โรงงานมะพร้าว Tropicana จากมะพร้าวลุ่มน่ำตาปี สู่น้ำมันมะพร้าว สกัดเย็นคุณภาพระดับโลก

Tropicana Oil จากน้ำมันมะพร้าว OTOP สู่แบรนด์ติด TOP ระดับโลก

Tropicana Oil น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นออร์แกนิก ไม่เคยหยุดพัฒนา จนสามารถเจาะตลาดสร้างฐานกลุ่มลูกค้าของคนรักผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวไทยไป ได้มากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ด้วยมาตรฐานการรักษาคุณภาพของสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและใช้ซ้ำมาตลอด 19 ปี ผลิตภัณฑ์ของ Tropicana Oil ในอดีตนั้น เริ่มต้นอย่างเรียบง่าย ด้วยการย้อนกลับไปใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีการทำสวนมะพร้าวอย่างอุดมสมบูรณ์ ด้วยการนำมะพร้าวมาแปรรูป สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้น จนวันหนึ่งน้ำมันมะพร้าว Tropicana เริ่มเป็นที่รู้จัก จึงเริ่มมีการนำมะพร้าวมาพัฒนาเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอาง สบู่ ครีม โลชั่น เพื่อเป็นการขยายตลาดกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ของ Tropicana นั้น แต่เดิมวางจำหน่ายในรูปแบบ OTOP ตามสถานที่ท่องเที่ยว แต่พอนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสใช้ ก็ติดใจ และกลับไปซื้อฝากให้กับคนในประเทศของเขา กลายเป็นการกระจายสินค้าให้เป็นที่รู้จักในอีกทางหนึ่ง จนชาวต่างชาตินั้นติดแบรนด์ Tropicana และเป็นอันรู้กันว่าถ้ามาถึงประเทศไทยเมื่อไหร่ Tropicana คือสินค้าที่ต้องซื้อติดมือกลับบ้านไปให้ได้ รวมถึงมีการติดต่อเข้ามาสั่งซื้อ เพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่าย รับสินค้าไปวางจำหน่ายในประเทศของเขา

ความใส่ใจ สู่ความยั่งยืน

สินค้าจากมะพร้าวไทยนั้น กลายเป็นที่เลื่องลือในกลุ่มชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง ถึงคุณภาพ คุณประโยชน์ และสรรพคุณต่าง ๆ ที่ทำให้ใครต่อใครต่างประทับใจจนต้องสั่งซื้อซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่กลับกัน ในหมู่คนไทยเอง ยังไม่ค่อยได้รับรู้ถึงคุณประโยชน์ของมะพร้าวไทยมากนัก จึงเป็นโจทย์หลักที่ทางคุณณัฐ-ณัฐณัย นิลเอก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และทายาทรุ่น 2 ของ Tropicana Oil ต้องเข้ามาเริ่มสร้างรูปแบบใหม่ๆ ในการสื่อสารเรื่องราวดี ๆ ของสินค้าจากมะพร้าวไทย ให้แพร่หลายสู่กลุ่มลูกค้าภายในประเทศได้รู้จักมากขึ้น

แม้ในทุกวันนี้ Tropicana Oil จะมีผลิตภัณฑ์ มากกว่า 200 รูปแบบ และมีการผลิตแบบอุตสาหกรรม แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญและสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลง โดยการสนับสนุนเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร รวมถึงประจวบคีรีขันธ์ ให้ปลูกมะพร้าวออร์แกนิก ซึ่งทางแบรนด์รับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด ทำให้เกษตรกรมีรายได้ และมีความยั่งยืนในอาชีพ ส่วนของกาบมะพร้าวที่เหลือหลังจากการใช้งาน จะถูกนำไปทำเป็นวัสดุปลูกให้กับฟาร์มปลูกผักออร์แกนิกของ Tropicana Oil ทำให้ไม่มีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากในกระบวนการผลิตสินค้า เรียกว่าสามารถจัดการให้เป็น Zero Waste โดยสมบูรณ์

Tropicana Oil มีแนวคิดในการสร้างเครือข่ายธุรกิจทั้งภายในกลุ่มธุรกิจไปจนถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะร่วมมือส่งเสริมซึ่งกันและกัน สิ่งนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่พาตัวเราเข้าไปหาโอกาส แต่ถ้าเรามีกลุ่มเครือข่ายที่สามารถช่วยเหลือกันได้ มันก็จะทำให้เราสามารถไปได้ไกลมากกว่าเดิม

ติดต่อได้ที่

บริษัท ทรอปิคานา ออยล์จำกัด

ที่อยู่: 165 หมู่ 1 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120

โทร: 034-323-888

อีเมล: info@tropicanaoil.com

เว็บไซต์: tropicanaoil.com

Facebook: Tropicana Oil Co., Ltd. 

Instagram: tropicanaoil

Line: @TROPICANAOIL

บทความแนะนำ

ศูนย์การบรรจุภัณฑ์หีบห่อ หน่วนงานที่ดูแลในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับด้านบรรจุภัณฑ์ เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ ครบวงจรตั้งแต่การทดสอบ ตรวจสอบ ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับปรุงคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ ให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน และมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน เพื่อให้บรรจุภัณฑ์สามารถช่วยรักษาคุณภาพของสินค้าให้สมบูรณ์ที่สุด

บริการจากทางศูนย

1. ห้องปฏิบัติการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เป็นบริการที่ช่วยทดสอบวัสดุบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล สำหรับการขายและการขนส่งให้ได้มาตรฐานสากล เช่น ทดสอบการกดทับ กันกระแทก และยังมีบริการทดสอบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย ในด้านความแข็งแรงทนทาน ไปจนถึงความสามารถในการปกป้องสินค้าในระหว่างขนส่งได้ด้วย

2. ห้องปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่วยพัฒนา ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการได้มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ช่วยส่งเสริมการขายและช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์เพื่อลดความเสียหายของผักและผลไม้สด ยืดอายุอาหาร และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. บริการข้อมูลงานวิจัย เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้และถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับผู้ที่สนใจ เช่น คู่มือการใช้บรรจุภัณฑ์  รายงานวิชาการและวารสารการบรรจุภัณฑ์  เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้งานบรรจุภัณฑ์ ให้เหมาะสม และเพิ่มความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ  ด้านบรรจุภัณฑ์

4. หลักสูตรอบรม สัมมนา ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักสูตรการฝึกอบรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการบรรจุหีบห่อของประเทศไทย

 

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย เรายินดีช่วยคิด ช่วยเลือก ไปจนถึงช่วยออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้กับผู้ประกอบการ MSME ทุกท่าน

ติดต่อได้ที่

อาคารศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.)

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 

ที่อยู่: 196 ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ  10900

โทรศัพท์: 02579 1121 ต่อ 3101, 3208  

อีเมล: tpc-tistr@tistr.or.th

เว็บไซต์ : www.tistr.or.th/Industrials/tpc

 

บทความแนะนำ

Capheny (คาเพนี่) เสื้อผ้าสไตล์ Ready-to-wear ที่กำลังมาแรง

Capheny (คาเพนี่) เดรสคลาสสิก Ready-to-Wear

จากอดีตพนักงานออฟฟิศสาย PR ขอเปลี่ยนบทบาทผันตัวเองมาทำร้านเสื้อผ้าตามความหลงใหล ในสไตล์เสื้อผ้าคลาสสิก Ready-to-Wear จากความชื่นชอบส่วนตัว ที่ปรับรูปแบบให้เรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดประณีต สามารถสวมใส่ได้หลากหลายโอกาส จนสามารถสร้างรายได้หลักล้านบาท

Capheny คือแบรนด์เสื้อผ้าที่เกิดขึ้นมาจากความมุ่งมั่นและหลงใหลเสื้อผ้าสไตล์คลาสสิก และส่วนหนึ่งคือความชอบแต่งตัว ของคุณบุ๋ม-จิราทิพย์ สูรย์ส่องธานี ที่ทำงานออฟฟิศมาจนถึงจุดหนึ่งในช่วงก้าวเข้าสู่วัย 30 ได้เกิดความคิดขึ้นว่า อยากลองออกมาลุยทำธุรกิจส่วนตัวดูสักตั้ง อย่างน้อยถ้ามันไม่รอด ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะกลับเข้าออฟฟิศ แต่ถ้าหากไม่ลุยตอนนี้แล้วปล่อยความฝันให้ลากยาวต่อไป จน 40-50 แล้วค่อยเริ่มต้น หากผิดพลาดแล้วน่าจะยากที่จะกลับมาตั้งตัว

เมื่อใจบันดาลแรง คุณบุ๋มจึงตัดสินใจยื่นลาออกแล้วเริ่มต้นการทำธุรกิจส่วนตัว ด้วยเงินตั้งต้นเพียงหลักหมื่น โดยไม่มีความรู้ด้านธุรกิจเป็นชิ้นเป็นอัน เมินเสียงของคนอื่นที่ว่า “อย่าทำเสื้อผ้าเลย คนทำเยอะแยะ คนเจ๊งเยอะ”, “แบรนด์เสื้อผ้ามีเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ แบรนด์ในไทย”, “จะไหวเหรอ จะรอดเหรอ” มุ่งทำตามเสียงความคิด ถึงไม่สำเร็จก็ไม่เป็นอะไร ขอให้ได้ลองสักครั้งหนึ่งในชีวิต

เมื่อเดินหน้าแล้ว ก็ต้องออกลุยเต็มที่ ลงมือลองผิดลองด้วยตนเองทุกขั้นตอนกับเสื้อผ้าคอลเลคชันแรก โดยนำแบบร่างที่เคยออกแบบไว้เล่น ๆ มาลองเลือกดูว่า ชิ้นไหนสามารถเอามาทำจริงได้ เมื่อเลือกได้แล้วก็รีบไปหาผ้า ออกไปหาช่างทุกวัน จนสามารถตัดคอลเลคชันแรกออกมาได้สำเร็จ 

เมื่อลองนำมาโพสต์ขายทางอินสตาแกรม ผลปรากฎว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ลูกค้าชอบในแนวทางนี้ ทำให้คุณบุ๋มรู้ว่าแบรนด์ยังไปต่อได้ นำมาซึ่งคำถามว่าแล้วแบรนด์จะไปต่ออย่างไรดี

 

เพิ่มความรู้ สร้างธุรกิจให้โดดเด่น

คุณบุ๋มตัดสินใจที่จะจริงจัง จึงไปลงเรียนแฟชั่นดีไซน์ ใช้เวลาเรียนอยู่ 2 ปี โดยที่ทำแบรนด์ไปด้วยพร้อมกับเรียนไปด้วย แบรนด์ก็ค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถขยายทีม รับสมาชิกเข้ามาช่วยทำงานได้ ทำให้คุณบุ๋มสามารถใช้เวลาไปกับเรื่องการออกแบบ และบริหารจัดการได้เต็มที่

เวลาผ่านไปหลายปีกับเสื้อผ้าหลายคอลเลคชัน คุณบุ๋มได้พบว่า กระบวนการตัดเสื้อผ้านั้นมีเศษผ้าชิ้นใหญ่มากมาย ผ้าเหล่านี้ไม่สามารถนำมาใช้ตัดเสื้อผ้าเต็มตัวได้ จึงคิดหาทางที่จะใช้ประโยชน์ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่คุณบุ๋มได้เข้าร่วมการจับคู่ทางธุรกิจ ของกรมส่งเสริมการส่งออก แล้วได้พบกับบริษัทที่รับรีไซเคิลผ้า จึงได้ทำการติดต่อส่งผ้าไปให้ทางนั้นรีไซเคิลกลับมาเป็นผืนผ้า 

เมื่อได้ผ้ากลับมา คุณบุ๋ม ได้นำมาจัดทำเป็นคอลเลคชันพิเศษขึ้น โดยออกแบบให้เป็นคอลเลคชันซัมเมอร์ ในรูปแบบที่สวมใส่ได้อย่างสบาย 

แนวคิดในการทำธุรกิจของคุณบุ๋มมองว่า ถึงแม้ว่าเราจะมีทักษะ ความรู้ สามารถลงมือลงแรงทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเอง แต่มันก็ยังคงมีข้อจำกัดในการขยายธุรกิจ แต่ถ้าเราจับมือสร้างเครือข่ายธุรกิจ มันจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาธุรกิจให้ไปได้ไกล และออกตัวได้ไวขึ้น มีโอกาสและความไปได้เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้

ติดต่อได้ที่

Capheny

โทร: 081-937-7993

อีเมล: capheny.official@gmail.com

เว็บไซต์: capheny.com

Facebook: Capheny 

Instagram: capheny.official 

Line: @capheny

บทความแนะนำ

SME D Bank สร้างนิวไฮ ปี 66 พาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนทะลุ 7 หมื่นล้านบาท

SME D Bank สร้างนิวไฮ ปี 66 พาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนทะลุ 7 หมื่นล้านบาท

ชูธง ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ 4 ปี ดันเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท

SME D Bank แถลงผลสำเร็จปี 2566 สร้างสถิติใหม่รอบด้าน สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร เผยพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนกว่า 7.06 หมื่นล้านบาท และตลอด 4 ปี กว่า 2.3 แสนล้านบาท สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท พัฒนาเสริมแกร่งกว่า 7.5 หมื่นราย รักษาการจ้างงานได้กว่า 7.5 แสนราย  ขณะที่บริหาร NPL มีประสิทธิภาพ เหลือต่ำสุดในรอบ 22 ปี ประกาศปี 2567 ยกระดับสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ คิกออฟใช้ระบบ CBS พร้อมแพลตฟอร์ม DX  มั่นใจเดินหน้าไร้รอยต่อ  

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวถึง จุดยืนการเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่พร้อมเคียงข้างส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตยั่งยืน  ด้วยแนวทาง “เติมทุนคู่พัฒนา” ประกอบกับความมุ่งมั่น ทุ่มเทของคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานที่รวมพลังเป็น ONE Team  

นางสาวนารถนารี กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า แม้ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 นี้ จะครบวาระการทำงาน 4 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แต่ด้วยรากฐานมั่นคงขององค์กร อีกทั้ง ทีมผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ล้วนเป็นบุคลากรภายในที่ร่วมผลักดันยกระดับองค์กรมาด้วยกัน และยังอยู่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต่อเนื่อง ทำให้การทำงานทุกด้านของ SME D Bank สามารถเดินหน้าได้ดีอย่างไร้รอยต่อ และเชื่อมั่นว่า SME D Bank พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างทั่วถึง  และมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ความมั่นคงและยั่งยืนแก่ประชาชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตลอดไป

บทความแนะนำ