด้วย

                ในส่วนของแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถของ SMEs ไทย ที่ได้จัดทำไปในปี 2564 ทาง สป.อว.ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ การส่งเสริม พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของแผนยุทธศาสตร์สำคัญ และมีความเชื่อมโยงไปสู่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยมากที่สุด

                โดยการดำเนินงานจะจัดทำผ่านแผนการส่งเสริม พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายให้ชุมชนและผู้ประกอบการได้รับการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม โดยแผนงานที่ได้จัดทำไปแล้ว ได้แก่            

                1)โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น เพื่อการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และใช้งานวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถาบันต่อยอดออกสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

                2) โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Startup Ecosystem ในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ และยกระดับของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมความตระหนักการตื่นตัวในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม

                3)โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนาในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย สป.อว. ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเครือข่าย อุทยาน วิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่าย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา)

                4)โครงการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ เครื่องจักร เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพ มาตรฐาน สามารถขยายช่องทางการจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มีการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ตามแนวทางคูปองวิทย์ 6 ด้าน คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ และเครื่องจักร

                5)โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบภายใต้โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐานสู่เชิงพาณิชย์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากเกษตรอัตลักษณ์

                6)โครงการการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมบริหารจัดการฟาร์ม ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและแปรรูปปศุสัตว์ เป็นการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดนที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบการผลิตเชิงการค้าและรองรับอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อการจัดจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่อไปในอนาคต

                7)การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีความสำคัญตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่นำไปสู่พาณิชย์ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตภายในประเทศตามความต้องการของภาคผลิตและบริการ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ และสร้างนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม

                สำหรับแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะมีความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง ยุทธศาสตร์จัดสรร เป้าหมายการให้บริการกระทรวง เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน ผลผลิต/โครงการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ศจ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายของ SMEs และ Startup ไทยในยุค Post COVID-19 เป็นเรื่องของกำลัง

ซื้อของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปมากและมีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว หันมาทำธุรกิจที่มีความสอดคล้องกับกำลังซื้อของลูกค้า ประกอบกับในภาวะสงครามทำให้สินค้าหลายชนิดปรับราคาสูงขึ้น มีต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรมีการศึกษากลไกราคาสำหรับการทำธุรกิจและเลือกขายผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งในส่วนของคุณภาพและราคา

 “ที่ผ่านมา ในส่วนของ สป.อว. ก็มีความท้าทายอย่างหนึ่ง คือการเข้าถึงกลุ่ม SMEs และ Startup ในไทยที่มีความ

ต้องการที่จะได้รับการส่งเสริมและการพัฒนาจริงๆ ยังไม่ทั่วถึง ดังนั้น สป.อว. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานทั้งในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างๆ จึงต้องร่วมผลักดันทั้งสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัย ในการทำเอาศักยภาพ องค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านั้น เข้ามาช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ศจ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

บีโอไอออกมาตรการด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ SMEs

บีโอไอออกมาตรการด้านเทคโนโลยี

เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ SMEs

การที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของบริษัทต่างชาติผ่านมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติสู่ภาคเอกชนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ได้มีโอกาสพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ทั้งตนเองและอุตสาหกรรมโดยรวม

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยการให้สิทธิและประโยชน์ในการลงทุน การเสริมสร้างปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุน การส่งเสริมการลงทุนและการบริการลงทุนจึงให้ความสำคัญและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นโครงการ SMEs  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

ที่ผ่านมา โครงการลงทุนของ SMEs ไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านดิจิทัล อาทิ การพัฒนาซอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ และการให้บริการด้านดิจิทัล รองลงมาเป็นกิจการแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตอาหาร การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์โลหะ นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีหลัง เริ่มมี SMEs ในกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อาทิ การวิจัยและพัฒนา การออกแบบทางวิศวกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เป็นต้น

สำหรับปีนี้ บีโอไอเน้นส่งเสริมให้ SMEs ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อาทิ การใช้พลังงานทดแทน การปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรทันสมัยหรือระบบอัตโนมัติ การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานสากล อาทิ GAP, FSC, ISO 22000  

อย่างไรก็ดี จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น บีโอไอได้ออกมาตรการเพิ่มเติมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และการผลิต หรือการให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้ดิจิทัล ทำให้เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศตามมา  

ทั้งนี้ โครงการที่ขอรับการส่งเสริมตามมาตรการนี้ ต้องมีเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท แต่สำหรับ SMEs จะลดเหลือเพียง 5 แสนบาท โดยต้องเสนอแผนลงทุนที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการนำซอฟต์แวร์ ระบบ ERP หรือระบบ IT อื่นๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร หรือใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบออนไลน์ของภาครัฐ อาทิ National E–Payment หรือการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning การใช้ Big Data หรือการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน   

บีโอไอยังมีการสนับสนุน SMEs ในอีก 5 ด้านที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยSMEs ที่มีหุ้นไทยข้างมาก จะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำเหลือเพียง 5 แสนบาท อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วในประเทศได้บางส่วนเพื่อลดต้นทุน และจะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป เพื่อเป็นแต้มต่อให้กับ SMEs    

 

  1. มาตรการกระตุ้นให้SMEs เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) เพื่อระดมทุนไปพัฒนาศักยภาพและขยายกิจการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป   
  2. มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบรายใหญ่ช่วยรายเล็ก โดยให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกิจการที่ช่วยพัฒนาLocal Suppliers ที่ส่วนใหญ่เป็น SMEs และมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยสนับสนุนให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนหรือร่วมดำเนินการกับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
  3. เชื่อมโยงSMEs กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนกับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปต่างชาติ ทั้งกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักร เพื่อช่วยลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ SMEs ไทย ได้เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ระดับโลก รวมทั้งเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยบีโอไอจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น งาน Subcon Thailand ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จัดประจำทุกปี ตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน งานผู้ซื้อพบผู้ขาย แต่ละปีกิจกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดมูลค่าเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท  
  4. สร้างองค์ความรู้และเครือข่ายให้SMEs ทั้งการจัดสัมมนาให้ความรู้เรื่องการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อSMEs การจัดคณะศึกษาดูงานกิจการที่ประสบความสำเร็จ เปิดมุมมองใหม่ๆ ด้านการบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีการผลิต และสร้างเครือข่ายกับนักธุรกิจท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งจัดหลักสูตรฝึกอบรม SMEs ที่ต้องการออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย  

ทั้งหมดนี้บีโอไอหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ SMEs ไทยเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ