ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ

ให้ความรู้และให้บริการที่ปรึกษางานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวัสดุ เช่น ด้านวัสดุพลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านวัสดุธรรมชาติเพิ่มมูลค่าสร้างมาตรฐานการผลิต และยังให้บริการิวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติวัสดุ เช่น เซรามิก, พอลิเมอร์ ,ยางพารา และคอมโพสิต เป็นต้น ยังมีบริการเผยแพร่คลังความรู้ออนไลน์ทั้งงานวิจัยและตัวอย่างผลงานที่มีประโยชน์มากมาย โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหหกรรมและวิสหกิจชุมชุน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน สร้างประเทศไทยที่เข็มแข็งมั่นคงต่อไป   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม

ให้ความรู้และบริการให้คำปรึกษาทางด้านวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดจากชีวมวล และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพ,วิเคราะห์วัสดุตัวอย่างเชื้อเพลิง, บริการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีคลังความรู้ออนไลน์ เช่น งานวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซล,ผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย เป็นต้น บริการแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติ กิจกรรมอบรมและประชุมด้านสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน เพื่อประยุกใช้ในเศรษฐกิจและสังคมสีเขียวต่อไป   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยการให้บริการรับจ้างวิจัย บริการร่วมวิจัยและพััฒนา บริการที่ปรึกษา เพื่อสร้างผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ วิเคราะห์การแก้ไขปัญหา พัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้ง ร่วมกับ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO สวทช.) นำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยของ MTEC ไปถ่ายทอดแก่อุตสาหกรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิต ช่วยลดการลองผิดลองถูก ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และระยะเวลาในการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวัสดุ ออกแบบและการผลิต วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การจัดอบรมหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ   รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.mtec.or.th/

บทความแนะนำ

อยากเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสุขภาพทำอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้ (1) ธุรกิจบริการทางแพทย์ (2) ธุรกิจสปา (3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค) (4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ 1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา  - ควรกำหนดว่าลูกค้าจะเป็นระดับบน กลาง หรือล่าง  - กลุ่มลูกค้ามีลักษณะอย่างไร ทั้งอายุ อาชีพ การใช้ชีวิต  - ขั้นตอนการออกแบบธุรกิจ รูปแบบของร้านและจุดเด่น ที่ทำให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น อาจจะเป็นวิธีการทำสปาแบบใหม่ การตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร โปรแกรมเสริม อื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นต้น  - สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ คือการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาในร้าน จนกระทั่งใช้บริการเสร็จสิ้นว่าในแต่ละขั้นตอน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกค้าจะต้องได้รับประสบการณ์อย่างไรบ้าง 2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก - ควรเลือกทำเลที่ใกล้จุดพักอาศัย หรืออยู่ใจกลางออฟฟิศ - ต้องง่ายต่อการมองเห็น ง่ายต่อการมองหา และไม่ดูลึกลับ เพราะจะต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย - ที่จอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากกลุ่มลูกค้าเป็นคนที่ขับรถมาใช้บริการ 3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ - พนักงานให้บริการที่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ จากสถาบันที่คนทั่วไปให้การยอมรับ เช่น สำหรับพนักงานนวดแผนไทย ต้องได้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งอาจจะได้รับการอบรมจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) หรือ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เป็นต้น - ผู้ประกอบการจะต้องให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจพนักงานในการทำงาน รวมทั้งมีการสอนขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน 4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
  • ธุรกิจบริการทางการแพทย์ และธุรกิจนวดแผนไทย เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบ าบัด
คลินิกแพทย์แผนไทย จะต้องขอรับใบอนุญาต 2 ประเภท คือ
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 10 ปี
  • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล สำหรับผู้ให้บริการในสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 2 ปี
เขตกรุงเทพมหานคร - ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข  ส่วนภูมิภาค - ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
  • ธุรกิจสปา ทั้ง 3 ประเภท สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวย 
- ต้องยื่นคำขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย (มาตรฐาน สบส.)  - เมื่อได้รับการอนุญาต ผู้ประกอบการจะได้รับใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ และสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน  - เครื่องหมายสัญลักษณ์นี้จะต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการ สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยื่นขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งร้าน - องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ยื่นขอจดอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใบอนุญาตใช้ อาคาร - สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล และยังไม่ได้จดทะเบียนกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน เกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้
  1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)
เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น  - มีการกําหนดรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบของการบริการ เวลาที่บริการ และราคาที่ให้บริการ -  มีระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้าระหว่างการรับบริการ - มีการประเมินความพอใจของลูกค้า และมีการนําผลประเมินมาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ - มีการจัดให้บริการด้านการให้คําปรึกษาและข้อมูล
  1. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff) 
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น - สามารถสื่อสารภาษาไทยและพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างดี - สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสปาได้ - มีจัดฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างดีที่สุด - มีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ ในห้องทรีทเมนต์ให้ครบ พร้อมให้บริการตลอดเวลา
  1. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)
เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น  - ต้องไม่มีการโฆษณาคุณภาพเป็นเท็จ หรือเกินความเป็นจริง - ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองจากอย.หรือกฎหมายกําหนด หรือระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและนําเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีหนังสือรับรองผู้ผลิต ( Certificate of Manufacturer ) หรือหนังสือรับรองการขาย( Certificate of Free Sale ) - มีการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
  1. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)
เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น - มีการจัดแบ่งหน้าที่พนักงานที่ชัดเจนตามตําแหน่ง - มีการจัดระบบการว่าจ้างและผลตอบแทนชัดเจน - มีระบบการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน - มีการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน (Manual Operation)
  1. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)
เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม  เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น - บริเวณต้อนรับ แยกออกจาก่วนที่ให้บริการอย่างชัดเจน ไม่รบกวนผู้รับบริการ - สภาพแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด และปราศจากมลภาวะต่างๆ - มีแผนผังแสดงจุดต่างๆ แสดงไว้อย่างชัดเจน - สถานที่มีความสะอาด และมีระบบดูแลรักษาที่ดีอย่างสม่ำเสมอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ  นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน เว็บไซต์ hss.moph.go.th ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02 193 7999 อีเมล ict@hss.moph.go.th สมาคมสปาไทย  สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 3814441 อีเมล info@thaispaassociation.com กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา เว็บไซต์ www.dsd.go.th ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 248 3393 Published on 15 July 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ

อยากเปิดร้านอาหาร คาเฟ่ เริ่มต้นอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติมhttps://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf ธุรกิจร้านอาหารยังคงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ สำหรับคนที่มีไอเดียและความพร้อม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเปิดร้านอย่างไรให้ถูกขั้นตอนตามกฏหมาย เริ่มต้นได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ สำหรับ “ธุรกิจร้านอาหาร” นั้นหมายถึง - การประกอบกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทาน โดยอาจจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ - การให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนำไปรับประทานที่อื่นได้ กระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งประเภทร้านอาหารออกเป็น 4 แบบ โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกตามการออกแบบตกแต่งเป็นหลัก ได้แก่ (1) ร้านอาหารระดับหรู (Fine Dining) (2) ร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining) (3) ร้านอาหารทั่วไป (Fast Dining) (4) ร้านริมบาทวิถี (Kiosk) ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร 1) วางแผนรูปแบบของร้านอาหาร ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งจำนวนมาก สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ ผู้บริโภคอาหารของเราเป็นกลุ่มไหน จะต้องสอดคล้องกับทำเลที่ตั้งของธุรกิจและคู่แข่งในบริเวณนั้นด้วย - กลุ่มคนทำงานที่มีกำลังซื้อสูง อาจมีความต้องการในการนัดพบปะเพื่อเข้าสังคมหรือบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเจรจาธุรกิจ หรือ - หากเจาะกลุ่มครอบครัว หรือทำเลร้านอยู่ใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัย อาจเป็นลักษณะร้านที่ขายอาหารที่เน้นคุณภาพ มีเมนูที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวที่มารับประทาน 2) สร้างเอกลักษณ์ของร้านอาหาร หรือสิ่งที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกเมื่อจะใช้บริการร้านเรา - อาจเป็นเมนูอาหารที่โดดเด่น มีการควบคุมคุณภาพและรสชาติให้ดีอยู่เสมอ - การบริการที่สร้างความประทับใจ หากราคาสินค้าสูง ลูกค้าจะมีความคาดหวังต่อบริการมาก แต่หากเป็นร้านอาหารทั่วไปอาจคาดหวังต่อบริการแค่ความรวดเร็วเท่านั้น - บรรยากาศที่ทำให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากร้านอื่น ๆ หรือ ความสะอาดของสถานที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญของร้านอาหาร เพื่อให้เกิดการบอกต่อปากต่อปาก (Word of Mouth) หรือการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดเพื่อให้เกิดการจดจำนำไปสู่การใช้บริการซ้ำในอนาคต 3) ขอจดทะเบียนจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร - การเปิดร้านอาหาร หรือร้านขายอาหารเป็นธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียงได้ ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ออกข้อบัญญัติ เพื่อควบคุมหรือกำกับดูแลร้านอาหาร - ร้านอาหารที่มีพื้นที่ของร้านไม่เกิน 200 ตารางเมตร ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “หนังสือรับรองการแจ้ง” มีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท - ร้านอาหารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องยื่นคำขอเพื่อขอรับ “ใบอนุญาต” มีค่าธรรมเนียม 3,000 บาท การยื่นคำขอใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการขอหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ - สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร - สำนักงานองค์การบริหารส่วนต าบล - สำนักงานเทศบาลสำหรับร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล - สำนักงานเมืองพัทยา 4) ขอใบอนุญาตและจดทะเบียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง • การขออนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต โดยสามารถขออนุญาตได้ที่ - กรุงเทพมหานคร: กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง - ต่างจังหวัด: สำนักงานสรรพสามิตอำเภอ/กิ่งอำเภอ • การขอออนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลง - การเปิดเพลง ภาพวิดีโอ หรือ การถ่ายทอดสด ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอยู่ จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย - อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้าของสิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนด - ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตไม่ว่าจะเป็นการเปิดจากแผ่นบันทึกเสียงแท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง หรือเปิดผ่านอินเทอร์เน็ตก็ตาม • การขอประกอบกิจการสถานบริการ - ร้านที่จำหน่ายอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่ม โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 น. - สถานที่เต้นรำหรือมีการเต้นรำ การอนุญาตให้พนักงานหรือนักแสดงนั่งกับลูกค้า มีคาราโอเกะให้ลูกค้าร้องเพลง ถือว่าเข้าข่ายสถานบันเทิงต้องขออนุญาตตามหน่วยงานที่กำหนด กรุงเทพมหานคร: สถานีตำรวจท้องที่ หรือ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่างจังหวัด: ที่อำเภอท้องที่ ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ - สำนักงานจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด - กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) - ผู้ประกอบการหากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี กฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภายใน 30 วัน นับแต่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี - กรณีใช้เครื่องบันทึกการเก็บ จะต้องขออนุญาตการใช้เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร • ขออนุญาตติดตั้งป้ายเพื่อเสียภาษีป้าย คือ - ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ - ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา - ผู้ประกอบการเปิดร้านกาแฟที่มีป้ายหน้าร้านก็ต้องเสียภาษี ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของธุรกิจและเสริมสร้างความรู้ในการทำธุรกิจตลอดจนทำการเชื่อมโยงตลาด (Business Matching) เว็บไซต์ www.dbd.go.th ที่อยู่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (สนามบินน้ำ) 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 สายด่วน 1570 อีเมล computer@dbd.go.th กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง บริหารจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสินค้าและบริการซึ่งควรรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไนต์คลับ และดิสโก้เธค ผู้ประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.excise.go.th ที่อยู่ 1488 ถ.นครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 022415600 อีเมล webmaster@excise.go.th สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารและน้ำบริโภคของประเทศ เช่น มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean food Good taste รวมถึงจัดอบรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถดำเนินธุรกิจอย่างถูกสุขอนามัย ผู้ประกอบการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ foodsan.anamai.moph.go.th ที่อยู่ 88/22 หมู่4 ต.ตลาดขวัญ ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 สายด่วน 025904188 อีเมล webmaster@excise.go.th Published on 2 July 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ