"12 ประเภทพลาสติกจะถูกจำกัดในแอฟริกาใต้ ภายในปี 2022 ภายใต้ South African Plastic Pact" ส่องมาตรการกำจัด ‘ขยะพลาสติก’ ในทวีปแอฟริกา ที่ไปไกลกว่าคำว่า “กำลังพัฒนา”

"12 ประเภทพลาสติกจะถูกจำกัดในแอฟริกาใต้ ภายในปี 2022 ภายใต้ South African Plastic Pact" ส่องมาตรการกำจัด ‘ขยะพลาสติก’ ในทวีปแอฟริกา ที่ไปไกลกว่าคำว่า “กำลังพัฒนา”

จากรายงานขององค์การสหประชาชาติและรายงานของสื่อหลายฉบับระบุว่า 77 ประเทศทั่วโลก ได้ผ่านกฎหมายการห้ามใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ว่าการห้ามใช้ถุงพลาสติกจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษในทวีปแอฟริกา แต่ประเทศส่วนใหญ่ 32 ประเทศ ที่เลือกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (หรือภาษี) เพื่อจำกัดการใช้ถุงพลาสติกแทนนั้นตั้งกลับอยู่ในทวีปยุโรป

ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะห้ามใช้ถุงพลาสติกบางประเภทโดยสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศเหล่านี้กำลังรับมือกับการจัดการขยะพลาสติกที่ผิดพลาดหรือไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในประเทศกำลังพัฒนานี้ ประเทศในทวีปแอฟริกากลับมีผลงานโดดเด่นในการต่อต้านถุงพลาสติกอย่างจริงจัง เช่น เอริเทรีย ประเทศในแอฟริกาตะวันออก เป็นประเทสแรกในทวีปนี้ที่ออกคำสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง ในปี 2548 โดยจาก 34 ประเทศ จากทั้งหมด 54 ประเทศของกาฬทวีปได้ผ่านกฎหมายห้ามใช้พลาสติก และดำเนินการหรือได้ผ่านกฎหมายที่มีจุดประสงค์ในการดำเนินการ ในจำนวนนี้มี 16 ประเทศ ที่แบนถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิงหรือเพียงบางส่วนโดยที่ยังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อบังคับใช้การแบน

ดังนั้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ทวีปนี้ดูเหมือนจะแข็งขันในเรื่องนี้ได้ดีมาก แต่ลองมาดูความเป็นจริงของการห้ามใช้พลาสติกในแอฟริกากันบ้างว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่ใช่ทุกประเทศที่กฎหมายจะถูกบังคับใช้อย่างเต็มที่ เช่น แม้จะมีมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกในปี 2550 แต่รัฐบาลยูกันดาก็ยังประสบปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากขาดการควบคุมกฎระเบียบที่เข้มงวด

หลายประเทศทั่วโลกอาจจะเพิ่งตื่นตัวกับปัญหาขยะพลาสติก แต่รู้หรือไม่บางประเทศในแอฟริกา เดินหน้าจัดการกับปัญหานี้มาตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว และล่าสุดเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา 15 ประเทศในทวีปนี้ (หรือเกือบๆ 30%) ล้วนมีนโยบายจัดการกับขยะพลาสติก จนกระทั่งมีการขยายผลในหลายประเทศ และอีกไม่นาน เราเชื่อว่าน่าจะได้เห็นทวีปแอฟริกาทั้งทวีป สะอาดจากขยะพลาสติกทำลายโลก


"เซเนกัล" เป็นประเทศล่าสุดในทวีปแอฟริกาที่มีความพยายามในการต่อต้านพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยการประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและถ้วยกาแฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2020 มาตรการนี้ของเซเนกัลกลับขัดแย้งกับประเด็นปัญหาอื่นๆ เช่น ความมั่นคงด้านน้ำ และการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพราะประชาชนจำนวนมากยังต้องพึ่งพาน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกอยู่ กระนั้นหลังการระบาดใหญ่ มีคำถามว่ารัฐบาลเซเนกัลจะใช้มาตรการใดในการบังคับใช้คำสั่งห้ามอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังคงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลใช้โอกาสในการคิดค้นโซลูชันที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

"รวันดา" เป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่รวันดาต่อต้านการใช้พลาสติก โดยเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2006 และมีนโยบายควบคุมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2008 ทั้งยังเข้าร่วมแคมเปญ Plastic Oceans และใช้นโยบายภาษีมากำราบคนถือถุงพลาสติกอีกทอดหนึ่ง เรียกได้ว่ารวันดาคือประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่เดินหน้ามาตรการปลอดถุงพลาสติก และวางแผนว่าจะสานต่อนโยบายนี้อย่างยั่งยืนภายในปี 2020

"เคนยา" แม้เคนยาจะเป็นประเทศที่มีวงล้ออุตสาหกรรมหนุนระบบเศรษฐกิจ แต่ก็ยังสามารถเผด็จศึกกับพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลประกาศเอาจริงกับการงดใช้พลาสติกในระบบอุตสาหกรรม และธุรกิจค้าปลีกทั้งหลาย พร้อมทั้งออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติกกับประชากรในประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2017 เรียกได้ว่าใช้มาตรการกำราบพลาสติกอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว

"ซิมบับเว" เดือนกรกฏาคม ปี 2017 ซิมบับเวประกาศไม่เอาพลาสติกแบบโพลีสไตรีนและกล่องโฟมอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน จะปรับตั้งแต่ 30-500 เหรียญสหรัฐฯ โดยหลังจากภาครัฐเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง ก็ขยายผลมาสู่การจัดการกับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปี 2018

"ตูนิเซีย" ตั้งแต่ภาครัฐประกาศแบนถุงพลาสติกเมื่อปี 2017 ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งก็ขานรับนโยบายโดยให้ลูกค้าหันมาใช้ถุงผ้า และในเวลาเดียวกันนั้นก็เป็นโอกาสทองให้เกิดเทรนด์หิ้วกระเป๋าสาน Koffa งานแฮนด์เมดที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของตูนิเซียไปแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่าปัจจุบันตูนิเซียสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 94% และจะขยับขึ้นเป็น 100% ให้ได้ภายในปี 2020

"แคเมอรูน" หนึ่งในประเทศที่ผ่านความพยายามอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับปัญหาพลาสติกที่คุกคามสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศห้ามไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ไม่เป็นมิตรกับธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2014 แม้จะเกิดการต่อต้านจากประชาชนอยู่บ้าง แต่ในที่สุดก็ได้พลังจากเหล่าคนดังมาช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้ผู้คนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม จากนั้นสถานการณ์จึงค่อย ๆ คลี่คลาย และเปลี่ยนเป็นประเทศต่อต้านขยะพลาสติกได้จริงภายในไม่กี่ปีนับจากนั้น

"แทนซาเนีย" ประเทศลำดับที่ 34 ของกลุ่มแอฟริกาที่มีการกำหนดตัวบทกำจัดพลาสติกอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลประกาศไม่ให้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายพลาสติกที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องผืนป่า และคงไว้ซึ่งความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว อันเป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้มหาศาลให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตสำหรับเทรนด์นี้คือ ฝรั่งเศส ออสเตรีย อิตาลี รวมถึงเยอรมนี (ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป) แบนถุงพลาสติกบางประเภทเท่านั้น และกำหนดให้เปลี่ยนเป็นถุงที่ย่อยสลายได้

สำหรับไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนออนุมัติแผนลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก พร้อมเตรียมประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ โฟม ถุงหิ้ว แก้ว และหลอดพลาสติก แบบเด็ดขาดในปี 2565 รวมถึงตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ขวดพลาสติกทุกชนิด ฝาขวด แก้วพลาสติก ถาดและกล่องอาหาร และ ช้อน ส้อม มีดพลาสติก

ที่มา :
https://www.salika.co/2021/07/03/countries-banning-plastic-bags/
https://becommon.co/world/africa-sayno-plastic/#accept
เอกสารดาวน์โหลด :
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/02/pcdnew-2022-02-15_03-35-40_837351.pdf
https://brussels.customs.go.th/data_files/9d4377f47d89c10bee1dc5fb1fa05cb1.pdf
#SMEone SME ONE

บทความแนะนำ

แผนยุทธศาสตร์สร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของ EU

แผนยุทธศาสตร์สร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของ EU ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน

การบริโภคสิ่งทอของสหภาพยุโรปส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นอันดับที่ 4 รองจากอาหาร ที่อยู่อาศัย และยานพาหนะ นอกจากนี้สิ่งทอก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำและการใช้ที่ดินสูง รวมถึงการใช้วัตถุดิบหลักและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้น ๆ

คณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ในการทำให้สิ่งทอมีความทนทาน ซ่อมแซมได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการ European Green Deal และ the Circular Economy Action Plan ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปนี้กำหนดวิสัยทัศน์และการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้แน่ใจว่าภายในปี 2030 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่วางตลาดสหภาพยุโรปจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นและรีไซเคิลได้ โดยผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด ปราศจากสารอันตราย และกระบวนการผลิตสอดคล้องกับสิทธิทางสังคมและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการใช้สิ่งทอคุณภาพสูง การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า และมีบริการซ่อมที่หาได้ง่ายขึ้น มาตรการนี้รวมถึงข้อกำหนดด้านการออกแบบเชิงนิเวศน์สำหรับสิ่งทอ Digital Product Passport และมาตรการบังคับสำหรับ EU extended producer responsibility scheme ด้วย

คาดการณ์ว่ายุทธศาสตร์นี้จะมีมาตรการในการจัดการกับการปล่อยไมโครพลาสติกจากสิ่งทอโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อรับรองความถูกต้องของการเรียกร้องสิทธิ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมรูปแบบธุรกิจหมุนเวียน รวมถึงการนำมาใช้ซ้ำและบริการซ่อมแซมด้วย เพื่อจัดการปัญหา fast fashion ยุทธศาสตร์นี้ยังเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ลดจำนวนคอลเลกชันต่อปี รับผิดชอบและดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขอให้ประเทศสมาชิกนำมาตรการภาษีที่เอื้ออำนวยสำหรับการใช้ซ้ำและการซ่อมแซม

อ้างอิง 1 :
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en
https://www.interregeurope.eu/news-and-events/news/new-eu-strategy-for-sustainable-and-circular-textiles
https://environment.ec.europa.eu/strategy/textiles-strategy_en

ดาวน์โหลด 2.2-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles(30.3.22).pdf
ดาวน์โหลด 2.1-Textiles_Factsheet_EC.pdf
ดาวน์โหลด 2.3Annex-EU Strategy for Sustainable and Circular Textiles (30.3.22).pdf

อ้างอิง 2 :

https://www.textilescircle.com/th/knowledge/value=26

https://europetouch.mfa.go.th/th/content/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2?cate=5d6abf7c15e39c3f30001465

 

บทความแนะนำ

จับตาร่างกฎระเบีบยบรรจุภัณฑ์ฉบับใหม่ของ EU ผลักดันสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนภาคบังคับ

จับตา “ร่างกฎระเบียบบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป”
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศข้อเสนอกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศเป้าประสงค์ใน EU Green Deal และแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) ที่ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในตลาดอียูจะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้หรือรีไซเคิลได้ในเชิงพาณิชย์ภายในปีค.ศ. 2030
การออกกฎหมายครั้งนี้จะเป็นระดับกฎระเบียบ (Regulation) มิใช่ระดับระเบียบ (Directive) เพื่อแก้ปัญหาการออกกฎหมายที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก การออกกฎระเบียบนี้จะมีผลผูกพันกับผู้ประกอบการโดยตรง โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าที่จะวางจำหน่ายในตลาดยุโรป ดังนี้
 
• รีไซเคิลได้ (Recyclability) ซึ่งหมายถึง การออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2030) สามารถเก็บรวบรวมแบบแยกประเภทได้ และมีความสามารถในการนำมารีไซเคิลได้ในเชิงพาณิชย์ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2035) โดยจะต้องรีไซเคิลให้ได้ในแนวทางที่จะทำให้วัสดุรอบสองนั้นมีคุณสมบัติที่จะทดแทนวัตถุดิบใหม่ได้ ทั้งนี้ อียูจะออกกฎหมายลำดับรองเพื่อบังคับใช้ต่อไป เช่น หลักเกณฑ์เรื่องการออกแบบให้รีไซเคิลได้ รวมทั้งจะมีการพัฒนาระบบประเมินความสามารถในการรีไซเคิลโดยจะมีการให้คะแนนตั้งแต่ A ถึง E ซึ่งหากบรรจุภัณฑ์ถูกประเมินในระดับ E จะถือว่ารีไซเคิลไม่ได้ (จะถูกห้ามใช้ในตลาดอียู)
 
• ใช้ซ้ำได้ (Reusability) บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่ออกวางจำหน่ายจะต้องถูกออกแบบให้ใช้ซ้ำได้ และหากมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำจะต้องมีการพัฒนารองรับการใช้ซ้ำบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย อียูได้เสนอเป้าหมายที่จะให้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม (ยกเว้นไวน์) จะต้องบรรลุเป้าหมายการใช้ซ้ำได้ ร้อยละ 10 และให้เพิ่มเป็นร้อยละ 25 ภายในปีค.ศ. 2040 ส่วนบรรจุภัณฑ์อาหารแบบซื้อกลับจะต้องบรรลุเป้าหมายการเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ถึงร้อยละ 40 ภายในปีค.ศ.2040 ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น พาเลท กล่องลัง จะต้องบรรลุเป้าหมายการใช้ซ้ำได้ให้ได้ 100%
 
• ขนาดบรรจุภัณฑ์ (Size) ผู้ผลิตจะต้องมีการลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุดทั้งในเชิงน้ำหนักและปริมาตร โดยสัดส่วนช่องว่าง (empty space ratio) จะต้องไม่เกินร้อยละ 40
 
• สัดส่วนวัสดุรีไซเคิล (Recycled content) ในส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติก จะต้องบรรลุเป้าหมายดังนี้
o ตั้งแต่ 1 มกราคม 2030 เป็นต้นไป
 ร้อยละ 10 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ใช่ PET ยกเว้นกลุ่มขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 30 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำจาก PET
 ร้อยละ 30 สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 35 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทอื่น
o ตั้งแต่ 1 มกราคม 2040 เป็นต้นไป
 ร้อยละ 50 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ใช่ PET ยกเว้นกลุ่มขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 65 สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มพลาสติกที่ทำจาก PET แบบใช้ครั้งเดียว
 ร้อยละ 65 สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทอื่น
ทั้งนี้ อียูจะประกาศวิธีการคำนวณและทวนสอบสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลจากขยะพลาสติกที่ใช้แล้ว รวมทั้งเอกสารทางเทคนิคต่างๆ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2026 เป็นอย่างช้า
 
• ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งใน 4 กรณี 1) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุผักและผลไม้สด 2) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่ม ณ จุดขายในภาคบริการ (โรงแรม ภัตตาคาร) 3) บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลที่ใช้ในโรงแรม (ขนาดน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรสำหรับของเหลวหรือน้อยกว่า 100 กรัมสำหรับของแข็ง) 4) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในภาคบริการที่มีขนาดบรรจุสำหรับการบริโภคครั้งเดียว (เช่น ซองน้ำตาล ซองครีมเทียม ซองซอส)
 
• ให้ประเทศสมาชิกพัฒนาระบบมัดจำคืนเงิน (Deposit refund system) สำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและโลหะภายในปีค.ศ. 2029 (ยกเว้นกลุ่มนม ไวน์และเหล้า) โดยสามารถขอยกเว้นได้หากมีการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ในอัตราที่มากกว่าร้อยละ 90 ในปี 2026/27
 
แผนการดำเนินงาน
ตอนนี้ ข้อเสนอกฎระเบียบนี้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2023 นี้ คาดว่าจะใช้เวลาในการยกร่างกฎหมายประมาณหนึ่งปี และมีระยะเวลาเตรียมตัวประมาณ 1 ปี

บทความแนะนำ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมมือกับ ศูนย์บริการ ALL FOOD TECH ขอมอบสิทธิประโยชน์ทั้ง 4 บริการ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ MSME

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมมือกับ ศูนย์บริการ ALL FOOD TECH ขอมอบสิทธิประโยชน์ทั้ง 4 บริการ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SME ONE-ID และรับสิทธิ์ผ่าน Application SME Connext

  • ศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาสูตรอาหาร รับส่วนลดค่าบริการฝึกอบรมพัฒนาสูตรอาหารทุกหลักสูตร 15% จากราคาปกติ
  • Food Ingredient Innovation Center (FIIC) ส่วนลดค่าสินค้า 5% จากราคาสินค้าปกติ และตัวอย่างสินค้าเพื่อใช้สำหรับการทดสอบฟรี
  • Sensory Evaluation Center ส่วนลดค่าบริการ 10% จากราคาปกติ
  • ศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ (Laboratory Testing Center)
    • สิทธิพิเศษสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง รับส่วนลดค่าบริการทดสอบทางจุลชีววิทยา 40% จากราคาปกติ
    • สิทธิพิเศษสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อม ฟรีค่าบริการทดสอบทางจุลชีววิทยา (30 สิทธิ์แรกเท่านั้น) หรือรับส่วนลดค่าบริการทดสอบทางจุลชีววิทยา 55% จากราคาปกติ

เริ่มลงทะเบียนและรับสิทธิประโยชน์ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 กุมภาพันธ์ 2567

หมายเหตุ: สิทธิประโยชน์มีจำนวนจำกัด เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

*สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ 02-071-6281 หรือ 084-509-2166,

E-Mail: MarketingTeamAllFoodTech@cpall.co.th

ทั้งนี้ สามารถกดรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ Application SME CONNEXT กดลิ้ง https://smeconnext.com/

 

บทความแนะนำ

ประกาศเชิญชวนหน่วยงานที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือเพื่อนำไปใช้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 ไปพลางก่อน

ประกาศเชิญชวนหน่วยงานที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือเพื่อนำไปใช้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 ไปพลางก่อน

หน่วยงานที่ประสงค์ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือ ส่งเสริม หรือสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะต้องดำเนินการดังนี้

  • จัดทำเอกสารตามที่ สสว. กำหนด เป็นเอกสารต้นฉบับที่ลงนามทุกหน้าให้ครบถ้วน จำนวน 1 ชุด และสแกนเอกสารต้นฉบับที่ลงนามทุกหน้าให้ครบถ้วน ในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ JPEG
  • แจ้งความประสงค์ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือฯ โดยติดต่อผู้รับผิดชอบโครงการตามเอกสารแนบท้ายประกาศเผยแพร่ฯ เพื่อรับลิงก์ Google form และอัพโหลดไฟล์เอกสารต้นฉบับที่ลงนามทุกหน้าให้ครบถ้วน ในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ JPEG
  • ทำการอัพโหลดไฟล์เอกสารต้นฉบับที่ลงนามทุกหน้าให้ครบถ้วน ในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ JPEG ในลิงก์ Google form ที่กำหนด ก่อนนำส่งเอกสารต้นฉบับ จำนวน 1 ชุด ด้วยตนเองที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ชั้นที่ 18 เลขที่ 21 อาคารทีเอสทีทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ก่อนเวลา 17.00 น. โดย สสว. จะถือวันรับเอกสารจากตราประทับรับเอกสารของ สสว. เป็นสำคัญ

ที่มา: ฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs และส่งเสริมนโยบายภาครัฐ

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=484&id=1637

และคุณเพ็ญพรรณ  โทร. 02-298-3190

บทความแนะนำ