ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ

ให้บริการความรู้และให้บริการที่ปรึกษาค้นคว้าวิจัยด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ โดยให้บริการครบวงจร เช่น ที่ปรึกษาออกแบบเครื่องกล, ฝึกอบรมด้านหุ่นยนต์และเครื่องจักร, ทดสอบการทำงานเครื่องกล เป็นต้น โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติมุ่งทำงาน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบให้ใช้เทคโนโลยีได้เกิดประโยชน์สูงสุด ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัยและความรู้เรื่องเครื่องจักรกล ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และลดปัญหาจากงานที่เสี่ยงอันตราย เพื่อเพิ่มความสามารถบุคลากรด้าน Mechatronics สนับสนุนภาคอุตสหกรรมในยุค 4.0 ได้อย่างทัดเทียม   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ

ให้ความรู้และให้บริการที่ปรึกษางานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวัสดุ เช่น ด้านวัสดุพลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านวัสดุธรรมชาติเพิ่มมูลค่าสร้างมาตรฐานการผลิต และยังให้บริการิวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติวัสดุ เช่น เซรามิก, พอลิเมอร์ ,ยางพารา และคอมโพสิต เป็นต้น ยังมีบริการเผยแพร่คลังความรู้ออนไลน์ทั้งงานวิจัยและตัวอย่างผลงานที่มีประโยชน์มากมาย โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหหกรรมและวิสหกิจชุมชุน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน สร้างประเทศไทยที่เข็มแข็งมั่นคงต่อไป   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม

ให้ความรู้และบริการให้คำปรึกษาทางด้านวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดจากชีวมวล และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพ,วิเคราะห์วัสดุตัวอย่างเชื้อเพลิง, บริการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีคลังความรู้ออนไลน์ เช่น งานวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซล,ผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย เป็นต้น บริการแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติ กิจกรรมอบรมและประชุมด้านสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทน เพื่อประยุกใช้ในเศรษฐกิจและสังคมสีเขียวต่อไป   Published on 17 april 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยการให้บริการรับจ้างวิจัย บริการร่วมวิจัยและพััฒนา บริการที่ปรึกษา เพื่อสร้างผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ วิเคราะห์การแก้ไขปัญหา พัฒนาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้ง ร่วมกับ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO สวทช.) นำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยของ MTEC ไปถ่ายทอดแก่อุตสาหกรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิต ช่วยลดการลองผิดลองถูก ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และระยะเวลาในการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวัสดุ ออกแบบและการผลิต วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การจัดอบรมหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ   รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.mtec.or.th/

บทความแนะนำ

อยากเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสุขภาพทำอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้ (1) ธุรกิจบริการทางแพทย์ (2) ธุรกิจสปา (3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค) (4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ 1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา  - ควรกำหนดว่าลูกค้าจะเป็นระดับบน กลาง หรือล่าง  - กลุ่มลูกค้ามีลักษณะอย่างไร ทั้งอายุ อาชีพ การใช้ชีวิต  - ขั้นตอนการออกแบบธุรกิจ รูปแบบของร้านและจุดเด่น ที่ทำให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น อาจจะเป็นวิธีการทำสปาแบบใหม่ การตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร โปรแกรมเสริม อื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นต้น  - สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ คือการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาในร้าน จนกระทั่งใช้บริการเสร็จสิ้นว่าในแต่ละขั้นตอน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกค้าจะต้องได้รับประสบการณ์อย่างไรบ้าง 2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก - ควรเลือกทำเลที่ใกล้จุดพักอาศัย หรืออยู่ใจกลางออฟฟิศ - ต้องง่ายต่อการมองเห็น ง่ายต่อการมองหา และไม่ดูลึกลับ เพราะจะต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย - ที่จอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากกลุ่มลูกค้าเป็นคนที่ขับรถมาใช้บริการ 3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ - พนักงานให้บริการที่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ จากสถาบันที่คนทั่วไปให้การยอมรับ เช่น สำหรับพนักงานนวดแผนไทย ต้องได้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งอาจจะได้รับการอบรมจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) หรือ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เป็นต้น - ผู้ประกอบการจะต้องให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจพนักงานในการทำงาน รวมทั้งมีการสอนขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน 4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
  • ธุรกิจบริการทางการแพทย์ และธุรกิจนวดแผนไทย เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบ าบัด
คลินิกแพทย์แผนไทย จะต้องขอรับใบอนุญาต 2 ประเภท คือ
  • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 10 ปี
  • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล สำหรับผู้ให้บริการในสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 2 ปี
เขตกรุงเทพมหานคร - ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข  ส่วนภูมิภาค - ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
  • ธุรกิจสปา ทั้ง 3 ประเภท สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวย 
- ต้องยื่นคำขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย (มาตรฐาน สบส.)  - เมื่อได้รับการอนุญาต ผู้ประกอบการจะได้รับใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ และสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน  - เครื่องหมายสัญลักษณ์นี้จะต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการ สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยื่นขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งร้าน - องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ยื่นขอจดอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใบอนุญาตใช้ อาคาร - สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล และยังไม่ได้จดทะเบียนกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน เกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้
  1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)
เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น  - มีการกําหนดรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบของการบริการ เวลาที่บริการ และราคาที่ให้บริการ -  มีระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้าระหว่างการรับบริการ - มีการประเมินความพอใจของลูกค้า และมีการนําผลประเมินมาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ - มีการจัดให้บริการด้านการให้คําปรึกษาและข้อมูล
  1. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff) 
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น - สามารถสื่อสารภาษาไทยและพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างดี - สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสปาได้ - มีจัดฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างดีที่สุด - มีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ ในห้องทรีทเมนต์ให้ครบ พร้อมให้บริการตลอดเวลา
  1. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)
เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น  - ต้องไม่มีการโฆษณาคุณภาพเป็นเท็จ หรือเกินความเป็นจริง - ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองจากอย.หรือกฎหมายกําหนด หรือระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและนําเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีหนังสือรับรองผู้ผลิต ( Certificate of Manufacturer ) หรือหนังสือรับรองการขาย( Certificate of Free Sale ) - มีการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
  1. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)
เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น - มีการจัดแบ่งหน้าที่พนักงานที่ชัดเจนตามตําแหน่ง - มีการจัดระบบการว่าจ้างและผลตอบแทนชัดเจน - มีระบบการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน - มีการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน (Manual Operation)
  1. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)
เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม  เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น - บริเวณต้อนรับ แยกออกจาก่วนที่ให้บริการอย่างชัดเจน ไม่รบกวนผู้รับบริการ - สภาพแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด และปราศจากมลภาวะต่างๆ - มีแผนผังแสดงจุดต่างๆ แสดงไว้อย่างชัดเจน - สถานที่มีความสะอาด และมีระบบดูแลรักษาที่ดีอย่างสม่ำเสมอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ  นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน เว็บไซต์ hss.moph.go.th ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02 193 7999 อีเมล ict@hss.moph.go.th สมาคมสปาไทย  สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 3814441 อีเมล info@thaispaassociation.com กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา เว็บไซต์ www.dsd.go.th ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 248 3393 Published on 15 July 2020 SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

บทความแนะนำ

Clear Cache
Clear All Cache
Enable Page Cache
Disable Page Cache