บทเรียนที่จะทำให้ SME ประสบความสำเร็จได้ก่อนคู่แข่ง

การที่คุณจะเดินทางไปถึงเป้าหมายนั้น บางทีคุณก็ต้องเจอกับเองราวแย่ๆ หรืออุปสรรค ในบางวันก็อาจจะยากกว่าวันปกติ สิ่งที่คุณควรทำคือการเดินไปข้างหน้า วันละนิด วันละนิดโดยที่ไม่หยุดเดินทางเลยสักวัน แม้ระยะทางที่คุณก้าวมันอาจจะสั้น แต่การที่คุณก้าวไม่หยุด นั่นแหละคือหนทางสู่ความสำเร็จที่สั้นลงทุกวัน และในที่สุดคุณก็จะสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้

1.ตั้งความสำเร็จในแต่ละระยะ

หลังจากที่คุณตั้งเป้าหมายขนาดใหญ่เสร็จเรียบร้อย และรู้ว่าตัวเองจะต้องเดินทางไปทางไหน คุณควรที่จะมีเป้าหมายเล็กๆ ให้แก่ตัวเองอยู่เสมอ เช่น วันนี้ฉันจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ วันต่อมาจะทำอะไรให้สำเร็จ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างทางจะทำให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายที่แท้จริงได้ง่ายขึ้น

2.อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป

คนเราทุกคนมีขีดจำกัดและการไม่กดดันตัวเองเกินไปคือกฎของ 20 ไมล์ ที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายโดยที่ไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ อย่างทีมของ Robert Falcon Scott ที่เขากดดันตัวเองในวันที่อากาศดี เดินทางจนเหนื่อยล้า พอวันที่อากาศเลวร้ายเขาจึงไม่มีเรี่ยวแรงจะเดินทางต่อ ทำได้แค่นอนรออากาศดีเท่านั้น

3.แผนการของคุณมันใช่

ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณต้องทำความรู้จักตัวเองให้ดี รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ที่สำคัญต้องรู้ว่าทีมคุณพร้อมด้วยหรือไม่กับแผนการนี้ สิ่งสำคัญคือการปรับแต่งแผนการให้เข้ากับตัวคุณเองและทีม เพื่อให้ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.มีกรอบเวลา

การที่คุณกดดันตัวเองเกินไปนระยะเวลาสั้นจะทำให้คุณเครียดและบาดเจ็บเกินไป ส่วนการที่คุณไม่กดดันตัวเองเลย จนปล่อยเวลาไปนานเนิ่นนานกว่าจะถึงเป้าหมายอาจจะทำให้คุณเลิกผลักดันตัวเองได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นต้องตั้งกรอบเวลาที่พอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ผลักดันตัวเองอยู่เสมอ

 

Published  by  smethailandclub.com on  6 December 2018

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัด “กิจกรรมแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (DELTA ANGEL FUND STARTUP 2019)

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เริ่มต้นธุรกิจที่มีความมุ่งมั่น มีโมเดลธุรกิจและต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากเจ้าของเงินทุนโดยตรง

 

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่
น.ส.มีนา ชินโคตร 02-202-4578-9
หรือคลิก ที่นี่

 

Published by http://angelfund.dip.go.th

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

สร้างกลยุทธ์เด็ด ค้นหาจุดต่าง นำพาธุรกิจปัง

ต้องทำให้แบรนด์มีเรื่องราวที่น่าสนใจมีที่มาที่ไป เพราะจะช่วยให้แบรนด์ดูมีค่ามากขึ้นในสายตาผู้บริโภค โดยการเล่าเรื่องให้น่าสนใจนั้นจะสามารถสร้างให้ธุรกิจมีความแตกต่างได้

การตั้งราคาของห้องพักถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งในส่วนของราคาจะผันแปรตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ฤดูกาลท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการตั้งราคาจะต้องอยู่บนความเหมาะสมด้วย

 

ไม่ว่าธุรกิจโรงแรมจะมีขนาดไหนก็ตาม ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญ ซึ่งทาง SCB SME ได้เชิญ คุณธรรมศักดิ์ อรชุนวงศ์ Business Consulting Strategic Marketing Planning ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์ มาให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม

 

ธุรกิจโรงแรมเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นผลจากการที่ภาคการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวจากนักท่องเที่ยวคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสูงขึ้น และเริ่มมีความนิยมเข้าพักในโรงแรมขนาดที่แตกต่างกันไป พร้อมทั้งเป็นโรงแรมที่มีมาตรฐานและคุณภาพการบริการที่ดี ความปลอดภัยสูง จากความนิยมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ๆ จะเห็นว่า แนวโน้มของภาคการท่องเที่ยวที่สูงขึ้น ทำให้ธุรกิจโรงแรมมีโอกาสขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ควรมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี สิ่งแรกควรเริ่มจากการออกแบบตัวโรงแรม ไม่จำเป็นต้องหรูหราเทียบชั้นโรงแรม 5 ดาว หรือ 6 ดาว แต่ควรออกแบบและตกแต่งให้เรียบง่าย ดูดี เพื่อดูแลทำความสะอาดได้ง่าย และซ่อมบำรุงรักษาได้ง่าย หากมีพื้นที่ควรมีสวนเล็ก ๆ ไม่ต้องใหญ่มาก เพราะจะมีต้นทุนในการดูแลสูง ซึ่งการออกแบบให้เรียบง่าย ดูดี ดูแลง่าย จะช่วยให้ผู้ประกอบการยังคงรักษาสภาพของโรงแรมนั้น ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ดีได้เสมอ ภายใต้ต้นทุนในการดูแลที่ไม่สูงนัก เพราะหากออกแบบให้หรูเกินไป อาจทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลอาคารสูง ท้ายที่สุด ตัวอาคารจะทรุดโทรม ดังนั้น เจ้าของโรงแรมควรประเมินงานตามงบประมาณของตัวเองในส่วนของการดูแลรักษาตัวอาคาร เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับธุรกิจโรงแรม เนื่องจากโรงแรมเกิดใหม่มีจำนวนมาก แข่งขันด้านราคาก็สูง ควรวางงบประมาณในการดูแลรักษาอาคารไว้ทุกปี และกำหนดการปรับปรุงตัวอาคาร เช่น ทาสีใหม่ทั้งนอกอาคารและในห้องพักในทุก 3 หรือ 5 ปี ซึ่งในปัจจุบันเริ่มหันมานิยมติด wallpaper แทนการทาสี เพราะช่วยลดต้นทุนได้อีกทาง

 

ในเรื่องของการตั้งราคา มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ พอ ๆ กับด้านการบริการ เพราะราคาจะผันแปรตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ฤดูกาลท่องเที่ยว ทำเลของโรงแรมนั้น ๆ และคุณภาพของการบริการ โดยก่อนการลงทุนควรศึกษาอัตราค่าเข้าพักในพื้นที่ใกล้เคียงก่อน จากนั้นจึงจะนำมาเป็นแนวทางให้ออกแบบและกำหนดราคาค่าเข้าพัก ซึ่งถ้ามีการบริการที่ดี อยู่ในทำเลที่ดีแล้ว มีโอกาสที่อัตราค่าเข้าพักจะสูงกว่าคู่แข่งในย่านเดียวกันได้ ต่อมาจะเป็นในเรื่องของการเลือกทำเลที่ตั้ง ถือเป็นหัวใจอันดับต้น ๆ ของธุรกิจโรงแรมที่ควรอยู่ใกล้ศูนย์กลางการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้น ๆ ใกล้ตลาด ใกล้แหล่งอำนวยความสะดวก โดยข้อดีของการสร้างโรงแรมอยู่ในย่านแหล่งท่องเที่ยว แม้จะมีคู่แข่งจำนวนมาก แต่ก็ทำให้ผู้เข้าพักเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งหากแข่งขันในด้านทำเลได้แล้ว ถ้าพัฒนาด้านคุณภาพในการบริการให้ดีกว่าคู่แข่ง ย่อมมีโอกาสที่ดีกว่าทั้งในด้านอัตราค่าเข้าพัก และจำนวนผู้เข้าพัก

 

สำหรับการส่งเสริมการตลาด ไม่ได้หมายถึงการทำโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมเหมือนสินค้าคอนซูเมอร์ แต่หมายถึงการทำตลาดเพื่อเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยในธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว สัดส่วนมากกว่า 95% ต้องพึ่งพาช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมควรศึกษาในส่วนนี้ และในส่วนของการคัดเลือกพนักงาน ผู้ประกอบการควรมีกลยุทธ์ในการเลือกพนักงานเช่นกัน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของธุรกิจโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต้องมีพนักงานที่มีหัวใจในการให้บริการ หรือที่เรียกว่า Service Mind คุณต้องฝึกฝนอบรมพนักงานอย่างหนักให้มี Service Mind รู้จักยิ้มแย้ม ทักทาย พูดจาสุภาพ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ สร้างความพึงพอใจให้ผู้เข้าพักสูงสุด ซึ่งธุรกิจบริการอย่างธุรกิจโรงแรม พฤติกรรมของผู้เข้าพัก คือ ยอมจ่ายเงินเข้าพักในราคาที่สูงขึ้น เพื่อได้คุณภาพการบริการที่ดีกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่มีจำนวนโรงแรมค่อนข้างมาก ซึ่งการชนะคู่แข่งได้ ไม่ใช่เรื่องอัตราค่าเข้าพักเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นเรื่องคุณภาพในด้านบริการจากพนักงานด้วย ซึ่งกระบวนการในการบริการ จะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการจองห้องพัก ทั้งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและจองตรงกับทางโรงแรมผ่านโทรศัพท์ การให้ข้อมูล จนเมื่อถึงวันเข้าพัก กระบวนการในการเช็คอินต้องรวดเร็ว การจัดส่งกระเป๋าถึงห้องพัก บริการประสานงานกับแหล่งท่องเที่ยว ร้านสปา ร้านอาหาร บริการรถขับส่ง เป็นต้น ทุกอย่างจะต้องมีความพร้อมและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

 

สำหรับธุรกิจบริการแล้ว ลักษณะทางกายภาพ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า เช่น ปัจจัยด้านความสะอาด ความสะดวก หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ เพราะลักษณะทางกายภาย มีส่วนที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจ บรรยากาศของโรงแรม สิ่งแวดล้อมบริเวณรอบข้าง มีความปลอดภัยหรือไม่ บรรยากาศห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ตมีให้บริการฟรี บริการด้านอาหารเช้า ระบบรักษาความปลอดภัย มีความจูงใจให้เกิดความอยากเข้าพักนั่นเอง

 

ปัจจุบันการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ จะเห็นได้ว่าจะทำอะไรก็ทำผ่านมือถือกันทั้งนั้น ถ้าจะจองโรงแรมก็คงไม่พ้นการจองผ่านมือถือ ซึ่งการทำการตลาดบนมือถือ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงแรมในการตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคเลยก็ว่าได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME จึงควรศึกษาการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบให้เป็นประโยชน์ อาจจะเริ่มจากการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มีสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram เพื่อกระจายไปยังกลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้การใช้เว็บไซต์เกี่ยวกับการจองห้องพัก เช่น Agoda, TripAdvisor, Hotels combined, Booking เป็นต้น รวมถึงเว็บไซต์จองที่พักในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ ว่ามีเงื่อนไขในการฝากห้องพักอย่างไร เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของเว็บไซต์เหล่านี้ และเลือกให้เหมาะสมกับโรงแรมของตัวเอง เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจของคุณได้แล้ว

 

Published  by  scbsme.scb.co.th  on  3 May 2018

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

5 เทคนิคเลือกช่องทางขายให้เหมาะกับสินค้า

การเพิ่มช่องทางการขายก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้ผู้ประกอบการได้ เพราะเท่ากับเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเห็นและซื้อสินค้า แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีผู้ประกอบการอื่นมากมายที่คิดแบบเดียวกัน และเคล็ดลับอยู่ที่ต้องเลือกช่องทางที่เหมาะกับสินค้า เพื่อดำเนินงานให้ตรงจุด มาดู 5 เทคนิคในการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสมกับสินค้า ดังนี้

  1. รู้ว่าสินค้าเหมาะกับลูกค้าแบบไหน การที่สามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ จะทำให้เป้าหมายของธุรกิจชัดเจนขึ้น แนวทางในการทำธุรกิจจะง่ายขึ้นมาก ยังรวมไปถึงช่องทางในการทำตลาดและช่องทางสื่อสารกับลูกค้าจะตรงจุดขึ้นด้วย
  2. รู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของช่องทางจัดจำหน่าย โดยวิธีที่จะรู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของช่องทางก็คือ ผู้ประกอบการควรไปเดินสำรวจดูสถานที่จริง ดูสินค้าที่วางขายในช่องทางจัดจำหน่ายนั้นๆ แล้วพิจารณาดูว่าสินค้าของเราเหมาะจะวางเอาไว้ตรงไหนบนชั้นวาง และสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย
  3. อายุสินค้า เนื่องจากก่อนที่สินค้าจะถึงมือผู้บริโภคนั้น จะมีปัจจัยเรื่องระยะเวลาตั้งแต่การขนส่งสินค้าไปจนถึงลูกค้าเข้ามาเกี่ยว ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงการเลือกช่องทางที่จะนำสินค้าไปขาย ซึ่งระยะเวลาต้องสัมพันธ์กับอายุของสินค้าด้วย
  4. บรรจุภัณฑ์เหมาะสม เน้นดีไซน์ความสวยงามที่เหมาะสม เช่น หากลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มไฮเอนด์ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ควรมีความสวยงาม ดูหรูหรา นอกจากนี้ขนาดของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เช่น การจำหน่ายที่เป็นร้านสะดวกซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ควรมีขนาดเล็ก เป็นต้น รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถป้องกันความเสียหายหรือช่วยยืดอายุให้แก่สินค้าได้ เช่น เครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้ว อาจทำให้สินค้าดูมีราคา แต่ก็เสียหายระหว่างขนส่งง่าย อาจต้องมีการออกแบบลังที่ใช้ขนส่งเป็นพิเศษ หรือเปลี่ยนวัสดุจากขวดแก้วเป็นขวดพลาสติกทีมีดีไซน์ให้ความรู้สึกเทียบเท่าขวดแก้ว
  5. ศึกษาเงื่อนไขค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน ช่องทางการขายนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนให้ครบถ้วน โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ จะประกอบไปด้วย ค่าเปิดบัญชีหรือค่าแรกเข้า ค่าชั้นวางสินค้า รายได้จากการขายสินค้า (GP) ค่ากระจายสินค้า (DC) ค่ากิจกรรมการตลาด ค่าสินค้าคืน และที่สำคัญผู้ประกอบการต้องพิจารณาเงื่อนไขเครดิตเทอมของช่องทางการขายด้วยว่าสัมพันธ์กับวงจรเงินสดของธุรกิจหรือไม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณให้ครบก่อนตั้งราคา และพิจารณาว่าคุ้มทุนที่จะนำสินค้าเข้าไปขายหรือไม่

 

Published  by  kasikornbank.com on 16 july 2017

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

5 ข้อคิดเพื่อทางรอดของ SME ในยุค 4.0

ในยุคดิจิทัล หรือ Thailand 4.0 ที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจกับการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเอง เพราะความสะดวกจากเครื่องมือดิจิทัล ที่ช่วยให้ง่ายต่อการขยายไอเดียและเพิ่มช่องทางการตลาดมากขึ้น จึงถือเป็นความท้าทายของ SME ในการปรับตัวแข่งขันและหาทางรอด

มาดู 5 คำแนะนำจากกูรูในงาน TMB SME on Tour 2018 ทั้ง คุณณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม Digital Marketing Guru, คุณนายกษิต ฮุนพงษ์สิมานนท์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสพัฒนากลยุทธดิจิทัล ทีเอ็มบี และคุณนาขวัญ พงศ์พฤกษทล เจ้าของแบรนด์ผลไม้อบแห้ง NanaFruit ว่ามีอะไรไปปรับใช้กับธุรกิจของเราได้บ้าง

  1. ข้อมูล (DATA) เป็นสิ่งสำคัญ

เพราะพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถนำไปวัดผลได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะมัวคาดเดา เราสามารทำธุรกิจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง

  1. เลือกใช้แพล็ตฟอร์มให้เหมาะสม

แพล็ตฟอร์ม หรือเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ในการทำการตลอดออนไลน์นั้นมีมากมาย ควรเลือกใช้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น

  1. ใช้เทคโนโลยีสร้างความแตกต่างและแก้ปัญหาให้กับลูกค้า

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือทำให้สินค้าหรือบริการของเราน่าสนใจมากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำยอดขายเพิ่มขึ้น อย่างเช่นการ นำระบบจัดการคิวดิจิทัล มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องต่อคิวยาวหรือรอคิวนาน จนเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นแทน

  1. หันมาใช้ระบบการชำระเงินออนไลน์

ปัจจุบันมีบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ทั้ง QR Code,  Prompt Pay และบริการ Mobile Banking ต่างๆ SME สามารถหยิบตรงนี้มาเพิ่มโอกาสในการค้าขายได้

  1. ต่อยอดธุรกิจด้วยหลักการ 5W ได้แก่
  • Why: ทำธุรกิจไปเพื่ออะไร นอกเหนือจากการขายสินค้า
  • Who: กลุ่มเป้าหมายคือใคร
  • What: ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากสินค้าและบริการ
  • How: ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกคาอย่างไร
  • When: ลงมือทำเมื่อไหร่ ซึ่งยิ่งเริ่มต้นเร็วก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้น

 

Published  by  mangozero.com  on  2 April 2017

SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย