ขอเรียนเชิญร่วมลงทะเบียนทำแบบสำรวจความคิดเห็น ธนาคารระหว่างประเทศ (EXIM Bank )

ตามที่ธนาคาร  ร่วมกับบริษัทของท่านและผู้ประกอบการด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์  เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของธนาคาร  มาเป็นระยะเวลาหนึ่งธนาคารขอความร่วมมือในการขอความเห็นของทุกท่าน

เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมโอกาสทางการตลาดสำหรับแอพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์สู่กลุ่ม SMEs ไทย เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องสอบถามข้อมูลตามลิ้งที่แนบนี้ 

https://docs.google.com/forms/d/1ZkGAioEEIoFaps_nvRJ5hbwHrBCyKPRAQR1U3tNn3Y8/edit

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

บทความแนะนำ

“วันนี้กินอะไรดี” : นิตยสารคิด (Creative Thailand)

ร่วมสำรวจเส้นทางในการเลือกกินอาหารของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันที่มีเมนูมากมายถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนแทบทุกรูปแบบ พร้อมทั้งหาโอกาสและความเป็นไปได้จากอาหารแห่งอนาคตในวันที่เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางอาหาร
เพราะ “เรื่องกิน” เป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ทางเลือกในการกินของเราอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเสียทั้งหมด มาหาคำตอบกันว่า จริง ๆ แล้วเรามีอํานาจในการ “เลือกกิน” มากแค่ไหน และถ้ามีเงิน เราจะกินอะไรก็ได้ในโลกจริงหรือ

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

กระแสรักสุขภาพจากโควิด สร้างโอกาสธุรกิจเอสเอ็มอี

หัวข้อ : กระแสรักสุขภาพจากโควิต สร้างโอกาสธุรกิจ SME 
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com//Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf

 

 

กระแสรักสุขภาพ (Health Conscious) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และยิ่งการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวของการระวังป้องกัน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติใหม่ (New Normal) ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น

กระแสการตื่นตัวทางด้านสุขภาพได้รับความสนใจในประเทศไทย ยืนยันได้จากจำนวนคนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาของคนไทย พบว่า มีประมาณ 12.9 ล้านคน เทียบกับ 12.7 ล้านคน ในการสำรวจครั้งก่อน รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทำได้ง่ายผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบใหม่ โดยลูกค้าเป้าหมายกลุ่มรักสุขภาพที่มีความสำคัญ อาทิ 

  • คนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15-40 ปี (กลุ่ม GEN Y และ GEN Z) ซึ่งให้ความสนใจต่อสุขภาพค่อนข้างสูง กลุ่มนี้มีประชากรประมาณ 24 ล้านคน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีความต้องการสินค้าและบริการเฉพาะด้านที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยหรือช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 11.1 ล้านคน

แต่ก่อนที่ผู้ประกอบการจะพิจารณาลงทุนในธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในช่วงนี้ ซึ่งมีดังนี้

 

การลงทุนต้องใกล้เคียงกับธุรกิจเดิม 

เพื่อจะได้อาศัยองค์ความรู้ทางด้านการตลาด ลักษณะพฤติกรรมลูกค้าที่มีอยู่พอสมควร โดยที่ไม่ต้องไปเรียนรู้ใหม่ นอกจากนี้อาจใช้เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่รวมถึงฐานลูกค้าเดิมเพื่อนำมาใช้ต่อยอดธุรกิจ

 

ต้องไม่ลงทุนมาก 

  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำกัดของธุรกิจเอสเอ็มอีในช่วงนี้ อาจทำให้จัดการสภาพคล่องได้ยาก
  • ไม่สามารถคาดการณ์ว่า ธุรกิจที่ลงทุนจะให้ผลตอบแทนด้านรายได้หรือผลกำไรกลับมาได้รวดเร็วเพียงใด เงินที่จะใช้ลงทุนต้องไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
  • ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังไม่ให้มีมากเกินไปจนกระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจ

 

มีความสามารถในการแข่งขัน 

ซึ่งต้องประกอบด้วยหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ

  • มีทำเลที่ตั้งธุรกิจที่เหมาะสม เข้าถึงกลุ่มลูกค้า
  • มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญหรือมีนวัตกรรม 
  • มีพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพทั้งด้านการผลิต การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย

 


 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเว้นระยะห่างทางสังคม

แม้ว่าโควิด-19 ในไทยจะลดระดับความรุนแรงจนสามารถควบคุมได้ แต่คนทั่วไปยังคงระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยและต้องเข้าไปในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง  โดยสินค้าหรือบริการที่จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าว อาทิ

  • อุปกรณ์การแพทย์ในครัวเรือน ซึ่งนอกจากหน้ากากอนามัย น้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว สินค้าเครื่องมือแพทย์ที่มีความต้องการสูงในภาคครัวเรือน ได้แก่ เครื่องตรวจวัดเบาหวาน วัดความดันโลหิต เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังไม่ใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจะตอบโจทย์ความต้องการได้ ขณะที่ผู้ผลิตในประเทศอาจต้องพิจารณาความสามารถในด้านการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่เน้นคุณภาพ (จากญี่ปุ่น) หรือสินค้าที่เน้นด้านราคา (จากจีน) 

สำหรับช่องทางการตลาดนั้น อาจต้องใช้ช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย อาทิ 

- กลุ่มผู้สูงอายุ ขายผ่านร้านค้า มีจุดเด่นทางด้านการแนะนำวิธีการใช้ หรือคุณสมบัติที่ละเอียด

- กลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นช่องทางออนไลน์ที่ไม่ต้องการรายละเอียดวิธีใช้มากเท่ากลุ่มแรก

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น 

- ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารที่บำรุงสุขภาพ อย่างอาหารเสริมและวิตามิน เครื่องดื่มสมุนไพร ที่น่าจะมีความต้องการสูงในช่วงนี้ ได้แก่ สินค้าที่ช่วยป้องกันหรือบำรุงสายตา เพื่อรองรับพฤติกรรมคนส่วนใหญ่

ที่อยู่บ้านมากขึ้น มีการติดตามสื่อออนไลน์ อาจกระทบต่อสุขภาพดวงตา

- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น ฟิตเนส แต่อาจปรับในรูปแบบการเปิดคอร์ทสอน

การออกกำลังกายที่บ้านสำหรับคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งโดยปกติมักต้องพึ่งพาเทรนเนอร์ เพื่อแนะนำหรือดูแลการออกกำลังกายไม่ให้เกิดอันตราย อาจจะมีบริการให้เช่ายืมอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวก

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาตนเอง

โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น ได้แก่ อาหารที่ต้องทานในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าถึงหากถูกล็อกดาวน์จากการระบาดรอบใหม่ รวมถึงมั่นใจด้านคุณภาพ โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารทานที่บ้าน จากพฤติกรรมการอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้คนบางส่วนหันมาทำอาหารกินเอง

    • ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอาจจัดคอร์ทเรียนแบบออนไลน์ 
    • ธุรกิจบางรายที่มีวัตถุดิบและเครื่องปรุงอยู่แล้ว อาจจัดวัตถุดิบสำเร็จรูปเป็นชุด สำหรับเมนูอาหารแต่ละชนิด เพื่ออำนวยความสะดวกสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักผลไม้ในพื้นที่ของตนเอง ตอบโจทย์ความกังวลต่อความปลอดภัยของสินค้าที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือขั้นตอนการปลูก รวมถึงลดการไปในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดสด และลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร

ตลาดที่น่าสนใจในช่วงนี้ได้แก่ กลุ่มคนที่มีพื้นที่ว่างในเมือง ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว กลุ่มโรงงานที่ทำแบบสวัสดิการพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการแต่ละตลาด ตามปัจจัยที่แตกต่าง

 

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพอื่นๆ

  • ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากศักยภาพในการควบคุมการระบาดและอัตราการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีผลสำเร็จสูง ที่ยืนยันได้จากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ซึ่งไทยอยู่ในลำดับ 6 ของโลก (ปี 2562) จะเป็นจุดขายและเป็นปัจจัยดึงดูดคนรักสุขภาพทั่วโลกเดินทางมาใช้บริการในไทย ซึ่งอาจมีทั้งเพื่อการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ อาทิ ธุรกิจสปา นวดแผนไทย รวมถึงการนำเสนออาหารเพื่อสุขภาพที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการวางกลยุทธ์ที่เหมาะกับคนเหล่านี้

 


 

ความท้าทายด้านกำลังซื้อที่ลดลง

  • กำลังซื้อจะยังคงไม่ฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2563 และยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอีกระยะ 
  • คนมีความระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น 
  • กลุ่มคนรักสุขภาพที่แต่เดิมยอมรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้มากกว่ากลุ่มอื่น ก็มีการวางแผนการใช้จ่ายมากขึ้น
  • กลุ่ยวัยรุ่น - วัยทำงาน (กลุ่ม GEN Y และกลุ่ม GEN Z) มีความเสี่ยงด้านการจ้างงานสูง จะระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นเช่นกัน

 

ความท้าทายด้านความยั่งยืนของเทรนด์ที่เกิดขึ้น 

  • เทรนด์ที่คาดว่าเกิดจากความต้องการหรือการเติบโตของธุรกิจ จะยังคงมีต่อเนื่องในระยะข้างหน้า อาทิ ธุรกิจวิตามินหรืออาหารเสริม (สินค้าอาจปรับกลับมาเป็นกลุ่มชะลอวัย (Anti Aging) 
    • ธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HealthTech) 
    • อุปกรณ์การแพทย์ในครัวเรือน
    • ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • บางเทรนด์อาจเป็นกระแสที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งคาดว่าหลังโควิด-19 คลี่คลาย ความต้องการอาจลดลง อาทิ 
    • ธุรกิจปลูกพืชผักเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน 
    • ธุรกิจสอนการทำอาหารหรือการเปิดคอร์ทสอนการออกกำลังกายที่บ้านในรูปแบบออนไลน์

 

ความท้าทายจากผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 

โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเอง ที่ไปกระทบกับธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักในครัวเรือน รวมถึงในชุมชนหรือโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักออแกนิกส์สำหรับคนรักสุขภาพ หรือธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการอาหารสุขภาพ

 

ความท้าทายด้านความพร้อมของธุรกิจ 

แม้ว่าธุรกิจบางประเภทจะมีปัจจัยสนับสนุนความต้องการ แต่อาจมีปัจจัยแวดล้อมบางประการที่ยังไม่เหมาะสม อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หากมีการกลับมาระบาดรอบ 2 จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางด้านการท่องเที่ยวได้

 


 

เพื่อรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้

 

การนำเสนอสินค้าที่จับต้องได้ เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริมหรือวิตามิน 

  • สำหรับกลุ่มลูกค้ารายเก่าที่รู้จักสินค้าอยู่แล้ว อาจมีโปรโมชั่นบรรจุภัณฑ์ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ราคาต่ำกว่าหากเทียบกับปริมาณและราคาเดิม 
  • สำหรับลูกค้ารายใหม่ ทั้งในส่วนของตลาดในประเทศและต่างประเทศ อาจเริ่มจากบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเพื่อให้ทดลองใช้ 
  • ขณะที่สินค้าสุขภาพที่มีราคาสูงอาจทำโปรโมชั่นที่มีความยืดหยุ่น อาทิ การผ่อน 0% หรือนำเสนอสินค้าในรูปแบบเช่าแทน

 

การสร้างกระแสให้เกิดความต่อเนื่อง แม้ว่าโควิด-19 จะคลี่คลายแล้ว แต่หลาย ๆ เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สามารถนำมาขยายหรือต่อยอดได้ เช่น การสอนออกกำลังกายออนไลน์

  • สามารถใช้ควบคู่กับการสอนในสถานออกกำลังกาย จะได้ประโยชน์ทางด้านลูกค้ารายใหม่ ๆ ที่อาจไม่สะดวกเข้ามาในสถานออกกำลังกาย (อาทิ กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้านที่ไม่มีเวลามาออกกำลังกายที่ฟิตเนส หรืออาจไม่พร้อมรับค่าใช้จ่ายปกติ)
  • การขยายตลาดการสอนผ่านออนไลน์ จะสนับสนุนให้ธุรกิจฟิตเนส บริการลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น โดยใช้สถานที่ รวมถึงบุคลากรเท่าเดิม

 

การร่วมมือเป็นพันธมิตร สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกระแสการพึ่งตนเอง อาทิ ธุรกิจที่ปลูกพืชผัก

สุขภาพ 

  • อาจนำเสนอความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีมากกว่าที่ครัวเรือนหรือโรงงานผลิต เพื่อป้อนความต้องการ
  • อาจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับชุมชน หรือโรงงานเพื่อเป็นผู้รวบรวมผลผลิตส่วนที่อาจเกินความต้องการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือโรงงาน รวมถึงจำกัดผลกระทบต่อธุรกิจ

 

การเตรียมความพร้อมธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่น่าจะเป็นจุดขายหลังโควิดคลี่คลาย

  • อาจต้องเตรียมพร้อมทั้งทางด้านการส่งเสริมการขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศ โดยชูจุดเด่นด้านความปลอดภัยของการระบาด 
  • พัฒนาเพิ่มทักษะหรือ Upskill เกี่ยวกับภาษา หรือการให้บริการด้านสุขภาพ อาทิ นวดสปา นวดแผนไทย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

 

 

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

บัญชีและข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญอย่างไรกับเอสเอ็มอี?

หัวข้อ : บัญชีและข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญอย่างไรกับ SME?
อ่านเพิ่มเติม : https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=45&itemId=275

 

 

การทำบัญชีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับธุรกิจเจ้าของธุรกิจควรมีความรู้ด้านบัญชีเป็นพื้นฐาน แล้วความรู้ด้านบัญชีและข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร แบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

 

การประเมินสถานะทางการเงินของบริษัท

การประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทนั้นต้องใช้ข้อมูลที่แท้จริง ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท ซึ่งข้อมูลทั้งหมดคือข้อมูลในระบบบัญชีของบริษัททั้งหมด ดังนั้น เจ้าของกิจการก็จึงจำเป็นต้องเข้าใจข้อมูลส่วนนี้ ใช้ประเมินอะไรเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น

  • ประเมินได้ตั้งแต่ความคุ้มทุนของการลงทุนต่างๆ ของบริษัท 
  • ประเมินว่าบริษัทมี “เงินทุนหมุนเวียน” พอหรือไม่
  • ประเมินว่าบริษัทต้องการเงินเพิ่มอีกเท่าไร เพื่อจะคิดว่าจะต้องไปกู้ยืมและลงทุนอย่างไร 
  • ประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท
  • ประเมินการขึ้นเงินเดือนหรือการให้โบนัสพนักงาน

 

การกู้เงินจากสถาบันทางการเงิน

ไม่มีสถาบันการเงินไหนที่จะให้กู้เงิน โดยไม่ขอดูบัญชีของเราเพื่อประเมินความสามารถทางธุรกิจ และไม่น่าจะมีสถาบันการเงินไหนเช่นกันที่จะปล่อยกู้ให้กับเราถ้าการทำบัญชีของเราไม่โปร่งใส ไม่เป็นระบบ ไม่ชัดเจน ดังนั้น งานบัญชีที่ได้มาตรฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเติบโตของธุรกิจ

 

การระดมทุน

แหล่งทุนต่าง ๆ ที่จะมาลงทุนในธุรกิจเรา ต้องการความโปร่งใสทางบัญชีไม่น้อยกว่าเหล่าสถาบันการเงิน

  • การระดมทุนระดับใหญ่ เช่น การยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยิ่งมีข้อกำหนดทางบัญชีอย่างชัดเจน ดังนั้นทำบัญชีที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานของธุรกิจที่ต้องการเติบโตเลยก็ว่าได้
  • สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง หากธุรกิจของคุณโตแบบก้าวกระโดดขึ้นมา แต่เงินลงทุนที่คุณมีไม่เพียงพอ ทำให้คุณต้องการจะกู้เงินหรือระดมทุน ค่อยมานั่งทำบัญชีอาจจะพลาดโอกาสนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
  • ไม่ว่าจะสถาบันทางการเงินหรือแหล่งทุน ส่วนใหญ่จะขอดูบัญชีย้อนกลับไปหลายปี หากคุณที่ไม่เคยทำบัญชีอย่างถูกต้องมาก่อน จะทำให้ไม่มีบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสไปแสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังโตจริง ๆ

 

การวางแผนภาษีและการจ่ายภาษี

  • การทำบัญชีมีผลต่อเนื่องไปถึงเรื่องภาษี เพราะการทำบัญชีพร้อมเก็บเอกสารบันทึกรายรับ-รายจ่ายทั้งหมด จะช่วยให้การจ่ายภาษีเป็นเรื่องง่าย 
  • หากไม่ทำบัญชีอย่างชัดเจน จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ารายได้ธุรกิจไปถึงขั้นไหนแล้ว และ
  • หากเราไปรู้ทีหลังวันที่ต้องจ่ายภาษีพอดี ผลก็คือเราจะต้องจ่ายภาษีเกินกว่าที่เราคำนวณไว้ 
  • กรณีที่แย่ที่สุดคือการที่ทำธุรกิจแล้วไม่มีกำไร เพราะถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากการทำบัญชีไม่ถูกต้อง

 

การลดปัญหาในหมู่หุ้นส่วน

สุดท้ายการทำบัญชีก็ยังจำเป็นระดับพื้นฐานในหมู่หุ้นส่วนทางธุรกิจ เพราะถ้าบัญชีไม่ชัดทั้งฝั่งรายรับและรายจ่าย จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปีหนึ่งบริษัทมีกำไรเท่าไร ซึ่งผลที่ตามมาคือ บริษัทก็จะไม่รู้ว่าควรจะเอาผลกำไรไปแบ่งเป็นปันผลในหมู่หุ้นส่วนเท่าไร และอาจนำมาสู่ความบาดหมางในหมู่หุ้นส่วนได้ง่าย ๆ

 

 

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

หัวข้อ : 8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
อ่านเพิ่มเติม : https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=45&itemId=303

 

 

ในระบบภาษีของเราก็มีสิ่งที่เรียกว่ารายจ่ายต้องห้ามทางภาษีอยู่ กล่าวคือ มีรายจ่ายจำนวนหนึ่งในบัญชีบริษัททั่วไปที่ต้องนับเป็นรายจ่าย เพราะเป็นการเสียเงินของบริษัท แต่รายจ่ายเหล่านั้น ห้ามนำไปคิดคำนวณเป็นรายจ่ายตอนเสียภาษีเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมาย ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มีหลัก ๆ ดังนี้

 

1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท หากบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ควรทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดเจน

 

2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า

คนทำธุรกิจโดยทั่วไปจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่า

  • ต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย)
  • รายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัท
  • เพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท 

หมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไป

 

3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ

คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รายจ่ายเหล่านี้หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่าจ่ายไปที่ใคร จะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้

 

4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

อาจนับเป็นรายจ่ายของบริษัทแต่สรรพากรไม่นับ คือรายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ จะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร 

เช่น บริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทได้เงินจริง 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร 7 บาทนี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีได้

 

5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก

บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งใน

  • ทางบัญชี บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน
  • ทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้

 

6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่ว ๆ ไปจะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง

กรณีที่ลดลง 

  • ทางบัญชี อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง
  • ทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด

 

7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป

ในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง

  • ทางบัญชี โดยทั่วไปถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป
  • ทางภาษี ไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ เพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง

 

8. รายจ่ายค่าปรับ

ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัทไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป

  • ทางบัญชี ต้องคิดเป็นรายจ่ายตามจริง
  • ทางภาษี จะไม่สามารถเอาค่าปรับต่าง ๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่เกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้

 

 

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ