
หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried นวัตกรรมนำความล้ำ ทำให้ชีวิตง่าย ขยายโอกาสธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2018.aspx
วิถีชีวิตผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจกับสุขภาพและอาหารการกินที่ดีมากขึ้น ทำให้มูลค่าสินค้าออร์แกนิกเฉพาะในไทยสูงถึงเกือบ 3 พันล้านบาท และมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เช่น
น่าจะทำให้อุปสงค์และอุปทานตลาดออร์แกนิกในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
นอกเหนือจากสินค้าออร์แกนิกรูปแบบเดิม ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาดแล้ว มีการคาดการณ์ว่า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกที่มาพร้อมนวัตกรรมและตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคหรือการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดออร์แกนิกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มต่อไปนี้
1. ราคาจับต้องได้-ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
พฤติกรรมผู้บริโภค
กลยุทธ์ทางการตลาด
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด
สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ
2. เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่
พฤติกรรมผู้บริโภค
กลยุทธ์ทางการตลาด
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด
สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ
3. มุ่งเน้นคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ให้คุณค่าเฉพาะ (Functional Food Product)
พฤติกรรมผู้บริโภค
กลยุทธ์ทางการตลาด
กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด
สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ
การจะอยู่ในธุรกิจออร์แกนิกนั้น นอกเหนือจากการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์แล้ว ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการยังขึ้นอยู่กับ
1) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เช่น การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก จากองค์กรหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ การรีวิวจากผู้บริโภค/ผู้ใช้จริง
2) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งในเรื่องของนวัตกรรมอาหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารออร์แกนิกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (ฟรีซพร้อมอุ่นสำหรับสังคมเมือง) ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ (สำหรับกลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก) อาหารออร์แกนิกกลุ่มฟรีฟอร์ม (สำหรับคนแพ้กลูเตน) เป็นต้น
3) การเพิ่มช่องทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ความว่า
เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติร้ายแรง กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับมีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มิให้นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ อันส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในท้องที่ประเทศไทย จึงควรลดหย่อนการออกเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละสองของค่าจ้างของผู้ประกันตน
ข้อ 2 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละเก้าสิบหกบาท
ข้อ 3 ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้าง หรือผู้ประกันตนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา
ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563
สุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ตามที่ธนาคาร ร่วมกับบริษัทของท่านและผู้
เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงกิ
https://docs.google.com/
Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ร่วมสำรวจเส้นทางในการเลือกกินอาหารของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันที่มีเมนูมากมายถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนแทบทุกรูปแบบ พร้อมทั้งหาโอกาสและความเป็นไปได้จากอาหารแห่งอนาคตในวันที่เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางอาหาร
เพราะ “เรื่องกิน” เป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ทางเลือกในการกินของเราอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเสียทั้งหมด มาหาคำตอบกันว่า จริง ๆ แล้วเรามีอํานาจในการ “เลือกกิน” มากแค่ไหน และถ้ามีเงิน เราจะกินอะไรก็ได้ในโลกจริงหรือ
Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : กระแสรักสุขภาพจากโควิต สร้างโอกาสธุรกิจ SME
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com//Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf
กระแสรักสุขภาพ (Health Conscious) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และยิ่งการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวของการระวังป้องกัน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติใหม่ (New Normal) ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น
กระแสการตื่นตัวทางด้านสุขภาพได้รับความสนใจในประเทศไทย ยืนยันได้จากจำนวนคนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาของคนไทย พบว่า มีประมาณ 12.9 ล้านคน เทียบกับ 12.7 ล้านคน ในการสำรวจครั้งก่อน รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทำได้ง่ายผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบใหม่ โดยลูกค้าเป้าหมายกลุ่มรักสุขภาพที่มีความสำคัญ อาทิ
แต่ก่อนที่ผู้ประกอบการจะพิจารณาลงทุนในธุรกิจใด ๆ จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในช่วงนี้ ซึ่งมีดังนี้
เพื่อจะได้อาศัยองค์ความรู้ทางด้านการตลาด ลักษณะพฤติกรรมลูกค้าที่มีอยู่พอสมควร โดยที่ไม่ต้องไปเรียนรู้ใหม่ นอกจากนี้อาจใช้เครื่องมืออุปกรณ์ สถานที่รวมถึงฐานลูกค้าเดิมเพื่อนำมาใช้ต่อยอดธุรกิจ
ซึ่งต้องประกอบด้วยหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเว้นระยะห่างทางสังคม
แม้ว่าโควิด-19 ในไทยจะลดระดับความรุนแรงจนสามารถควบคุมได้ แต่คนทั่วไปยังคงระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยและต้องเข้าไปในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง โดยสินค้าหรือบริการที่จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าว อาทิ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังไม่ใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจะตอบโจทย์ความต้องการได้ ขณะที่ผู้ผลิตในประเทศอาจต้องพิจารณาความสามารถในด้านการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่เน้นคุณภาพ (จากญี่ปุ่น) หรือสินค้าที่เน้นด้านราคา (จากจีน)
สำหรับช่องทางการตลาดนั้น อาจต้องใช้ช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย อาทิ
- กลุ่มผู้สูงอายุ ขายผ่านร้านค้า มีจุดเด่นทางด้านการแนะนำวิธีการใช้ หรือคุณสมบัติที่ละเอียด
- กลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นช่องทางออนไลน์ที่ไม่ต้องการรายละเอียดวิธีใช้มากเท่ากลุ่มแรก
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น
- ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารที่บำรุงสุขภาพ อย่างอาหารเสริมและวิตามิน เครื่องดื่มสมุนไพร ที่น่าจะมีความต้องการสูงในช่วงนี้ ได้แก่ สินค้าที่ช่วยป้องกันหรือบำรุงสายตา เพื่อรองรับพฤติกรรมคนส่วนใหญ่
ที่อยู่บ้านมากขึ้น มีการติดตามสื่อออนไลน์ อาจกระทบต่อสุขภาพดวงตา
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น ฟิตเนส แต่อาจปรับในรูปแบบการเปิดคอร์ทสอน
การออกกำลังกายที่บ้านสำหรับคนรักสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งโดยปกติมักต้องพึ่งพาเทรนเนอร์ เพื่อแนะนำหรือดูแลการออกกำลังกายไม่ให้เกิดอันตราย อาจจะมีบริการให้เช่ายืมอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวก
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาตนเอง
โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น ได้แก่ อาหารที่ต้องทานในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าถึงหากถูกล็อกดาวน์จากการระบาดรอบใหม่ รวมถึงมั่นใจด้านคุณภาพ โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารทานที่บ้าน จากพฤติกรรมการอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้คนบางส่วนหันมาทำอาหารกินเอง
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักผลไม้ในพื้นที่ของตนเอง ตอบโจทย์ความกังวลต่อความปลอดภัยของสินค้าที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือขั้นตอนการปลูก รวมถึงลดการไปในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดสด และลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
ตลาดที่น่าสนใจในช่วงนี้ได้แก่ กลุ่มคนที่มีพื้นที่ว่างในเมือง ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว กลุ่มโรงงานที่ทำแบบสวัสดิการพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการแต่ละตลาด ตามปัจจัยที่แตกต่าง
ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพอื่นๆ
โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเอง ที่ไปกระทบกับธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักในครัวเรือน รวมถึงในชุมชนหรือโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน อาทิ การปลูกพืชผักออแกนิกส์สำหรับคนรักสุขภาพ หรือธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการอาหารสุขภาพ
แม้ว่าธุรกิจบางประเภทจะมีปัจจัยสนับสนุนความต้องการ แต่อาจมีปัจจัยแวดล้อมบางประการที่ยังไม่เหมาะสม อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หากมีการกลับมาระบาดรอบ 2 จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางด้านการท่องเที่ยวได้
เพื่อรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้
การนำเสนอสินค้าที่จับต้องได้ เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริมหรือวิตามิน
การสร้างกระแสให้เกิดความต่อเนื่อง แม้ว่าโควิด-19 จะคลี่คลายแล้ว แต่หลาย ๆ เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สามารถนำมาขยายหรือต่อยอดได้ เช่น การสอนออกกำลังกายออนไลน์
การร่วมมือเป็นพันธมิตร สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกระแสการพึ่งตนเอง อาทิ ธุรกิจที่ปลูกพืชผัก
สุขภาพ
การเตรียมความพร้อมธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่น่าจะเป็นจุดขายหลังโควิดคลี่คลาย
Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย