ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (TISTR)

             เรื่องของแพ็กเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์เป็นอีกสิ่งสำคัญต่อหลายธุรกิจ หากคุณมองหาศูนย์ที่จะช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ต้องที่นี่เลย "ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (TISTR)" เป็นหน่วยงานดูที่แลในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่การบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก  ไปจนถึงการทำห่อขนมขนาดเล็ก
โดยเน้นไปที่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ
SMEs ในทุกประเภทธุรกิจ รวมไปถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

                
โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยมีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. ห้องปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่วยเหลือในด้านของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อลดความเสียหายของผักและผลไม้สด ยืดอายุอาหาร และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  2. ห้องปฏิบัติการทดสอบบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9001, ISO/IEC 17025 และ  ISTA เป็นบริการที่ช่วยทดสอบบรรจุภัณฑ์ด้านต่าง ๆ สำหรับการขายและการขนส่งให้ได้มาตรฐานสากล เช่น ทดสอบการกดทับ กันกระแทก และยังมีบริการทดสอบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตรายอีกด้วย

  3. บริการด้านการให้ข้อมูลงานวิจัย สำหรับพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์แอคทีฟและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ หรือหากสนใจด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ก็มีให้เรียนรู้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดสัมนาและการฝึกอบรมด้านบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และบุคคลทั่วไปที่สนใจ


สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการใช้บริการสามารถนําตัวอย่างที่ต้องการทดสอบมาติดต่อขอใช้บริการด้วยตัวเองโดยตรงได้ที่อาคารศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
196  ถ.พหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ  10900  ไกล้สถานีรถไฟฟ้า สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

หรือ สามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์   : 02 579 1121-30 ต่อ 3101 หรือทาง e-mail: tpc-tistr@tistr.or.th , packtest@hotmail.com

Published on 26 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี

 

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่มีธุรกิจอยู่แล้วหรือกำลังเริ่มต้น และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจ ต้องการหาไอเดียใหม่ ๆ พัฒนาสินค้าหรือทำสินค้าตัวอย่าง ที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี ตอบโจทย์คุณแน่นอน เพราะที่นี่พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ ศึกษาตลาด แหล่งเงินทุน ตั้งแต่สเต็ปเบื้องต้น เช่น เรื่องกระบวนการผลิต จนถึงการวางแผนธุรกิจในอนาคต และยังช่วยดูแล SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP อีกด้วย ซึ่งหมูสะเต๊ะคุณแม่โอ๊ะโอ ที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์ มากกว่า 40 สาขา ก็ได้เข้ามารับคำปรึกษาจากที่ศูนย์เช่นกัน

 

โดยที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. ให้คำปรึกษาเรื่องกระบวนการผลิตและแนวทางการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ หรือการเข้าแหล่งเงินทุน เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ธุรกิจของคุณไปต่อได้ ไม่มีสะดุด
  2. สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตสินค้า ที่ศูนย์ยังมีบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรกลางคอยให้บริการทดลองมากถึง 17 ชนิด ให้ผู้ประกอบการได้ทดลองผลิต ตัวอย่างเช่น เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย Spray Dryer, เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง freeze dry, ตู้อบลมร้อน
  3. มีผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรมหาลัยต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ
  4. มีผู้เชียวชาญคอยให้คำปรึกษาในเรื่องของออกแบบบรรจุภัณฑ์ และทำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบโลโก้และ ตราสินค้า

และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต ยังมีพื้นที่ co working space ที่สามารถให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการนัดหมาย ประชุม  พูดคุย ได้ฟรี และในอนาคตอาจมีร้านกาแฟได้บริการอีกด้วย

 

 

สำหรับผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่สนใจเข้ามาใช้บริการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

Facebook : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (Industrial Promotion Center Region 9)

Webside :  https://ipc9.dip.go.th/

โทรศัพท์ : 038-784-064-7

 

 

 

 

บทความแนะนำ

ศูนย์พัฒนานวัตกรรมอาหาร FACTory Classroom

FACTory Classroom ศูนย์เพื่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพราะที่นี่เชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบอาหารสู่มาตรฐานสากล (Food prototyping service) โดยมีผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ช่วยให้คำปรึกษา ทดสอบ พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ดูแลและวิจัยการแปรรูปผลไม้และวัตถุดิบทางการเกษตรต่าง ๆ เเละที่ศูนย์ยังเป็นโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งกระบวนการทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การผลิตเครื่องดื่ม และการผลิตอาหารสำเร็จรูป

 

โดย FACTory Classroom มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. ให้คำปรึกษา SMEs ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มทำผลิตภันฑ์ต้นแบบ สร้างบรรจุภัณฑ์ จนถึงการนำผลิตภัณฑ์ออกไปทดลองสู่ตลาด
  2. บริการเครื่องสร้างต้นแบบ (Prototype Machine), พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype Product Proceed)
  3. บริการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard) สำหรับการทดลองสูตร ปรับสูตรก่อนขั้นตอนการผลิตจริงเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาด
  4. บริการควบคุมคุณภาพ, การประกันคุณภาพ
  5. บริการทดสอบเครื่องจักรสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก

 

นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีโครงการพัฒนาวิจัยต้นแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองได้ และยังกระจายแหล่งการเรียนรู้สู่จังหวัดอื่น ๆ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่แหล่งของวัตถุดิบเพื่อสร้างการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เช่น ที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย) เปรียบเสมือนโรงเรียนสาธิตสำหรับ SMEs โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง

โดยที่ FACTory Classroom ได้รับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตจาก อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งกลุ่ม SMEs ที่เข้ามาวิจัยกับศูนย์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์-ทดลองผลิตเพื่อนำไปโชว์ หรือผลิตต้นแบบจากศูนย์ ก็จะได้รับมาตรฐาน อย. และสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปโชว์ที่ต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดธุรกิจได้

 

สำหรับ SME ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยตรง หรือเข้าร่วมผ่านโครงการที่ FACTory Classroom ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการทดลองผลิตสินค้าประเภทต่างๆ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท แล้วแต่ประเภทของสินค้าว่าเข้าข่ายกับโครงการไหน

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอาหาร

ชั้น 3 อาคารโรงอาหาร 3 อาคารโรงงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ (FACTory Classroom) คณะวิศวกรรมศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 02-329-8356-8 หรือ 095 909 0488

Facebook: KMITL FACTory Classroom

 

 

บทความแนะนำ

Bengaluru Tech Summit ครั้งที่ 23 หรือ BTS2020

Department of Electronics, Information Technology สาธารณรัฐอินเดีย มีกำหนดจะจัดการประชุม Bengaluru Tech Summit ครั้งที่ 23 หรือ BTS2020
ผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2563

ซึ่งการประชุม BTS2020 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจสตาร์ทอัพ และแนวโน้ม โอกาส และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมภายใต้หัวข้อ “NEXT IS NOW” ซึ่งนำเสนอแนวคิดการมองไปข้างหน้าผ่านบทบาทของเทคโนโลยีปัจจุบันที่จะมีบทบาทต่อการสรรหา
แนวทางใหม่ๆพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมไปสู่อนาคต กิจกรรมในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่:

o   การประชุมหารือในประเด็นต่างๆ เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคโนโลยีชีวภาพ และความก้าวหน้าในการรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ อิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจสตาร์ทอัพ

o   การจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อข้างต้น

o   การเจรจาธุรกิจ (Business-to-Business – B2B) ผ่านระบบออนไลน์ และการประชาสัมพันธ์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่

ที่ประชุมมีกำหนดจะเปิดตัวกลุ่มพันธมิตร India Innovation Alliance ซึ่งมีสมาชิกจากรัฐต่างๆ ของอินเดียที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่และระบบนิเวศธุรกิจ (Business Ecosystem) ของสาตร์ทอัพอินเดียเข้าร่วม ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มพันธมิตร Global Innovation Alliance ซึ่งมีสมาชิก 20 ประเทศทั่วโลก
เช่น สหรัฐฯ  สหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมนี สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น และอิสราเอล

การประชุม BTS2020 คาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานกว่า 20,000 คน แบ่งเป็นผู้เข้าร่วมจากภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทดโนโลยีผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัยกว่า 5,000 คน รวมทั้งนักศึกษา ตัวแทนบริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
และผู้เข้าร่วมทั่วไป ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563
ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.bengalurutechsummit.com

บทความแนะนำ

จากมือเปล่าสู่พันล้าน วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เจ้าของแบรนด์เสื้อกีฬาสัญชาติไทย ดังไกลถึง "ตลาดโลก"







จุดเริ่มต้นของธุรกิจเสื้อผ้ากีฬาแบรนด์ Warrix คืออะไร

คุณวิศัลย์ : จริง ๆ เห็นตลาดเสื้อผ้ากีฬา มองเป็นโอกาสมาตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ แล้ว ก็กล้า ๆ กลัว ๆ แต่พอได้มีโอกาสเข้าไปทำเรื่องของ License ของสโมสรจังหวัดใหญ่ ๆ อย่างโคราชกับเชียงใหม่ ก็ทำให้เข้าใจตลาดฟุตบอลเมืองไทย ว่ายังมีโอกาสอีกมากมาย

ฟุตบอลมีช่องว่างเรื่องเสื้อกีฬาที่ไม่เกี่ยวกับฟุตบอล ระหว่างแบรนด์ไทยกับแบรนด์นอกที่กว้างมาก ทั้งเรื่องราคา เรื่องคุณภาพ ทำการตลาดกับผู้โภค คิดว่าพอเห็นโอกาสก็กระโดดเข้าใส่เลย

 

Trends เสื้อผ้ากีฬาของแบรนด์ Warrix เป็นอย่างไร

คุณวิศัลย์ : เห็นเป็นหนึ่งใน Global Trends เรื่องของ Health เรื่องของ Sport ก็คือคนเริ่มสนใจสุขภาพมากขึ้น อย่างเรื่องของกินเรื่องอาหาร แต่เรื่องของการออกกำลังกายเป็นหนึ่งใน Global Trends เป็นกระแสของผู้บริโภคที่จะจับจ่ายใช้เงิน ก็คิดว่าเราเกาะไปกับ Global Trends น่าจะไม่พลาด

 

วิธีการขยายตลาดของแบรนด์ Warrix ในตอนนี้

คุณวิศัลย์ : ฟุตบอล ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกีฬามหาชน เป็น Mass ที่สุดในการบริโภคเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา Warrix เริ่มขยายไปตลาดวิ่ง แล้วก็ฟิตเนส แบดมินตัน ค่อยเป็นค่อยไป และกำลังจะเริ่มกอล์ฟ

 

มีโอกาสร่วมงานกับทีมชาติไทยได้อย่างไร

คุณวิศัลย์ : ตอน Warrix มาจับกับทีมชาติ ถือเป็นโอกาสที่ไม่คาดว่าจะมาเร็วขนาดนั้น ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในสมาคมฟุตบอล คิดว่าสัญญามันยังมีต่อไปอีกหลายปี และ ณ วันนั้นบริษัทถือเป็นไซซ์เล็ก แต่พอโอกาสเปิดให้มีการประมูล คิดว่าถ้าไม่คว้าโอกาสนั้นในการกระโดดเข้าไปประมูล ก็ไม่รู้จะมีโอกาสแบบนี้อีกไหม

เมื่อ 4 ปีที่แล้วจึงกระโดดเข้าไปประมูลด้วยตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ณ วันที่ไปประมูลก็ยังบอกกับพี่ที่นั่งข้าง ๆ ว่าผมขอไปเป็นไม้ประดับ ไม่คิดว่าจะได้ แต่พอเราประมูลได้ เราก็ใช้โอกาสนี้สร้างผลงานอย่างเต็มที่ เหมือนนักฟุตบอลรุ่นใหม่ ๆ ได้โอกาสลงสนามปุ๊ป ต้องทำประตูให้ได้

 

ถ้าจะเปรียบเทียบมาตรฐานและคุณภาพเสื้อผ้ากีฬาของ Warrix กับแบรนด์ระดับโลก

คุณวิศัลย์ : เรียกว่าเราใช้สินค้า เส้นด้ายมาจากโรงงานเดียวกัน ทอผ้าที่เครื่องเดียวกัน เย็บที่จักรเดียวกัน ผมก็คิดว่าเราไม่ได้แพ้เข้านะครับ จริง ๆ บางตัวเราใช้เร็วกว่าแบรนด์ระดับสากลด้วยซ้ำ เพราะว่าระยะเวลาในการทำงานในหนึ่งคอลเลคชั่นที่ออก แบรนด์ระดับโลก เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เขาใช้เวลาหนึ่งปีเต็ม แต่ Warrix ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากบริษัทเราเป็นขนาดกลางเราจึงเร็วกว่า

 

อยากให้บอกถึงปัญหาในการทำธุรกิจของบริษัท

คุณวิศัลย์ : ปัญหาในการทำธุรกิจอย่างผมยังถือว่าเป็นไซซ์ SME เป็นปัญหาเรื่องคน ปัญหาเรื่องการเข้าหาแหล่งเงินทุน สองอย่างนี้เจอตลอด เจอมาจนถึงวันนี้ นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องตั้งเป้าในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือตลาดทุน ที่ต้นทุนไม่สูง และไม่มีปัจจัยที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งทอ หรือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโต ที่ Warrix ทำไม่ใช่สิ่งทอยุคโบราณที่เป็นการรับจ้างผลิตอีกต่อไป Warrix ทำแบรนด์ของตัวเอง มีการตลาดที่มุ่งเน้นออนไลน์ มุ่งเน้นเรื่องของการสร้าง Engagement สร้างแบรนด์

 

Warrix กับการไปตลาดโลก

คุณวิศัลย์ : เคยมีคนถามตอนที่ได้ทีมชาติไทยว่าฝันผมจะไปต่อไกลขนาดไหน สิ่งที่เราทำเราคงไม่ก้าวกระโดดไปขนาดนั้น แต่เราต้องฝันว่าใน 5 ปี 10 ปี จะไปไหน ถ้าบริษัทมีความแข็งแรง ยอดขายเติบโตขึ้นเป็น 4 - 5 พันล้าน ก็ไม่แปลกที่ Warrix จะกล้าไปเป็นสปอนเซอร์ทีมดัง ๆ หรือสโมสรใหญ่ ๆ ในยุโรปแน่นอน แต่มันคงไม่ใช่แค่เรื่องของการสปอนเซอร์ หรือมีโลโก้บนหน้าอกเชิ้ต ยังเป็นเรื่องของระบบการจัดจำหน่าย เป็นเรื่องของการสร้างแบรนด์ในมิติการตลาด

 

เคยขอเข้ารับการสนับสนุนจากทางภาครัฐไหม

คุณวิศัลย์ : จริง ๆ ก็มีบ้าง ทั้งเรื่องของการสนับสนุนจาก สวทช บ้าง จาก สสว บ้าง ก็จะมีเข้ามาบ้าง

 

มีการขยายธุรกิจไปยังด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบ้างไหม

คุณวิศัลย์ : ปัจจุบัน Warrix ขยายมา Segment ของสุขภาพ ก็เป็นเรื่องของคลินิกกายภาพ, Performance Training, วิทยาศาสตร์การกีฬา

 

กลยุทธ์ทางการตลาดและปัจจัยความสำเร็จในการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง

คุณวิศัลย์ : ผมคิดว่า Key Success ของ Warrix น่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ผมมองว่าผมเป็นคนที่มองเห็นช่องว่างทางการตลาด แล้วเอากลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างเข้าไปตอบโจทย์ลูกค้า โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนไปมหาศาล เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ปีที่แล้ว ทำให้แบรนด์เล็ก ๆ อย่างผมไม่ได้เสียเปรียบแบรนด์ใหญ่ ๆ อีกต่อไป

 

คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME ท่านอื่น ๆ

คุณวิศัลย์ : ต้องทำในสิ่งที่เราชำนาญ มีประสบการณ์ มีความคิดเชิงระบบ มันไม่สามารถที่จะทำเองทุกอย่างได้ อีกอันคือต้องมองโอกาส บวกใจถึง ต้องพึงระลึกเสมอว่าการทำธุรกิจ แน่นอนทุกคนต้องการกำไร แต่ความโลภทำให้ธุรกิจพังหรือเจ๊งมานับไม่ถ้วน คนทำธุรกิจฟังดูเหมือนขัดแย้งนะ ต้องมีความพอดี มีความพอ มองมิติอื่น ๆ มากกว่าแค่เงินอย่างเดียว

 

Published on 16 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ