ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม

ให้ความรู้และบริการให้คำปรึกษาทางด้านวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดจากชีวมวล และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพ,วิเคราะห์วัสดุตัวอย่างเชื้อเพลิง, บริการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีคลังความรู้ออนไลน์ เช่น งานวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซล,ผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย เป็นต้น บริการแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติ กิจกรรมอบรมและประชุมด้านสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน เพื่อประยุกใช้ในเศรษฐกิจและสังคมสีเขียวต่อไป   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยการให้บริการรับจ้างวิจัย บริการร่วมวิจัยและพััฒนา บริการที่ปรึกษา เพื่อสร้างผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ วิเคราะห์การแก้ไขปัญหา พัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้ง ร่วมกับ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO สวทช.) นำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยของ MTEC ไปถ่ายทอดแก่อุตสาหกรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิต ช่วยลดการลองผิดลองถูก ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และระยะเวลาในการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวัสดุ ออกแบบและการผลิต วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การจัดอบรมหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ   รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.mtec.or.th/

บทความแนะนำ

อยากเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสุขภาพทำอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้ (1) ธุรกิจบริการทางแพทย์ (2) ธุรกิจสปา (3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค) (4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ 1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา  - ควรกำหนดว่าลูกค้าจะเป็นระดับบน กลาง หรือล่าง  - กลุ่มลูกค้ามีลักษณะอย่างไร ทั้งอายุ อาชีพ การใช้ชีวิต  - ขั้นตอนการออกแบบธุรกิจ รูปแบบของร้านและจุดเด่น ที่ทำให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น อาจจะเป็นวิธีการทำสปาแบบใหม่ การตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร โปรแกรมเสริม อื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นต้น  - สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ คือการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาในร้าน จนกระทั่งใช้บริการเสร็จสิ้นว่าในแต่ละขั้นตอน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกค้าจะต้องได้รับประสบการณ์อย่างไรบ้าง 2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก - ควรเลือกทำเลที่ใกล้จุดพักอาศัย หรืออยู่ใจกลางออฟฟิศ - ต้องง่ายต่อการมองเห็น ง่ายต่อการมองหา และไม่ดูลึกลับ เพราะจะต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย - ที่จอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากกลุ่มลูกค้าเป็นคนที่ขับรถมาใช้บริการ 3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ - พนักงานให้บริการที่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ จากสถาบันที่คนทั่วไปให้การยอมรับ เช่น สำหรับพนักงานนวดแผนไทย ต้องได้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งอาจจะได้รับการอบรมจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) หรือ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เป็นต้น - ผู้ประกอบการจะต้องให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจพนักงานในการทำงาน รวมทั้งมีการสอนขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน 4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
  • ธุรกิจบริการทางการแพทย์ และธุรกิจนวดแผนไทย เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบ าบัด
คลินิกแพทย์แผนไทย จะต้องขอรับใบอนุญาต 2 ประเภท คือ
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 10 ปี
  • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล สำหรับผู้ให้บริการในสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 2 ปี
เขตกรุงเทพมหานคร - ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข  ส่วนภูมิภาค - ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
  • ธุรกิจสปา ทั้ง 3 ประเภท สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวย 
- ต้องยื่นคำขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย (มาตรฐาน สบส.)  - เมื่อได้รับการอนุญาต ผู้ประกอบการจะได้รับใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ และสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน  - เครื่องหมายสัญลักษณ์นี้จะต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการ สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยื่นขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งร้าน - องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ยื่นขอจดอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใบอนุญาตใช้ อาคาร - สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล และยังไม่ได้จดทะเบียนกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน เกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้
  1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)
เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น  - มีการกําหนดรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบของการบริการ เวลาที่บริการ และราคาที่ให้บริการ -  มีระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้าระหว่างการรับบริการ - มีการประเมินความพอใจของลูกค้า และมีการนําผลประเมินมาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ - มีการจัดให้บริการด้านการให้คําปรึกษาและข้อมูล
  1. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff) 
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น - สามารถสื่อสารภาษาไทยและพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างดี - สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสปาได้ - มีจัดฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างดีที่สุด - มีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ ในห้องทรีทเมนต์ให้ครบ พร้อมให้บริการตลอดเวลา
  1. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)
เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น  - ต้องไม่มีการโฆษณาคุณภาพเป็นเท็จ หรือเกินความเป็นจริง - ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองจากอย.หรือกฎหมายกําหนด หรือระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและนําเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีหนังสือรับรองผู้ผลิต ( Certificate of Manufacturer ) หรือหนังสือรับรองการขาย( Certificate of Free Sale ) - มีการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
  1. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)
เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น - มีการจัดแบ่งหน้าที่พนักงานที่ชัดเจนตามตําแหน่ง - มีการจัดระบบการว่าจ้างและผลตอบแทนชัดเจน - มีระบบการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน - มีการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน (Manual Operation)
  1. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)
เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม  เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น - บริเวณต้อนรับ แยกออกจาก่วนที่ให้บริการอย่างชัดเจน ไม่รบกวนผู้รับบริการ - สภาพแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด และปราศจากมลภาวะต่างๆ - มีแผนผังแสดงจุดต่างๆ แสดงไว้อย่างชัดเจน - สถานที่มีความสะอาด และมีระบบดูแลรักษาที่ดีอย่างสม่ำเสมอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ  นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน เว็บไซต์ hss.moph.go.th ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02 193 7999 อีเมล ict@hss.moph.go.th สมาคมสปาไทย  สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 3814441 อีเมล info@thaispaassociation.com กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา เว็บไซต์ www.dsd.go.th ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 248 3393 Published on 15 July 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ

อยากเปิดร้านอาหาร คาเฟ่ เริ่มต้นอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติมhttps://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf ธุรกิจร้านอาหารยังคงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ สำหรับคนที่มีไอเดียและความพร้อม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเปิดร้านอย่างไรให้ถูกขั้นตอนตามกฏหมาย เริ่มต้นได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ สำหรับ “ธุรกิจร้านอาหาร” นั้นหมายถึง - การประกอบกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทาน โดยอาจจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ - การให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนำไปรับประทานที่อื่นได้ กระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งประเภทร้านอาหารออกเป็น 4 แบบ โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกตามการออกแบบตกแต่งเป็นหลัก ได้แก่ (1) ร้านอาหารระดับหรู (Fine Dining) (2) ร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining) (3) ร้านอาหารทั่วไป (Fast Dining) (4) ร้านริมบาทวิถี (Kiosk) ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร 1) วางแผนรูปแบบของร้านอาหาร ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งจำนวนมาก สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ ผู้บริโภคอาหารของเราเป็นกลุ่มไหน จะต้องสอดคล้องกับทำเลที่ตั้งของธุรกิจและคู่แข่งในบริเวณนั้นด้วย - กลุ่มคนทำงานที่มีกำลังซื้อสูง อาจมีความต้องการในการนัดพบปะเพื่อเข้าสังคมหรือบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเจรจาธุรกิจ หรือ - หากเจาะกลุ่มครอบครัว หรือทำเลร้านอยู่ใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัย อาจเป็นลักษณะร้านที่ขายอาหารที่เน้นคุณภาพ มีเมนูที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวที่มารับประทาน 2) สร้างเอกลักษณ์ของร้านอาหาร หรือสิ่งที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกเมื่อจะใช้บริการร้านเรา - อาจเป็นเมนูอาหารที่โดดเด่น มีการควบคุมคุณภาพและรสชาติให้ดีอยู่เสมอ - การบริการที่สร้างความประทับใจ หากราคาสินค้าสูง ลูกค้าจะมีความคาดหวังต่อบริการมาก แต่หากเป็นร้านอาหารทั่วไปอาจคาดหวังต่อบริการแค่ความรวดเร็วเท่านั้น - บรรยากาศที่ทำให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากร้านอื่น ๆ หรือ ความสะอาดของสถานที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญของร้านอาหาร เพื่อให้เกิดการบอกต่อปากต่อปาก (Word of Mouth) หรือการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเพื่อให้เกิดการจดจำนำไปสู่การใช้บริการซ้ำในอนาคต 3) ขอจดทะเบียนจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร - การเปิดร้านอาหาร หรือร้านขายอาหารเป็นธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียงได้ ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ออกข้อบัญญัติ เพื่อควบคุมหรือกำกับดูแลร้านอาหาร - ร้านอาหารที่มีพื้นที่ของร้านไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “หนังสือรับรองการแจ้ง” มีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท - ร้านอาหารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “ใบอนุญาต” มีค่าธรรมเนียม 3,000 บาท การยื่นคำขอใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ - สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร - สำนักงานองค์การบริหารส่วนต าบล - สำนักงานเทศบาลสำหรับร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล - สำนักงานเมืองพัทยา 4) ขอใบอนุญาตและจดทะเบียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง • การขออนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต โดยสามารถขออนุญาตได้ที่ - กรุงเทพมหานคร: กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง - ต่างจังหวัด: สำนักงานสรรพสามิตอำเภอ/กิ่งอำเภอ • การขอออนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลง - การเปิดเพลง ภาพวิดีโอ หรือ การถ่ายทอดสด ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอยู่ จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย - อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้าของสิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนด - ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตไม่ว่าจะเป็นการเปิดจากแผ่นบันทึกเสียงแท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง หรือเปิดผ่านอินเทอร์เน็ตก็ตาม • การขอประกอบกิจการสถานบริการ - ร้านที่จำหน่ายอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่ม โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 น. - สถานที่เต้นรำหรือมีการเต้นรำ การอนุญาตให้พนักงานหรือนักแสดงนั่งกับลูกค้า มีคาราโอเกะให้ลูกค้าร้องเพลง ถือว่าเข้าข่ายสถานบันเทิงต้องขออนุญาตตามหน่วยงานที่กำหนด กรุงเทพมหานคร: สถานีตำรวจท้องที่ หรือ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่างจังหวัด: ที่อำเภอท้องที่ ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ - สำนักงานจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด - กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) - ผู้ประกอบการหากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี กฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภายใน 30 วัน นับแต่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี - กรณีใช้เครื่องบันทึกการเก็บ จะต้องขออนุญาตการใช้เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร • ขออนุญาตติดตั้งป้ายเพื่อเสียภาษีป้าย คือ - ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ - ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา - ผู้ประกอบการเปิดร้านกาแฟที่มีป้ายหน้าร้านก็ต้องเสียภาษี ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของธุรกิจและเสริมสร้างความรู้ในการทำธุรกิจตลอดจนทำการเชื่อมโยงตลาด (Business Matching) เว็บไซต์ www.dbd.go.th ที่อยู่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (สนามบินน้ำ) 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 สายด่วน 1570 อีเมล computer@dbd.go.th กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง บริหารจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสินค้าและบริการซึ่งควรรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไนต์คลับ และดิสโก้เธค ผู้ประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.excise.go.th ที่อยู่ 1488 ถ.นครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 022415600 อีเมล webmaster@excise.go.th สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารและน้ำบริโภคของประเทศ เช่น มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean food Good taste รวมถึงจัดอบรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถดำเนินธุรกิจอย่างถูกสุขอนามัย ผู้ประกอบการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ foodsan.anamai.moph.go.th ที่อยู่ 88/22 หมู่4 ต.ตลาดขวัญ ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 สายด่วน 025904188 อีเมล webmaster@excise.go.th Published on 2 July 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ

เริ่มต้นธุรกิจเกษตรแปรรูป แบบ Smart Farm

ยุคนี้จะเห็นได้ว่า มีคนรุ่นใหม่หันมาสนใจทำธุรกิจการเกษตรแบบสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Smart Farm เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะด้วยแนวคิดของ Smart Farm ซึ่งจะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ระบบเซ็นเซอร์ เทคโนโลยีชีวภาพ มาประยุกต์เข้ากับงานด้านการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพิ่มคุณภาพมาตรฐานให้กับสินค้า รวมไปถึงลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การทำ Smart Farm จึงมีความแตกต่างจากวิถีเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก มาสู่ การทำการเกษตรแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมการ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการการผลิต การควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ส่งผลให้ขายได้ราคาดีขึ้น และยังลดความสูญเสียได้อีกด้วย ดังนั้น ใครที่กำลังคิดอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ Smart Farm โดยเฉพาะการทำฟาร์มผักและการแปรรูปผักต่างๆ สิ่งเหล่านี้ คือเรื่องที่ควรรู้และควรเตรียมพร้อม!! จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ การทำธุรกิจฟาร์มผักแบบ Smart Farm นั้น ในการเริ่มต้นไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่นๆ โดยสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ นั่นคือ การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ หรือการจดทะเบียนพาณิชย์ อย่างที่หลายคนทราบกันดี ว่า สามารถจดได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (คลิก! ดาวน์โหลดเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์) หรือดูข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 30 วันนับแต่เริ่มประกอบการ  โดยสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ส่วนในต่างจังหวัด สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด จัดเตรียมโรงเรือนสำหรับปลูก สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง คือ พื้นที่ในการทำฟาร์มผัก ยุคนี้จะเห็นว่าคนนิยมเพาะปลูกผักอินทรีย์ ผักออร์แกนิกส์ หรือผักปลอดสารพิษมากขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย และมีมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าผักทั่วไป ดังนั้น การปลูกผักในโรงเรือน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ เพราะมีข้อดี คือ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ความร้อน ความชื้น ฯลฯ การบริหารจัดการปัจจัยภายใน ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ปรับอุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานของผลผลิต ที่สำคัญยังช่วยลดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชต่างๆ ได้อีกด้วย สำหรับโรงเรือน มีความหลากหลายทั้งในเรื่องขนาด รูปแบบ รวมถึงคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของพืชที่จะปลูก ขนาดของพื้นที่ และที่สำคัญคืองบประมาณของผู้ประกอบการ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม Farming 4.0 มิติใหม่การเกษตรไทย) วางระบบเทคโนโลยีให้พร้อม หัวใจสำคัญของการทำ Smart Farm คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ระบบควบคุมการเปิด-ปิดน้ำสำหรับการรดน้ำผัก ที่สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดน้ำได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังช่วยควบคุมปริมาณการรดน้ำตามความต้องการของผักแต่ละชนิด หรือจะเป็น ระบบเซ็นเซอร์ติดตามสภาพอากาศ เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงเกินกำหนด ระบบจะทำการสั่งเปิดน้ำ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิลง หรือการตรวจวัดความชื้นในดิน หากระบบพบว่าความชื้นในดินต่ำกว่าที่กำหนด ก็จะสั่งรดน้ำโดยอัตโนมัติเช่นกัน เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยียังสามารถวิเคราะห์ ประมวลผลออกมาเป็นข้อมูล (Data) ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้วางแผนการปลูกผักให้ได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยลดการใช้แรงงานคน และยังช่วยให้เกิดการบริหารจัดการต้นทุนทางธุรกิจได้มีประสิทธิภาพอีกด้วย ขอรับรองมาตรฐาน นอกจากระบบโรงเรือนและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกิจปลูกผักนี้แล้ว สิ่งที่มีความสำคัญ และสร้างความแตกต่างให้กับสินค้ารวมถึงช่องทางการตลาด อยู่ที่มาตรฐานของผลผลิต เนื่องจากปัจจุบันเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้บริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการต้องวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ เพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายรับรองของมาตรฐานนั้นๆ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการขยายตลาดอีกด้วย สำหรับสินค้าทางการเกษตร สามารถรับรองมาตรฐานได้หลากหลายมาตรฐาน 1. มาตรฐานสินค้าเกษตร อาทิ เครื่องหมาย Q ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพหรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าเกษตร ว่าได้มาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยนั่นเอง, มาตรฐาน GAP หรือ การปฏิบัติตามาตรฐานทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice ; GAP) , สินค้าออร์แกนิกส์ และ เกษตรอินทรีย์ 2. มาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น มาตรฐาน GMP , HACCP และมาตรฐานอาหารและยา (อย.) จะเห็นแล้วว่า การทำธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูปในยุคนี้สามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก ที่สำคัญไม่ต้องมีคนมาก ขอแค่ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพ ก็สามารถพลิกโฉมธุรกิจเกษตรเดิมๆ ให้กลายเป็น Smart Farm ได้แล้ว อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอเครื่องหมายรับรองฮาลาล SME ต้องทำอย่างไร? ขั้นตอนง่ายๆ ยื่นขอ มอก.เอส ถูกใจ SME ได้ใจลูกค้า! รู้ก่อน! ขั้นตอนจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5 ขั้นตอน ขอ “ฉลากเขียว” ไม่ตกเทรนด์รักษ์โลก 5 ขั้นตอนสมัครขอบาร์โค้ดให้ซื้อง่าย ขายคล่อง! 5 ขั้นตอนง่ายๆ ขอใช้สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”   Published on 12 March 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ