ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สินค้าอาหาร เป็นปัจจัยหลักในการบริโภค และเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะเดียวกันจำนวนของผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ที่หันมาทำสินค้าเกี่ยวกับอาหารก็มีเพิ่มมากขึ้น การกำหนดคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยของอาหารจึงมีความสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคภายในประเทศเอง และเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล ในการส่งสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ การวิจัยและการทดสอบอาหารจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก ช่วยส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ และสนับสนุนภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเกิดขึ้นเพื่อให้บริการผู้ประกอบการ MSME ให้ได้รับการบริการด้านการวิจัยและทดสอบอาหาร ได้อย่างมีมาตรฐานและเชื่อถือได้

 

โดยมีบริการหลักด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ให้บริการตรวจวิเคราะห์ แก่ผู้ประกอบการ ทั้งภายใน และต่างประเทศ ในตัวอย่างอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีมาตรฐาน อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการทางเคมี, ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุล, และการตรวจประเมินอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์

 

  1. วิจัยและพัฒนาวิธีวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารไทยให้มีศักยภาพในการแข่งจันในตลาดโลก

 

  1. ฝึกอบรมด้านการวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้บุคลากรทั้งจากภาครัฐและเอกชน

 

  1. เป็นแหล่งสนับสนุนและอ้างอิงทางวิชาการ ด้านระบบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ และความปลอดภัยของอาหาร

 

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ไปจนถึงผลักดันเพื่อส่งเสริมสินค้าที่มีคุณภาพของผู้ประกอบการไทยให้ออกไปสู่ตลาดโลก

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร 

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่อยู่: ชั้น 16 อาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์: 02-218-7653-4

โทรสาร: 02-218-7653

อีเมล: cufdtest@gmail.com

เว็บไซต์ : www.cufoodtest.com

บทความแนะนำ

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) หน่วยงานที่ช่วยผู้ประกอบการ MSME ด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบ

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) 

หน่วยงานที่ช่วยผู้ประกอบการ MSME ด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบ

 

ปัจจุบัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจนั้น ๆ ต้องออกไปแข่งขันในตลาดระดับโลก  และ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) เป็นอีกหนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพด้านงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเต็มที่

โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) คือผู้ช่วยคนสำคัญของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบห้องปฏิบัติการที่ให้บริการกลุ่มอุตสาหกรรมในด้านการทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ อาทิ เครื่องมือชั่ง เครื่องมือตวง หรือเครื่องมือวัด รวมถึงการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องมือเพื่อการผลิตในระบบตามคุณภาพมาตรฐาน และการให้คำแนะนำ โดยการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบตั้งแต่ตั้งต้นผลิตจนถึงตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานตัวผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการตรวจสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต 

นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศออกสู่ต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพงานบริการทางวิทยาศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ปัจจุบัน ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สังกัดอยู่ในกลุ่มบริการอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของสถาบันวิจัยและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู  มีการให้บริการที่หลากหลาย อาทิ บริการวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับการจัดจำหน่ายในประเทศและการขอมาตรฐานระหว่างประเทศ บริการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมทั้งวิเคราะห์ ตะกั่ว สี ซึ่งเป็นที่เดียวในประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเรื่องสีครบทุกรายการรับรอง 

นอกจากนี้ ยังมีบริการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากสีเขียว (Green Label) ตามรายการที่กำหนดเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยื่นขอฉลากเขียว การทดสอบตามกฎระเบียบต่างประเทศ และการทดสอบเพื่อสนับสนุนด้านมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การทดสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำเสีย ตลอดจนให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับวิธีทดสอบ เป็นต้น

รวมถึงบริการให้คำปรึกษา และสอบเทียบเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสายการผลิตและต้องการขอการรับรองระดับสากลเช่น ISO, อย. และ สมอ. บริการฝึกอบรมการสร้างมาตรฐาน Lab เพื่อรับรอง ISO และ IEC 17025 มีทั้งแบบที่เปิดให้ผู้ประกอบเข้ามาฝึกอบรมได้เลย และแบบการจ้างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ออกไปอบรมข้างนอก บริการหาทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการ  SMEs ฟรี เช่นทุนจากธนาคาร และบริการตรวจสอบมาตรฐานหลังการผลิต วิเคราะห์ตั้งแต่วัตถุดิบตั้งแต่ต้นทาง จนถึงตรวจสอบพร้อมให้คำแนะนำหลังผลิตเสร็จ

        ดร.วดี วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (บางปู) เปิดให้บริการมานานกว่า 32 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโดยภาพรวมและการปรับตัวของผู้ประกอบการ โดยในช่วง 10 ปีแรกของการให้บริการ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของเครื่องมือต่าง ๆ ส่งผลให้ตลาดมีการเติบโตทั้งในด้านการทดสอบวิเคราะห์และการสอบเทียบเครื่องมือ เนื่องจากเป็นช่วงที่มาตรฐาน ISO 9001 กำลังเป็นที่สนใจและได้รับความนิยม เพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จนทำให้มีธุรกิจเอกชนเปิดให้บริการสอบเทียบเครื่องมือเป็นจำนวนมากนับร้อยรายในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นเอสเอ็มอีเพราะต้องลงทุนสูง 

“ศทม. จึงเน้นการบริการที่ครอบคลุมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะระบบตรวจสอบเพื่อการรับรองมาตรฐานสำหรับการส่งออกต่างประเทศ โดยในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัวค่อนข้างมาก จากที่เคยมองว่า การทดสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือต่าง ๆ เป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันมองว่า เป็นเรื่องที่เข้ามาช่วยควบคุมในเรื่องคุณภาพจะช่วยลดต้นทุนได้ในระยะยาวถ้ามีระบบการจัดการที่ดี รวมถึงระบบการสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ลดการสูญเสียทางด้านยอดขายหากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือส่งออกไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไปผู้ประกอบการจะมีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น” 

สำหรับแผนงานในปีนี้ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยใน 2 เรื่องหลัก เรื่องแรก คือการของบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความต้องการของผู้ประกอบการได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการทดสอบวิเคราะห์และการสอบเทียบ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยทาง ศทม. จะเข้ามาให้การสนับสนุนพร้อมพัฒนาศักยภาพของแล็ปให้สามารถรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

“การขอทุนสนับสนุนการดำเนินงานจะช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการของ ศทม. ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการได้ในราคาที่ไม่สูง ช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนในการทำธุรกิจอีกทางหนึ่ง ตอนนี้โครงการที่เป็น New S-Curve จะมีเรื่องของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อัจฉริยะที่เรียกว่า IoT เพราะในอนาคตผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีมีโอกาสที่จะพัฒนานวัตกรรมที่ IoT ในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีการของบสนับสนุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านอาหาร เช่น กลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ดส์ โดยล่าสุดมีเรื่องของ “โปรไบโอติก” ที่กำลังเป็นที่สนใจ จะมีเกณฑ์ขอ อย.ที่เพิ่งออกมา โดยทางศูนย์ ศทม.จะมีการให้บริการในเรื่องเหล่านี้ด้วย” 

เรื่องที่สอง คือการทำงานร่วมกับพันธมิตร เช่น สสว. ไอแท็บ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีงบสนับสนุนผู้ประกอบการ โดย ศทม. จะให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการเพื่อเป็นทางเลือกในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ทาง วว. ก็มีเครือข่ายสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ที่ ศทม. สามารถหาโซลูชั่นจากเครือข่ายของ วว. ให้กับผู้ประกอบการได้ โดยจะมีการให้คำแนะนำผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นวิจัย สร้างคุณภาพและมาตรฐาน ไปจนถึงการหาแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการ เป็นการช่วยหาโซลูชั่นเพื่อให้ผู้ประกอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับการรับรอง 

“วว. ยังมีการจัดทำ Pilot Plant สำหรับการผลิตสินค้าบางประเภท เช่น อาหารและเครื่องดื่ม มีการทำ OEM สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ และต้องการทดลองตลาดก่อนด้วยสินค้าจำนวนไม่มาก สามารถจ้างให้ วว. ทำการผลิตสินค้าให้ได้ ถือเป็นการสนับสนุนแบบครบวงจรตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การทำวิจัย ผลิต และส่งทดสอบวิเคราะห์โดย ศทม. ตามเกณฑ์ของ อย. ก่อนนำไปขึ้นทะเบียน อย.”

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะขอรับบริการ สามารถติดต่อผ่านจุดรับงานต่าง ๆ ของ ศทม. ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ วว. สำนักงานใหญ่ (คลอง 5 ปทุมธานี) ศูนย์บางเขน และนิคมอุตสาหกรรมบางปู (ที่ตั้งของแล็บ ศทม.) หรือติดต่อผ่าน JUMP บนหน้าเว็บไซต์ของ วว. เพื่อสอบถาม ขอเอกสารใบเสนอราคา ขอคำปรึกษา หรือบริการต่าง ๆ 

ดร.วดี กล่าวเสริมว่า ในแง่การทำงานของศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาในปัจจุบันมีความท้าทายใน 2 เรื่อง คือ 1. เรื่องของ Digital Transformation ที่ต้องปรับตัวให้มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับกับดิสรัปชันที่เกิดขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปมีข้อกำหนดในเรื่องของ Digital Product Passport ในบางผลิตภัณฑ์ ทางศทม.จึงมีการทำในเรื่องของการสอบเทียบเครื่องมือที่ต้องมี Digital Calibration Certificate ให้กับผู้ประกอบการเพื่อเป็นข้อมูลดิจิทัลประกอบในตัว Digital Product Passport เป็นเรื่องหนึ่งที่ศูนย์ต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในอนาคต และ 2. ศทม.มีความเสี่ยงจากการถูกดิสรัป ทำให้ต้องยกเลิกการให้บริการสำหรับงานบางประเภท รวมถึงงานทางด้านที่ปรึกษา การฝึกอบรม อาจถูกดิสรัปด้วยการเข้ามาของ AI หรือ ChatGPT อาจทำให้ผู้ประกอบการไม่เข้ามาใช้บริการกับทาง ศทม. เพราะสามารถหาข้อมูลได้เอง 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการวางแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาทาง ศทม. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มผู้จัดงานนิทรรศการรายใหญ่ ๆ ที่เคยทำงานร่วมกับ วว. มาหลายปี โดยเน้นการเพิ่มบทบาทของ ศทม. ในงานนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อให้ได้พื้นที่ในโซนที่ดีมากยิ่งขึ้น เช่น การออกบูธนิทรรศการในงาน THAILAND LAB INTERNATIONAL รวมถึงการจัดอบรมทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการรู้จัก ศทม. มากขึ้น 

“ปัจจุบัน ศทม. อยู่ในระหว่างการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายในอนาคต โดยมุ่งเน้นด้านการเพิ่มความครบถ้วนในส่วนของงานที่ให้บริการอยู่ โดยจะดูว่ายังขาดอะไรบ้าง หรือต้องมีมาตรฐานอย่างไร รวมถึงการเพิ่มบริการใหม่ ๆ นอกเหนือจากการตรวจสอบวิเคราะห์และสอบเทียบเครื่องมือที่ทำอยู่ เช่น การทดสอบความชำนาญ เนื่องจากปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการเอกชนที่ให้บริการวิเคราะห์ หรือสอบเทียบเครื่องมือเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ธุรกิจเหล่านี้ก็ต้องการความถูกต้องเพื่อเปรียบเทียบกับผลจากภายนอกเช่นกัน ดังนั้น ศทม. จึงเสมือนเป็นหน่วยงานกลางที่เปิดโอกาสให้เขาเข้ามาเปรียบเทียบผลที่ได้เพื่อการรับรองมาตรฐาน จะเป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อที่

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

(1) ศทม. บางปู
นิคมอุตสาหกรรมบางปู
ซอย 1C (1ซี) ถนนสุขุมวิท
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280

โทรศัพท์ : 0 2323 1672-80
โทรสาร : 0 2323 9165
E-mail : nitchakul@tistr.or.th (ณิชกุล)
E-mail : kitti_b@tistr.or.th (กิตติ)

 

(2) ศทม. เทคโนธานี (วว. สำนักงานใหญ่)
35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถนนเลียบคลองห้า
ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ : 0 2577 9036, 0 2577 9000
โทรสาร : 0 2577 9009

 

(3) ศทม. บางเขน
196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900

โทรศัพท์ : 0 2579 0160, 0 2579 5515
โทรสาร : 0 2579 8592

บทความแนะนำ

วันนี้ ทุกสายตาจับจ้องมาที่ประเทศไทย!

วันนี้ ทุกสายตาจับจ้องมาที่ประเทศไทย! เพราะแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศเกิดใหม่ แต่ก็มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและกำลังเติบโต จริง ๆ แล้วการเติบโตทางเศรษฐกิของประเทศไทยคาดว่าจะสูงถึง 3.2% ในปี 2567

 

ตัวเลขการเติบโตเหล่านี้มาจากไหน?

  • หลังสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างหนัก โดยเกิดรูปแบบธุรกิจและบริการใหม่ ๆ เข้ามาพลิกโฉมสิ่งเดิม ๆ ที่เคยเป็น
  • ในขณะที่ความก้าวหน้าทางดิจิทัลและเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) กำลังเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมของลูกค้าและพฤติกรรมผู้บริโภค
  • อย่าลืมว่ายังมีเทคโนโลยีรักษ์โลกและธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน ซึ่งล้วนดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ
  • และปิดท้ายด้วยเรื่องของตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเฟื่องฟูและตลาดการผลิตที่เน้นเทคโนโลยีมากขึ้น

 

ต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสในประเทศไทย สามารถคลิกที่ลิงก์เพื่อดูข้อมูลสรุปของภาคส่วนต่าง ๆ ได้ฟรี: https://www.aseanaccess.com/select-countries/thailand.html

 

#aseanaccess #asean #thailand #การค้าระหว่างประเทศ #marketentry #newmarket #technology #innovation # Manufacturing #consumers #digital #fintech

 

บทความแนะนำ

สัปปายยะ สปา ส่งผ่านความรู้สึกดีด้วย Human Touch

สัปปายยะ สปา ส่งผ่านความรู้สึกดีด้วย Human Touch

“เพราะอะไร ลูกค้าถึงเดินเข้ามาใช้บริการสปา” อาจฟังดูเป็นคำถามธรรมดา ๆ ทั่ว ๆ ไป ที่น่าจะรู้คำตอบได้โดยไม่ต้องถาม แต่หากคำถามเดียวกันนี้ ถูกใช้ถามไปยังผู้ให้บริการเอง ก็กลายเป็นโจทย์ที่คนทำธุรกิจสปาต้องกลับมาคิด กลับมาทบทวน เพื่อหาคำตอบให้ชัด

  “สัปปายยะ สปา” ตั้งคำถามนี้กับบริการของตัวเองอยู่เสมอ เพราะการเลือกตั้งร้านให้บริการที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ในวันที่ปายไม่ได้เป็นเมืองยอดนิยมในกระแสหลักอีกต่อไป นั้นมาพร้อมกับโจทย์ทางธุรกิจที่แตกต่างจากการเปิดสปาในเมืองหลักที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหล

สิ่งที่สัปปายยะ สปามองเห็นในเมืองปาย ก็คือเสน่ห์ของเมืองเล็ก ๆ ที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากความพลุกพล่าน เหมาะกับการเป็นเมืองสำหรับพักผ่อนฟื้นฟูร่างกายและจิตใจได้อย่างแท้จริง กลับกลายเป็นว่า แม้ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้บริการจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือนักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านี้ กลับมาใช้บริการเป็นลูกค้าประจำอยู่เสมอ 

อาจเป็นเพราะสัปปายยะ สปาพบคำตอบแล้วว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาถึงเมืองปายได้นั้น มักเป็นกลุ่มที่มีความตั้งใจเข้ามาฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ พักผ่อนเติมพลัง และโดยมากเป็นขาประจำ และท่องเที่ยวแบบระยะยาว ลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการสปานั้น ทุกคนต่างมีปัญหาที่ต้องการให้ทางสปาช่วยดูแล สปา ที่ออกแบบคอร์สจากลูกค้า

หากต้องการสร้างบริการให้ประทับใจและตรงกับความต้องการของลูกค้า ก็ต้องรู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้ง สัปปายยะ สปา ใช้วิธีการสร้างหน้าเว็บสำหรับจองใช้บริการ ที่มีรายละเอียดของร่างกายให้ลูกค้าระบุ ความต้องการด้านต่างๆ น้ำหนักในการนวด ลึกไปจนถึง จุดที่มีปัญหาให้ดูแลเป็นพิเศษ ลูกค้าแต่ละคนจึงสามารถออกแบบคอร์สเฉพาะเจาะจงที่ตัวเองต้องการได้ตามความชอบของแต่ละคน

พิเศษไปกว่านั้น ทางสัปปายยะ สปา เองได้มีการออกแบบน้ำมันนวดที่มีสูตรช่วยเสริมธาตุเจ้าเรือนของลูกค้า ผ่านน้ำมันนวดที่ออกแบบพิเศษให้ซึมผ่านผิวได้อย่างดี ไม่เหนียวเหนอะหนะ แยกสูตรออกเป็น 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยใช้ Essential Oil ที่ไม่มีสารเคมี ไม่มีน้ำหอม ใช้วัตถุดิบออร์แกนิกจากในท้องถิ่น ที่มีสรรพคุณทางแพทย์แผนไทย เข้ามาช่วยให้ลูกค้าผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

มากไปกว่าการให้บริการกับสัมผัสทั้ง 5 แล้ว ทางสัปปายยะยังใส่ใจในส่วนสำคัญคือ การส่งมอบความรู้สึกดี ความปรารถนาดี ผ่านสัมผัสจากการนวดของพนักงาน สิ่งเหล่านี้เป็น Human Touch ที่ลูกค้านั้นสามารถรับรู้ได้

มากไปกว่าการเป็นสปา คือการสร้างแวดวงของการดูแลสุขภาพ โดยการจับมือร่วมงานกับ โรงแรม หรือกิจกรรมด้านสุขภาพอื่น ๆ ภายในเมืองปาย เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจของทุกฝ่ายไปพร้อมกันอย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

จากความใส่ใจส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้านี่เอง ที่เป็นจุดที่สร้างความประทับใจเป็นพิเศษให้กับลูกค้า จนสามารถสร้างการบอกต่อกลับไปยังประเทศ และกลับมาใช้บริการอยู่เสมอ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สัปปายยะ สปา

ที่อยู่: 412 หมู่ 8 ต.เวียงไทย อ. ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

โทร: 081-236-6644

อีเมล: sapaiyaspa@gmail.com

เว็บไซต์: sapaiya.com

Facebook: sapaiyaspa

บทความแนะนำ

ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) หรือ PTEC

PTEC แนะ MSME เติมความรู้มาตรฐานสินค้า

รวมกลุ่มเพิ่มอำนาจต่อรอง + ปั้นโปรดักต์แชมป์เปี้ยน

ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) หรือ PTEC ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถือเป็นอีกหน่วยงานภาครัฐมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการ MSME ในมุมของการเป็นศูนย์บริการให้การบริการทดสอบ สอบเทียบ วิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐานสากล 

ดังนั้นผู้ประกอบการ MSME ที่นำเข้า ส่งออก คิดค้นตลอดจนผลิต ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องนำสินค้ามาทดสอบที่ศูนย์แห่งนี้ก่อนจำหน่าย ซึ่งที่นี่จะทดสอบเพื่อให้บริการรับรองภายใต้มาตรฐาน 

มอก., กสทช., อย., เบอร์ 5, NECTEC, AEC, CE, FCC และ E-MARK เรียกได้ว่าครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ

ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) กล่าวว่า PTEC ถือเป็นห้องปฏิบัติงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 เรียบร้อยแล้วทั้งการทดสอบ EMC และการสอบเทียบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานความถี่สูง และขณะนี้ PTEC กำลังเข้าสู่กระบวนการขอการรับรองระบบคุณภาพ ISO/IEC17020 เพื่อเป็นหน่วยตรวจ (Inspection Bodies) รับรองผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

ดังนั้นจึงถือได้ว่า ขอบข่ายการบริการของ PTEC ครอบคลุมความต้องการของภาคอุตสาหกรรมของไทย เพื่อจะให้มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ และรองรับการประกาศบังคับใช้มาตรฐานต่าง ๆ ในประเทศอีกด้วย

“การให้บริการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ในกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป จะเป็นมาตรฐาน มอก. หากเป็นผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม และการสื่อสาร จะเป็นมาตรฐาน กสทช. ส่วนเครื่องมือแพทย์ เป็นมาตรฐานของ อย. แต่หากผู้ประกอบการ MSME นำเข้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาจำหน่าย แล้วเป็นสินค้าควบคุม หรือเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ทาง สคบ. จะติดต่อมาให้ PTEC นำสินค้าดังกล่าวมาทดสอบให้ด้วย”

อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดร.ไกรสร พบว่าจุดอ่อนของผู้ประกอบการ MSME ไทยส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน โดยยังเข้าใจว่าสามารถผลิต นำเข้าสินค้า หรือส่งออกสินค้าไปจำหน่ายได้ทันที โดยไม่รู้ว่าจำเป็นต้องนำสินค้าไปทดสอบตามมาตรฐานต่าง ๆ ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา PTEC พยายามสร้างความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการผ่านการฝึกอบรมให้ความรู้ถึงความจำเป็นในการขอมาตรฐาน เพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานให้กับผู้บริโภค รวมถึงอัพเดทความรู้ในเรื่องมาตรฐานใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

แต่นั่นไม่ใช่แค่ปัญหาเดียวที่พบ เพราะผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า โดยเฉพาะ MSME ขนาดเล็ก และสตาร์ทอัพยังขาดเงินทุน หรือมีสายป่านไม่ยาวพอในการพัฒนาและทดสอบสินค้า ยิ่งในกรณีที่นำสินค้ามาทดสอบแล้วไม่ผ่านก็จำเป็นต้องกลับไปดำเนินการแก้ไข โดยซื้อวัตถุดิบใหม่เพื่อนำมาผลิต และนำมาผ่านกระบวนการทดสอบที่ PTEC อีกเป็นระยะ ๆ หากสายป่านไม่ยาวพอก็อาจไม่มีเงินทุนมาซื้อวัตถุดิบหรือจ่ายค่าทดสอบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ MSME ขนาดเล็ก และสตาร์ทอัพเหล่านี้ล้มหายตายจากในไปเวลาอันรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่มีไอเดีย และโอกาสในการทำตลาดที่ดีก็ตาม แต่ด้วยสาเหตุดังกล่าวเลยไม่สามารถแจ้งเกิดได้

ดร.ไกรสร เสนอทางออกของปัญหานี้ว่า ต้องอาศัยกลไกจากภาครัฐที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน MSME ในการเข้ามาช่วยให้เงินอุดหนุนค่าบริการทดสอบแลบของ PTEC หรือภาครัฐจัดตั้งกองทุนสนับสนุน MSME เพื่อให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าทดสอบเพียงครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้ต้นทุนการพัฒนาสินค้าลดลง และเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการพัฒนาสินค้าจนออกจำหน่ายสู่ตลาดได้ ซึ่งเป็นโมเดลที่หลายประเทศใช้มาแล้วทั้งนั้น

“อีกเรื่องที่ PTEC แนะนำมาโดยตลอดคือ ลดกระบวนการทางศุลกากรของภาษีนำเข้า เพราะในปัจจุบันผู้ประกอบการที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายใช้เวลานานมากกว่าจะเคลียร์ของออกมาได้ ทำให้เกิดต้นทุนจากการเสียค่าเช่าโดยไม่จำเป็น”

 

อย่างไรก็ดี แต่ละปี PTEC ได้มีการลงทุนเทคโนโลยีการทดสอบใหม่ตามเทรนด์ของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะหลายปีมานี้ลงทุนห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า เพื่อรองรับการผลักดันตามนโยบายรัฐบาลรวมถึงกระแสการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน 

ทั้งนี้ PTEC ให้บริการทดสอบ สอบเทียบสนับสนุนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยยุค 4.0 ให้ได้การรับรองผลิตภัณฑ์ในระดับสากลโดยบุคลากรมืออาชีพ ซึ่งปัจจุบัน PTEC ให้บริการทดสอบแบตเตอรีลิเธียมสำหรับยานยนต์ปลั๊กอิน-ไฮบริด และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามมาตรฐานสากลเพื่อใช้งานในประเทศ ส่งออกไปตลาดต่างประเทศ และทดสอบตามความต้องการเฉพาะของค่ายยานยนต์ต่าง ๆ ทั้งเพื่อการทำ R&D ในบริษัทผู้ผลิตหรือพัฒนายานยนต์รุ่นใหม่ ๆ จากนโนบายยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล ซึ่งมีการออกมาตรการส่งเสริมออกมาหลายส่วน

 

รวมถึงให้บริการทดสอบชิ้นส่วนสำคัญในยานยนต์ไฟฟ้าหลายประเภท ตั้งแต่ แบตเตอรีลิเธียม ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ ระบบไฟส่องสว่าง หัวชาร์จ ไปจนถึงการทดสอบ EMC สำหรับยานยนต์ทั้งคัน โดยใช้มาตรฐานสากลและมาตรฐาน มอก. เป็นหลัก นอกจากนี้ยังให้บริการทดสอบเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะแก่ค่ายยานยนต์ที่ตั้งโรงงานประกอบในประเทศและมีมาตรฐานชิ้นส่วนของตนเอง เพื่อให้สามารถส่งชิ้นส่วนไปจำหน่ายในตลาดยุโรป ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา 

สำหรับแนวทางที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ MSMS นั้น ดร.ไกรสร ให้ความเห็นว่า กลุ่มผู้ประกอบการไทยมีความโดดเด่นและความชำนาญในทักษะงานช่างอยู่แล้วถือเป็นความได้เปรียบเมื่อเทียบกับชาติอื่น แต่ควรสร้างกลไกการรวมกลุ่มแล้วผลิตโปรดักต์ แชมป์เปี้ยน เพื่อจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียน หรือตลาด CLMV  

“ต้องยอมรับว่าโลกการแข่งขันปัจจุบันเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเขตการค้าเสรี และนโยบายสนับสนุนผู้ผลิตของรัฐบาลในบางประเทศ อาจเป็นข้อจำกัดของ MSME ไทยในเวทีการแข่งขันโลกได้ ผมคิดว่า MSME ไทยเก่งเรื่องงานช่างอยู่แล้ว  แต่ต้องรวมกลุ่มกันหาโปรดักต์ แชมป์เปี้ยน อย่างสินค้าใช้งานในชุมชนวิถีไทย หรือเครื่องมือ-เครื่องจักรบางอย่างที่ใช้ในการซ่อมบำรุง รวมถึงอะไหล่เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การรวมตัวดังกล่าวนอกจากจะเป็นจุดขายที่ทำให้เราโดดเด่นได้แล้ว ยังสามารถสร้างอำนาจการต่อรองเวลารวมตัวกันซื้อวัตถุดิบได้ด้วย แล้วตลาดที่เราพอจะแข่งขันได้ก็คือ อาเซียน ซึ่งกลไกดังกล่าวประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ”

หากผู้ประกอบการสนใจใช้บริการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อสอบถามได้ 02 117 8600 หรือ อีเมล sales@ptec.or.th โดยมีอัตราค่าบริการเบื้องต้น แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมการทดสอบ 5,000 บาท และค่าคําขอ 3,000 บาท

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

อีเมล: sales@ptec.or.th

โทรศัพท์ : 02 117 8600 ฝ่ายการตลาดต่อ 8611 ถึง 8614

บทความแนะนำ