สถาบันไทย-เยอรมัน

สถาบันไทย-เยอรมัน (Thai-German Institute) หรือ TGI จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเป็นองค์กรนำในการเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยการยกระดับเทคโนโลยี นวัตกรรมและบุคลากร รวมทั้งเครื่องจักรกลและแม่พิมพ์ ให้สามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

ช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการโดยการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติเพื่อสามารถกลับไปประยุกต์ใช้งานจริงได้ เช่น การให้คำแนะนำด้านการผลิต และเทคโนโลยี เหมาะกับ  ผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตภาคอุตสาหกรรม 

สถาบันไทย-เยอรมัน  มีบริการหลักเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดังนี้

1.การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี อย่างเช่น เรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องจักร  ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร CNC  การออกแบบเครื่องจักรให้ผลิตได้จำนวนมากขึ้น  งานวิเคราะห์ความเสียหายของอุปกรณ์หลังเกิดเหตุ  ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร โดยนำผลการวิเคราะห์พฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นของเครื่องจักร โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ

2.
การบริการอุตสาหกรรม เช่น บริการทดสอบและสอบเทียบ การทดสอบวัสดุ รวดเร็ว/ราคาถูก/ผลทดสอบพร้อมตีความผลพร้อมคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการผลิต รับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร รับผลิตชิ้นงานเพื่อวิจัย ฯลฯ

3.รับออกแบบและผลิตชิ้นงาน ออกแบบและสร้างระบบอัตโนมัติ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร  แม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปพลาสติก แม่พิมพ์ต้นแบบ  แม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะ การทำชิ้นงานต้นแบบจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (แต่ทั้งนี้ไม่ได้ไปแข่งกับภาคอุตสาหกรรม) ออกแบบเครื่องจักรกล  งานเชื่อมโลหะและประสานโลหะ 

4.เทรนนิ่งและสัมมนา ทั้งทางด้านการจัดการ และ ทางด้านเทคนิค (เพื่อสร้างฝึกผู้สอน)

5.บริการงานวิจัยส่วนของงานภาครัฐ

ลูกค้าภาคเอกชนและผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมฝึกอบรม สัมมนาได้ ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภาคธุรกิจ เนื่องจากนโนบายจากภาครัฐที่สนับสนุนแต่ละปีไม่เหมือนกันโดยพัฒนาต่อยอดแก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต และหลังจากอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มเข้ามาพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น เข้ามาขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน ว่าต้องมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไรต่อไป 

ด้วยความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ของสถาบันไทย-เยอรมัน ทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และนำความรู้ไปสอน จากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ และนำไปประยุกต์การทำงาน สร้างความเชื่อถือให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันไทย-เยอรมันเพื่อเข้าคอร์สฝึกอบรม ได้ที่ https://www.tgi.or.th/app/register/personal และเลือกดูตารางการอบรมที่ https://www.tgi.or.th/ หรือติดต่อทางศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง สถาบันไทย-เยอรมัน (ศูนย์กรุงเทพฯ) อาคารปฏิบัติการ A สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน 86/6 ซอยตรีมิตร ถ.พระราม4 แขวงกล้วยน้ำไท เขตคลองเตย จ.กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทร  038-215033-39, 033-266040-44
E-mail 
crm_dept@tgi.mail.go.th

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ (บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี) สวทช.

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. หรือ BIC เป็นหน่วยงานรัฐภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการและ Start Up ด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืน สำหรับผู้ประกอบการที่มีไอเดียแล้วต้องการต่อยอดธุรกิจ หรือ พบเจอปัญหาด้านเทคโนโลยีหรือการดำเนินงานทางธุรกิจแล้วต้องการแก้ปัญหา ทางศูนย์จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจก่อน  ไม่ว่าจะเป็นบริการสำหรับผู้ประกอบการทุกรูปแบบทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแม้แต่เว็บไซต์ การวางแผนธุรกิจ การพัฒนาสินค้า จับคู่ที่ปรึกษา ไปจนถึงการหาแหล่งเงินทุน โดยมุ่งเน้นที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของตนเอง เช่น Software, Material, Machinery, Medical, Agricutural,Electronics, Energy ฯลฯ เน้นการช่วยแก้ปัญหาธุรกิจ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยขึ้นตรงกับรัฐ มีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการหลายโครงการ เช่น โครงการเถ้าแก่น้อย , Startup ​Voucher , Bio Based Start-Up เพื่อสร้างรายได้ เกิดการจ้างงาน และการลงทุนให้กับประเทศ 

บริการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช. ประกอบด้วย การให้คำปรึกษา การจับคู่ธุรกิจ สถานที่ทำงาน การอบรมความรู้ด้านธุรกิจ การประสานแหล่งทุน การออกบูธแสดงสินค้า การวิเคราะห์ธุรกิจ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Software IT หรือ ผู้ประกอบการที่ต้องการทำzero waste ตัวอย่างผู้ประกอบการที่เคยมาใช้บริการ ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร  ผู้ประกอบการธุรกิจขายออนไลน์ E-commerce Marketplace


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. บ่มเพาะธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

1 Product Incubation พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา

2 Business incubation

BIC มีโครงการและกิจกรรมมากมาย ที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและ Start Up เช่น โครงการอบรมผู้ประกอบการที่ยังไม่มี Product หรือกลุ่มเริ่มต้นธุรกิจ โดยเริ่มสอนตั้งแต่ การทำบัญชี ภาษี องค์ประกอบธุรกิจ ศึกษาตลาด รู้จักกลุ่มเป้าหมาย การทำตลาด การสร้างองค์กร กำหนดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงการตลาด เชื่อมโยงที่ปรึกษา แหล่งทุน พาไปออกงาน ได้ฝึกทำ Business Model ได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง

BIC  มีแพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งที่เข้าโคงการและไม่ได้เข้าโครงการ คือ Start Up ​Voucher เป็นการมอบทุนที่ช่วยให้ทำการตลาด โดยมอบเงินสนับสนุน 75% เพื่อช่วยในการทำตลาด จากเงินทุน 800,000 บาท โดยต้องสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ต้องทำสัญญา

BIC  มีโครงการเถ้าแก่น้อย เทคโนโลยี มีการร่วมมือกับกลุ่ม สามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้จัดการประกวดนวัตกรรม และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย

บริการอื่น ๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช.

  1. งานวิจัยต้นน้ำ เช่น ข้าวที่สามารถปลูกในน้ำได้ , ไส้กรอกที่ไร้มันแต่ยังคงความกรอบเด้ง , มีจุลินทรีย์ให้เข้ามากศึกษากว่า30,000สายพันธุ์
  2. โครงการอบรม สำหรับผู้มีชิ้นงาน ให้ทำการวางแผนธุรกิจ Business Model Canvas เช่น ขายอะไร ขายยังไง กำไรเท่าไร ต้นทุนเท่าไร
  3. สามารถเช่าพื้นที่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ หรือ เช่าพื้นที่ทำหน้าร้านที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี
  4. รองรับการทำงานวิจัยพัฒนา สามารถยื่นจดทะเบียนงานวิจัยได้แม้จะมีเงินทุนไม่สูงมาก
  5. ภาษีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารต่าง ๆ จะมีการขั้นตอนพิจารณา สามารถลดหย่อนภาษีได้

ยังมีส่วนให้การสนับสนุน Start Up สามารถเช่าพื้นที่ในราคาที่ผู้ประกอบการ สามารถมีหน้าร้านได้  พอธุรกิจ Start Up แข็งแรงพอก็สามารถออกไปเปิดเป็นกิจการจริงภายนอกได้ต่อ  ถือว่าศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่ตั้งไข่ถึงเดินได้ในตลาด โดยเน้นไปที่ Science and Technology สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ มากมายได้ที่ Website : https://www.nstda.or.th/bic/project  , Facebook : https://www.facebook.com/NstdaBIC หรือติดต่อทาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี 12120    โทรศัพท์ 0-2564-7000 Call Center 0-2564-8000

e-mail : info@nstda.or.th

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (OSSC) เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย และการตรวจชันสูตรเพื่อเป็นการสนับสนุนการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาล
      
              ซึ่งในปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีหน่วยงานที่ให้บริการดังกล่าวกระจายอยู่ตามอาคารต่างๆ ทั้งสิ้น 10 อาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปต่างต้องเสียเวลา ไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ามาติดต่อและรับบริการ จากหน่วยงานให้บริการต่างๆ

ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้จัดตั้ง ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือศูนย์รวมบริการ

             (One Stop Service Center : OSSC) เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แก่ประชาชนผู้ที่มาติดต่อส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการขอรับคำปรึกษา การยื่นคำขอ การขอรับใบอนุญาตรับรอง การชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการตลาดและการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว


One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (OSSC) ให้บริการผู้ประกอบการSMEหรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการยกระดับมาตรฐานเพื่อเป็นผู้ประกอบการSME ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยผู้ประกอบการต้องขอข้อมูลจากทางอย. มาก่อนว่าสินค้าต้องตรวจอะไร  และทางศูนย์จะวิเคราะห์ ออกผลให้ รวมทั้งติดตามผล ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถใช้บริการได้ เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการที่เน้นการผลิตด้านอาหาร เครื่องสำอางค์ ยา

            โดยในระยะเริ่มต้นนี้จะให้บริการ รับตัวอย่างเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์สารและรับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อันประกอบด้วยด้านอาหาร ยา ชีววัตถุ เครื่องสำอาง รังสี เครื่องมือแพทย์ และสมุนไพร ยกเว้น วัตถุเสพติด โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากLABต่างๆ มารอรับตัวอย่างและให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปยื่นเพื่อขอรับอย. โดยจะรับตรวจผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภท เช่น ด้านอาหาร , ยา , การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , อาหารในภาชนะปิดสนิท , เครื่องสำอาง , ครีมกันแดด , ครีมทาหน้าขาว , ยา , เจลแอลกอฮอลล์ , วัตถุอันตราย รวมไปถึงตรวจวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ว่าไม่มีสารตกค้าง และปลอดภัยตามมาตรฐานอย. เช่น จุกยางนม , กระป๋อง , แก้วน้ำ 

มีบริการตรวจเช็คความปลอดภัยของตัวสินค้าผ่านการผลิต คือ อันดับแรกจะดูสารเคมีหรือจุนลินทรีย์ในวัตถุดิบว่ามีสารปนเปื้อนไหม ตลอดจนตัวบรรจุภัณฑ์ รวมถึงความปลอดภัยในขั้นตอนการผลิต และเฝ้าระวังติดตามผลภายหลัง เคสตัวอย่างเรื่องความปลอดภัยที่เคยตรวจ เช่น ตัวน้ำดื่มบรรจุขวด , เคสซูชิเรืองแสง , ราในน้ำผลไม้กล่อง

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะนำผู้ประกอบการที่จะส่งตัวอย่างเพื่อขอใบอนุญาติ อย. ให้ไปปรึกษากับทางอย.ก่อนเพื่อจะมาขอรับการตรวจมาตรฐาน ผู้ประกอบการจะได้รู้ว่าต้องเอาผลตรวจอะไรไปขอใบอนุญาติ อย. แต่สำหรับผู้ประกอบการที่จะมาตรวจเพื่อตรวจสอบคุณภาพ สามารถขอคำแนะนำที่ศูนย์ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีการส่งตัวอย่าง แบบขอตรวจออนไลน์ และสามารถส่งตัวอย่างผ่านไปรษณีย์ หรือบริษัทเอกชน โดยสามารถดูผลตรวจได้ที่ E-Report เพื่อเพิ่มช่องทางการตรวจให้ผู้ประกอบการ

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังมีโครงการสนับสนุนช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งสินค้าและเครื่องสำอาง OTOP ตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มจุดที่ขาดเพื่อให้สินค้าได้มีมาตรฐาน เป็นส่วนช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ 


ผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจ หลังจากศึกษารายละเอียดที่ต้องตรวจจากทางอย. แล้วให้นำตัวอย่าง  ใบประกาศ ใบนำส่ง แล้วแจ้งรายละเอียดกับทางศูนย์ว่าต้องการตรวจอะไรบ้างตามมาตรฐานอย. สามารถติดต่อด้วยตัวเองได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่อยู่ : 88/7 ซอยบำราศนราดูร ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือที่ศูนย์ใกล้เคียง 16 ศูนย์ทั่วประเทศ หรือกรอกใบนำส่งตัวอย่างออนไลน์ที่เว็บไซต์และส่งตัวอย่างผ่านขนส่ง

โทรศัพท์ : 0-2951-0000,0-2589-9850-8 . โทรสาร : 0-2591-1707 . E-mail : prdmsc@dmsc.mail.go.th

เว็บไซต์ https://www3.dmsc.moph.go.th/ 

หมายเหตุ ราคาและระยะเวลาขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

 

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า (EXIM Excellence Academy : EXAC) เป็นหน่วยงานส่วนหนึ่งภายใต้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้บริการผู้ประกอบการแบบ One Stop Service เพื่อดูแลผู้ส่งออกหรือนักลงทุนไทยเรื่องการลงทุนในต่างประเทศ

ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบริการ มีทั้งให้คำปรึกษา ให้ความรู้ แนะนำการลดความเสี่ยงส่งออก และสนับสนุนทางการเงิน  การให้สินเชื่อ ประกันการส่งออก เพื่อยกระดับความสามารถผู้ประกอบการ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นจะทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่ส่งออกอยู่แล้วแต่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายตลาดให้กว้างไกลมากขึ้น 

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า มีหน้าที่ให้ความรู้ อบรม ให้คำแนะนำเพื่อสร้างโอกาสและธุรกิจในการส่งออก ต่อยอดความรู้ต่างๆ จากคนที่ไม่เคยส่งออกให้มีความรู้ในการส่งออกได้ สามารถเข้าขยายตลาดไปยังประเทศที่ยากขึ้นและประสบความสำเร็จมากขึ้น เน้นมุ่งไปสู่เป้าหมายของการ “บ่มเพาะ ต่อยอด สร้างโอกาส ”

แบ่งออกเป็นหน้าที่หลัก 3 เรื่อง

1.บ่มเพาะ : EXAC จะช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกรายใหม่ และผู้ส่งออกที่มีตลาดส่งออกแล้ว ให้เริ่มต้นการส่งออกได้เร็วกว่าที่จะต้องเริ่มด้วยตนเอง  ให้ความรู้การทำธุรกิจกับต่างประเทศ เรื่อง Logistic ศุลกากรและภาษี อาทิ กลยุทธ์การค้าระหว่างประเทศ การบริหารเงินในธุรกิจส่งออก แนะนำการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสู่ตลาดสากล  มีการจัดกิจกรรมสัมมนาและเวิร์คชอปเพื่อให้ความรู้ผู้ประกอบการในเรื่องการส่งออกอย่างครอบคลุม 

Workshop : การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ผู้ประกอบการจะได้รับประสบการณ์จากการร่วมกันฝึกพัฒนาทักษะและการปฏิบัติจริง ในเรื่องของวิธีการจัดการ การวางแผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์  ฯลฯ 

สัมมนา : เสริมสร้างความรู้ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ และเอกชน มาให้คำปรึกษา แนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการส่งออกแก่ผู้ประกอบการในทุกมิติ

2.ต่อยอด : เพิ่มศักยภาพทางการเงินให้กับผู้ประกอบการทางด้านการลงทุน ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินให้สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการสินเชื่อการส่งออก นำเข้า สินเชื่อผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก หรือสินเชื่อเพื่อขยายกำลังการผลิต 

3.สร้างโอกาส : ให้ประกันความเสี่ยงในการส่งออก คือการทำประกันการส่งออกนั่นเอง โดยสำหรับกลุ่ม START UP ทาง EXAC จะมีทั้งสินเชื่อและบริการออกหนังสือค้ำประกันการส่งออก เอกสารต่างๆ เช่น หนังสือค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advance Payment Bond)  ซึ่งถือเป็นบริการที่สำคัญมาก บางครั้งผู้ประกอบการอาจจะกังวลเกี่ยวกับการค้าส่งออกไปต่างประเทศแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ซึ่งบางทีอาจจะเป็นการเสียโอกาสที่จะเปิดเส้นทางธุรกิจใหม่ๆกับกลุ่มประเทศใหม่ๆที่มีความต้องการสินค้าและกำลังการซื้อสูง เพราะฉะนั้นการมีบริการประกันการส่งออก จึงเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจและโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs หน้าใหม่ได้ รวมทั้งให้บริการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจากความผันผวนในตลาดโลกด้วย 




นอกจากนี้ทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้ายังรับเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจแฟรนไชร์เพื่อการส่งออกไปในหลายๆสาขาในต่างประเทศ เรื่องการทำสัญญาต่างๆ ซึ่งบริการทั้งหมดของทาง EXAC เป็นการต่อยอดและผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจการส่งออกกับต่างประเทศให้มีศักยภาพและความมั่นคง เข้มแข็งในตลาดโลกต่อไป

ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการลงทุนในต่างประเทศหรือมีความสนใจที่จะลงทุน และต้องการที่ปรึกษาด้านการเงินสามารถเข้ามาใช้บริการกับทางศูนย์ได้ที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า EXAC : EXIM Excellence Academy ชั้น L อาคารเอ็กซิม 1193 ถนน พหลโยธิน แขวงพญาไท กรุงเทพ ฯ 10400 ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลที่ 0 2 271 3700 ต่อ 3502  หรือ  E-mail :exac.exim.go.th



Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย







บทความแนะนำ

 

 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาความเข็มแข็งของผู้ประกอบการในพื้นที่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นบริการแก้ปัญหากระบวนการผลิต แผนการตลาด เช่น มีผลิตภัณฑ์แต่ไม่รู้ขายใครดี หรืออยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์จะเน้นในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์  การออกแบบโลโก สื่อสิ่งพิมพ์ ตราสัญลักษณ์ รวมถึงบริการงานวิจัย บริการวิเคราะห์ค่าเบื้องต้น เช่น ค่าความชื้นในบรรจุภัณฑ์กระป๋อง  ค่าสี หรือผลิตภัณฑ์ตัวนี้เก็บได้นานเท่าไร เหมาะกับสินค้าหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอาง เกษตรแปรรูป อาหาร หรือการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น ผลงานการทำเซรั่มจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม เหมาะกับผู้ประกอบการSME ทุกประเภทโดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอาง เกษตรแปรรูป อาหาร

 

SCI-Park มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีบริการ ดังนี้ 

1.การบริการออกแบบนวัตกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เน้นที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ สัญลักษณ์ เครื่องหมายทางการค้า สื่อสิ่งพิมพ์และงานออกแบบอื่น ๆ ตลอดจนการเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภท  

2.บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง บริการออกหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตาม มอก.17025(ISO/IEC 17025)

3.บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการ ให้บริการห้องปฏิบัติการแก่ภาคอุตสาหกรรม และเร็วๆนี้จะมี ห้องปฏิบัติการซัลเฟอไดร์ออกไซด์ ได้รับรองมาตรฐาน ISO17025 คือ ตรวจสารตกค้างในผลิตภัณฑ์เช่น ของหมักดอง มะม่วงแช่อิ่ม วัตถุกันเสีย 

4.บริการอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัย

5.บริการเทคโนโลยีการพิมพ์ ดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์โดยทางศูนย์ฯ จะประสานจัดหาโรงพิมพ์และบริษัทผู้ผลิตให้

6.ให้บริการความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การออกแบบและการตลาด 

                  นอกจากนี้ยังมีการให้บริการและคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลเพื่อจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา (IP creation) ให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา  การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสำรวจแนวโน้มเทคโนโลยีหรือทำแผนที่ สิทธิบัตร การให้คำปรึกษางานทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมกับงาน

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถนำแนวคิด หรือ ผลิตภัณฑ์เข้ามาต่อยอดที่ศูนย์อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ห้องโครงการจัดตั้งกองจัดการทรัพย์สินและสวัสดิการ  ชั้น 2 อาคารพิบูลวิชญ์ (ตึก ร.)
156 หมู่ 5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 ช่องทางติดต่ออื่นๆ โทรศัพท์ : 0 5526 7000 # 8733 , โทรศัพท์มือถือ : 064 019 1411 , Email: sciencepark@psru.ac.th , Facebook : facebook.com/scienceparkpsru

Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ