กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวช่วยการันตีผลิตภัณฑ์ชุมชน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวช่วยการันตีผลิตภัณฑ์ชุมชน

ภารกิจสำคัญของ “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข” ไม่ได้มีขอบเขตแค่การการดูแลด้านสาธารณสุขและสุขภาพของคนไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งภารกิจในการช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยผ่านการกำหนดและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบและวิธีการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือเกี่ยวข้องกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารระเหยเครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์ รังสี และวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค

โดยมีห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือที่เกี่ยวกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท สาระเหย ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค เพื่อควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพและมาตรฐานให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้และผลผลิตที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายถึงภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยหรือ  MSME ว่า 

“ปกติเราถือว่าเป็นห้องปฏิบัติการของประเทศ เราจึงใช้เครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ค่อนข้างมาก อยู่เบื้องหลังการทำแล็บต่าง ๆ ของประเทศ เรามองว่าทำอย่างไรจะให้ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถช่วยลงไปถึงชุมชนได้ ด้วยแนวคิด From Lab to Community จากห้องแล็บสู่ชุมชน เรียกว่า งานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน”

งานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนมองได้เป็น 2 มิติ คือ การค้นหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพให้กับประชาชน เรียกว่า Detection เป็นการเข้าไปดูระบบสุขภาพของชุมชนที่มี อสม.เป็นแกนหลัก โดยใช้เครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การตรวจน้ำ ตรวจอาหาร นำมาแปลงเป็นชุดทดสอบง่าย ๆ เพื่อให้ อสม.นำไปตรวจของใช้และอาหารในชุมชน เพื่อให้สามารถทราบถึงระดับความปลอดภัยของน้ำหรืออาหาร นั้น ๆ ได้

รวมถึงพัฒนา อสม.กลุ่มหนึ่งเข้ามาเพื่อให้สามารถใช้ชุดทดสอบเหล่านี้ตรวจเครื่องสำอาง อาหารว่ามีสิ่งปนเปื้อนสารพิษ สารกำจัดศัตรูพืช หรือสารอื่นที่เป็นอันตรายกับสุขภาพหรือไม่ ซึ่งเรียกว่า อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน หรือ อสม.นักวิทย์ ทำมาตั้งแต่ปี 2550 จนปัจจุบันขยายครอบคลุมทุกอำเภอในปีนี้ ซึ่ง อสม.จะไปตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการของตนเองในชุมชน เรียกว่าศูนย์เตือนภัยสุขภาพ เพื่อตรวจสอบลดการกระจายความเสี่ยง และดูแลสุขภาพของคนชุมชน  

อีกหนึ่งภารกิจคือด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนผลิตออกมาให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถนำไปจำหน่ายได้ เรียกว่า Development (มีภาษาไทยไหมคับ) โดยลงไปช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย หรือ  MSME และผู้ประกอบการชุมชน หรือ OTOP ซึ่งมีความไม่พร้อมในแง่ของห้องปฏิบัติการ ซึ่งหากไม่มีการทำเรื่องนี้อาจจะขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีผลตรวจ วิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงลงไปร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด และผู้ประกอบการรายย่อย หรือ MSME รวมทั้งผู้ประกอบการชุมชน หรือ OTOP ให้เข้าสู่กระบวนการผลิตและพัฒนากระบวนการผลิต โดยใช้ผลการตรวจวิเคราะห์เข้ามาช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีคุณภาพและความปลอดภัย สามารถขึ้นทะเบียนและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของชุมชน ซึ่งส่วนนี้คือบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย เป็นภารกิจที่ทำมากว่า 10 ปี ด้วยข้อได้เปรียบในแง่ของการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีห้องปฏิบัติการที่ได้ ISO17205 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล 

“มีผู้ประกอบการหลายรายที่พอเราเข้าไปช่วยเขาแล้วทำให้เขาขายสินค้าได้ดีขึ้น เพิ่มมูลค่าของสินค้าเขา เช่น มีรายหนึ่งทำสินค้ากาแฟ พอศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เชียงรายเข้าไปช่วยและได้ใบรับรอง (ด้านอะไร) จากเราทำให้เขาสามารถนำสินค้าของเขาไปขายบนสายการบินได้ มีราคาเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า อีกเจ้าเป็นน้ำสมุนไพรทางอีสานซึ่งเราเข้าไปช่วยพัฒนา (ด้านอะไร) จนเขาได้มาตรฐานและสามารถสร้างการเติบโตให้ผลิตภัณฑ์ของเขาได้มากขึ้น”   

กระบวนการในการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าซึ่งต้องขึ้นทะเบียนกับ อย.เนื่องจากผลวิเคราะห์และรับรองจากห้องปฏิบัติการ จะสามารถนำไปสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากปัญหาหนึ่งของผู้ประกอบการ คือ การใช้บริการห้องปฏิบัติการแต่ละครั้งจะใช้เงินจำนวนมาก หากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่จะเสียค่าธรรมเนียมการตรวจแต่ละหัวข้ออยู่ที่ 1,000 –10,000 บาท ในการเข้าไปตรวจแล็บหรือตรวจวิเคราะห์ แต่ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้าไปช่วยพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ อาหาร และเครื่องสำอาง โดยเฉพาะ เครื่องสำอางผสมสมุนไพร ปีนี้จะมีการขยายไปสู่ยาสมุนไพรที่ผลิตจากโรงงานของโรงพยาบาล ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จะได้รับการช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการการพัฒนาร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์ในขั้นต้น จะได้โลโก้และใบรับรองเรียกว่า Safety Product หากผ่านกระบวนการขั้นต้นและสามารถเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารก็เป็นกลุ่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการจะเรียกว่า Smart Product และสำหรับผลิตภัณฑ์ดีต่อเนื่องทุกปีจะได้โลโก้ Sustainable Smart Product 

ปัจจุบัน Safety Product มีทั้งหมด 219 ผลิตภัณฑ์ Smart Product 143 ผลิตภัณฑ์ Sustainable Smart Product ทั้งหมด 17 ผลิตภัณฑ์ จากทั่วประเทศ ทั้งสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งเราสามารถตรวจกระจายไปทั่วประเทศเนื่องจากเรามีเรามีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำอยู่ทุกเขต ทั้งหมด 15 แห่งทั่วประเทศ แต่ละแห่งกระจายคลุมพื้นที่ 5-10 จังหวัด ตามเขตสุขภาพ นอกจากนั้นเรายังมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราเองด้วย โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและควบคุมคุณภาพให้กับบริษัทเอกชนที่สนใจซื้อไปทำการผลิตและขาย โดยตอนนี้เราทอดถ่ายและผลิตจำหน่ายไปแล้ว 31 ผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดมีผลวิจัยอ้างอิง เป็นสินค้ากลุ่มอาหาร เครื่องสำอาง ชุดทดสอบตรวจวิเคราะห์ เช่น ชุดทดสอบกัญชา ชุดทดสอบสารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง ชุดทดสอบสารปรอท ผลิตภัณฑ์กันยุง เป็นต้น 

ผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่กระบวนการ OTOP/SMEs Development สามารถเข้าไปขอรับความช่วยเหลือได้จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์แต่ละจังหวัด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คัดเลือกจากผู้ประกอบการที่ตั้งใจพัฒนากระบวนการของตนโดยมี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงและตรวจแล็บยืนยันความปลอดภัยให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมในการพัฒนากระบวนการผลิตจนกว่าจะได้สินค้าที่ปลอดภัย

นพ.พิเชฐ แนะนำว่าสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นมา สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นมาตรฐานแรกคือเรื่องของความปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่จะทำอันตรายต่อผู้บริโภค สองคือคุณภาพในการผลิตที่ต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อน สุดท้ายคือต้องมีคุณค่า ซึ่งตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนกับทางอย.กลุ่มอาหารและยา จะเน้นเรื่องความปลอดภัยกับคุณภาพ ส่วนของคุณค่า ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลจะไปอีกขั้นตอนหนึ่ง

“ตอนนี้หากผู้ประกอบการมาเข้ากระบวนการพัฒนาอาหารกับทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เราจะมีการตรวจฉลากโภชนาการให้เพื่อบอกว่าอาหารของผู้ประกอบการมีสารสำคัญอะไรบ้าง ซึ่งจะยกระดับให้ผู้ประกอบการมากกว่าแค่เรื่องของความปลอดภัยเพียงอย่างเดียวส่งผลให้ประเทศมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น” 

ปีนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วางแผนงานในการมอบโลโก้ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปติดบนผลิตภัณฑ์ได้เพื่อเป็นการการันตีผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากการได้รับใบรับรองเป็นกระดาษที่จะมอบให้ผู้ประกอบการอยู่แล้ว นอกจากนี้จะมีการเพิ่มศักยภาพในการรองรับ OTOP และ MSME มากขึ้น โดยในปี 2567 ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับโลโก้ตั้งแต่ Safety Product ไปจนถึง Smart Product และ  Sustainable Smart Product ทั้งหมด  30 ผลิตภัณฑ์

 

สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 

E-Mail : prdmsc@dmsc.mail.go.th รับ-ส่งหนังสือราชการ 

E-Mail : saraban@dmsc.mail.go.th 

โทรศัพท์ : 0 2589 9850-7, 0 2951 0000 

โทรสาร : 0 2591 1707 

เว็บไซต์ :  https://www3.dmsc.moph.go.th/

บทความแนะนำ

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. (BID)

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. (BID)

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BID) สวทช.  นั้น ดูแลในส่วนของการพัฒนาผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นที่ผู้ประกอบการ SME ที่นำเอาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้เพื่อทำธุรกิจ โดยการช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการเริ่มต้นธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ ที่นำพาธุรกิจให้ออกสู่ตลาดแล้วก็มีการเติบโตสูงอย่างยั่งยืน

โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดัน 4 เสานวัตกรรมหลัก ได้แก่ Process Innovation, Market Innovation, Product Innovation และ Organization Innovation ให้ผู้ประกอบการมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 5 ปี ผ่านกลไกสนับสนุนจากหลากหลายช่องทาง

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี  (BID) มีความมุ่งมั่น และภาคภูมิใจที่ได้ช่วยคนไทย ช่วยสินค้าไทย เพราะการได้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงนั้น มันจะส่งผลไปทั้งระบบ เมื่อธุรกิจเติบโตก็จะช่วยสร้างรายได้ กระจายไปอีกหลายต่อจนถึงต้นทางที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบในประเทศ และเมื่อทั้งระบบเติบโต ทั้งหมดนี้ก็จะมีส่วนช่วยส่งผลให้ GDP ของประเทศเติบโตขึ้นด้วย

 

บริการจากทางศูนย์

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี  (BID) พร้อมให้บริการครอบคลุมในทุกมิติ ที่มีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ เช่น

  • อบรมบ่มเพาะธุรกิจ
  • วินิจฉัยธุรกิจ
  • ให้คำปรึกษาพัฒนาโมเดล / แผนธุรกิจ
  • ให้บริการนำงานวิจัยออกสู่การจัดตั้งธุรกิจ
  • เชื่อมโยงผู้ประกอบการสู่งานวิจัย
  • แนะนำให้คำปรึกษาการร่วมลงทุนกับเครือข่ายแหล่งทุน
  • ให้คำปรึกษาการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ในชุมชน
  • ส่งเสริมกิจกรรมออกตลาดทั้งในประเทศ / ต่างประเทศ
  • กิจกรรมเชื่อมโยงงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BID) สวทช. 

ที่อยู่: 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

โทรศัพท์: 02-564-7000

อีเมล: bid@nstda.or.th

เว็บไซต์ : www.nstda.or.th/bid

บทความแนะนำ

Lekker Café and Restaurant รักสุขภาพพร้อมรักษ์โลก

Lekker Café and Restaurant รักสุขภาพพร้อมรักษ์โลก

จะมีใครคิดบ้างว่า การที่ลูกค้าเดินเข้าร้านอาหาร แล้วสั่งกาแฟแค่ 1 แก้ว หรือ อาหารเพียง 1 มื้อ จะสามารถช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้ พร้อมกับดูแลสุขภาพของตัวเองได้พร้อมกันด้วย

นี่คือวิธีคิดจากคุณอัจฉรา ฟุกเท็น เจ้าของร้าน Lekker Café and Restaurant ที่อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ที่ต้องการให้ลูกค้าทุกคนได้มีส่วนช่วยดูแลโลก ผ่านไลฟ์สไตล์ปกติในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่ต้องไปลงมือลงแรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไปจากเดิม เรียกว่า ที่ร้าน Lekker Café นั้นอำนวยความสะดวกให้ทุกคนได้ดูแลโลกผ่านการเข้ามาทานอาหาร หรือแค่เข้ามานั่งดื่มกาแฟ

แล้วมันจะช่วยดูแลโลกได้อย่างไร ก็ต้องมาดูลึกลงไปถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังของเมนูอาหารและเครื่องดื่ม ที่ทุกขั้นตอนนั้นต้องช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ไล่มาตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจากผู้ผลิตในชุมชนอ่าวนางเลยทีเดียว ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นสโลแกนสั้นกระชับจับใจ ว่า “Drink Black, Eat Green”

 

Drink Black, Eat Green

สโลแกนนี้เป็นการสื่อสารคุณค่าที่ทางร้าน Lekker ยึดถือ ให้ไปถึงลูกค้า โดย

Drink Black นั้นเป็นการสนับสนุนให้คนหันมาทานกาแฟดำไม่ใส่นมไม่ปรุงรส ซึ่งทางร้านมีเมล็ดกาแฟคัดสรร 3 สายพันธุ์ ที่ผ่านกระบวนการหมักผลของกาแฟรวมกับเมล็ดกาแฟ เพื่อให้เมล็ดนั้นมีรสชาติหวานปลายในตัวเอง ทำให้กาแฟดำดื่มได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใส่น้ำตาลเพิ่ม เมื่อไม่ต้องใส่น้ำตาล ก็จะเป็นผลดีกับสุขภาพ และเป็นการลดการใช้น้ำตาล ที่มาจากอุตสาหกรรมไปอีกทางหนึ่ง รวมถึงการทานกาแฟที่ไม่ใส่นม ก็เป็นการช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ที่ทั่วโลกนับว่าเป็นกระบวนการที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากอันดับต้น ๆ นอกจากนั้นลักษณะพฤติกรรมของคนทานกาแฟ ใน 1 วัน จะไม่ได้ดื่มกาแฟเพียงแค่แก้วเดียว จะต้องมีการดื่มระหว่างวัน เป็นแก้วที่ 2-3 ถ้าทุกแก้วนั้นดื่มเป็นกาแฟดำ ก็ยิ่งส่งผลดีมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ ด้าน

Eat Green เป็นการสนับสนุนให้ทานอาหารจากวัตถุดิบออร์แกนิกในชุมชนอ่าวนาง เป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผลิตด้วยทางหนึ่ง ร้าน Lekker เองยังได้มีการนำเสนอทางเลือกให้กับเมนูมังสวิรัติในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีรสชาติดี ให้ประโยชน์ทางโภชนาการสูง จากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในชุมชน สร้างสรรค์เมนูที่หาทานที่ไหนไม่ได้ กลายเป็นเมนูยอดนิยมที่จุดประกายให้ลูกค้ารู้สึกเกิดไอเดียอยากหาวัตถุดิบกลับไปเข้าครัวทำกินกันที่บ้าน ซึ่งทางร้าน Lekker เชื่อว่าหากว่าผู้คนสามารถลดการทานเนื้อสัตว์ในแต่ละมื้อลงได้ ก็เป็นอีก 1 ทาง ที่จะช่วยส่งผลให้ขนาดของอุตสาหกรรมปศุสัตว์เล็กลงได้

จากแนวคิดที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทำให้ ร้าน Lekker Café and Restaurant ได้รับการติดต่อจาก หน่วยงานต่าง ๆ สามารถชนะรางวัล SME Provincial Champions 2023 รางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับ SME ที่เชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับชุมชนได้อย่างโดดเด่น โดยเป็นรางวัลที่มอบให้ SME ที่มีคะแนนสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวของจังหวัด รวมถึงได้รับรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ SME National Awards อีกรางวัลหนึ่งด้วย

นอกจากเป็นร้านที่ชนะรางวัลแล้ว ยังเป็นร้านที่ชนะใจลูกค้าในละแวกอ่าวนางที่ทำให้คนพูดถึงกันปากต่อปาก ทั้งจากคนในชุมชนไปจนถึงนักท่องเที่ยวที่ต่างปักหมุดมาแวะเวียนจากทั่วโลก

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

Lekker Café and Restaurant 

ที่อยู่: 33/5 หมู่ 2 ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ 81180

โทร: 080-870-2383

อีเมล: adchara.voeten@gmail.com

Facebook:  Lekker Cafe’ Krabi

บทความแนะนำ

เสบียงคลีน ร้านอาหารคลีนที่เข้าใจคนยุคใหม่

เสบียงคลีน ร้านอาหารคลีนที่เข้าใจคนยุคใหม่

หลังจากยุคโควิดเป็นต้นมา ผู้คนเริ่มมาให้ความสนใจในด้านสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งในเรื่องการดูแลสุขอนามัยไปจนถึงอาหารการกิน ที่ต้องเลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และดีต่อสุขภาพ

คุณจิรภัทร ปั้นสำรอง ได้มองเห็นรูปแบบไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่เปลี่ยนไป จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำร้านอาหารคลีน เพื่อช่วยดูแลสุขภาพให้กับผู้คนอีกทางหนึ่ง โดยเปิดร้านในชื่อว่า เสบียงคลีน ร้านอาหารคลีนสไตล์มินิมอล

แม้ว่าช่วงที่เปิดร้านแรกที่สาขานวมินทร์ จะเป็นช่วงเวลาท่ามกลางสถานการณ์โควิด แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ร้านเสบียงคลีนหยุดชะงัก ทางร้านได้ปรับวิธีการขายที่เข้าใจผู้บริโภค ด้วยการปรับรูปแบบเป็นขายออนไลน์ทั้งหมด พร้อมให้บริการส่งให้ถึงที่ นับได้ว่าเป็นการเริ่มเรียนรู้การทำระบบออนไลน์ให้กับร้าน และกลายเป็นช่องทางหลักที่ประคองธุรกิจให้ผ่านช่วงสถานการณ์โควิดมาได้

ความใส่ใจที่กลายเป็นผลตอบรับ

ร้านเสบียงคลีนในช่วงแรกที่เปิดร้านนั้น เรียกว่าเป็นช่วงลองผิดลองถูก ลองลงมือทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้วางกลุ่มเป้าหมายหลักว่าลูกค้าจะเป็นคนกลุ่มใด แต่เมื่อมีเหตุให้ต้องย้ายร้านออกจากสาขานวมินทร์ และกำลังหาทำเลของร้านที่จะเปิดใหม่ในบริเวณย่านศาลายา เมื่อได้ตระเวนดู สังเกตการใช้ชีวิตของผู้คน และเก็บข้อมูลมากขึ้นก็พบว่าผู้คนบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นั้นเต็มไปด้วยผู้ที่รักและให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก ทำให้เห็นช่องทางที่น่าสนใจที่จะย้ายร้านมาเปิด 

เป็นไปตามคาด เมื่อร้านเปิดที่ตลาดเมืองนอก ศาลายา ผู้คนต่างให้การตอบรับเป็นอย่างดีตั้งแต่วันแรก โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงผู้ที่ออกกำลังกายจริงจังเป็นประจำ เหตุผลหนึ่งมาจากร้านอาหารคลีนในย่านนี้ยังมีจำนวนน้อย และการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าหาร้านได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องมาถึงร้านด้วยตัวเอง

สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับกลุ่มลูกค้าคือ เมนูอาหารที่หลากหลาย ปรุงสด สะอาด น่ารับประทาน มีคุณประโยชน์ ให้ในปริมาณที่คุ้มค่า ราคาไม่สูง และยังมีการคำนวณค่าโภชนาการให้เหมาะกับแต่ละกิจกรรม เช่น หากเป็นคนที่มีการออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้อ สามารถแจ้งกับทางร้าน เพื่อให้จัดเตรียมอาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสมได้ รวมถึงทางร้านเองก็มีการให้คำแนะนำกับลูกค้าว่าว่า มื้อไหนเหมาะกับเมนูอะไร โดยอ้างอิงจากปริมาณแคลอรี ทำให้ชนะใจกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงดูแลร่างกายได้เป็นพิเศษ

ด้วยวิธีทำการตลาดแบบออนไลน์ ทำให้ร้านเสบียงคลีน เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว และด้วยกระแสตอบรับที่ดี ทำให้มีหน่วยงานจากกระทรวงพาณิชย์ติดต่อเข้ามา เนื่องจากเล็งเห็นว่าร้านเสบียงคลีน เป็นร้านเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ มีความแปลกใหม่ และมีรูปแบบการทำธุรกิจที่ปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี จึงอยากให้ร้านเสบียงคลีนเข้าร่วมการประกวดรางวัล SME Excellence Awards ซึ่งในท้ายที่สุดร้านเสบียงคลีนก็สามารถชนะรางวัลมาได้

คุณจิรภัทร เจ้าของร้านเสบียงคลีน มีแนวคิดในการทำธุรกิจที่ยึดถือมาตลอด ว่า การจะทำธุรกิจต้องมีความเชื่อมั่น มีความศรัทธาเป็นอย่างแรก ต้องโฟกัสจดจ่อกับสิ่งที่ทำว่านี่คือสิ่งที่ใช่ และ ชอบ แล้วลุยให้เต็มที่ ถึงจะท้อแต่ก็ต้องสู้ในทุกสถานการณ์ เพราะกำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงต้องเชื่อมั่นก่อน ว่าเราทำได้

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

บริษัท เสบียงคลีน จำกัด

ที่อยู่: 895 หมู่ 4 ซอยกะทุ่มล้ม10 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กทม.

โทร: 080-593-5299

อีเมล: sabiangclean.1@gmail.com

Facebook: เสบียงคลีน cafe 

บทความแนะนำ

โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development System)

 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยร่วมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) ขอเรียนเชิญ ผู้ประกอบการ SME ไทย

เข้าร่วม “โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development System)” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับองค์กร

โดย โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนค่าฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ สูงสุดถึง 80%

 

โครงการให้บริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำที่ครอบคลุมการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

  • การวางกลยุทธ์เพื่อการดำเนินธุรกิจ
  • การวางแผนการตลาดและลูกค้า
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาทักษะตนเอง
  • เพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต และระบบมาตรฐานคุณภาพ

 

รายละเอียดโครงการ https://www.ftpi.or.th/bds

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 02-6195500 ต่อ 573 (ยุธิชล) , 585 (ศาตพร), 584 (กิตติมา)  

081-8077427  (พัชรีพร) ผู้จัดการโครงการ

 

บทความแนะนำ