ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดเชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาและเส้นใยธรรมชาติ แบรนด์ PAPA PAPER CRAFT® ผลิตโดยบริษัท ซิพลิ เด็คคอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์ และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เช่น ถุง กล่อง สมุด อัลบั้ม การ์ด บรรจุภัณฑ์ ที่ประสบความสำเร็จจากการได้รับบริการคำปรึกษาแนะนำจาก ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จ.เชียงใหม่

 

บ้านต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตกระดาษที่เคยมีชื่อเสียงอย่างมากในอดีต เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี เมื่อวันเวลาผ่านไป ความนิยมในการใช้กระดาษสาลดน้อยลง  โรงงานผู้ผลิตกระดาษสาในพื้นที่ ต่างทยอยเลิกกิจการ  จนปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งที่ยังเป็นลมหายใจสุดท้ายของบ้านต้นเปา นั่นคือ “บริษัท ซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด” (SIMPLY DÉCOR) ภายใต้แบรนด์ “PAPA PAPER CRAFT® ปาป้า เปเปอร์ คราฟท์” 

 

ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดเชียงใหม่  ได้ให้คำปรึกษาแนะนำให้ผู้ประกอบการเข้าโครงการต่างๆ ของ สสว. ด้านของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนะนำให้ผู้ประกอบการเข้าโครงการ Stronger SME – Green product to ECO packaging เพื่อพัฒนาสินค้าในส่วนของบรรจุภัณฑ์  โดยนำหลักการของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ และพยายามลดการใช้สารเคมีในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม  และแนะนำให้ผู้ประกอบการประกวด SME National Awards เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กร ในด้านการหาแหล่งเงินทุน ได้แนะนำให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมในเรื่องของเอกสารต่างๆ โดยได้ตรวจสอบ คัดกรอง และแนะนำเอกสารในเบื้องต้นก่อนที่จะยื่นสินเชื่อกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

 

ผลสำเร็จ ภายหลังจากการเข้ารับบริการคำปรึกษาศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร

โดยได้รับรางวัล SME National awards ปี 2017  ปี 2018 ปี 2020 และ ปี 2021 ซึ่งส่งผลดังนี้   

- เพิ่มรายได้ : โดยมียอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในปี 2019 ประมาณ 5-10 %

- เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ : มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย

- ฐานลูกค้า : ได้กลุ่มลูกค้าใหม่จากประเทศญี่ปุ่น จากการร่วมออกบูธ ณ ประเทศญี่ปุ่น

 

นี่คือ 1 ใน SME ที่ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้ เพียงเข้ามารับคำปรึกษาจากศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร สสว.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร 1301 หรือ www.sme.go.th

 

บทความแนะนำ

ประเด็นที่น่าสนใจ สถานการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจออนไลน์ของธุรกิจ MSME

ประเด็นที่น่าสนใจ สถานการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจออนไลน์ของธุรกิจ MSME 

บทความแนะนำ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือน มิถุนายน 2565

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือน มิถุนายน 2565

https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20220802103829.pdf

 

บทความแนะนำ

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) รายเดือน มิถุนายน 2565

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) รายเดือน มิถุนายน 2565

https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20220726161855.pdf 

บทความแนะนำ

รู้หรือไม่? เจ้าของกิจการขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้ กับ 3 วิธีช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับธุรกิจของคุณ

รู้หรือไม่? เจ้าของกิจการขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้

กับ 3 วิธีช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับธุรกิจของคุณ

 

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการที่มีรายได้หลักมาจากธุรกิจของตัวเองบางครั้งอาจจะมีปัญหาในการแบ่งแยก และบริหารจัดการทางด้านการเงินระหว่างส่วนตัวกับธุรกิจจนทำให้เกิดความสับสนตามมา บางครั้งอาจต้องการเงินสดแบบด่วนๆ คุณสามารถขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารได้

 

SME ONE ขอพาทุกคนมาดูกันว่าเราจะมีการบริหารจัดการการเงินอย่างไรให้มีความลงตัวมากที่สุดและสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้

 

1.ให้รายได้กับตัวเองในรูปแบบของเงินเดือน 

การจัดสรรรายได้ของกิจการบางส่วนมาแบ่งให้กับตัวเองในรูปแบบของรายได้ประจำมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบเดียวกับพนักงานประจำทั่วไปได้ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน เนื่องมาจากวิธีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยทั่วไปของธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบรายได้ที่มีความมั่นคงแน่นอนมากกว่า แม้ว่ารายได้จะน้อยกว่าการเป็นเจ้าของกิจการแต่สถาบันการเงินจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องมากกว่าจำนวน การให้เงินเดือนกับตัวเองยังเป็นวิธีการแยกแยะรายได้ส่วนตัวกับรายได้ของกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้ไม่เกิดความสับสนในการจัดการบัญชี โดยเจ้าของกิจการจะต้องประเมินรายได้ขั้นต่ำที่เกิดขึ้นต่อเดือนและนำมาประเมินต่อเป็นเงินเดือนของตัวเองที่จะต้องเพียงพอต่อการใช้ชีวิต

 

2.นำรายได้ของกิจการมาเป็นทรัพย์สินของตัวเอง 

วิธีการแบบนี้ใช้ได้กับกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวเบ็ดเสร็จหรือผู้ถือใหญ่เพียงรายเดียว เพราะหากเลือกใช้วิธีนี้เวลาที่ไปขอสินเชื่อบุคคลกับทางธนาคาร สถาบันการเงินจะคำนวนรายได้ของกิจการต่อเดือนจากนั้นนำมาหารเฉลี่ยด้วยสัดส่วนของหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในกิจการ ตัวอย่างเช่น นาย ก มีการถือหุ้น 97% ในกิจการที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 100 บาท สถาบันการเงินจะประเมินว่านาย ก มีรายได้ต่อเดือนที่ 97 บาท เพื่อนำไปใช้ในการประเมินเครดิตในการให้สินเชื่อ เป็นต้น

 

3.ใช้ทรัพย์สินของกิจการเป็นวงเงินค้ำประกัน 

วิธีนี้เหมาะสมกับเจ้าของกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียวเช่นกันเพื่อที่จะไม่เกิดปัญหาในการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขอสินเชื่อ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้ค้ำประกันกับทางธนาคารได้มีตั้งแต่สถานประกอบการ โรงงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้ขอสินเชื่อกับธนาคารอาจจะจำกัดเฉพาะสถาบันการเงินบางแห่งเท่านั้นที่มีบริการหรือสินเชื่อประเภทนี้ให้บริการ เนื่องจากอาจจะเกิดความสับสนกับสินเชื่อธุรกิจได้ วงเงินที่สามารถขอได้จึงไม่สูงมากนักและอัตราดอกเบี้ยก็จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสินเชื่อปกติ แต่วิธีการนี้ก็จะเป็นการแยกส่วนของเงินระหว่างของธุรกิจกับเจ้าของออกจากกัน

 

และนี่ 3 วิธีการบริหารจัดการการเงินให้มีความลงตัว เพื่อที่ให้คุณสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/7564.html

บทความแนะนำ