
หัวข้อ : จากหน้าร้านสู่ตลาดออนไลน์ กระชากยอดนิ่งให้วิ่งเป็นยอดล้าน(1) , Omni Channel ผสานดิจิทัลกับธุรกิจเอสเอ็มอี (2)
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Jul-2018.aspx, https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/SCB_Omni
โลกออนไลน์เป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ทรงอิทธิพลมากในปัจจุบัน ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็น 1 ใน 5 กิจกรรมของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย และมีมูลค่าสูงถึง 2.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่การเติบโตของช่องทางการขายหน้าร้าน (Offline) ยังคงบทบาทมีสำคัญ เพราะเปรียบเหมือนโชว์รูมให้ลูกค้าได้มาสัมผัส ทดลองสินค้าจริง สร้างความเชื่อมั่นก่อนตัดสินใจซื้อ
กลยุทธ์ออมนิชาแนล (Omni Channel) รวมตลาดออฟไลน์และออนไลน์ จึงไม่เพียงเสริมจุดเด่นลดจุดด้อย แต่ยังไปเติมเต็มความพึงพอใจของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพออมนิชาแนล (Omni Channel) ถือว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ
ออนไลน์เข้าถึงคน มีผลต่อการตัดสินใจ
เมื่อมือถือทำให้การซื้อสินค้าสะดวกง่าย สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร้พรมแดน ด้วยต้นทุนที่ต่ำ สามารถขายของได้ 24 ชั่วโมง และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในปัจจุบันถึง 80% ทุกวันนี้เอสเอ็มอีไทยมากกว่า 50% จึงใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นช่องทางในการเริ่มต้นธุรกิจ และใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจสูงถึง 90%
หน้าร้านโชว์รูมที่มีผลทางใจ
หลายธุรกิจการคิดว่าการมีหน้าร้านเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นจึงหวังพึ่งออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่การแข่งขันที่รุนแรงสินค้ามีการตัดราคา การทำตลาดออนไลน์อย่างเดียวจึงไม่ได้สร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เพราะธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ได้มักเป็นธุรกิจที่มีทั้งออนไลน์และมีหน้าร้านเพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจที่ขายสินค้าราคาแพงยอดบิลส่วนใหญ่มักมาจบที่หน้าร้าน เพราะลูกค้ามักต้องการเห็นสินค้า อยากมาทดสอบสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ
แม้วันนี้ตัวเลขของตลาดออนไลน์ทั่วโลกเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งรายได้จากตลาดออนไลน์อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด การทำตลาดออนไลน์เพียงอย่างเดียวอาจเสี่ยงเกินไป ตลาดเก่าอย่างออฟไลน์ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแต่อาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่าย การมีหน้าร้านจำนวนมากเพื่อขยายตลาดอาจไม่ใช่คำตอบของการทำธุรกิจวันนี้
การผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว จะนำพาธุรกิจไปสู่จุดหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ การก้าวสู่ออมนิชาแนล (Omni Channel) จึงจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งที่จะต้องดำเนินการในการทำออมนิชาแนล (Omni Channel) สำหรับเอสเอ็มอี มีด้วยกัน 4 ประการได้แก่
โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หน้าร้าน และช่องทางอื่น ๆ ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง
เป็นการเชื่อมโยงการสื่อสารในทุกช่องทางให้ต่อเนื่อง เช่น มีข้อมูลร้านค้ารองรับในช่องทางออนไลน์ มีแผนที่ กูเกิลแมพ (Google Map) ให้ลูกค้าสามารถเดินทางมาที่ร้านค้า รวมถึงมีเบอร์ติดต่อ หรือปุ่มสั่งซื้อสินค้าบนหน้าออนไลน์ได้
ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าจากทุกช่องทาง และไปรับสินค้าได้จากทุกช่องทางที่สะดวกเช่นกัน
นอกจากซื้อสินค้าได้หลากหลายช่องทางแล้ว ยังต้องสามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทางเช่นกัน เช่น ผ่านออนไลน์ ผ่านสาขาธนาคาร และผ่านหน้าร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำออมนิชาแนล (Omni Channel)
Published on 28 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : กำหนดราคาขายยังไง ไม่ให้ขาดทุนบนโลกออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/cost-and-price.html
ต้นทุนการขายสินค้าออนไลน์ ไม่ได้มีแค่ค่าตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่คุณต้องจ่ายไม่ว่าจะเป็น ค่าจัดส่ง, ค่าแพ็กสินค้า และค่าโฆษณา ดังนั้นคุณต้องคำนวณให้ดีว่าต้นทุนของสินค้ามีราคาอยู่ที่เท่าไรกันแน่
เมื่อทราบต้นทุนที่แท้จริงแล้ว ก็จะทำให้กำหนดราคาสินค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของการไม่ “ขาดทุน” นอกจากนั้นยังสร้าง “กำไร” จากการตั้งราคาสินค้าที่สามารถสร้างการแข่งขันได้อีกด้วย
ตั้งราคาตามจุดขายของสินค้า โดยประเมินจากต้นทุน, คุณสมบัติของสินค้า และความต้องการของผู้บริโภค จะช่วยให้สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมของสินค้าขึ้นมาได้
- ต้องรู้จักสินค้าของตัวเองก่อนว่าสินค้ามีต้นทุนต่อหน่วยเท่าไร
- ต้องรู้ว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าประเภทไหน เป็นสินค้าสำหรับคนทั่วไปที่ซื้อง่ายขายคล่อง หรือเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนคนซื้อที่จำกัด
- คุณสมบัติของสินค้าที่แตกต่างกันก็จะมีวิธีในการบวกกำไรในจำนวนที่มากน้อยไม่เท่ากัน
ตั้งราคาจากการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ไม่ว่าคุณจะขายสินค้าอะไรก็ตามมักจะมีคู่แข่งอยู่เสมอ
- ศึกษาคู่แข่งว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไร เป็นข้อมูลสำหรับการนำเอากลับมาตั้งราคาสินค้าของคุณเอง
- ศึกษาว่าคู่แข่งมีจำนวนมากน้อยขนาดไหน ถ้าสินค้าแบบเดียวกันกับของคุณมีคู่แข่งเยอะ ราคาสินค้าของคุณก็ควรจะเกาะกลุ่มไม่ให้ต่างกันมาก แต่ถ้าหากสินค้าของคุณไม่มีคู่แข่งเลย การตั้งราคาสินค้าก็อาจจะตั้งได้สูงในระดับที่คุณพอใจได้เลย
- ก่อนจะตั้งราคาทุกครั้งควรสำรวจตลาดเพื่อเช็กราคาสินค้า ว่าส่วนใหญ่ขายกันราคาเท่าไร แล้วนำมาคำนวณต้นทุนของเราว่าจะบวกกำไรได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้มีกำไรและแข่งขันกับรายอื่น ๆ ได้
อย่าเริ่มต้นด้วยราคาที่ต่ำจนเกินไป การตั้งราคาสินค้าต่ำอาจจะทำให้ขายสินค้าได้ง่าย แต่อาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป
- อาจทำให้ลูกค้าคิดหรือมองสินค้าของคุณไปในด้านลบ หรือทำให้ไม่มั่นใจในตัวสินค้า
- อาจทำให้คุณไม่มีช่องว่างเหลือพอที่จะถอยหลัง ในกรณีที่เปิดตัวด้วยราคาถูกแล้วยังขายไม่ได้ จะลดราคาลงอีกก็เข้าเนื้อ
จัดราคาโปรโมชั่นเพื่อค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทำการตลาดโดยใช้กลยุทธ์สินค้าดีราคาถูกในช่วงโปรโมชั่น เพื่อค้นหาความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ดังนี้
- ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไป เพราะมันอาจจะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่า ราคาจริง ๆ ของสินค้าก็คือราคาโปรโมชั่น
- ควรจะระบุระยะเวลาที่ชัดเจน และไม่ใช้บ่อยจนเกินไป
- ไม่ควรจะลดราคาสินค้ามากเกินไปจนหากำไรไม่ได้
Published on 28 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เริ่มธุรกิจออนไลน์ ต้นทุนอะไรบ้างที่เปลี่ยนไป
อ่านเพิ่มเติม : https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/online-business-cost.html
ธุรกิจไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์นั้น วิธีการที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในวิธีที่นิยมทำกันมากที่สุดก็คือ การทำให้ต้นทุนของธุรกิจลดต่ำลง หากผู้ประกอบการมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของต้นทุนทั้งสองแบบได้แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่าการเริ่มธุรกิจออนไลน์ต้นทุนอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนไป
ต้นทุนของธุรกิจออฟไลน์มักใช้เงินลงทุนสูง เพราะการจัดการธุรกิจที่มีหน้าร้านจริงจัง ส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ ค่าอุปกรณ์ตกแต่ง พนักงาน หรือแม้แต่ค่าที่จอดรถ และในระยะยาวก็ยังต้องใช้เงินลงทุนสูงอีกเช่นกัน เช่น ถ้าคุณขายสินค้า คุณก็ยังต้องมีการสต็อกสินค้า ซึ่งนั่นก็เป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดังหรือบำรุงรักษาเช่นกัน
ต้นทุนของธุรกิจออนไลน์ใช้เงินไม่มาก เพราะสถานที่เป็นสิ่งที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจและยอดขาย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้าน เช่าที่ หรือค่าจอดรถ ธุรกิจออนไลน์นั้นสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยต้นทุนที่ไม่แพง เพียงแค่ลงทุนไปกับเว็บไซต์ที่เป็นหน้าร้านเดียวของคุณให้ดีเพื่อระยะยาวเท่านั้น
ต้นทุนคงที่ของธุรกิจออฟไลน์ คือ ต้นทุนพื้นฐานที่คุณต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตหรือขายมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างของต้นทุนชนิดนี้ในธุรกิจออฟไลน์ก็คือ ค่าเช่าที่ เงินเดือนพนักงาน และค่าเช่าที่เก็บสินค้า
ต้นทุนคงที่ของธุรกิจออนไลน์ ต้องเปลี่ยนไปเป็นต้นทุนการสร้างหน้าร้านทางออนไลน์อย่างเว็บไซต์ หรืออาจจะมีการเปลี่ยนจากค่าจ้างของพนักงานขายไปเป็นการจ้างแอดมินหรือผู้ดูแล ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการหน้าร้านแบบออนไลน์แทน ซึ่งถ้าหากเจ้าของธุรกิจสามารถจัดการเรื่องของออนไลน์ได้เอง ก็จะทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนแบบนี้
ต้นทุนผันแปรของธุรกิจออฟไลน์ คือ ต้นทุนที่จะแปรผันไปตามปริมาณการผลิตสินค้าและการขายสินค้า เรียกได้ว่าต้นทุนแบบนี้ยิ่งผลิตมากก็ต้องจ่ายมาก สามารถลดต้นทุนชนิดนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนไปเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเรื่องของค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ ลงไปได้
ต้นทุนผันแปรของธุรกิจออนไลน์ หลัก ๆ คือค่าทำการตลาดแบบออนไลน์ และค่าโฆษณาบนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ นั่นเอง ที่หากผู้ประกอบการต้องการให้โฆษณาเข้าถึงคนบนออนไลน์จำนวนมากเท่าใด ก็ต้องแลกด้วยการเพิ่มขึ้นของต้นทุนแบบนี้เพิ่มขึ้นเท่านั้น
การหาจุดที่ทำธุรกิจแล้วคุ้มค่ากับการดำเนินงาน เราเรียกว่า “จุดคุ้มทุน” ซึ่งก็คือจุดที่ธุรกิจมีรายได้จากยอดขายเท่ากับต้นทุน ถ้าหากคุณสามารถทำยอดขายได้มากกว่าจุดคุ้มทุนที่คำนวณได้ก็แสดงว่าธุรกิจมีกำไร แต่ถ้ายอดขายต่ำกว่าค่าจุดคุ้มทุนที่คำนวณได้นั่นคือธุรกิจมีต้นทุนมากกว่ารายได้หรือขาดทุน
Published on 28 August 2020
SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”
หัวข้อ : รู้ทันทรัพย์สินทางปัญญา จดไวธุรกิจไปไกลทั่วโลก
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/dip
ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเรียนรู้ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคิดจะทำธุรกิจกันยาว ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต การออกแบบสินค้าและบริการ ตลอดจนชื่อแบรนด์และโลโก้สินค้า ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามีราคาแทบทั้งสิ้น
ทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้หมายถึงเพียงผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ แต่ในแง่ของธุรกิจนั้นการสร้างสรรค์งานส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างความแตกต่างให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาตัวหนึ่งที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายหากปล่อยให้ผู้อื่นนำผลงานสร้างสรรค์ของตัวเองไปลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำ
ทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายให้การคุ้มครองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกมาได้อีก 6 ประเภทย่อย คือ
1.สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร
2.เครื่องหมายทางการค้า
3.แบบผังภูมิของวงจรรวม
4.ความลับทางการค้า
5.เครื่องบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI
6.คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
แต่ส่วนที่มีความสำคัญกับธุรกิจการค้าและมักเป็นประเด็นขัดแย้งจนกลายเป็นคดีความกันบ่อยครั้งจะมีอยู่ 3 เรื่อง คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายทางการค้า
ลิขสิทธิ์ : เป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ เป็นงานที่เกิดมาจากแรงบันดาลใจจากข้างในของผู้สร้างสรรค์เอง เช่น งานเขียน งานออกแบบ หรืองานศิลปะต่าง ๆ ซึ่งสิทธิ์จะเกิดขึ้นทันทีที่งานนั้นถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ในการฟ้องร้องเพื่ออ้างสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของผลงานจะต้องจัดเตรียมหลักฐานมาใช้ในการเรียกร้องสิทธิ์เอง โดยสิทธิ์มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และต่อเนื่องไปอีก 50 ปี หลังจากนั้นผลงานจะตกเป็นของสาธารณะ ใครก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สิทธิบัตร : เป็นผลงานด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยมีหลักในการพิจารณา 3 เรื่องคือ
ดังนั้นอะไรที่ไม่ใหม่ไม่ถือว่าจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งการจดต้องมีการตรวจสอบกับข้อมูลจากทั่วโลกเพราะต้องเป็นเรื่องที่ใหม่จริง ๆ ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งคิดมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะอยู่แห่งใดในโลกก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การจดสิทธิบัตรค่อนข้างใช้เวลานาน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้คำแนะนำไว้ว่า การจดสิทธิบัตรเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการก่อนเรื่องอื่นใดทั้งหมด ซึ่งอาจจองสิทธิ์ไว้ก่อนแล้วจึงไปดำเนินการอย่างอื่น หรือควรรอให้ได้รับสิทธิ์เรียบร้อยก่อนค่อยไปทำอย่างอื่น เพราะหากทำการตลาดไปแล้ว ปรากฏว่าการจดสิทธิบัตรไม่ผ่าน ก็อาจเสี่ยงต่อการถูกลอกเลียนแบบและแย่งจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ให้ดี
เครื่องหมายทางการค้าหรือโลโก้ : ต้องไม่บรรยาย บ่งบอก หรือแสดงถึงสินค้าที่จะขาย เหตุผลก็เพราะทรัพย์สินทางปัญญาคือสิทธิผูกขาด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์สามารถฟ้องผู้ละเมิดได้ ดังนั้นคำที่บรรยายถึงสินค้าจึงควรเป็นคำที่ทุกคนสามารถใช้ได้ ไม่ใช่สิทธิ์เฉพาะของคนใดคนหนึ่ง ซึ่งถ้าปล่อยให้ใครจดทะเบียนครอบครองสิทธิ์ได้ คนที่จดได้ก่อนก็จะได้สิทธิ์ผูกขาดอยู่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เป็นธรรมกับคนอื่น ๆ ที่ต้องการทำการค้าในสินค้าอย่างเดียวกัน ยกตัวอย่างเรื่องของกาแฟ ผู้ค้าอาจใช้คำว่า Coffee อยู่ในเครื่องหมายการค้าได้ แต่คำว่า Coffee จะไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ ใครก็สามารถใช้คำ ๆ นี้ได้เช่นกัน
ข้อควรรู้สำหรับผู้ประกอบการ
- สิทธิบัตรกับเครื่องหมายทางการค้าเป็นสิทธิ์เฉพาะดินแดน คือจดทะเบียนที่ประเทศไหนได้รับความคุ้มครองเฉพาะประเทศนั้น
- การให้สิทธิ์ของสิทธิบัตรจะดูเรื่องของความใหม่เป็นสำคัญภายใน 1 ปีหากยังไม่ไปจดความใหม่นั้นอาจจะหมดไปหรือมีคนอื่นไปจดก่อน
- ปัจจุบันจะมีระบบการจองสิทธิ์ผ่านทางออนไลน์ที่เรียกว่า PCT (Patent Cooperation Treaty) โดยเจ้าของสิทธิ์จะต้องยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์ในเว็บของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อจองสิทธิ์ในเบื้องต้นก่อน และจะมีเวลา 18 เดือนในการเดินทางไปจดทะเบียนจริงที่ประเทศนั้น ๆ
- เครื่องหมายทางการค้าสามารถยื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน แต่ต้องยืนยันตัวตนและสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
- การจดทะเบียนสิทธิ์ในต่างประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลทางการค้ามาก เช่น หากมีคนจีนเอาสินค้าแบรนด์คุณที่ขายดีในไทยไปจดทะเบียนที่จีน นั่นจะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำสินค้าแบรนด์ตัวเองเข้าไปเปิดตลาดในจีนได้เพราะจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ ยกเว้นแต่จะเข้าไปในชื่อแบรนด์อื่น
- การจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าในต่างประเทศ โดยหลักแล้วจะมีข้อพิจารณาอยู่ 4 ข้อ
- อายุการคุ้มครองในส่วนของเครื่องหมายทางการค้าจะได้สิทธิ์ 10 ปี แต่ผู้เป็นเจ้าของสามารถต่อสิทธิ์ได้เรื่อย ๆ หากไม่ต่อสิทธิ์และมีใครมาจดแทน สิทธิ์นั้นก็จะเปลี่ยนเป็นของคนใหม่ทันที
- สิทธิบัตรจะมีอายุการคุ้มครอง 20 ปี หลังจากนั้นสิทธิ์จะกลายเป็นของสาธารณะ ซึ่งใครก็สามารถนำไปใช้
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 3 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/digital-marketing-ibe
ในยุคที่แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นโจทย์ที่ทุกธุรกิจต้องตีให้แตกตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ดียังมีความเข้าใจบางอย่างที่ยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง วันนี้มาไขความจริงให้กระจ่างไปด้วยกัน
เมื่อกล่าวถึง ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) หรือการตลาดออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการขายของบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งนี้เรียกว่าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือให้เกิดการซื้อขายได้ 2 แบบ ได้แก่
เครื่องมือการตลาดออนไลน์แต่ละตัวมีจุดเด่นแตกต่างกัน จึงต้องนำมาใช้ผสมผสานสนับสนุนกันอย่างเหมาะสม เช่น
ข้อสำคัญของการทำการตลาดดิจิทัลคือ "มือถือ" ทุกการสื่อสารที่จะออกไปต้องเหมาะกับการดูในมือถือ ไม่ว่าจะโพสต์บน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือไลน์ ขนาดตัวหนังสือต้องเหมาะกับการอ่านบนมือถือและน่าสนใจพอที่จะไม่ถูกเลื่อนผ่าน
เว็บไซต์ คืออีกหนนึ่งหัวใจสำคัญ นอกจากเป็นสินทรัพย์อย่างเดียวที่ผู้ประกอบการสามารถถือครองได้บนโลกออนไลน์แล้ว ยังเป็นเหมือนหน้าร้านที่เปิดขายตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เว็บไซต์ที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
หลายคนคิดว่าการทำเพจเฟซบุ๊กต้องมียอดไลก์เยอะๆ แต่ในความจริงแล้วนั่นอาจไม่ได้หมายถึงยอดขาย เพราะจากผลสำรวจพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
การสื่อสารโฆษณาทางออนไลน์จึงต้องหาลูกค้าที่แท้จริงด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ ของแพลตฟอร์มเข้าช่วย อย่างเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือที่เก็บข้อมูลทุกการกระทำในโลกออนไลน์ได้ละเอียด มีการคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคตของผู้ใช้ได้แม่นยำ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมในอดีตด้วยฐานข้อมูลสถิติของคนครึ่งโลก รวมไปถึงการหากลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
การทำโฆษณษเฟซบุ๊กสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายอย่างง่ายๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
นอกจากนี้ ถ้าลูกค้ามีหลายกลุ่ม ก็ต้องมีการปรับชิ้นงานที่สื่อออกไปให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มด้วย ถ้าไม่แน่ใจว่าชิ้นงานไหนจะได้ผลก็สามารถทำการทดสอบ (A/B Testing) โดยขึ้นชิ้นงาน 2 ชิ้นพร้อมกันแล้วดูผลตอบรับที่ออกมา
ในส่วนของกูเกิ้ล อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สำคัญ มีเครื่องมือที่ครบวงจร ตั้งแต่ กูเกิล เสิร์ช (Google Search), กูเกิล แมพ (Google Map), โฆษาณากูเกิล (Google Ad), ยูทูบ (YouTube), จีเมล (Gmail) และ ดิสเพล เน็ตเวิร์ค (Display Network)
การตลาดออนไลน์ให้ประสบการณ์สำเร็จ ไม่ได้หมายถึงการทุ่มเงินซื้อโฆษณา แต่ต้องประกอบด้วย
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย