อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นพื้นที่ให้บริการที่มีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและประเทศ - ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน - การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี - การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ - การถ่ายทอดและอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยีและการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา - การให้บริการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน - การให้บริการห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ - การให้บริการโรงงานต้นแบบ - การให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้าน วทน. ไปทำงานกับภาคเอกชน - การให้บริการพื้นที่ Research Unit คลิกดูวิดีโอแนะนำ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) สอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติม โทรศัพท์ : +66 (0) 4304 8048 มือถือ : +66 (0) 8 9712 7126 อีเมล info@kkusp.com   Published on 6 February 2020 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

[embed]https://youtu.be/MCzI8O9YOcE[/embed] สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) องค์กรในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ผ่านมาตรการส่งเสริมสนับสนุนอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล การพัฒนากำลังคนทั้งกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน นักเรียน-นักศึกษา /การสร้างผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่ม Startup/การเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร ชุมชน/การร่วมวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการช่วยจับคู่ธุรกิจเพื่อขยายช่องตลาด ด้วยเป้าหมายให้เกิดการขับเคลื่อนดิจิทัลสู่ทุกมิติของชีวิต ยิ่งปัจจุบันเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งอยู่ล้อมรอบตัวเราจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับรู้และเข้าถึงบริการของภาครัฐที่เป็นตัวช่วยเชื่อมต่อเทคโนโลยีและดิจิทัล depa จึงมีบริการต่างๆ ที่พร้อมให้การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจร ณ อาคารลาดพร้าวฮิลล์ ถนนลาดพร้าว ซอย 4 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม.
  • บริการให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ DOSS (Digital One Stop Service) เพื่อให้บริการผู้ประกอบการที่ต้องการคำปรึกษาแนะนำ ความช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐไปจนถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้ให้บริการด้านดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบคูปอง และบริการต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจของคุณได้
  • บริการพื้นที่ทำงานและจัดประชุม ทั้งในรูปแบบ Co-Working Space พื้นที่สำนักงาน ห้องประชุม ห้องอบรม ห้องสัมมนา และลานอเนกประสงค์ อยู่บริเวณชั้น 3 ซึ่งเปิดให้หน่วยงานที่สนใจ ผู้ประกอบการ กลุ่ม Startup เข้ามาเช่าใช้บริการได้ในราคาไม่แพง
  • สถาบัน Startup ที่มีกลุ่ม Startup นั่งทำงานที่นี่ เช่น กลุ่ม FinTech กลุ่มบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถ Walk-in เข้ามาเพื่อพูดคุยหรือขอรับบริการที่จะช่วยจุดประกายการพัฒนาธุรกิจได้
  • สถาบัน Big Data ภาครัฐ (Government Big Data Institute : GBDi) ที่ได้คิดค้นการบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดเป็น Platform ที่ SME สามารถใช้บริการเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลในการต่อยอดธุรกิจ หรือกรณีมีหน่วยงานที่ต้องการจัดการกับระบบข้อมูลของตนเอง จะมี Data Scientist ให้คำแนะนำ
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการและผู้สนใจในรูปแบบ คูปองดิจิทัล ทั้งด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฯ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยี การรับรองมาตรฐาน รวมถึงการขยายตลาดของธุรกิจในอุตสาหกรรมดิจิทัล   Published on 23 January 2020 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

[embed]https://www.youtube.com/watch?v=Vh23h57jl0U&feature=youtu.be[/embed]   สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีภารกิจในการให้บริการอุตสาหรรม โดยมีเป้าหมายถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการจัดการ ให้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่สากลอย่างมีเสถียรภาพ โดยใช้หลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ที่สั่งสมจากงานวิจัยของสถาบันฯ เพื่อการให้บริการอย่างเป็นหลักการแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการได้อย่างตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ โดยมีนโนบายในการให้บริการดังนี้
  • เป็นงานพัฒนาต้นแบบทางอุตสาหกรรมที่มีลักษณะทางเทคนิคจำเพาะที่ไม่สามารถจัดหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด และหน่วยงานเอกชนไม่สามารถพัฒนาขึ้นเองได้
  • เป็นงานพัฒนาต้นแบบทางอุตสาหกรรมที่มีลักษณะทางเทคนิคจำเพาะที่ไม่สามารถจัดหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด แต่มีหน่วยงานเอกชนที่สามารถพัฒนาให้ได้ แต่ใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงมาก
  • เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศไทย
  Published on 23 December 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ Southern Thailand Science Park : STSP

[embed]https://youtu.be/MLE-HRoaPHw[/embed] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การให้บริการในส่วนของการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี การยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในการทำวิจัยและพัฒนา และการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ ถือเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และยังช่วยในการสนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่การสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมทำวิจัยด้วยตนเอง โดยที่อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จะจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวขึ้นภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์ที่จำเป็น และโรงงานต้นแบบ ตลอดจนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่างๆ ทั้งในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม อีกทั้งยังร่วมกำหนดทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในอนาคตอีกด้วย Published on 16 September 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ

STDB : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

STDB  (Science and Technology infrastructure Databank) คือ ระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่รวบรวมข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัย เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการ ไว้ในที่เดียวกัน โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าได้ตลอด 24 ชม. ผ่านทาง www.stdb.most.go.th  STDB ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลขจาก 15 มหาวิทยาลัย ในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานต่างๆ ที่นำเข้าข้อมูล เช่น กรมพัฒนาที่ดิน โดยจุดประสงค์หลักของการทำระบบ STDB นี้ขึ้นมา เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐมี ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและสูงสุด และเกิดการ share ใช้เครื่องมือและองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย สำหรับผู้ประกอบการสามารถติดต่อนักวิทยาศาสตร์ (นักวิจัย) หรือห้องปฏิบัติการได้โดยตรงจากเบอร์โทรศัพท์ และ email ที่มีอยู่ในระบบ STDB หากท่านติดต่อไปแล้วและไม่ได้รับการตอบกลับทางผู้ดูแลจะช่วยประสานให้อีกทาง Published on 13 September 2019 SMEONE "ทุกเรื่องครบ...จบในที่เดียว"

บทความแนะนำ