
ปัจจุบันเทคโนโลยีเปรียบเสมือนตัวเร่งการเปลี่ยนเปลง ทำให้บริษัทต่างๆ
พบอุปสรรคในอนาคตมากขึ้น เทคโนโลยีจะปฏิวัติการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปี 2040 อย่างไร
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
Published by euromonitor.com
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
จากปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขยะ น้ำเน่า อากาศเสีย หรือภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่สภาพอากาศที่ ร้อนจัด ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากมาย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดกระแสตื่นตัวในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ขยายตัวเป็นวงกว้าง ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่เริ่มที่จะแสวงหาหรือเลือกใช้บริการหรือสินค้าต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลและเยียวยาโลกใบนี้
อย่างไรก็ดี ในการเดินบนเส้นทางสายสีเขียวนี้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือแม้แต่ SME สามารถที่จะทำได้เหมือนกันหมด ซึ่งรูปแบบวิธีการก็มีอยู่มากมาย บ้างก็เป็นการพัฒนาสินค้าเพื่อให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บ้างก็เป็นกระบวนการผลิตที่ช่วยลดผลกระทบต่อโลกใบนี้ หรือบ้างก็เลือกทำในลักษณะของกิจกรรม CSR เพื่อตอบแทนสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจสีเขียวรูปแบบไหน เชื่อเถอะว่าสิ่งที่จะได้รับกลับมาจะไม่ใช่แค่ “โอกาสทางธุรกิจ” แต่ที่มากกว่านั้นคือ การได้ตอบแทนโลกใบนี้นั่นเอง เช่นเดียวกับ 2 ธุรกิจอย่าง บริษัท ปภพ จำกัด ที่ให้บริการคำปรึกษาและวางระบบบำบัดของเสียและเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน และ บริษัท ลีวณิชย์ จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายฟิล์ม Hi-Kool ที่แม้จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่จุดที่เหมือนกันคือ การคว้าโอกาสจากเทรนด์รักษ์โลกได้อย่างดีเลยทีเดียว
จากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้ธรรมชาติ และมนุษย์ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนทั่วโลกจึงหันมาใส่ใจช่วยกันลดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น และหนึ่งในธุรกิจที่แม้จะไม่ได้ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ก็สามารถช่วยโลกใบนี้ในทางอ้อมได้เช่นกัน
Published by scbsme.scb.co.th on 12 June 2012
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ขายแฟชั่นออนไลน์สไตล์เหนือเมฆ สต็อกไม่ล้น ทุนไม่จม ไม่เสียโอกาสในการขาย
ขายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ดูเหมือนจะง่ายแต่ไม่เลย ปัญหาหลักๆ คือทุนจม
เพราะต้องสต็อกของ ตามสี ตามไซส์ ตามรุ่น ที่หลากหลาย แล้วถ้าวางแผนสต็อกไม่ดีก็ของค้าง
ตกรุ่น ต้องหาทางระบายออกอีก
ก็เพราะว่ามันไม่ง่ายเอาซะเลย 4 นักธุรกิจสาวจาก 3 แบรนด์ดัง จึงมาร่วมแชร์ประสบการณ์ตรงนี้
ในงาน “ธุรกิจเหนือเมฆ” ที่จัดขึ้นโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ MyCloudFulfillment
พันธมิตรทางด้านดิจิทัล ที่จะมาช่วยติดปีกให้เอสเอ็มอีไทยที่ทำธุรกิจออนไลน์
ได้บินเหนือเมฆพุ่งตรงสู่ความสำเร็จได้ไวขึ้น
เพิ่มยอดขายได้เหนือเมฆ ถ้ามีเวลาวางแผนมากขึ้น
“คนจะมาสนใจรองเท้าเราได้ ต้องทำดีไซน์ให้สวยสะดุดตาก่อน แต่ส่วนใหญ่รองเท้าที่สวย
มักใส่ไม่สบาย เราเลยพัฒนาโปรดักส์อยู่นานให้ใส่สบายที่สุด เวลาทำรองเท้าออกมาก็ลองใส่เดินเองก่อน
เป็นเดือน หรือให้ลูกค้าลองฟิตติ้งดู ซึ่งถ้าลูกค้ามาลองสิบคน แล้วผ่านสักแปดคนแสดงว่าฟิตติ้งนี้โอเค
เพราะว่าเท้าคนมีหลายรูปแบบมาก โดยเฉพาะคนไทยจะมีลักษณะพิเศษคือเท้าค่อนข้างอวบ
ถ้าทดลองแล้วใส่ได้สัก 80% แสดงว่าใช้ได้ เวลาเราตั้งราคารองเท้า ให้มองตัวสินค้าก่อนว่าราคาเท่าไร
ลูกค้าสะดวกที่จะซื้อ ตั้งให้ดูคุ้มค่ากับของ กำไรน้อยหน่อย เยอะหน่อยก็แล้วแต่ความเหมาะสม
แล้วไปลดต้นทุนเอา เราอยากให้ลูกค้าใส่ของดี ในราคาจับต้องได้ แต่ละคอลเล็คชั่นต้องวางแผน
ราคา และสต็อกดีๆ ดูว่าตัวไหนน่าจะขายไว ตัวไหนน่าจะช้าหน่อย”
“ปัญหาที่เราเคยเจอมาก่อน คือช่วงที่ไฟแรงอันนั้นก็อยากขาย อันนี้ก็อยากทำ
แล้วก็ทำรองเท้าทุกอย่างไม่ว่าจะส้นสูงส้นเตี้ย แต่ทำแบบนั้นมันทำให้เราพลาดเรื่องการวางแผนการเงิน
ลองใจเย็นๆ แล้วหันกลับมามองว่าแต่ละแบบแต่ละรุ่นเราควรทยอยทำเท่าไร ทำอย่างไร
บางทีอาจจะต้องดูเรื่องการวัดผลเงินลงทุนด้วย ไม่ใช่ว่าทำจากความชอบอย่างเดียว ต้องวางบัดเจ็ท
และวางแผนให้ดีก่อนจะทำ เราต้องรู้ว่าเราจ่ายไปเท่าไร แล้วมากแค่ไหนที่เราจะรับได้ เสียเท่าไร
ที่เราจะรับได้ แล้วจำเป็นมากที่ต้องมีคนเก่งเรื่องสต็อกมาช่วยดูแลจัดการแทนเราดีกว่า
อย่างที่เราใช้ MyCloudFulfillment คือเอามาช่วยจัดการภาระเรื่องสต็อกทั้งหมดเลย เราไม่ต้อง
ทำอะไรหลังบ้านแล้ว พอมีคนมาจัดการตรงนี้ให้ เรารู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไรบ้างด้านการตลาด
ด้านการขยาย เราเลยได้เอาเวลาไปบริหารจัดการเรื่องการเพิ่มยอดขายและทำธุรกิจให้เติบโตได้
โดยไม่ต้องพะวงหลังว่า ถ้ายอดขายมาเยอะๆจะพลาดตรงไหนหรือเปล่า เพราะมีคนคุ้มกันเราอยู่แล้วให้ขายได้ไม่อั้น”
“คุณไม่จำเป็นต้องเก่งไปซะทุกอย่าง เราต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดี อะไรที่เราถนัด
เช่น เรื่องลูกค้า หรือการออกแบบที่เราต้องโฟกัสให้มาก อะไรไม่ถนัดเราจ้างให้คนอื่นที่เก่งกว่าทำแทน”
คุณเม – สุภัทรา เวโรจน์เสนีวงศ์ เจ้าของแบรนด์ Mave Shoes
“แฟชั่นมันวิ่งไปทุกวัน และวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีแบรนด์ต่างชาติเข้ามาแข่งขันกันมากมาย
เราต้องวางรากฐานให้ดี เอาระบบมาใช้แต่เนิ่นๆ คิดให้เหนือกว่าแบรนด์แฟชั่นทั่วไป แล้วพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ”
คุณแอม – ฉายนันท์ มโนมัยสันติภาพ เจ้าของแบรนด์ Mave Shoes
ขายออนไลน์ได้เหนือเมฆ ถ้ามีข้อมูลมากกว่าคนอื่น
“หัวใจเจ้าของแบรนด์คือต้องอินกับมันมากๆ ไม่ใช่อินแค่แฟชั่นชุดออกกำลังกายเท่านั้น
แต่ต้องอินทุกเรื่องของไลฟ์สไตล์ลูกค้าเราเรื่องของการมีสุขภาพดี เพราะฉะนั้นถ้าเราจับทางถูก
ว่าลูกค้าสนใจเรื่องอะไรอยู่ตอนนี้ มันจะทำให้แบรนด์ของเราดูสตรอง และ ดูเป็นกูรูตัวจริง
ตัวแพรเองทำ content marketing ด้วยตัวเองหมด อาจจะมีฮาร์ดเซลล์บ้างนานๆ ที แต่ส่วนใหญ่
จะเขียนเกี่ยวกับการออกกำลังกายทั้งหมด อย่างเช่น เรื่องคีนัว หรือ fitness influencer ดีๆ
ที่สำคัญคือ เราต้องรู้ให้ครบว่าลูกค้าเราหาข้อมูลเรื่องอะไรอยู่ ต้องมีพวกคีย์เวิร์ดฮิตๆบางคำ
ที่เค้าสนใจอยู่ ให้เราเอาใส่ลงไปด้วย ฉะนั้นถ้าคนเสิร์ชเรื่องนี้แล้วเว็บไซต์ของเราก็จะขึ้น
เป็นอันดับแรกๆ เพราะเรารู้ว่าคนอ่านแบบนี้มักมีแนวโน้มที่จะซื้อชุดของเรา เพราะแบรนด์เรา
มันอยู่กึ่งๆระหว่างแฟชั่นกับสปอร์ต ลูกค้าเราหาข้อมูลแน่น content จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน
อีกเรื่องที่สำคัญคือเราฝังเฟสบุคพิกเซลไว้ในเว็บไซต์ และแอดแคมเปญทุกตัว พอมีใครเข้ามาดู
มันจะเก็บข้อมูลไว้ เรารู้ได้ว่าคนนี้เข้ามาดูแต่ไม่ซื้อ คนนี้ไปถึงหน้า Check out แต่ยังไม่จบ เราก็จะ
สามารถใช้ข้อมูลพวกนี้มาเป็นกลุ่มเป้าหมายในการยิงแอด ซึ่งเราก็เอาข้อมูลตรงนี้กลับไปทำโฆษณา
ยิงซ้ำอีกรอบในรูปแบบที่แตกต่างกัน ตามแต่ละ stage ของลูกค้า ทุกวันนี้ เวลาแพรยิงแอดทุกตัว
แพรจะยิงไปกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มกว้างๆ ชอบออกกำลังกาย ชอบชอปปิง
และเราก็จะลากเค้าเข้ามาเว็บไซต์เรา แต่อีกกลุ่มเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาในเว็บไซต์เราบ่อยๆ
อีกทั้ง MyCloudFulfillment ยังช่วยทำให้เช็คได้ง่ายๆด้วยว่า แคมเปญไหนทำยอดขายดี
โปรโมชั่นไหนทำได้เยอะ เพราะฉะนั้นมันค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการยิงโฆษณา การหาลูกค้าใหม่
และตามเก็บลูกค้า เพราะเรายิงได้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา”
“เวลาขายแพรจะคุยกับลูกค้าเองทุกเคส เพื่อรับ feedbackแต่ละคอลเล็คชั่นมาพัฒนาสำหรับรุ่นต่อไป”
คุณแพร – พิมพิศา จิราธิวัฒน์ เจ้าของแบรนด์ Girlsnation
“เป็นเจ้าของแบรนด์ต้องรู้ 360 องศา เข้าใจทุกปัญหาของลูกค้าแบบถ่องแท้
ถ้าเราไม่รู้เราจะสอนแอดมินและสร้างระบบของเราไม่ได้”
คุณแพร – พิมพิศา จิราธิวัฒน์ เจ้าของแบรนด์ Girlsnation
ติบโตได้เหนือเมฆ ถ้ารู้จักลูกค้าเป็นอย่างดี
“เราซีเรียสเรื่องของแบรนด์มาก มันคือตัวตนของเรา ทุกวันนี้คนทำสินค้าแฟชั่นเยอะมากๆ
แยกดีไซน์กันแทบไม่ออก ก๊อปกันก็มีเยอะ แต่การที่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าจำเราได้
เราต้องมีตัวตนที่ชัด ต้องทำให้เค้ารู้ให้ได้ว่า เราคือผู้หญิงแบบไหน แล้วผู้หญิงประเภทไหน
ที่จะวิ่งมาหาเราที่อยากเป็นเพื่อนเรา ขอแค่เป็น Top of mind ของเขา ไม่ซื้อวันนี้ไม่เป็นไร
วันหน้าถ้าจะซื้อเขาต้องนึกถึงเราคนแรก เนี่ยแหละคือแบรนด์ ถ้าเราไม่รู้ว่าเราคือใคร
เราจะขายให้ลูกค้าได้อย่างไร เขาต้องรู้สึกว่าเรามีคุณค่าพอที่จะควักเงิน ดีไซน์เราต้องตอบโจทย์
ต้องสวย ทันสมัย อีกทั้งเราต้องเก็บวัดผลให้ดีทุกครั้งด้วย ว่าแบบไหนทำออกมาขายดี
ดีไซน์ไหนทำออกมาแล้วขายไม่ดี ทุกๆคอลเล็คชั่นต้องติดตามผลลัพธ์ ยิ้มเก็บข้อมูล
ว่าลูกค้าหยิบเสื้อตัวไหนขึ้นมาดู แสกน QR code เข้ามาอ่านข้อมูลตัวไหน เราดูได้ว่าลูกค้าสนใจ
ตัวไหนบ้างและซื้อตัวไหนบ้าง ซึ่งโชคดีมากที่มี MyCloudFulfillment คอยช่วยเก็บข้อมูล
ให้เราเช็คได้ตามช่วงเวลาอยู่แล้ว ยิ้มเลยเอาข้อมูลนี้มาคิดย้อนกลับได้ ซึ่งเราเรียนรู้พฤติกรรม
ผู้บริโภคแล้วเอามาปรับดีไซน์ในทุกๆครั้งต่อๆไป ทีมดีไซเนอร์เราต้องทำรีเสิร์ชเยอะมาก
เราต้องตามเทรนด์โลกให้ทันว่าปีหน้าจะเล่นกับอะไร ตัวยิ้มเองมีทีมดีไซน์กว่า 20 คน ทำแค่เรื่องนี้
ส่วนถ้าเราอยากทำวีดีโอหรือถ่ายรูปโปรโมทคอลเล็คชั่นแต่ถ้ามันยังคลุมเครือไม่ชัด
ในการสื่อสารเรื่องของแบรนด์เราหรือความพิเศษของคอลเล็คชั่นเรา บางทีทำออกไป
ก็ไม่ได้ประโยชน์ ไม่อยากให้ความสำคัญว่าทำอย่างไรถึงจะถูกถึงจะฟรี เพราะทุกอย่างมันต้องลงทุนอยู่แล้ว
อย่าไปคิดมากถ้าต้องลงเยอะ คิดต่างหากว่าลงทุนไปเยอะแล้วต้องได้กำไรกลับมาห้าเท่าสิบเท่าด้วย
เมื่อใดที่เราไปห่วงกับค่าใช้จ่าย มันจะปิดกั้นบางอย่างเกินไป เราเป็น SME เราต้องกล้าคิดกล้าทำ
เราทำทุกอย่างที่บ่งบอกความเป็นแบรนด์ในทุกๆช่องทางที่เราทำได้ ถ้าคนเห็นแล้วจำได้
เขาก็จะกลับมาหาแบรนด์เอง เพราะแบรนด์เราคือสังคมเฉพาะสุดพิเศษ ที่หาที่อื่นไม่ได้อีกแล้ว”
“พอเราเป็นแบรนด์แฟชั่น เราต้องบอกลูกค้าให้ได้มากกว่าว่า
ลูกค้าควรใส่อะไร การมีข้อมูลจะช่วยอย่างมากในเรื่องนี้”
คุณยิ้ม – วนิดา ประภารัตน์ เจ้าของแบรนด์ Hamburger Studio
“ทำแบรนด์ให้มีตัวตนชัดเจน ให้รู้ว่าเราคือใคร
ทำจนเขารู้สึกว่าเรามีคุณค่าพอที่จะควักเงินจ่าย และ คุณหาแบบนี้ที่อื่นไม่ได้อีกแล้ว”
คุณยิ้ม – วนิดา ประภารัตน์ เจ้าของแบรนด์ Hamburger Studio
Published by scbsme.scb.co.th
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ปัญหาที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องมีอยู่ 4 จม คือ
จมอยู่กับลูกหนี้คงเหลือของกิจการ เนื่องจากเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกหนี้ไม่ได้
2. จมอยู่กับสินค้าคงเหลือ (Stock) ของกิจการมากเกินไป เพราะคิดว่าสินค้าต้องขายออกแน่ๆ แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด
3. จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การตกแต่งร้านใหม่ เสียค่าเช่าที่แพงๆ แต่ไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าหลักของร้าน
4. จมไปกับการนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว อย่างหนี้บัตรเครดิต ข้อนี้ควรทำบัญชีแยกระหว่างบัญชีร้านค้าและบัญชีส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ
เจ้าของกิจการบางคนอาจเกิดอาการดีใจที่สินค้าของตัวเองขายดิบขายดี แต่พอมาสำรวจในลิ้นชักเงินแล้วกลับพบว่าแทบจะว่างเปล่า สัญญาณแบบนี้กำลังบ่งชี้ว่าว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องได้
เมื่อเริ่มไม่รู้ว่าเอาเงินที่มีอยู่ไปใช้กับเรื่องอะไรบ้าง ก็คงถึงเวลาที่ต้องบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกันแล้ว โดยหลักที่ใช้ในการบริหารจัดการมีอยู่ 3 ข้อ คือ
1. บริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น กำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียนให้เหมาะสมกับธุรกิจ หรือการขอให้ลูกหนี้การค้าจ่ายเงินสดอย่างเดียว
2. จัดวงเงินสำหรับเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอ เมื่อยอดขายเติบโตขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
3. จัดทำประมาณการกระแสเงินสด วิเคราะห์แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสด บันทึกเป็นรายการว่ามีเงินเข้าและจ่ายออกเมื่อไหร่บ้าง
สิ่งสำคัญที่สุดในการประคองธุรกิจให้ดำเนินไปได้คือ กิจการต้องมีเงินสดเพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้ปัจจุบันอาจจะขาดทุน แต่หากยังมีสภาพคล่อง กิจการก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวและสร้างกำไรได้อีกในอนาคต
สำหรับเทคนิคในการจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ มี 4 ข้อ ดังนี้
1. เรียกเก็บเงินทันทีหรือมีการเจรจาข้อตกลงกันล่วงหน้าในการกำหนดชำระเงินอย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะปล่อยให้มียอดหนี้สะสมจนสิ้นสุดโครงการ
2. สร้างแรงจูงใจในการชำระเงินของลูกหนี้ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เช่น เสนอลดให้ 1 – 2 % หากชำระภายใน 10 วัน
3. พยายามเลือกลูกค้า หลีกเลี่ยงลูกค้าประเภทชำระหนี้ช้าหรือไม่ชำระหนี้ตั้งแต่ต้น
4. ลดปริมาณสินค้าคงคลัง พยายามไม่สต๊อกสินค้าเอาไว้มากเกินความจำเป็นหรือหาวิธีบริหารจัดการสต๊อกที่ดี ที่สามารถหมุนเวียนสินค้าออกได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ในเรื่องการจัดการสภาพคล่อง สิ่งที่เริ่มได้ในทันทีคือการจัดการสต๊อก โดยไม่ควรเก็บสต๊อกให้มากจนเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินสดไปบริหารจัดการในด้านอื่น ในหลายธุรกิจมักมีการบันทึกข้อมูลลูกค้าเอาไว้อยู่แล้วว่าพฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร มียอดใช้จ่ายต่อคนเท่าไหร่ ลูกค้าเข้าร้านมากในช่วงวันและเวลาไหนก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในสินทรัพย์หมุนเวียนให้มากขึ้น
อีกตัวช่วยหนึ่งในการทำให้ SME มีสภาพคล่องมากขึ้นคือการจัดทำงบการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนการมีกระจกส่องสะท้อนสถานะทางการเงินของตัวคุณเองอย่ามัวสนใจแต่กำไร โดยลืมดูเรื่องการหมุนเวียนสภาพคล่องทางธุรกิจกันด้วย
Published by scbsme.scb.co.th
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย