
เทพฯบาร์เป็นบาร์เล็ก ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ 4 คน ตั้งอยู่ในซอยนานา ถนนไมตรีจิตต์ ย่านเมืองเก่าอย่างเยาวราช แม้จะอยู่ในซอกหลืบที่หายาก ใครที่อยากจะมาร้านต้องตั้งใจมาจริง ๆ เพราะไม่ใช่เส้นทางปกติที่คนทั่วไปเดินผ่าน แต่เทพฯบาร์ก็มีเสน่ห์ในตัวเองชนิดที่ว่ามีคนหลั่งไหลเข้ามาสัมผัสวัฒนธรรมไทยในอีกแง่มุมโดยไม่ขาดสาย
ในมุมมองของ อัศวิน โรจน์เมธาทวี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เขามองว่าภายใต้วัฒนธรรมไทยที่ทรงคุณค่า แต่พบว่าบางส่วนกลับถูกปล่อยปละละเลยมาอย่างยาวนาน
เทพฯบาร์จึงตั้งใจจะรังสรรค์ให้สถานที่เล็กๆ แห่งนี้เป็น “บาร์วัฒนธรรม” ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าถึงผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการเปิดกิจการ เทพฯบาร์ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยากจะสัมผัสกับวัฒนธรรมไทยในรูปแบบของความรื่นรมย์ รวมถึงยังเปลี่ยนมุมมองของคนไทยที่คลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันตกว่า แท้ที่จริงแล้ววัฒนธรรมไทยก็มีคุณค่าไม่แพ้กัน
ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ
ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ
ไปที่ Key Success ของธุรกิจ
ไปที่ คำแนะนำที่มีต่อ SME หรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากทำธุรกิจด้านนี้
SME ONE : จุดเริ่มต้นของเทพฯบาร์มีแรงบันดาลใจมาจากไหน
คุณอัศวิน : เกิดจากตอนที่ผมไปทำงานที่สิงคโปร์แล้วต้องเดินทางไปหลายประเทศ ทุกประเทศที่ไปพอเขารู้ว่าเราเป็นคนไทย ทุกคนก็พูดถึงประเทศไทยในทางชื่นชมเกินกว่าที่ตัวเราเองคิดด้วยซ้ำ จนทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย...จริง ๆ บ้านเราก็มีของดีนี่หว่า ทำไมเราไม่มองบ้านเราบ้าง ก็เลยกลับมาคุยกับแฟนดูว่า หรือเราเปิดร้านที่สิงคโปร์ดี ระหว่างที่ทำข้อมูลก็พบว่า สิงคโปร์ประเทศเล็กๆ เท่าเกาะภูเก็ต มีร้านอาหารไทยถึง 300 ร้าน แต่มีร้านที่เจ้าของเป็นคนไทยน้อยมาก ที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่รสชาติธรรมดาหมด เลยอยากจะทำร้านอาหารไทย แต่พอเริ่มศึกษาถึงความเป็นไปได้ พบว่าสิงคโปร์ค่าแรงแพงมากก็เลยยุติไอเดีย แล้วบอกกับแฟนว่าอย่างงั้นเราลาออกกลับไปเปิดที่เมืองไทยเลยดีไหม
จนในที่สุดก็ตัดสินใจทุบหม้อข้าวตัวเอง เอาเงินเก็บทั้งหมดกลับไปเปิดร้านอาหาร พอเริ่มคิดถึง Concept จริง ๆ คิดอยู่แล้วว่าอยากจะทำอะไรที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย เพราะเรารู้ว่ามีคนชื่นชมวัฒนธรรมไทย เราคิดว่า อันนี้ขายได้ แต่ตอนแรกยังไม่รู้ว่าขายยังไง จนกระทั่งก็คุยกับแฟน ซึ่งเขามาสายวัฒนธรรม ครอบครัวเขาเป็นศิลปินแห่งชาติ คุยกันหลายรอบว่า ถ้าจะขายวัฒนธรรม ขายอย่างไรที่สามารถต่อยอดได้ ไม่ใช่แบบว่าขายความโบราณ เพราะทุกที่ทำหมดอยู่แล้ว ร้านอาหารไทยโบราณ วัฒนธรรมโบราณซึ่งคงซ้ำ
ก็เลยเปลี่ยนความคิดว่า ถ้าเกิดเราเอาของไทยตั้งแต่อดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้มาปรับจูนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การทำอาหาร การตกแต่งอาหาร การตกแต่งร้าน ฯลฯ แล้วเรายำมันใหม่ สร้างขึ้นใหม่ไม่ให้ติดยึดกับกาลเวลาได้หรือเปล่า ก็เลยเป็นที่มาของร้านเทพฯบาร์
SME ONE : เราเอาของเดิมมาต่อยอดใหม่ให้แตกต่างอย่างไร
คุณอัศวิน : จุดเด่นหลักของวัฒนธรรมไทยคือ ไม่เหมือนใครเลย แตกต่างมาก ที่สำคัญคือ มั่งคั่งมาก ขนาดที่ฝรั่งเรียกว่า Abundant คือ Rich มากในวิวัฒนาการที่เราทำมา เพียงแต่ว่าเราเอาไปแปะไว้บนหิ้ง มันก็เลยไม่ไปไหน ก็เลยมองว่าถ้าจะ Unique ขนาดนี้ ทุกอย่างขายได้หมด ผัดไทก็ธรรมดาแต่ทำยังไงให้มันมีเอกลักษณ์ขึ้นมาได้ หรือว่าเครื่องดื่มของไทยที่เฉลิมฉลองกันมาตั้งแต่อดีต เอาจริง ๆ ผมย้อนกลับไปดูยุคที่บรรพบุรุษเฉลิมฉลอง พวกเหล้าขาวหรือสุราพื้นบ้านเนี่ย จริง ๆ ก็เกิดขึ้นมาในยุคเดียวกับสาเก โซจู แต่ว่าของเราถูกกดเอาไว้
ทำไมทั่วโลกเขามีของแบบนี้เหมือนกัน เขามีแบรนด์ส่งไปขายทั่วโลกได้ ทั่วโลกกินกัน ทั่วโลกเสพกัน แต่ทำไมของเราขายไม่ได้ก็เพราะว่าติดเรื่องข้อกฎหมายที่ไม่ทันสมัย เราเลยมองว่าถ้าเอาสุราพื้นบ้านที่บ้านเรากิน ที่บ้านเราใช้มาในอดีต ใช้แบบดีด้วย ใช้เป็นยา ใช้บำรุงร่างกาย เราเอามันมาปรับแต่งแล้วทำให้ดูมีมูลค่า สร้างมูลค่าจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วจะทำได้ไหม เราต่อยอดด้วยการเอาเครื่องดื่มที่คนไทยใช้เฉลิมฉลองวัฒนธรรมในอดีตกลับมาแนะนำใหม่ด้วยกาลเวลาสมัยปัจจุบัน และสร้างมูลค่าเข้าไป ไม่จำเป็นว่าของไทยต้องถูก เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าสมุนไพรที่ใช้ในร้านเราใช้ของดีหมด วัตถุดิบที่เลือกมาก็สรรหามาอย่างดี สุราสมุนไพรที่เราทำ หรือที่บางคนเรียกว่ายาดองเนี่ย เราให้แพทย์แผนโบราณมาปรุงให้ เราไม่ได้ทำเอง เพราะฉะนั้นมันคือการสร้างมูลค่า
แล้วก็เราให้ความสำคัญเรื่องการสร้างแบรนด์เทพฯบาร์ เราไม่ได้ทำแค่เปิดร้านอาหารธรรมดา จะเห็นว่าการสื่อสารในปีแรก เราลงทุนเยอะมากเรื่องผลิตชิ้นงานโฆษณา การสร้างให้คำว่าเทพมีความหมาย การที่บอกว่าการเสพสุขสมัยแบบเทพฯ คือมาเสพความสุขแบบร่วมสมัย วิธีการคิดเรื่องของความเป็นไทยแบบเทพฯบาร์จะไม่เหมือนคนอื่น ตรงนี้คิดว่าเป็นจุดแข็ง ไม่ว่าเราจะออกสินค้าอะไรใหม่ ๆ ก็ต่อยอดได้ เพราะว่าเรารู้ว่าจุดยืนที่เราอยู่คือตรงไหน เวลาออกเครื่องดื่มใหม่ ออกเมนูอาหารใหม่ ออกสินค้า เช่น กระเป๋าก็เชื่อมโยงต่อยอดได้หมด
SME ONE : ระหว่างที่คิดจะทำ กับตอนทำจริง ขั้นตอนไหนยากกว่ากัน
คุณอัศวิน : ช่วงที่ตัดสินใจยากที่สุดคือ จากที่เป็นพนักงานออฟฟิศแล้วบอกว่าจะลาออก ตอนนั้นทำงานเมืองนอกชีวิตสบายมากนะ แต่หลังจากนั้นผมถือว่าพวกเราโชคดีที่เรามี Partner ที่ค่อนข้างเก่งเรื่องนี้ คือภรรยาผมก็เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรม มี Connection แต่ว่าก็แขวนไว้บนหิ้งเหมือนกัน พอเราเริ่มต้นก็แค่ไปติดต่อพี่ชาย คุยกับญาติ หาตัวอย่างก็เริ่มกลับมาได้ง่าย สอง คือ หุ้นส่วนอีกคนทำงานสายออกแบบกราฟิกมานานมาก ชำนาญเรื่อง CI Design (Corporate Identity) ซึ่งเขาอินความเป็นไทยอยู่แล้ว พอเราเล่าแนวคิดของร้านไป เขาใช้เวลาไม่นานนานที่จะ Crack มันออกมาเป็นสโลแกนหรือโลโก้
เราตกลงกันตั้งแต่แรกว่า เราจะเป็นยุคนั้นเลยปี พ.ศ.2557 ไม่มีแบรนด์ไหนที่เป็นแบรนด์ไทยแล้วใช้ Font ไทยแบบจริงจัง ทุกคนจะต้องเป็น Font อังกฤษ ตัวหนังสืออังกฤษ ชื่ออังกฤษ แต่เราบอกไม่ ภาษาที่ใช้ต้องภาษาไทย 80 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าโลโก้ที่เป็นภาษาไทยมีพื้นที่ 85 เปอร์เซ็นต์ เพราะเราอยากจะสอนให้คนที่มาว่าคำว่าเทพ อ่านอย่างไร แปลว่าอะไร ถามว่าเหนื่อยไหม โคตรเหนื่อย What does it means? ตัวหนังสือนี่คืออะไร? ตัว พ นี่ใช่ W หรือเปล่า? กว่าจะตอบคำถามครบทุกคน
ตอนเปิดร้านยุคแรก ๆ ผมทำเองทุกอย่าง เป็นบาร์เทนเดอร์จำเป็น ล้างร้าน ปิดร้าน ล้างส้วม ไปซื้อของ ฯลฯ ทุกอย่างทำเองหมด คือลึก ๆ ก็เหมือนกับคำสบประมาทว่า จะรอดเหรอวะ ขนาดแม่ผมเองยังสงสัยเลย จะไปได้ไหม คนไทยจะมากินเหรออะไรอย่างนี้หรือ ก็กลายเป็นว่า จริง ๆ ตอนนั้นสื่อไทย ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครมาให้ความสนใจ จนสื่อตามประเทศเริ่มมานำเสนอข่าว คราวนี้สื่อไทยมาครบเลย
SME ONE : กลับมาที่เบสิกการตลาด P Place ของเทพฯบาร์เรียกว่าฉีกทุกตำราการตลาด ทั้งลึกลับ ทั้งเข้ายาก ตอนนั้นคิดอย่างไรถึงเลือกเปิดที่นี่
คุณอัศวิน : เราอยากได้ความจริง อยากได้ความ Authentic ก็ไปทำการบ้านกัน พอทำการบ้านก็พบว่า ประวัติกรุงเทพฯโคตรเจ๋ง เรานั่งไล่เลยเขตไหนเริ่มเป็นเขตที่พัฒนาเขตแรก ๆ แน่นอนพระบรมมหาราชวัง เขตที่ 1 มีตรงนั้น แล้วก็ต้องมีป้อมปราบ นี่คือเขตที่ 2 แล้วมันก็จะมีตึกเก่า ๆ ก็ทำการบ้านปักหมุดกันบนแผนที่เลย เรียกว่านั่งตุ๊กตุ๊กหัวฟู รถก็ไม่มีเพราะเพิ่งกลับมาจากสิงคโปร์
เราไปดูแถวข้าวสารคือเต็มหมดแล้ว แล้วมันแพงมาก เราไม่มีเงิน เขตที่ 2 ที่เราไปดูก็จะมีแถวพวกพระรามสี่ บางรัก จะมีตึกเก่า แต่ก็แพงมากเหมือนกันแล้วก็ค่อนข้างแน่น เราคิดว่าเราไม่น่าจะสู้ไหว จนมาเขตนี้เป็นเขตที่ลิสต์ไว้ที่ 3 ไม่ได้คาดหวัง แต่คุ้น ๆ เพราะเคยมา About Cafe วัยเด็ก แล้วจำได้ว่ามีตึกเก่าเยอะ วันนั้นเดินหาตึกเก่าทั้งวันจนจะกลับบ้านแล้ว มาเจออาแปะนั่งอยู่เลยเดินไปถามเขาว่า แถวนี้อาเจ็กพอแนะนำห้องว่างได้ไหม อาเจ็กบอกเดี๋ยวลื้อเดินเข้าซอยศาลเจ้าไปดู พอเราเดินเข้ามา เราเจอบ้านติดประกาศว่าง ว่าง ว่าง ว่าง ถ้าผมจำไม่ผิดประมาณ 12 ห้องหรือ 15 ห้อง แน่นอนว่ามีห้องนี้ด้วย
เราบอก เฮ้ย...ห้องนี้มันใช่ว่ะ หายาก ดูลึกลับดีอะไรอย่างเงี้ย แต่ว่าดูความเป็นตึกแล้วมันมี Character หุ้นส่วนผมก็บอกว่า เฮ้ย จากประสบการณ์ที่ทำงานด้านการตลาดมา หลังนี้มันมี Character จริงๆ ก็เลยย้อนกลับมาคิดว่า ตอนที่ผมอยู่สิงคโปร์ ผมได้ทำโครงการที่ใช้ Facebook Lead ไปสู่การตลาดแบบ Conversion ก็เลยมองว่าเอาวะ ลองสู้ดู ตอนนั้นเรากำลังมีประท้วงแล้วเราเห็นพฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนจากการเสพสื่อภาคปกติ มาเป็นภาคดิจิทัลเยอะขึ้น เลยคิดว่าถ้าเราอัดสื่อดิจิทัลเยอะ ๆ เราเชื่อว่ามันจะไปได้ ก็ใช้ Google Location ใช้การโปรโมทแล้วยิงไปที่แผนที่ ทุก ๆ ครั้งที่มีใครมารีวิว แผนที่สำคัญสุด Location ต้องแปะเข้าไป หน้าตาต้องมา เน้นแผนที่ นามบัตรที่ให้สแกนปุ๊บต้องมีแผนที่ จนกระทั่งพอแผนที่ของร้านเริ่มปรากฏใน Google Map คนเริ่ม Search เริ่มมา ยุคนั้นยังมี Uber อยู่ส่วน Grab เพิ่งเริ่มเข้ามา คนเริ่ม Search กัน มาร้านก็เริ่มง่ายขึ้น
ยุคแรก ๆ ผมเป็นบาร์เทนเดอร์และแคชเชียร์ในตัว ผมต้องใส่หูฟัง Wireless เพราะ มีคนโทรมาถามตลอด เดินไปยังไง ร้านอยู่ตรงไหน บางคนจอดรถแล้วหลง คือต้องเดินไปรับ ปี 1-2 การเดินไปรับคือเรื่องปกติ เดินกลับเข้ามาเหงื่อซก แต่ว่ามันคือการ Educate คน ณ วันนี้มันก็แฮปปี้แล้วเพราะว่ากลายเป็นไม่ใช่ร้านเรา มันกลายเป็นทั้งซอยนานาคนรู้จักมากขึ้น
SME ONE : ถึงตรงนี้ถ้ามองย้อนกลับไป อะไรคือ Key Success ของเทพฯบาร์
คุณอัศวิน : ผมว่าตอนนั้นตอนที่เริ่มทำ ผมคิดว่าช่องว่างที่เรามองหรือ Gap Analysis ตอนที่เราเขียน Vision ผมจำได้เลย ผมทำไฟล์นั้นเป็นไฟล์ภาษาไทยหมด ผมเขียนตัวอักษรไทย ตัวเลขไทยว่าปีนั้นคือ พ.ศ.2558 เราเขียนว่า พ.ศ. 2568 เราจะต้องปักหมุดให้คำว่าบาร์วัฒนธรรม หรือคำว่าเทพฯบาร์ดังให้ได้ ต้องดังไปถึงเมืองนอก เรากะ 10 ปีดัง แต่ดังเร็วกว่านั้น ผมมองว่าตอนนั้นที่มันโดนเพราะว่า Concept มันชัด ช่องว่างนั้นมันมีจริง คือ ความภูมิใจของความเป็นไทย Celebrate สิ่งที่บรรพบุรุษเราเคยใช้ดำรงชีพมาก่อน เคยใช้ขายของกับต่างประเทศมาก่อน ค้าขายกับฝรั่งมังค่า แต่เราไปบูชาของที่ต่างชาติเอามามากกว่า ผมไม่ได้บอกว่าของต่างชาติผิดหรือคนไทยผิด แต่ผมว่าตาชั่งมันเสียสมดุล ก็เลยมองว่าถ้าเราสามารถนำเสนอสมดุลนี้กลับมาใหม่ ช่องว่างนี้ขายได้ ขายแบบพอดี ไม่ได้เป็นการเอาวัฒนธรรมมาขายแต่คือการเอาของที่อยู่บนหิ้งมาต่อยอด เพราะว่าบรรพบุรุษเราเขาคิดไว้ให้หมดแล้ว มีอีกหลายอย่างเลยที่เรายังไม่ได้เอาออกมาขาย เมนูนี้ สมุนไพรนั้น ของดีของภาคโน้น คือมีอีกหลายสรรพสิ่ง ก็เลยคิดว่ามันไปได้ไกลมาก ๆ
อีกเรื่องคือ ความใส่ใจ ตรงนี้สำคัญ ผมว่ามันคือความใส่ใจแบบคนไทย คือทุก ๆ รายละเอียดเราใส่ใจหมด นี่ร้านเรา 5 ปี เคยมีคนมารีวิวแล้วบอก ทำไมร้านถึงได้ใหม่จัง ทำไมร้านถึงอยู่ใน Condition ที่มันเนี้ยบมาก เราได้รีวิวเรื่องความสะอาด เรื่องการใส่ใจ เรื่องอะไรพวกนี้มาก เพราะว่าเราคิดว่าผลสุดท้ายอะมันคือ Pain Point ของคนที่มาใช้บริการ ถ้าคุณอยากขายของแพงแต่ถ้าของคุณดี ของคุณทน ของคุณคุ้ม เขาเต็มใจที่จะจ่าย แต่ถ้าเกิดคุณอยากขายของแพงแต่คุณไม่ลงทุน คุณไม่ดูแลรักษา คุณไม่มีไอเดีย คนก็รู้สึกว่ามันแพง
SME ONE : สิ่งที่อธิบายมาทั้งหมดคือการสร้าง Brand Value
คุณอัศวิน : ใช่ มันคือการสร้างคุณค่าแบบ Long-term ผมว่าตรงนั้นพอลูกค้าเข้ามาทั้งหมดทั้งปวงที่เราใส่ใจ มันกลายเป็นประสบการณ์ใหม่ ตัวอย่างเช่นดนตรีเรากำหนดเป๊ะมาก ต้องขึ้นเวลานี้ ลงเวลานี้ เพลงใน Break แรกควรเป็นแบบเนิบ ๆ ให้เขากินข้าว หลังจากนั้นค่อยเพิ่มความสนุกมากขึ้น ต้องมีเพลง Playlist แบบนี้ต่าง ๆ นานา ทุกอย่างมันถูกจูนหมด หรืออย่างการปิ้งอาหารหลังตู้กระจกมันต้องแบบว่ามีไฟขึ้นมาเวลาคนเข้ามาจะได้เห็น การสร้างประสบการณ์เรามีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Decoration ของเครื่องดื่ม เมนูที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ของที่ไม่เคยดื่มมาก่อน อาหารที่มีที่นี่ที่เดียว เพราะฉะนั้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้รับกลับไปครบหมด คนมาเทพฯบาร์ไม่ได้แค่ลิ้มรสอย่างเดียว มันคือการเห็น มันคือการได้กลิ่น มันคือได้การสัมผัส
SME ONE : อยากให้คำแนะนำกับ SME ที่กำลังเริ่มต้นหรืออยู่ในวงการ Hospitality แบบเทพฯบาร์
คุณอัศวิน : ข้อที่ 1 ต้องจริงจัง ถ้าอยากจะขายความเป็นไทย ต้องจริงจังและเข้าใจมันจริง ๆ เพราะว่าหลาย ๆ คนมักจะเข้าใจแบบเปลือกนอก เช่น อยากจะเปิดร้านไทยก็เอาของอะไรก็ได้ที่เป็นไทย แล้วยกไปเลยทั้งอัน แต่ไม่ได้ทำความเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วลูกค้าของคุณคือใคร แล้วยิ่งเป็นต่างชาติ เขาจะย่อยได้ยังไง เขาจะเข้าใจได้ยังอย่างไร สมมติว่าคุณไปเอาชุดเครื่องแต่งกายไทยโบราณมา กว่าคุณจะอธิบายได้จบอะ ประสบการณ์ที่เขาเข้ามาในร้าน 45 นาที คุณอธิบายพอหรอ เมนูเมนูนึงโอเคถ้ามันเป็นแบบว่า Chef's Table เชฟมีสิทธิ์ออกมาพูดคุย มีเวลาอธิบาย แน่นอนคุณทำได้ เพราะฉะนั้นความเข้าใจข้อที่ 1 ต้องเข้าใจก่อนว่าตกลงแก่นที่แท้จริงของไทยเป็นอะไร ก่อนที่เราจะสร้าง Concept ได้
ข้อที่ 2 ความอดทน คือสิ่งนี้จะพิสูจน์ได้ว่า คุณเก๋าจริงหรือไม่เก๋าจริง เพราะว่าเราเริ่มเห็นว่า บางคนแบบว่าเงินทุนหนามากแต่ว่าไม่อดทน เพราะรู้สึกว่า เฮ้ย 2 ปียังไม่กำไร 2 ปียังไม่คืนทุน งั้นเลิก บางทีการเริ่มธุรกิจของตัวเองมันไม่ใช่อะไรที่มาแล้วเกิดขึ้นทันที ของบางอย่างมันต้องใช้เวลา
ข้อที่ 3 ถ้าอยากจะขายของไทยให้มีราคา ต้องสร้างมูลค่าให้มันให้ได้ ถ้าเกิดเราคิดว่าของไทยขายยังไงก็ได้ ผัดกะเพราทำไมต้องราคาถูก ทำไมเป็นกะเพราราคาแพงไม่ได้ ก็เพราะเราคิดแค่ว่าเอากะเพรามาขายเลย โดยที่ไม่สร้างมูลค่าอะไรให้มันเลย
ข้อที่ 4 การทำการบ้านสำคัญมาก ก่อนร้านเปิดต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ก่อนที่จะตั้งธุรกิจนี้มาได้ต้องทำการบ้านอะไรบ้าง คือต้องทำเยอะมาก ทำทุกรูปแบบ ไปคุยกับชาวบ้าน ลงมาทำเอง
ข้อ 5 สำหรับเจ้าของธุรกิจ ต้องทำเอง ถ้าหวังว่าจะเติบโต พวกแฟรนไชส์ระดับโลกเจ้าของในยุคแรก ๆ ทำเองหมด กว่าที่ผมจะออกมายืนในจุดที่ถอยหลังมาไกลขนาดนี้ ผมต้องดูแลทุกอย่างจากแอพพลิเคชั่น จากเว็บไซต์ จากออนไลน์ จากกล้อง ผมผ่านการเปิดร้าน ปิดร้าน ทำทุกอย่างด้วยตัวเองมาหมด ไม่ใช่ว่าแบบว่าจะทำแต่คิดขึ้นมาแล้วก็ให้คนอื่นทำ เพราะว่าไม่มีใครรู้สึกว่ามีความเป็นเจ้าของเหมือนตัวเรา
ส่วนสิ่งที่ไม่ควรทำ อย่างแรกคือ อย่าโลภ ต้องตัดสินใจให้ดีว่า ตกลงอยากรวยหรืออยากสร้างบางอย่างให้มันเกิดขึ้น อย่าเอาทุกอย่างพร้อมกัน ควรจะต้องเข้าใจว่าถ้าเกิดอยากรวย ไปทำธุรกิจอย่างอื่นก็ได้นะ อันนี้คือธุรกิจที่ต้องมีความใส่ใจ มีความมุ่งมั่นและใช้เวลา เพราะฉะนั้นอย่ามีหลายวัตุประสงค์ จงเลือก 1 วัตถุประสงค์เป้าหมายก่อน เหมือนอย่างเทพฯบาร์ เราอยากให้สร้างแบรนด์มีบุคลิกขึ้นมาก่อน
ข้อที่ 2 อย่าถอดใจ คือเราเห็นสิ่งนี้มาหลายอย่าง เราเห็นพนักงานบางคน โห วันแรกอินกันมาก ๆ โห Concept ผมชอบมาก สัมภาษณ์กัน พูดคุย ผมสร้างเมนูได้ทุกรูปแบบ แต่พอทำไปสักระยะนึงก็แบบเขาไม่เข้าใจ เขายังหลงอยู่ในโลกแห่งแบบความฟุ้งเฟ้อ เฮ้ย...บาร์เทนเดอร์คนอื่นเขาทำอะไรก็ได้ สร้างอันนี้ก็ได้ ใช้เหล้าฝรั่งอะไรก็ได้ แต่เทพฯบาร์ไม่ใช่ นี่คือบาร์ที่มี Concept เหมือนแบรนด์แฟรนไชส์ที่ต้องมี Framework ไม่ใช่แบบว่า ร้านอาหารตามสั่ง ใครสั่งอะไรก็ทำ เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นร้านอาหารตามสั่ง
ข้อที่ 3 ก็คืออย่าวางใจ การมีธุรกิจของตัวเอง อย่างที่บอกมันเชื่อมโยงกับข้อที่ต้องทำ ก็คือต้องลงมือทำเอง แล้วก็อย่าวางใจในทุกอย่าง ยุคแรก ๆ ที่ร้านเราทำเนี่ย เราเจอพนักงานทุกรูปแบบ เราเจอพนักงานที่โกงเงินร้าน เราเจอพนักงานที่แอบกินเหล้าในเวลากลางวัน จนเราก็ต้องขอให้เขาลาออกไป เพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้ ถ้าเกิดเขาจะทำงานด้วยโหมดที่เมาแบบนั้นมันไม่ถูกต้องแล้ว มันผิดวิสัย เพราะฉะนั้นอย่าวางใจ คุณต้องหมั่นตรวจเช็ก คุณต้องหมั่นหา Framework ที่ตรวจสอบได้
ข้อที่ 4 สิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าดูถูกพนักงานของตัวเอง ร้านเรามีพนักงานต่างชาติ เราไม่ดูถูก เราสอนเขาด้วยซ้ำ หลายคนที่เริ่มงานกับเราตั้งแต่ปีแรก จากที่เริ่มงานเป็นพนักงานทำความสะอาด พูดภาษาไทยไม่ได้ เราให้ครูมาสอนภาษาอังกฤษ ถามว่าใครจ่ายตังค์ เราจ่าย แล้วถามว่าปัจจุบันนี้พนักงานเหล่านี้สามารถขยับขึ้นมาเป็นบาร์เทนเดอร์ได้ ทุกสูตรอยู่ในหัวหมด ทำได้ทุกอย่าง
ข้อสุดท้าย ขอพูดถึงเรื่องของความเป็นไทยโดยเฉพาะ เพราะร้านเราพูดถึงเรื่องนี้ มีคนถามเราว่าจะยืนระยะได้กี่ปี ถ้าวันหนึ่งมีคนมาลอกเลียนแบบจะทำอย่างไร เรามีการถกกันหลายมุมมาก บางคนก็เห็นต่าง บางคนก็เห็นด้วย มีคนแนะนำว่าอย่าวอกแวกถ้ามีคนมาลอกเลียนแบบหรือมีคนมาทำตาม ผู้นำทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครวอกแวก ถ้ามีคนมาทำตาม ถ้าคุณจะเป็นผู้นำจริง ๆ คุณจะไม่มองกระจกหลัง คุณจะมองแต่ข้างหน้า จุดหมายต่อไปคุณทำอะไร เดี๋ยวเขาก็ต้องตามมา ทุก ๆ วันก็จะต้องมีคนที่คิดรถที่ขับเร็วกว่าคันเดิม ถ้าเราคิดว่าเราจะนำเป็นจ่าฝูงตลอดเวลา แต่เราไม่คิดพัฒนาเครื่องยนต์ ไม่พัฒนาน้ำหนักรถให้เบาลง วันหนึ่งเราก็จะกลายเป็นผู้ตามโดยอัตโนมัติ
สมมติว่าจะคิดทำชานมไข่มุกรูปแบบใหม่ ก็จงไปให้สุด ถ้ามันสุดทางแล้วเราจะรู้เอง ถ้าเราคิดว่าเรายังไปได้ต่อ จงพัฒนามันไปเรื่อย ๆ ผมว่าอันนี้มันเป็นข้อด้อยของหลาย ๆ ธุรกิจที่เห็น คนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่อง Research and Development สมมุติอยากทดลองทำนู่นนี่นั่นก็ต้องลอง ถ้าลองแล้วมันจะเจ๊ง ก็เรียนรู้จากมันว่าเจ๊งเพราะอะไร
วัฒนธรรมไทยเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร จนเป็นที่ยอมรับจากคนทั่วโลก แต่ที่ผ่านมาวัฒนธรรมไทยไม่ได้ถูกนำมาใช้สร้างมูลค่าของสินค้าและบริการเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะยังขาดความเข้าใจที่แท้จริง ดังนั้นการหยิบเอาวัฒนธรรมไทยมาเพิ่มมูลค่าจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการทำธุรกิจที่สามารถทำได้ เพียงแต่จะต้องศึกษาค้นคว้าสิ่งที่จะนำมาใช้ให้ละเอียด และนำมาใช้ในรูปแบบที่เหมาะสม บนพื้นฐานของความศรัทธาและเคารพในคุณค่าที่คนรุ่นก่อนได้สร้างไว้
Published on 16 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ออกแบบหน้าร้านออนไลน์บน Shopee และ Lazada ให้ลูกค้ารีบซื้อ
อ่านเพิ่มเติม :https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/sme-design-online-shop.html
การทำธุรกิจในยุคนี้การมีหน้าร้านเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับในสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงอีกต่อไป แต่ควรมีร้านค้าออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างบริการที่ทั่วถึงให้กับผู้บริโภคในยุคสมัยใหม่ เรามี 5 เทคนิคการออกแบบหน้าร้านบนช้อปปี้ (Shopee) และลาซาด้า (Lazada) อย่างไรให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดลูกค้ามาแนะนำ
1. ตั้งชื่อร้านให้รู้ว่าเป็นแบรนด์ของคุณ
ชื่อร้าน หากเปรียบให้เห็นภาพก็เปรียบเหมือนกับชื่อที่เราใช้เรียกคนที่รู้จัก
2. ตกแต่งหน้าร้านให้น่าดึงดูด
การตกแต่งหน้าร้านก็เปรียบกับหน้าต่างบานแรกที่ลูกค้าจะเปิดเข้ามา หากผู้ประกอบการตกแต่งหน้าร้านที่สื่อถึงแบรนด์สินค้ามากเท่าไหร่ ผู้ซื้อก็จะเข้าใจความแตกต่างในร้านของคุณมากเท่านั้น อาจจะกล่าวได้ว่าร้านค้าที่ดึงดูดความสนใจย่อมมียอดคลิก และอัตราการซื้อมากกว่าร้านค้าทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีการตกแต่งอะไรเลย การขายสินค้าผ่านหน้าแพลตฟอร์มช้อปปี้และลาซาด้า มีข้อดีอยู่ตรงที่สามารถออกแบบหน้าร้านได้ตามไอเดียของตัวเอง
3. บอกรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน
เรื่องที่ควรตระหนักเป็นอย่างมากคือ การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ลูกค้าจะไม่สามารถเห็นสินค้าจริง ดังนั้นผู้ประกอบการควรระบุข้อมูลรายละเอียดของสินค้าชิ้นนั้นให้ครบถ้วน
4. ไม่พลาดที่จะจัดโปรโมชั่น
การจัดโปรโมชั่นให้กับสินค้าก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับการกระตุ้นยอดขายให้กับร้านเป็นอย่างดี
5. แอคทีฟตลอดเวลา
ถึงจะเป็นร้านค้าออนไลน์แต่ก็ต้องคอยมอนิเตอร์ร้านค้าอยู่เสมอ ลูกค้าถามปุ๊บตอบปั๊บ เพราะการขายสินค้าออนไลน์บนช้อปปี้และลาซาด้ามีคู่แข่งจำนวนมาก จึงควรแอคทีฟกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : มาตรฐานใหม่ CODEX จัดการสารก่อภูมิแพ้ ตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Codex-FB-130820.aspx
จากการประชุมโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) ล่าสุดครั้งที่ 43 มีประเด็นเกี่ยวกับการยกระดับการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารที่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ได้แก่ ผู้ผลิตขั้นต้น โรงงานแปรรูป ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ นั่นคือ
ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
ผู้ประกอบการส่งออกอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูปและอาหารพร้อมทาน จึงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่จะต้องเตรียมรับมือจากประเด็นนี้ เนื่องจากตลาดส่งออกของไทยคงจะมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นต่อการจัดการด้านการปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป รวมถึงจีนที่แม้ปัจจุบันยังไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไรนัก ก็มีแนวโน้มจะเข้มงวดมากขึ้น
ผลกระทบของมาตรฐานใหม่ CODEX ต่อผู้ประกอบการไทย
ผู้ประกอบการอาหารส่งออกของไทยมีการปฏิบัติตามเกณฑ์ GMP และ HACCP อยู่แล้ว ในเบื้องต้นอาจกระทบในเรื่องต่อไปนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ตลอดห่วงโซ่การผลิต
สำหรับผู้บริโภคในประเทศนั้น ก็จะได้รับการดูแลเช่นกัน สะท้อนจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารมาจำหน่ายในประเทศ ที่จะต้องปฎิบัติตามมาตรฐานใหม่นี้ เพราะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ที่จะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล อาทิ GMP HACCP รวมถึงมาตรฐาน CODEX
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ‘วีแกน’ เจาะตลาด Niche Market ทางเลือกผู้ผลิตอาหารไทย
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/vegan-niche-market-thai-food-producer
‘มังสวิรัติ’ หรือ ‘วีแกน’ คือผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด ถือเป็นกระแสการบริโภคที่กำลังมาแรงในสังคมยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาสนใจรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระแสนี้ไม่เพียงจะส่งผลให้สุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น แต่ยังทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาและเติบโตมากขึ้น จนทำให้ผู้ประกอบการไม่อาจมองข้ามถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกระแสนี้ได้
สำหรับวีแกนในปัจจุบันสามารถแบ่งตามความเคร่งครัดในการปฏิบัติได้อย่างน้อย 3 ประเภท คือ
แนวโน้มความนิยมการเป็นวีแกนจากทั่วโลกเพิ่มสูงมากถึง 987% จากปี 2560 โดยในปี 2561 ยอดขายของอาหารวีแกนเติบโตสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้บริษัทวิจัยตลาดได้คาดการณ์อีกว่า ตลาดวีแกนจะเติบโตขึ้นสูงถึง 200,000 ล้านบาทภายในปี 2566
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried อวสานธุรกิจลุยเดี่ยว เกมรบยุคใหม่แบบร่วมด้วยช่วยกันโต
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Feb-2019.aspx
หากเปรียบธุรกิจเป็นร่างกายคนแล้ว “เงินสด” ก็เป็นเหมือนกับกระแสเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจอยู่รอดหรือต้องหยุดชะงัก บางครั้งกำไรเยอะก็เจ๊งได้ถ้าไม่รู้จักวิธีบริหารกระแสเงินสดให้ดีและมีประสิทธิภาพ
การมีกำไรมากมายจากการกทำธุรกิจอาจไม่ได้แปลว่าสภาพคล่องของกระแสเงินสดจะดีไปด้วย หากยอดขายส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของลูกหนี้การค้า จึงเป็นที่มาของคำว่า กำไรเยอะก็เจ๊งได้ นี่คือหลักการบริหารกระแสเงินสดให้ประสบความสำเร็จ
จะทำให้คุณสามารถตรวจสอบทางการเงินได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
วางแผนทางการเงินอย่างเป็นระบบและขั้นตอน เพื่อให้ง่ายที่จะติดตามและสามารถตรวจสอบความเป็นไปในทางการเงินทั้งหมด รวมทั้งด้านผลกำไร และด้านค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป เพื่อให้สามารถหาวิธีการในการปรับปรุงด้านธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์ที่ดีที่สุด คือ การส่งข้อความเตือนความจำให้กับลูกค้าที่ยังไม่ได้ชำระเงิน หรือบางธุรกิจยังใช้วิธีด้วยการดำเนินการตรวจสอบเครดิตลูกค้าใหม่ หรือ ใช้วิธีปฏิเสธเครดิตกับลูกค้าที่มีประวัติการชำระเงินที่ไม่ดีอีกด้วย
หากคุณจ่ายหนี้ตรงเวลาสม่ำเสมอ เครดิตการค้าของคุณก็ดีในสายตาเจ้าหนี้ เขาอาจขยายระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ให้คุณก็ได้ นอกจากนี้ เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินก็มักนำเสนอส่วนลดสำหรับธุรกิจเพื่อผลักดันให้ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนด หากธุรกิจทำได้ก็สามารถช่วยประหยัดเงินได้ส่วนหนึ่ง
บางครั้งต้องเลือกที่จะสูญเสียบางอย่าง แต่ทางที่เลือกต้องสามารถสร้างเงินมากกว่าการสูญเสียเงิน นี่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด
ธุรกิจอาจเจอปัญหาทางการเงินที่ชะลอตัวเป็นการชั่วคราว ซึ่งอาจเลือกวิธีการจัดหาเงินทุนภายนอกจากสินเชื่อเงินหมุนเวียน เพื่อมาแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในขณะนั้น
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย