6 ข้อดีของการทำระบบบัญชีออนไลน์

หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried สมการทำธุรกิจแบบ WIN - WIN  
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Oct-2018.aspx

ข้อจำกัดของการทำบัญชีระบบเดิมที่มีมากมาย เช่น การรวบรวมข้อมูลตัวเลขที่กระจายอยู่กับฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งยากต่อการอัปเดต ยิ่งนานวันเอกสารที่สะสมเพิ่มจำนวนทำให้การปิดงบล่าช้า ส่งผลหลาย ๆ เรื่องหนัก-เบา ต่างกันไป เช่น ถูกสรรพากรตรวจสอบต้องจ่ายภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับมหาโหด หรือลูกน้องคนขยันโกงเงิน กลายเป็นปัญหาที่วนเวียนแบบนี้ปีแล้วปีเล่า 

 

ปัญหาจากการทำระบบบัญชีแบบเดิม

บัญชีภายใน

  • หากเจ้าของกิจการต้องการดูบัญชีกำไร-ขาดทุน อาจจะได้เห็นเพียงตัวเลขคร่าว ๆ เพราะตัวเลขกระจายอยู่กับฝ่ายต่างๆ และไม่อัปเดท 
  • หลายฝ่ายจะอ้างได้ว่างานเยอะ คนไม่พอ ไม่มีเวลาบันทึกเอกสารที่กองอยู่บนโต๊ะ
  • ปัญหาอีกอย่างที่ตามมาคือ พนักงานบัญชีทั้งระดับหัวหน้าและลูกน้องผลัดกันเข้า-ออกเพราะทนต่อความกดดัน
  • ในการทำงานไม่ไหว หากโดนตามงานมาก ๆ และทำได้ไม่ทัน

บัญชีชุดสรรพากร

  • การสะสมเอกสารไว้จนปลายปีแล้วค่อยมาปิดบัญชี งบการเงินจึงได้ล่าช้าแบบเส้นยาแดงผ่าแปด อาจจะได้ใน 2-3 วันสุดท้ายก่อนเส้นตายของการยื่นงบ 
  • ไม่มีเวลาตรวจสอบเอกสาร หรือถึงแม้ตรวจสอบไปก็แก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว
  • ปัญหาหนักที่อาจเกิดขึ้นคือจากการแก้ไขไม่ทันคือ อาจถูกสรรพากรตรวจสอบ แล้วให้จ่ายภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับมหาโหด
  • อาจมีลูกหนี้คงค้างจำนวนมากแต่ไม่รู้ตัว เพราะบัญชีไม่อัปเดทจึงตามสถานการณ์ไม่ทัน

 

ขอเพียงนับหนึ่ง เริ่มต้นปฏิวัติการทำบัญชีชุดเดียวบนโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

  1. เริ่มต้นด้วยการใช้ระบบบัญชีบนคลาวด์ (Cloud) ที่สามารถบันทึกหรือเลือกดูข้อมูลได้จากหลากหลายอุปกรณ์ (คอมพิวเตอร์, มือถือ, แล็ปท็อป, แท็บเล็ต) และจากมุมไหนของโลกก็ได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  2. งานจากทุกฝ่าย (ฝ่ายขาย จัดซื้อ ฯลฯ) สามารถบันทึกบนโปรแกรมเดียวกันหรือโปรแกรมอื่นที่สามารถโอนข้อมูลมายังโปรแกรมบัญชีได้เลยโดยไม่ต้องมาบันทึกซ้ำ ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ลดงานซ้ำซ้อน
  3. ฝ่ายบัญชีก็มีงานเบาบางลงเพราะไม่ต้องบันทึกงานซ้ำซ้อน เพียงแต่ตรวจสอบและใส่รหัสบัญชี และปรับระบบให้นักบัญชีฝีมือดีที่เป็นคนรุ่นใหม่เลือกทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเข้างาน 8 โมงเช้าและต้องทนนั่งแช่ถึง 5 โมงเย็น ขอให้งานเสร็จตามกำหนดเท่านั้น เพื่อจูงใจให้เขาทำงานกับเรานาน ๆ
  4. ผู้บริหารก็สามารถเรียกดูตัวเลข รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ค้างชำระ หรือแม้กระทั่งงบกำไรขาดทุนได้เองจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ และมีตัวเลขที่เป็นปัจจุบันทันต่อการตัดสินใจ
  5. ส่วนสำนักงานบัญชีก็สามารถออนไลน์เข้ามาตรวจเอกสาร เพื่อนำไปยื่นภาษีอย่างครบถ้วนถูกต้องและสามารถปิดตรวจสอบและบัญชีให้ได้ทุกเดือนโดยไม่ต้องเสียเวลาบันทึกซ้ำ จึงทำให้ปิดงบได้รวดเร็วตอนสิ้นปี มีเวลาให้ผู้บริหารตรวจสอบก่อนยื่นเสียภาษี
  6. กรมสรรพากรก็สบายใจได้เป้าของผู้เสียภาษีที่ทำบัญชีชุดเดียวตามนโยบาย

 

 

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

พิชิตรายได้ธุรกิจอาหาร จากตลาดออร์แกนิก

หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried นวัตกรรมนำความล้ำ ทำให้ชีวิตง่าย ขยายโอกาสธุรกิจ 
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2018.aspx

 

 

วิถีชีวิตผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจกับสุขภาพและอาหารการกินที่ดีมากขึ้น ทำให้มูลค่าสินค้าออร์แกนิกเฉพาะในไทยสูงถึงเกือบ 3 พันล้านบาท และมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เช่น 

  • ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560-2564 
  • อุตสาหกรรมในอนาคตกลุ่ม S-Curve เช่น อุตสาหกรรมเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 

น่าจะทำให้อุปสงค์และอุปทานตลาดออร์แกนิกในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

 


 

5 ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีบทบาทในตลาดออร์แกนิก

นอกเหนือจากสินค้าออร์แกนิกรูปแบบเดิม ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาดแล้ว มีการคาดการณ์ว่า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกที่มาพร้อมนวัตกรรมและตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคหรือการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดออร์แกนิกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มต่อไปนี้

  1. กลุ่มอาหารออร์แกนิกแปรรูปขั้นสูง เช่น กลุ่มซูเปอร์ฟู้ด, กลุ่มอาหารปราศจากสารกันบูด/กลูเตน/สารแต่งสี และพวกผงสกัดจากพืช
  2. อาหารออร์แกนิกเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับเด็ก ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ (เช่น นมออร์แกนิกแคลอรีต่ำ)
  3. อาหารเสริมและวิตามิน เช่น สารสกัดจากพืชออร์แกนิกที่ช่วยบำรุงร่างกายและความงาม
  4. เครื่องดื่มออร์แกนิก เช่น กลุ่มเครื่องดื่มที่เติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม
  5. อาหารออร์แกนิกพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวออร์แกนิกฟรีซพร้อมอุ่น สแน็กบาร์จากธัญพืชออร์แกนิก อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิก

 


 

3 กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

  1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Millennial) มีกว่า 20 ล้านคน พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนี้คือ
  • ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงหันมาเอาใจใส่สุขภาพตนเองและคนในครอบครัว
  • เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจซื้อง่าย
  • ชอบจับจ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล
  • สนใจติดตามผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ รวมถึงการใช้ชีวิต ผ่านโซเชียลมีเดีย และนำมาปรับใช้ในชีวิต
  1. กลุ่มผู้สูงอายุ (Aging-Society) จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี พ.ศ.2561เป็น 13% ในปี พ.ศ.2563 ทำให้ประชากรกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางขึ้นไปและมีกำลังซื้อสูง
  • มีลูกหลานดูแลผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
  • ปัจจุบันจะเริ่มเห็นมีการใช้โซเชียลมีเดียด้วยตัวเองมากขึ้น เพื่อการสื่อสารหาข้อมูลและสั่งซื้อสินค้า
  1. กลุ่มผู้ป่วย ผู้คนในปัจจุบันเผชิญกับความเครียดจากการทำงานและการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสังคมเมือง มีการสะสมสารพิษในร่างกายจากภาวะแวดล้อม จึงต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

 


 

3 ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิก

1. ราคาจับต้องได้-ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • มองหาสินค้าที่ดีกับสุขภาพ แต่ต้องเหมาะสมกับราคา
  • มักซื้อสินค้าจากการบอกต่อของคนใกล้ตัว
  • ชอบทดลอง ดังนั้นควรมีขนาดเล็ก ราคาไม่สูง ถ้าดีจะกลับมาซื้อซ้ำ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • ตั้งราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • ต้องหาซื้อได้ง่ายและมีขนาดทดลอง

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มแม่บ้านที่จับจ่ายของเข้าบ้าน

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

 

2. เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • นิยมใช้สมาร์ทโฟนสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ทำอาหารเองน้อยลง รับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
  • เลือกสินค้าจากคุณภาพ ความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มคนเมืองรายได้ปานกลางขึ้นไป

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

 

3. มุ่งเน้นคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ให้คุณค่าเฉพาะ (Functional Food Product)

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • ปัจจัยด้านราคาเป็นรองเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพ
  • มักหาข้อมูลจากคนใกล้ตัว และสื่อต่าง ๆ
  • คนซื้อส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่ หรือลูกหลานของคนในครอบครัว
  • ให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานระดับสากล

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม
  • มีใบรับรองมาตรฐานสินค้า
  • ให้ข้อมูลสินค้าเชิงลึกกับลูกค้าได้
  • จำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • กลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็ก-ผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ
  • กลุ่มนักท่องเที่ยว
  • กลุ่ม Expat และครอบครัว

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ
  • กลุ่มอาหารซูเปอร์ฟู้ด เช่น เมล็ดเชีย
  • ผลสกัดจากผักและผลไม้ออร์แกนิก
  • อาหารกลุ่มฟรีฟอร์ม (ปราศจากสารกันบูด/สารแต่งสี/กลูเตน) เช่น เส้นพาสตาปราศจากกลูเตน
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/เดลิเวอรี
  • อื่นๆ เช่น สินค้าออร์แกนิกต่าง ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

 


 

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในตลาดออร์แกนิก

การจะอยู่ในธุรกิจออร์แกนิกนั้น นอกเหนือจากการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์แล้ว ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการยังขึ้นอยู่กับ

1) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เช่น การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก จากองค์กรหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ การรีวิวจากผู้บริโภค/ผู้ใช้จริง

2) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งในเรื่องของนวัตกรรมอาหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารออร์แกนิกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (ฟรีซพร้อมอุ่นสำหรับสังคมเมือง) ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ (สำหรับกลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก) อาหารออร์แกนิกกลุ่มฟรีฟอร์ม (สำหรับคนแพ้กลูเตน) เป็นต้น

3) การเพิ่มช่องทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น 

  • การทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์/โซเชียลมีเดีย
  • การชำระเงินที่รวดเร็วและทันสมัย เช่น การชำระเงินผ่าน Mobile Banking
  • การขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เช่น บริษัทขนส่งเอกชนที่เพิ่มบริการส่งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ในลักษณะเฉพาะในรูปแบบฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร (Farm to Table) ส่งตรงถึงผู้บริโภค

 

 

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน ลดหย่อนเงินสมทบของนายจ้าง-ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ความว่า

เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติร้ายแรง กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับมีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มิให้นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ อันส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในท้องที่ประเทศไทย จึงควรลดหย่อนการออกเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละสองของค่าจ้างของผู้ประกันตน

ข้อ 2 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละเก้าสิบหกบาท

ข้อ 3 ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้าง หรือผู้ประกันตนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

สุชาติ ชมกลิ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ขอเรียนเชิญร่วมลงทะเบียนทำแบบสำรวจความคิดเห็น ธนาคารระหว่างประเทศ (EXIM Bank )

ตามที่ธนาคาร  ร่วมกับบริษัทของท่านและผู้ประกอบการด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์  เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของธนาคาร  มาเป็นระยะเวลาหนึ่งธนาคารขอความร่วมมือในการขอความเห็นของทุกท่าน

เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมโอกาสทางการตลาดสำหรับแอพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์สู่กลุ่ม SMEs ไทย เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องสอบถามข้อมูลตามลิ้งที่แนบนี้ 

https://docs.google.com/forms/d/1ZkGAioEEIoFaps_nvRJ5hbwHrBCyKPRAQR1U3tNn3Y8/edit

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

บทความแนะนำ

“วันนี้กินอะไรดี” : นิตยสารคิด (Creative Thailand)

ร่วมสำรวจเส้นทางในการเลือกกินอาหารของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันที่มีเมนูมากมายถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนแทบทุกรูปแบบ พร้อมทั้งหาโอกาสและความเป็นไปได้จากอาหารแห่งอนาคตในวันที่เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางอาหาร
เพราะ “เรื่องกิน” เป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ทางเลือกในการกินของเราอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเสียทั้งหมด มาหาคำตอบกันว่า จริง ๆ แล้วเรามีอํานาจในการ “เลือกกิน” มากแค่ไหน และถ้ามีเงิน เราจะกินอะไรก็ได้ในโลกจริงหรือ

Published on 11 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ