ส่อง 4 สินค้า SME ไทยหลากสไตล์ที่ชั้นวางสินค้าร้านเซเว่นฯ

 

ต้องยอมรับว่าตอนนี้มาตรฐานของสินค้า SME ไทย พัฒนาไปไกลมาก สินค้าหลายๆ ชิ้น ถ้าไม่บอกก็นึกว่าเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้า SME จาก 4 ราย ที่เราจะพาไปทำความรู้จักกันในวันนี้ ได้แก่ ข้าวโพดหวานพันธุ์ฮอกไกโด, บะหมี่ถ้วยร้อน, ต๊อกบกกี และน้ำส้มคั้นสด 100% ตรา ShinSen (ชินเซน) ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ต่างก็มีสไตล์และความโดดเด่น แปลกตาไม่เหมือนใคร ผ่านการพัฒนาจนมีมาตรฐานระดับพร้อมโกอินเตอร์

 

เริ่มกันที่ “ข้าวโพดหวานพันธุ์ฮอกไกโด” แม้ว่าชื่อจะเป็นญี่ปุ่น แต่ปลูกจากสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ไทยแท้ 100% รสชาติไม่แพ้แหล่งต้นกำเนิด ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นคือ ทานสดได้ ไม่ต้องนึ่งหรือต้ม ทานแล้วไม่อืดท้อง เนื่องจากมีปริมาณน้ำสูงถึง 75-80% และมีปริมาณแป้งเพียง 10-20% เท่านั้น เมล็ดโตแน่นเต็มฝัก เนื้อกรอบ รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมละมุนแบบธรรมชาติ มีให้ตามล่าได้ในเซเว่น กว่า 7,000 สาขาทั่วประเทศ และช่องทาง 7-Delivery

ศุภธนิศร์ ภูเวียงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูเวียงเวจแอนด์ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าข้าวโพดหวานพันธุ์ฮอกไกโด กล่าวว่าข้าวโพดหวานพันธุ์ฮอกไกโดเริ่มวางจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น ครั้งแรกเมื่อช่วงต้นปี 2564 ด้วยยอดจัดส่งเพียง 4,000 ฝักต่อวัน ปัจจุบันยอดจัดส่งอยู่ที่ 8,000-9,000 ฝักต่อวัน ราคาขายอยู่ที่ 35 บาทต่อฝัก โดยมีซีพี ออลล์ เป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยดูแลในเรื่องการรักษาและควบคุมคุณภาพสินค้าแพ็คเก็จจิ้ง

“สินค้า SME จะเติบโตได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องการควบคุมคุณภาพและการทำการตลาด หากสินค้าไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน ก็จะไม่เกิดการซื้อซ้ำ หรือทำการตลาดไม่ถูกวิธี ก็ไม่ก่อให้เกิดยอดขายใหม่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องหาผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำปรึกษาทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน”ศุภธนิศร์ กล่าว

ในอนาคตมีแผนที่จะเพิ่มประเภทสินค้า สู่ข้าวโพดหวาน 2 สี (ขาว-เหลือง) ข้าวโพดหวานแดงข้าวโพดหวาน 3 สี (แดง-เหลือง-ม่วง) พร้อมทั้งหาช่องทางขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีลูกค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศออสเตรเลียให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา

 

สินค้าลำดับถัดมาที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กันคือ “ถ้วยร้อน” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อนเองได้ ไม่ต้องต้ม ไม่ต้องเวฟ แค่เติมน้ำเปล่า เจ้าแรกในประเทศไทย ที่เติบโตในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมาพร้อมกับหลากหลายรสชาติทั้งสไตล์ไทยและจีน อาทิ หม่าล่า แจ่วฮ้อนแซ่บ ชาบูน้ำดำ แต่ด้วยตัวสินค้าที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของสินค้ากระแสมาไวไปไว ไม่สามารถสร้างการเติบโตแบบยั่งยืนได้ กิตติพงษ์ สุขเคหา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิท เบสท์ ฟู๊ด จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ถ้วยร้อน” จึงตัดสินใจนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น

“การได้เข้ามาจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น ทำให้เราได้ทราบความต้องการซื้อจริงของตลาด วันนี้เรามียอดขายจากเซเว่น อีเลฟเว่น อยู่ที่ประมาณกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปลายเดือน ก.ค.นี้คาดว่าจะมีสินค้าเพิ่มอีก 1 รสชาติ และจะพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองอย่างต่อเนื่อง” กิตติพงษ์ กล่าว

 

อีกหนึ่งสินค้าดาวเด่นที่ฮิตติดกระแสรีวิวคือ “ต๊อกบกกี” ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท แฮปปี้เชฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดยสินค้าไฮไลท์ก็คือ “ไส้กรอกต๊อกบกกีชีส” ที่ไม่ว่าใครได้ลองลิ้มชิมรส ก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติเหมือนนั่งทานที่เกาหลีเลยทีเดียว เพราะไส้กรอกสูตรเฉพาะที่ผสมผสานกับเส้นต๊อกบกกีเนื้อนุ่ม หนึบ นำเข้าจากประเทศเกาหลี ราดด้วยซอสเกาหลีเข้มข้น มอสซาเรลล่าชีสเกรดพรีเมี่ยมมาจากอังกฤษ มีขายในราคาเพียง 39 บาท เท่านั้น รัชดา บุญ-หลง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แฮปปี้เชฟ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากกระแสความนิยมของคนไทยต่ออาหารเกาหลีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารอยู่แล้ว มีแนวคิดที่จะผลิตอาหารเกาหลีออกจำหน่าย จึงเข้าไปขอรับคำปรึกษากับทางซีพี ออลล์และร่วมกันพัฒนา จนได้มาเป็น “ไส้กรอกต๊อกบกกีชีส” และสินค้าอื่นๆ อาทิ ต๊อกบกกีฮอตซอส ,ไส้กรอก ต๊อกบอกกีชีส สูตรเผ็ดX3 , ไก่ซอสบลูดักชีส แฮปปี้เชฟ ตลอดจนยังช่วยโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรวมสินค้าในกลุ่มนี้จากเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15,000 -25,000 ซองต่อวัน สามารถตามล่าได้ทั้งที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ และช่องทาง 7-Delivery

 

นอกจากสินค้าในกลุ่มอาหารแล้ว สินค้าประเภทเครื่องดื่มอย่าง น้ำส้มคั้นสด 100% ตรา ShinSen (ชินเซน) น้ำส้มพาสเจอร์ไรส์รายแรกของประเทศที่ได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นอีกหนึ่งแรร์ไอเท็มห้ามพลาด เรียกว่าวางปุ๊บหมดปั๊บ ยุทธ จึงสวนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูชิ เอฟ แอนด์ บี จำกัด ผู้ผลิตน้ำส้มคั้นสด 100% ตรา ShinSen กล่าวว่า จุดเด่นของ ShinSen คืออายุ shelf life นานถึง 2 สัปดาห์ ไม่ใส่วัตุกันเสีย แต่ยังสามารถคงรสชาติเดิมได้ไม่เปลี่ยนแปลง ในราคาขวดละ 39 บาท ซึ่งหลายคนมองว่ามีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับน้ำสัมคั้นทั่วไป ทางซีพี ออลล์ จึงเข้ามาให้การสนับสนุนและให้ความรู้ด้านการตลาดทำให้สินค้ามียอดขายมากกว่า 10,000 ขวดต่อวัน แม้จะอยู่ในภาวะโควิด-19 ก็ตาม

 

ความมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่องของสินค้าเอสเอ็มอีไทย ประกอบกับการมีพี่เลี้ยงที่คอยให้สนับสนุนอย่างซีพี ออลล์ นับเป็นเรื่องที่ดีและเรื่องน่าส่งเสริม ใครอยากอุดหนุน 4 สินค้าเก๋ๆ หลากสไตล์ รวมถึงอุดหนุนสินค้าเอสเอ็มอีอื่นๆ เพื่อให้เอสเอ็มอีไทยยังคงมีรายได้อย่างต่อเนื่องในช่วงโควิด-19 ก็เตรียมไปตามหากันที่เซเว่นได้เลย หรือจะสั่งสินค้าผ่าน 7-Delivery ในแอป 7-Eleven เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงนี้ก็ได้เช่นกัน

 


 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ บริษัท อเกต คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  หรือ สำนักบริหารการสื่อสารองค์กร บมจ.ซีพี ออลล์

คุณจิรากุล เขียวพะวงศ์ (ตาล) 093 942 9442                                     คุณธนิกานต์ สงฤทธิ์ (เปิ้น) 096 164 2998

คุณสาวิตรี เกลี้ยงเกิด (ก้อย) 092 292 4624

คุณทิพย์รัตน์ พรหมอินทร์ (แป้ง) 094 559 6536

Email: agatepr@agatethai.com

 

 

บทความแนะนำ

เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้แข็งแกร่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออกไทย ส่วนอัตราเงินเฟ้อโลกที่เร่งตัวขึ้นนั้น คาดว่าจะปรับชะลอลงในระยะข้างหน้า

 

· เศรษฐกิจโลกโดยรวมฟื้นตัวได้แข็งแกร่งแต่ไม่เท่าเทียม โดยยังคงมีความแตกต่างกันในรายประเทศและภาคส่วนขึ้นอยู่กับอัตราการฉีดวัคซีนรวมทั้งขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ โดยกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและจีนจะฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM) อื่น ๆ

 

· ภาคการผลิตโลกในภาพรวมฟื้นตัวได้ดี โดยได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ (pent-up demand) และเงินออมส่วนเกิน (excess savings) ที่ปรับสูงขึ้นหลังจากการปิดเมืองมานาน อีกทั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ผลิตที่ปรับดีขึ้นตามความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน รวมถึงการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงวิกฤติ COVID-19 อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อในบางกลุ่มประเทศ ส่งผลให้ภาคการผลิตในเดือนพฤษภาคมเริ่มขยายตัวชะลอลงบ้าง จึงจำเป็นต้องจับตามองสัญญาณของ supply chain disruption ต่อภาคการผลิตในระยะต่อไป

 

· นอกจากนี้ ดัชนี PMI โลกรายอุตสาหกรรมยังบ่งชี้ว่า กลุ่มสินค้าคงทนโดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มสินค้าอื่น ตามอุปสงค์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เพิ่มขึ้นภายใต้ความเชื่อมั่นที่สูงขึ้น อีกทั้ง การบริการที่ยังมีจำกัด ทำให้ประชาชนหันมาบริโภคสินค้าคงทนมากขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมาความกังวลต่อโรคระบาดทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและมีความต้องการสินค้าเพื่อการทำงานที่บ้าน (work-from-home) และการเรียนออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้สินค้ากลุ่มเหล่านี้ฟื้นตัวได้ดีกว่าสินค้ากลุ่มอื่น ๆ

 

· สำหรับภาคบริการในภาพรวมยังคงฟื้นตัวช้ากว่าจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่า ภาคบริการจะมีบทบาทในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น จากการแจกจ่ายวัคซีนที่มีความคืบหน้าทำให้มีการเปิดเมืองเป็นวงกว้างมากขึ้นโดยเริ่มจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วก่อน

 

· การกลับมาระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ไม่ส่งผลต่อแนวโน้มการค้าโลกโดยรวมนัก โดยการส่งออกของหลาย ๆ ประเทศรวมถึงไทยยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งนี้พบว่าภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของจีนและสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น สำหรับภาคการส่งออกไทยคาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิมเช่นกัน โดยล่าสุด EIC ปรับประมาณการขึ้นมาอยู่ที่ 15.0%YOY ในปี 2021 จากประมาณการเดิมที่ 8.6%YOY

 

· ในช่วงที่ผ่านมาอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่อุปทานบางกลุ่มยังคงมีข้อจำกัดในการผลิต ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นเร็ว นอกจากนี้ การขยายตัวต่อเนื่องของตลาดที่อยู่อาศัยโลกในช่วงไตรมาสที่ผ่านมายังส่งผลให้ราคาบ้านและค่าเช่าที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานในบางประเทศก็ปรับตึงตัวขึ้นเนื่องจากกำลังแรงงานบางส่วนยังไม่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานเต็มที่ ทำให้อัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูง ด้วยเหตุนี้ อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศจึงปรับสูงขึ้นเร็ว

 

· ในช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากอุปสงค์ต่อสินค้าบางชนิด เช่น medical supply จะทยอยลดลงตามการฉีดวัคซีนที่คืบหน้า ประกอบกับการขยายตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางกลุ่มอาจปรับชะลอลงหลังจากอุปทานในระยะถัดไปจะเริ่มปรับขึ้นตามราคา ด้านแรงกดดันค่าจ้างจะลดลงหลังแรงงานกลับเข้าตลาดมากขึ้น ขณะที่ Base Effect จากฐานที่ต่ำก็จะเริ่มลดลงในช่วงปลายปี 2021

· อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเร็วในหลาย ๆ ประเทศ ส่งผลให้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางหลักได้เข้าดูแลภาวะการเงินผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ EIC คาดว่า ธนาคารกลางหลักจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีโอกาสที่ Fed จะส่งสัญญาณชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (ลดการทำ QE) และเริ่มลดปริมาณการเข้าซื้อในช่วงต้นปีหน้า ส่วน ECB มีโอกาสที่จะปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินผ่านโครงการ PEPP ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

มาเตรียมความพร้อมธุรกิจ ลดต้นทุนการเงิน เพิ่มโอกาสนำเข้า-ส่งออก ด้วย SCB Global Solution คลิก! https://bit.ly/3k9TV4D

 

บทความแนะนำ

19 หน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเพื่อการขยายธุรกิจสู่สากล (SME SCALE UP) ปี 2564 สสว. มีการประสานกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน 19 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 ด้าน เพื่อส่งเสริม SMEs ให้ได้รับการต่อยอดการพัฒนาโดยการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล และการขยายธุรกิจในอนาคต

 

ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการกับหน่วยงานเครือข่ายข้างต้น สามารถดูรายละเอียดบริการและเงื่อนไขรวมทั้งสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก สสว. ได้ตามลิ้งด้านล่างนี้

#คลิก https://1drv.ms/u/s!ArAkyDFJf8I-mxcGgL18HJsrR_9P?e=DxRaIe

 

 

โครงการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเพื่อการขยายธุรกิจสู่สากล (SME SCALE UP) ประจำปี 2564

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจในการแข่งขัน  ภายใต้โครงการ “โครงการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเพื่อการขยายธุรกิจสู่สากล (SME SCALE UP) ประจำปี 2564” ให้ได้รับการต่อยอดการพัฒนาโดยการนำงานวิจัย หรือเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม หรือแนวทางการพัฒนาต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับ  ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในการแข่งขันในตลาดสากล และเพื่อการขยายธุรกิจในอนาคต  อีกทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Collaboration Networking) ระหว่างหน่วยงานวิจัยภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันเฉพาะทาง และภาคเอกชน ในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวทางการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์

 

หน่วยงานดำเนินงาน

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED)

  1. นพวรรณ จันทมาศ โทรศัพท์ 02-1054778 ต่อ 3003 มือถือ 089 1555965 E mail : smescaleup2021@gmail.com
  2. ธีรโชติ ไหลสกุล โทรศัพท์ 02-1054778 ต่อ 3012 มือถือ  082-450-2626  E mail : smescaleup2021@gmail.com
  3. วรรณภาพร พรมลาย โทรศัพท์  02-1054778 ต่อ 3000 มือถือ 082-450-2619 E mail smescaleup2021@gmail

 

 

บทความแนะนำ

Novel Food อาหารนวัตกรรมใหม่ โอกาสทองของเอสเอ็มอีไทย

 

Novel Food หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า ‘อาหารใหม่’ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมโลกมากขึ้น แล้วอาหารใหม่คืออะไร? กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ คือ

  1. อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี
  2. อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้น ๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์
  3. อาหารใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

 

อธิบายแบบให้เข้าใจง่าย ๆ Novel Food ก็คือ 

  • เป็นอาหารชนิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในการผลิต
  • เป็นอาหารพื้นเมืองแปลก ๆ ที่ไม่เคยถูกนำมาเป็นอาหารมาก่อน 
  • ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนใกล้ตัวเรา เช่น แมลง รถด่วน (หนอน) ตั๊กแตน จิ้งหรีด ที่กลายเป็นแหล่งอาหารใหม่ นอกจากนี้ก็มีตัวอย่างเช่น เค้กจากแป้งข้าวจ้าว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะปกติเค้กจะทำจากแป้งสาลี หรือสินค้าประเภทน้ำพริกกะปิผงซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อความสะดวก หรือส้มตำอบแห้ง

 

สนใจขอขึ้นทะเบียนเป็นอาหารใหม่ทำไรอย่างไร

ธุรกิจอาหารใหม่ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะผลิตส่งออกหรือจะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ แต่เนื่องจากอาหารประเภทนี้เป็นของใหม่จึงยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการบริโภค จึงจำเป็นจะต้องผ่านการประเมินในด้านต่าง ๆ ก่อนและต้องส่งมอบฉลากให้ ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา’ อนุมัติก่อนนำไปใช้ โดยการประเมินความปลอดภัยนั้น ต้องยื่นผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานที่อย.ให้การยอมรับ และหลักฐานอื่น ๆ เช่น

  • ประวัติการใช้เป็นอาหาร 
  • ข้อมูลความปลอดภัย 
  • ข้อมูลคุณภาพหรือมาตรฐาน 
  • ผลการตรวจวิเคราะห์ 
  • วิธีการบริโภคหรือคำแนะนำการบริโภค ซึ่งประกอบด้วยหลักฐานทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ 
  • ข้อมูลด้านโภชนาการ 
  • รายงานผลการพิจารณาความปลอดภัยจากหน่วยงานสากลหรือต่างประเทศ
  • ข้อมูลการอนุญาตให้จำหน่ายเป็นอาหารในต่างประเทศ
  • อื่น ๆ

 

สำหรับหน่วยประเมินความปลอดภัยของอาหารใหม่ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ มี 3 หน่วยงาน คือ  

1) สำนักงานคุณภาพและ ความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

2) สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

3) ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า Novel Food เป็นเมกะเทรนด์อาหารที่น่าสนใจอย่างไร และมิติด้านความยั่งยืนของอาหารสอดคล้องกันอย่างไร ในปัจจุบันเริ่มบริโภคแมลงทดแทนโปรตีนในรูปแบบปกติ แมลงสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ในรูปแบบปกติ แถมแมลงยังสามารถเพาะเลี้ยงไปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้จึงสอดรับกับเมกะเทรนด์ด้านอาหารยั่งยืน

ขณะที่อาหารใหม่อื่น ๆ เช่น สาหร่าย เห็ดรา วัตถุดิบท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ใช้ต้นทุนน้อย ก็ถือเป็นโอกาสในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยมีพื้นฐานด้านชีวภาพที่มีความหลากหลาย ก็มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดในด้านนี้ได้อีกมาก

 


 

หัวข้อ : Novel Food โอกาสอุตสาหกรรมอาหาร
อ่านเพิ่มเติม : www.bangkokbanksme.com/en/novel-food-industry และ www.bangkokbanksme.com/en/novel-food-innovation-world-food-trend

 

Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

e-Commerce ไทย ควรปรับตัวอย่างไรให้แข่งขันได้ ในช่วงวิกฤต

 

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Commerce มากขึ้น และเร็วขึ้น เพราะต้องปรับตัวกับการซื้อของใช้ประจำวันและสินค้าอื่น ๆ ผ่านทางออนไลน์แทน ซึ่งเมื่อการซื้อของออนไลน์กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้บริโภคแล้วนั้น ทำให้พวกเขาเปิดรับการใช้จ่ายผ่านทาง e-Commerce มากขึ้น ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์กลายเป็นช่องทางการซื้อที่สำคัญมากสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน

 

 

จากการสำรวจพบว่าสาเหตุที่ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถทำธุรกิจ e-Commerce ได้เต็มที่เพราะ

  • ขาดพื้นฐานความรู้และเทคโนโลยี 
  • ขาดบุคลากรที่มีความสามารถเพียงพอ 
  • ขาดความมั่นคงปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและการชำระเงิน
  • ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับทางอิเล็กทรอนิกส์

 

ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใช้บริการผ่านทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม

  • ร้อยละ 76 ของผู้บริโภคได้ให้ความเห็นว่าปัจจัยด้านความสะดวกเป็นสิ่งสำคัญอันดับ 1 ในการเลือกร้านค้า 
  • ร้อยละ 81 ต้องการประสบการณ์ซื้อสินค้าผ่านทาง e-Commerce ที่คล่องตัว ไม่สะดุด

 

ผู้ประกอบการควรปรับตัวอย่างไรบ้าง? เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

1. การปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า และกระตุ้นให้พวกเขามั่นใจที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง โดยเฉพาะร้านค้าในแพลตฟอร์ม Food Delivery ต่าง ๆ ที่นอกจากต้องหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคยุคนี้แล้ว บางรายอาจลดการใช้พลาสติกโดยออกแบบให้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ สามารถรีไซเคิลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน

 

2. เร่งการใช้การตลาดดิจิทัล และการขายผ่านทาง Social Media

เมื่อต้องเปลี่ยนช่องทางการขายจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ ก็ต้องนำการตลาดดิจิทัลใหม่ ๆ มาใช้ เช่น

  • สร้างประสบการณ์ใหม่ในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค โดยการใช้ประโยชน์จากการ Livestreaming แพลตฟอร์ม Social Media
  • การสร้างกลุ่มแชทส่วนตัว ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและสนใจในผลิตภัณฑ์และบริการของตน

โดยสินค้าในหมวดสุขภาพและความงามเป็นหมวดสินค้ายอดนิยมที่ขายผ่าน Livestreaming ในแพลตฟอร์ม e-Commerce และ Social Media มากที่สุดในประเทศไทย

 

3. ทำความร่วมมือกับ Fulfillment partners เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง e-Commerce

ระบบการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถเพิ่มความสะดวกในการช้อปปิ้งออนไลน์ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ e-Commerce ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์การจัดส่งสินค้า โดยอาจทำความร่วมมือกับ Fulfillment partners (บริการคลังสินค้า แพ็กสินค้า พร้อมจัดส่งสินค้า) เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อเสนอการจัดส่งของพวกเขาครอบคลุมและยืดหยุ่นเพียงพอ ที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค

 

หน่วยงานของรัฐ ได้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการ และ e-Commerce ไทยอย่างไรบ้าง?

หน่วยงานภาครัฐในประเทศได้ออกนโยบาย มาตรฐาน และกฎหมายต่าง ๆ ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในหลาย ๆ ด้าน เช่น 

- นโยบายสนับสนุนธุรกิจด้านการเงิน อย่าง การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทางบริการ PromptPay ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมาะกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนนโยบายชาติด้าน e-Payment และเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

- มาตรฐานและกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางออนไลน์ อย่าง มาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการปกป้องและคุ้มครอง รวมถึงเป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

- โครงการเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ การจัดหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับการทำธุรกิจผ่านทางออนไลน์

 


 

หัวข้อ : e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19
อ่านเพิ่มเติม : https://www.etda.or.th/Perspective-on-Future-of-e-Commerce

 

Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

 

บทความแนะนำ