5 เทคนิคเลือกช่องทางขายให้เหมาะกับสินค้า

การเพิ่มช่องทางการขายก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้ผู้ประกอบการได้ เพราะเท่ากับเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเห็นและซื้อสินค้า แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีผู้ประกอบการอื่นมากมายที่คิดแบบเดียวกัน และเคล็ดลับอยู่ที่ต้องเลือกช่องทางที่เหมาะกับสินค้า เพื่อดำเนินงานให้ตรงจุด มาดู 5 เทคนิคในการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสมกับสินค้า ดังนี้

  1. รู้ว่าสินค้าเหมาะกับลูกค้าแบบไหน การที่สามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ จะทำให้เป้าหมายของธุรกิจชัดเจนขึ้น แนวทางในการทำธุรกิจจะง่ายขึ้นมาก ยังรวมไปถึงช่องทางในการทำตลาดและช่องทางสื่อสารกับลูกค้าจะตรงจุดขึ้นด้วย
  2. รู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของช่องทางจัดจำหน่าย โดยวิธีที่จะรู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของช่องทางก็คือ ผู้ประกอบการควรไปเดินสำรวจดูสถานที่จริง ดูสินค้าที่วางขายในช่องทางจัดจำหน่ายนั้นๆ แล้วพิจารณาดูว่าสินค้าของเราเหมาะจะวางเอาไว้ตรงไหนบนชั้นวาง และสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย
  3. อายุสินค้า เนื่องจากก่อนที่สินค้าจะถึงมือผู้บริโภคนั้น จะมีปัจจัยเรื่องระยะเวลาตั้งแต่การขนส่งสินค้าไปจนถึงลูกค้าเข้ามาเกี่ยว ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงการเลือกช่องทางที่จะนำสินค้าไปขาย ซึ่งระยะเวลาต้องสัมพันธ์กับอายุของสินค้าด้วย
  4. บรรจุภัณฑ์เหมาะสม เน้นดีไซน์ความสวยงามที่เหมาะสม เช่น หากลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มไฮเอนด์ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ควรมีความสวยงาม ดูหรูหรา นอกจากนี้ขนาดของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เช่น การจำหน่ายที่เป็นร้านสะดวกซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ควรมีขนาดเล็ก เป็นต้น รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถป้องกันความเสียหายหรือช่วยยืดอายุให้แก่สินค้าได้ เช่น เครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้ว อาจทำให้สินค้าดูมีราคา แต่ก็เสียหายระหว่างขนส่งง่าย อาจต้องมีการออกแบบลังที่ใช้ขนส่งเป็นพิเศษ หรือเปลี่ยนวัสดุจากขวดแก้วเป็นขวดพลาสติกทีมีดีไซน์ให้ความรู้สึกเทียบเท่าขวดแก้ว
  5. ศึกษาเงื่อนไขค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน ช่องทางการขายนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนให้ครบถ้วน โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ จะประกอบไปด้วย ค่าเปิดบัญชีหรือค่าแรกเข้า ค่าชั้นวางสินค้า รายได้จากการขายสินค้า (GP) ค่ากระจายสินค้า (DC) ค่ากิจกรรมการตลาด ค่าสินค้าคืน และที่สำคัญผู้ประกอบการต้องพิจารณาเงื่อนไขเครดิตเทอมของช่องทางการขายด้วยว่าสัมพันธ์กับวงจรเงินสดของธุรกิจหรือไม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณให้ครบก่อนตั้งราคา และพิจารณาว่าคุ้มทุนที่จะนำสินค้าเข้าไปขายหรือไม่

 

Published  by  kasikornbank.com on 16 july 2017

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

5 ข้อคิดเพื่อทางรอดของ SME ในยุค 4.0

ในยุคดิจิทัล หรือ Thailand 4.0 ที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจกับการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเอง เพราะความสะดวกจากเครื่องมือดิจิทัล ที่ช่วยให้ง่ายต่อการขยายไอเดียและเพิ่มช่องทางการตลาดมากขึ้น จึงถือเป็นความท้าทายของ SME ในการปรับตัวแข่งขันและหาทางรอด

มาดู 5 คำแนะนำจากกูรูในงาน TMB SME on Tour 2018 ทั้ง คุณณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม Digital Marketing Guru, คุณนายกษิต ฮุนพงษ์สิมานนท์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสพัฒนากลยุทธดิจิทัล ทีเอ็มบี และคุณนาขวัญ พงศ์พฤกษทล เจ้าของแบรนด์ผลไม้อบแห้ง NanaFruit ว่ามีอะไรไปปรับใช้กับธุรกิจของเราได้บ้าง

  1. ข้อมูล (DATA) เป็นสิ่งสำคัญ

เพราะพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถนำไปวัดผลได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะมัวคาดเดา เราสามารทำธุรกิจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง

  1. เลือกใช้แพล็ตฟอร์มให้เหมาะสม

แพล็ตฟอร์ม หรือเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ในการทำการตลอดออนไลน์นั้นมีมากมาย ควรเลือกใช้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น

  1. ใช้เทคโนโลยีสร้างความแตกต่างและแก้ปัญหาให้กับลูกค้า

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือทำให้สินค้าหรือบริการของเราน่าสนใจมากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำยอดขายเพิ่มขึ้น อย่างเช่นการ นำระบบจัดการคิวดิจิทัล มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องต่อคิวยาวหรือรอคิวนาน จนเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นแทน

  1. หันมาใช้ระบบการชำระเงินออนไลน์

ปัจจุบันมีบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ทั้ง QR Code,  Prompt Pay และบริการ Mobile Banking ต่างๆ SME สามารถหยิบตรงนี้มาเพิ่มโอกาสในการค้าขายได้

  1. ต่อยอดธุรกิจด้วยหลักการ 5W ได้แก่
  • Why: ทำธุรกิจไปเพื่ออะไร นอกเหนือจากการขายสินค้า
  • Who: กลุ่มเป้าหมายคือใคร
  • What: ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากสินค้าและบริการ
  • How: ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกคาอย่างไร
  • When: ลงมือทำเมื่อไหร่ ซึ่งยิ่งเริ่มต้นเร็วก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้น

 

Published  by  mangozero.com  on  2 April 2017

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

สร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จักด้วย Google My Business

ปัจจุบันมีตัวช่วยทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ SME สร้างเครือข่ายและดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย Google My Business เครื่องมือจาก Google ที่เปิดให้เจ้าของธุรกิจได้ลงทะเบียนสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เมื่อมีการเสิร์ชก็จะเจอชื่อธุรกิจพร้อมรายละเอียดต่างๆ ของเราโชว์บน Google Search และ Google Maps

Google My Business มีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์อย่างการสร้างเว็บไซต์ ปรับแต่ง อัพโหลดรูปภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของเรา โดยสามารถอัพเดตให้ทันสมัยได้อยู่เสมอ พร้อมทั้งสามารถดูสถิติ คอมเมนท์ และรีวิวจากลูกค้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

 

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

7 ความผิดพลาดธุรกิจครอบครัวของ SME ที่ทำให้ธุรกิจ “พัง”

ในการบริหารธุรกิจถ้าเป็นขนาดเล็กก็ไม่ค่อยมีปัญหานักเจ้าของคนเดียวก็ยังเอาอยู่ แต่ถ้าเริ่มเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางที่เริ่มมีหลายส่วนหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง การจ้างคนเก่งมาช่วยบริหารเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การคัดเลือกให้ได้คนเก่งนั้นยากนัก เพราะคนเก่งส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ บริษัทมหาชนที่มีชื่อเสียงมีหน้ามีตา เงินเดือนสูงๆ ในในธุรกิจ SMEs นั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องนี้อยู่พอสมควร นอกเสียจากว่าจะยอมทุ่มเงินให้เงินเดือนเยอะๆ ไม่น้อยหน้าบริษัทใหญ่ หรือไม่ก็จ้างซัพพลายเออร์เฉพาะด้านที่เค้าเก่งเรื่องนั้นๆ เช่นเรื่องบัญชี ก็มีบริษัทที่เป็นมืออาชีพรับทำให้จะได้แบ่งเบาภาระเรื่องคนไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าของธุรกิจจะต้องมีความรู้ในทุกๆเรื่องเพื่อจะได้ดูแลกิจการให้อยู่ยั่งยืนตลอดไป

6.การสืบทอดตำแหน่ง ทายาทธุรกิจ
เนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัว การสืบทอดตำแหน่งส่วนใหญ่ก็ให้เฉพาะลูกหลานหรือคนในตระกูลเดียวกันเท่านั้น ถ้าลูกหลานที่จะมาสืบทอดกิจการเป็นคนเก่ง คนดี ขยัน ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ถ้าสแกนดูแล้วในบรรดาลูกหลานไม่มีใครเอาอ่าว ก็ต้องยอมรับว่าการจ้างคนนอกมาบริหารกิจการเป็นเรื่องที่จำเป็น เรื่องนี้ต้องยอมรับให้ได้เพราะเรายึดความเป็นธุรกิจเป็นหลัก ต้องรู้จักไว้ใจคนอื่นบ้าง เพราะถึงแม้จะเป็นคนอื่นมาบริหาร แต่ถ้าเค้ามีความรู้มีความสามารถก็อาจจะช่วยให้บริษัทเจริญเติบโตแข็งแรงมั่นคง แต่ถ้ายอมรับไม่ได้จริงๆ อย่างไรเสียก็ต้องเป็นคนในตระกูลเท่านั้น อีกทางหนึ่งที่จะทำได้คือจ้างที่ปรึกษามาช่วยดูแล แต่ก็ต้องยอมรับค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร

7.เงิน ๆ ทอง ๆ ไม่เข้าใครออกใคร ใช้จ่ายไม่เป็นระบบ
เจ้าของธุรกิจ SMEs บางคน เมื่อทำธุรกิจไปได้สักพัก เริ่มเติบโตขึ้น เงินก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องการใช้เงินให้ดี ต้องแยกออกระหว่างเงินของกิจการกับเงินส่วนตัว ทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่าใช้มั่วจนเพลิน ใช้ไปใช้มาทำไมเงินหมด อ้าว ก็ฉันรวย ฉันเงินเยอะ ฉันซื้อรถหรู แต่ฉันลืมไปว่ากิจการต้องใช้เงิน เรื่องนี้จะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ อย่าหลงใหลไปกับความฟุ่มเฟือยเพราะหายนะรออยู่ข้างหน้าแน่นอน

 

Published by taokaemai.com on 30 july 2018

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

3 ปัญหาโลกแตกที่ SME หรือ Startup เจอกันมาตลอดในการหาพนักงานใหม่พร้อมวิธีแก้

 

การมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือ สตาร์ทอัพที่สำเร็จได้ สิ่งที่คุณจะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือการหาพนักงานคนเก่งเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทของคุณเดินหน้า แต่การหาคนที่ใช่ พนักงานที่ดี ๆ มันใช่ว่าจะหาง่ายกันซะที่ไหน พวกเราชาว SME ก็เจอปัญหาน่าปวดหัวกับเรื่องนี้กันมาตลอดในการหาพนักงาน มันคืออะไรเราไปดูกัน


1. Don’t know the best source where to look for a good candidate ไม่รู้ว่าต้องหาคนจากที่ไหนที่ดีที่สุด

บริษัท SME ส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงเปิดแรกๆ เจ้าของธุรกิจจะต้องเป็นคนหาพนักงานเอง วิธีหาก็หนีไม่พ้นการ ปากต่อปากกันมา หรือไปโพสจ็อบบนเว็บหางาน เช่น JobBKK, Jobtopgun, JobsDB อะไรแบบนี้ซึ่งก็ต้องภาวนากันไปว่าจะได้คนดีๆมาสมัครมั้ย การหาคนแบบนี้เรียกว่าเป็น Passive Recruitment คือ รอ! มันเหมือนการซื้อหวยแล้วรอให้ถูกรางวัลซึ่งก็ไม่รู้จะถูกรึเปล่า

วิธีแก้ ต้องมาฝึกทำ Proactive Recruitment คือออกไปตกปลาหาแคนดิเดทตามที่ต่างๆ ที่แคนดิเดทน่าจะอยู่ เช่นหาจาก ​LinkedIn, Facebook, Twitter การหาตาม Social media นอกจากจะต้องรู้ว่าหายังไง ก็ต้องรู้ด้วยว่าจะพูด หว่านล้อม โน้มน้าวพวกเขาอย่างไรให้เขามาสนใจบริษัทของคุณด้วย

 

2. Don’t know how to attract top talent ไม่รู้จะดึงดูดให้คนเก่ง ๆ มาทำงานบริษัทเล็ก ๆ ยังไง

บริษัท ​SME ที่ยังไม่มีชื่อเสียง ไม่ดังเท่าบริษัทใหญ่ ๆ โอกาสที่จะได้มาซึ่งคนเก่งๆก็จะน้อยกว่า สมมุติว่าจะหาพนักงานมาทำงาน เช่นหา Software Developer มาสร้างแอพพลิเคชั่น แล้วอยากได้คนเก่งๆ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงให้เค้ามาสนใจนอกจากการจ้างที่แพงขึ้น ซึ่งบริษัทก็งบไม่ได้เยอะ สุดท้ายก็ต้องหาคนที่พอถูไถทำได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

วิธีแก้ ถึงจะเล็กกว่า ชื่อเสียงน้อย ก็ไม่ใช่ว่าจะหาคนเก่งๆ ดีๆมาร่วมงานไม่ได้เลยเสมอไป บริษัทต้องขายอย่างอื่น นอกจากการเพิ่มเงินอย่างเดียว เช่นการทำ Employer Branding (การสร้างภาพลักษณ์องค์กร) ให้น่าทำงาน วัฒนธรรมองค์กรดี มีวิถีการทำงานที่น่าสนใจ คุณควรเรียนรู้วิธีการทำ Content Marketing ที่ช่วยให้แคนดิเดทรู้จักคุณมากขึ้น และโน้มน้าวให้พวกเขามาสนใจที่อยากทำงานในบริษัทของคุณ

 

3. Don’t know who should be hired ไม่รู้จะสัมภาษณ์ยังไง ให้รู้ว่านี่คือ “คนที่ใช่”

เนื่องจากว่าคนที่หาพนักงานในช่วงแรกๆคือ เจ้าของธุรกิจเอง ซึ่งไม่ได้ถนัดเรื่องการหาคน สัมภาษณ์คน ไม่รู้ว่าจะต้องถามอะไรดีเพื่อให้รู้ว่า คนที่สัมภาษณ์อยู่เป็น “คนที่ใช่” หรือ “คนที่ไม่ใช่” สรุปก็เลยใช้อารมณ์ ความรู้สึก ความถูกชะตา หรือแม้แต่โหงวเฮ้ง หรือหน้าตา มาเป็นตัววัด และเดาว่าคนนี้น่าจะเป็น ”คนที่ใช่ “และหยวนๆจ้างมาก็ได้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็น “คนที่ไม่ใช่” และเพิ่มรอยหยักความปวดหัวให้คุณ

วิธีแก้ เจ้าของธุรกิจ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่รีครูทต้องฝึกทักษะการสัมภาษณ์คนให้มีหลักการ มีแบบแผน ตัววัดว่าอะไรคือสิ่งที่บริษัทของคุณมองหาในตัวแคนดิเดท ต้องใช้ตรรกะในการมองหาคนที่ใช่มากกว่าความรู้สึก

 

Published by techsauce.co on 7 july 2018

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ