การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

 

หากพูดถึง “การเงิน” คือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและต้องวางแผนอย่างละเอียดเพราะถ้าการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ธุรกิจสะดุดและประสบปัญหาได้ วันนี้ SME ONE เลยนำ 5 ตัวอย่างการจัดการการเงินที่ผิดวิธีพร้อมกับวิธีแก้ไข เพื่อให้ผู้ประกอบการระมัดระวังและวางแผนการเงินได้ดีมากยิ่งขึ้น

การเงินมีปัญหาเพราะใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดในการทำธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินเก็บ หรือเงินสดส่วนตัวในการลงทุนธุรกิจ การเลือกใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเป็นตัวเลือกไม่เหมาะกับการหาทุน เพราะว่าบัตรเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะขออนุมัติง่ายกว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แต่ผู้ประกอบการมักลืมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นสูงพอสมควร (สูงสุดถึง 28% ต่อปี) เพื่อป้องกันปัญหาการเงินนี้ผู้ประกอบการควรเลือกประเภทสินเชื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับกิจการของตนเอง

การเงินบกพร่องเพราะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนแฝง

ผู้ประกอบการหลายรายมักพบกับปัญหาทางการเงิน เพราะไม่ได้คิดต้นทุนแฝงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนพนักงาน ค่าใบอนุญาตต่างๆ ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าเครื่องจักรและค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างงานบุคคลภายนอก ค่าเดินทางนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นต้นทุนแฝงที่จำเป็นไม่ต่างกับต้นทุนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการควรตรวจสอบต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ละเอียด พร้อมกับการวางแผนการเงิน และกันเงินบางส่วนไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย ไม่เช่นนั้น ธุรกิจของเราอาจเกิดสภาวะการเงินบกพร่อง และระบบการทำบัญชีมีปัญหาได้

การเงินติดขัดเพราะไม่แยกสินทรัพย์ส่วนตัวกับบริษัทออกจากกัน

ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยมักมีปัญหาในช่วงแรกของการทำธุรกิจคือ การใช้เงินส่วนตัวและเงินบริษัทปะปนกันโดยไม่แยกบัญชีให้ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการไม่รู้ว่ากำไรและรายจ่ายที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งส่งผลต่อเอกสารทางบัญชี และการคำนวณต้นทุนและกำไรที่ผิดพลาดได้ สร้างปัญหาให้กับระบบการเงิน และธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรแยกบัญชีส่วนตัวกับกิจการออกจากกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนของการทำบัญชี

การเงินถูกใช้กับคนที่ไม่ถูกกับงาน

ปัญหาทางการเงินลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัวเพราะผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไว้ใจให้ญาติช่วยดูแลเรื่องการเงินทั้งๆ ที่ญาติก็ไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินมาก่อน ทำให้ไม่สามารถบริหารการเงินภายในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการจ้างพนักงานที่ไม่มีความถนัดในงานนั้นโดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ วิธีแก้ไขคือ หากผู้ประกอบการไม่มีความรู้ความสามารถด้านใด ก็ให้เลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ตรงและมีความสามารถด้านนั้นมาทำงานแทน เพื่อให้การบริหารการเงินและองค์กรโดยรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพนักงานที่ดูแลด้านบัญชีและการเงิน ที่ควรเลือกจากคนมีประสบการณ์แล้วสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

การเงินใช้ไปกับค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดไปตามการผลิต ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้ากี่ชิ้น ก็ยังต้องจ่ายต้นทุนนี้ในราคาเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น หากผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น เช่น เช่าออฟฟิศขนาดใหญ่เกินขนาดกิจการ หรือ จ้างพนักงานเยอะเกินไป อาจทำให้รายจ่ายในแต่ละเดือนบานปลายได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนธุรกิจและคิดให้ดีว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นกับธุรกิจและค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถตัดออก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

อ้างอิง : https://www.peerpower.co.th/blog/smes/management-financial/

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

5 เครื่องมือ ช่วยทำการตลาดออนไลน์ เพิ่มยอดขายให้ปัง!

5 เครื่องมือ ช่วยทำการตลาดออนไลน์ เพิ่มยอดขายให้ปัง!


การตลาดออนไลน์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูง หากเรามีเครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหรือบริหารจัดการร้านที่ทำให้สะดวกและรวดเร็วก็จะช่วยให้การวางแผนการตลาดของเรามีความผิดพลาดน้อยลงขอแนะนำ 5 เครื่องมือที่ต้องมีในการทำการตลาดออนไลน์ จะเป็นอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. HubSpot’s Blog Topic Generator

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาไอเดีย เพราะนี่เป็นคลังที่ใช้ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ก็ว่าได้ เพียงแค่ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการเข้าไป จากนั้นจะมีลิสต์หัวเรื่องสำหรับทำคอนเทนต์ออกมาให้ทันที แต่หากต้องการไอเดียเพิ่มขึ้นไปอีกอันนี้ก็คงต้องเสียเงินเพิ่ม

2. Buzzsumo

เว็บไซต์สำหรับการหาคอนเทนต์ที่ผู้คนนิยมแชร์บนโลกอินเทอร์เน็ต จึงช่วยเพิ่มไอเดียในการสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ได้โดยสามารถค้นหาจากคีย์เวิร์ดที่ต้องการ นอกจากนี้ Buzzsumo ยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้เทรนด์คอนเทนต์ที่คนพูดถึงในโลกออนไลน์ โดยแสดงจำนวน Engagement ในแต่ละแพลตฟอร์ม

3. Google Trends

ช่วยในการวิเคราะห์เทรนด์การค้นหาคำต่างๆ ทำให้รู้ว่าในขณะนี้ผู้คนกำลังสนใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการหาไอเดียในการทำคอนเทนต์ การเลือกสินค้าและบริการ การหากลุ่มตลาดที่กำลังมาแรง การวางแผนพัฒนาธุรกิจในแต่ละช่วง

4. Mailchimp

เครื่องมือช่วยในการทำการตลาดผ่านอีเมลแบบครบวงจร หรือ E-mail Marketing โดย MailChimp ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถสร้างเทมเพลตอีเมล จัดการรายชื่ออีเมล ส่งและติดตามผลได้ และมีระบบการวัดผลทางสถิติชัดเจนและเข้าใจง่าย

5. Feedly

เป็นแอปฯ ช่วยรวบรวมฟีดข้อมูลในที่เดียวไม่ว่าจะเป็นบทความในบล็อกต่างๆ ข่าวล่าสุด สำรวจเทรนด์ การสนทนาบนโซเชียล วิดีโอที่กำลังมาแรงบนยูทูบ ทำให้สามารถอ่านพาดหัวข่าวและเรื่องราวได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลา


อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/startup-digitalmarketing/7506.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

 

บทความแนะนำ

เปิดกลยุทธ์บริหารการเงินของธุรกิจ SMEs หลังฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID

เปิดกลยุทธ์บริหารการเงินของธุรกิจ SMEs หลังฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID

จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาในปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปี 2654 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ซึ่งหลังจากที่การผ่อนคลายมาตรการคลายล็อคดาวน์ในเดือนกันยายนปี 2564 ที่ผ่ามา ส่งผลให้กิจกรรมของธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มและการปรับตัวที่ดีขึ้นนับเป็นสัญญานที่ดีต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ สำหรับนักของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการคนไหน ที่กำลังประสบปัญหาธุรกิจจากสถานการณ์โควิด-19

วันนี้ SME ONE มีวิธีการบริหารสภาพคล่องอย่างไรให้ธุรเติบโตและสอดคล้องกับระดับการฟื้นตัวรวมถึงกลยุทธ์รองรับการฟื้นตัวธุรกิจค้า มาฝากทุกคนกันครับ

บริหารสภาพคล่องอย่างไร ให้ธุรกิจเติบโตและสอดคล้องกับระดับการฟื้นตัว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินทิศทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกนับตั้งแต่เริ่มคลายล็อกดาวน์ โดยนำข้อมูลดัชนีค้าปลีก ซึ่งเป็นข้อมูลการขายสินค้าของธุรกิจค้าปลีกประเภทต่าง ๆ มาวิเคราะห์และแบ่งธุรกิจค้าปลีกออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ฟื้นตัวได้เร็ว (1-3 เดือน) กลุ่มที่รอเวลาฟื้นตัว (ใช้เวลา 3-6 เดือน) และกลุ่มที่ฟื้นตัวช้า (ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน)

นอกจากนี้ ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา หากต้องการให้ธุรกิจเติบโตไปตามระดับการฟื้นตัว กลยุทธ์สำคัญที่ตอบโจทย์ธุรกิจ คือ “การรักษาสภาพคล่อง” ซึ่งหมายถึง การที่เจ้าของธุรกิจสามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดให้เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้โดยไม่เกิดปัญหา โดยยึดหลักการประเมินว่าจะต้องมีกระแสเงินสดเพียงพอหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจแต่ละครั้งภายในกี่วัน นับตั้งแต่การนำเงินสดไปใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบและสินค้า จ้างคนเพื่อผลิต ขนส่งสินค้าและวางจำหน่าย จนกระทั่งจำหน่ายสินค้าได้

ดังนั้นเมื่อทราบถึงทิศทางการฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจ และนำมาประกอบกับการวิเคราะห์ลักษณะของธุรกิจ จะทำให้สามารถเลือกใช้กลยุทธ์วางแผนจัดการประคับประคอง การปรับตัว หรือการขยายธุรกิจได้ต่อไป


เปิดกลยุทธ์รองรับการฟื้นตัวธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจฟื้นตัวได้เร็ว (ใช้เวลา 1-3 เดือน) ตัวอย่างธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ การขายออนไลน์ ร้านขายยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์น้อยกว่าธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ และมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ธุรกิจจะต้องบริหารสภาพคล่องและสต๊อกสินค้าให้เพียงพอรองรับตลาดที่กำลังกลับมาขยายตัวเพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจรอการฟื้นตัว (ใช้เวลา 3-6 เดือน) ได้แก่ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ขายอะไหล่และซ่อมรถยนต์ สำหรับกลยุทธ์ที่ใช้นอกจากธุรกิจต้องดูแลกระแสเงินสดเพื่อประคับประคองในช่วงแรกแล้วจำเป็นต้องวางแผนสภาพคล่องให้รองรับตลาดที่จะกลับมาขยายตัวในช่วง 3 เดือนข้างหน้า เช่น ปัจจุบันหากธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการเก็บเงินค่าขายสินค้าใช้เวลามากกว่าช่วงเวลาปกติอยู่ที่ 31 วัน (เป็นค่ากลางของธุรกิจในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19) หรือมีสินค้าที่อยู่ระหว่างการขายค้างอยู่มากเกินไปควรปรับลดระยะเวลาเพื่อให้มีกระแสเงินสดดีขึ้นและกลับมาแข่งขันในตลาดเร็ว

ธุรกิจฟื้นตัวช้า (ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน) ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก จำเป็นต้องบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสม เพื่อประคับประคองธุรกิจที่ต้องใช้เวลานานกว่าที่ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นกลับสู่ปกติ หรือบางธุรกิจ เช่น ร้านขาย วัสดุก่อสร้าง ควรเร่งปรับสต๊อกสินค้าให้มากกว่าปกติ เพื่อเป็นเงินสดหมุนเวียน ในช่วงที่ภาคธุรกิจก่อสร้างยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่


อ้างอิง : https://www.prachachat.net/finance/news-783065

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

Augmented Reality อาจเรียกได้ว่าเป็น

“ระบบเสริมประสบการณ์เสมือนจริง” ที่มุ่งสร้างประสบการณ์ใกล้เคียงความเป็นจริงให้กับผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งกำลังได้รับการตอบรับในแวดวงธุรกิจสายแฟชั่นและไลฟ์สไตล์เป็นอย่างดี จนถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Augmented Shopping กลายเป็นฟีเจอร์ส่งเสริมการขายให้ลูกค้าเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่รู้สึกเหมือนว่าได้สัมผัสสินค้าแบบใกล้เคียงความจริงเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคยุคนี้ ที่มองหารูปแบบการใช้ชีวิตผ่านโลกออนไลน์ AR จะช่วยธุรกิจได้อย่างไร?

 

อ่านต่อได้ที่  https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=87#book/31

 

ข้อมูลจาก กรุงไทย SME

บทความแนะนำ

“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”

แม้ว่าการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) อย่างเต็มรูปแบบจะถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในด้านการจัดระบบ วางตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ และจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงด้านกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น

อ่านต่อได้ที่ https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=87...

 

ข้อมูลจาก กรุงไทย SME

บทความแนะนำ