Globish สถาบันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ ขานรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนยุคดิจิทัล

การเรียนรู้ในยุคดิจิทัลไม่จำกัดในห้องเรียนอีกต่อไป  เช่นเดียวกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ Globish (โกลบิช) ได้เริ่มก่อตัวขึ้นจากนักศึกษาวัยใส ที่อยากเห็นการศึกษาของประเทศไทยพัฒนาขึ้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งสถาบันสอนภาษาออนไลน์ Globish หลังจากที่มีการรวมตัวกันจัดกิจกรรมพานักศึกษาต่างชาติไปสอนภาษาอังกฤษให้กับน้องๆบ้านเด็กกำพร้า เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา

“สมัยที่ผมเป็นนักศึกษาเรามีเพื่อนนักศึกษาจากต่างชาติที่มาเมืองไทย เช่น อเมริกา อียิปต์หรือจากอีกหลายๆประเทศมา แล้วเราพาเขาไปสอนภาษาอังกฤษน้องๆบ้านเด็กกำพร้า พอเขาได้เจอคนต่างชาติ มันไม่ใช่แค่รู้สึกว่ามันเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มันเปิดโลกเขา พอได้ฝึกภาษาอังกฤษอย่างสนุก เป็นธรรมชาติจากชาวต่างชาติ เขารู้สึกว่ากล้าพูด กล้าแสดงออก มีความหมายมากขึ้น เขาได้เปิดโลกออกมาว่าโลกมันกว้างใหญ่ รู้สึกว่ามันพิเศษมากๆ” ธีรกร อานันโทไทย ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท โกลบิช อคาเดเมี่ย (ประเทศไทย) จำกัด เล่าย้อนให้ฟัง ก่อนจะเป็นแรงบันดาลใจและมองเห็นโอกาสในการเปิดสถาบันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ Globish 

Globish นับว่าเป็นสตาร์ทอัพทางด้านการศึกษา หรือ Education technology (EdTech) รายแรกของไทยที่เปิดให้บริการการเรียนการสอนออนไลน์ที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูชาวต่างประเทศหรือโค้ชชาวต่างชาติแบบตัวต่อตัว ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมีการเรียนการสอนในหลายหลักสูตร 

สำหรับการรับรองมาตรฐานการสอนภาษาอังกฤษนั้น Globish ได้รับการการันตรี รูปแบบการเรียนการสอนจากสถาบันวิเคราะห์ทางด้านการศึกษาที่ได้รับการสนับนุนจากกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐบาลประเทศฟินแลนด์ (Education Alliance Finland) และสามารถวัดผลได้ตามมาตรฐาน CEFR ที่ถูกคิดค้นโดยสภายุโรปและเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักที่ใช้วัด ทักษะการสื่อสาร ให้กับทุกภาษาทั่วโลก 

ธีรกร กล่าวว่า Globish นับว่าเป็นสถาบันสอนภาษาอังกฤษสำหรับวัยทำงาน ที่ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Customer Relationship Management (CRM) ภายใต้ชื่อ Globish ซึ่งบริษัทได้พัฒนาขึ้นเอง โดยผู้เรียนที่สนใจจะเรียนภาษาอังกฤษสามารถสมัครผ่านออนไลน์ จากนั้นจะมีทีมที่ปรึกษาในการวัดระดับภาษาของนักเรียนด้วยการทำข้อสอบ ก่อนที่จะมีการให้คำแนะนำและให้ปรึกษาในการเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมกับนักเรียนหรือผู้เรียน รวมถึงแนะนำอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษแต่ละท่านที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันมีอาจารย์ภาษาอังกฤษอยู่ในระบบการเรียนการสอนจากทั่วโลก เช่น อาจารย์จากอเมริกา ฟิลิปปินส์ และยุโรปมากกว่า 500 คน มีหลักสูตรรองรับผู้เรียนมากกว่า หลักสูตร 

“นักเรียนที่มาเรียนภาษาอังกฤษบนแพลตฟอร์ตออนไลน์ของเราประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัยทำงานที่มีอายุ 30-40 ปี ที่รู้สึกว่าอยากใช้ภาษาอังกฤษไปช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปในอนาคต รูปแบบการเรียนของ Globish จะพิเศษและแตกต่างจากที่อื่น เพราะเราเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดจริงๆและมีผู้สอนประกบเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูกต้อง เราเน้นเป็นรูปแบบของการเรียนต่อต่อตัวผ่านช่องทางวีดีโอออนไลน์ บนแพลตฟอร์มของเราเองที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์โดยเฉพาะ สำหรับลูกค้าที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นองค์กรที่ต้องการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับพนักงานซึ่งมีมากว่า 100 องค์กรมีหลักสูตรภาษาอังกฤษรองรับมากกว่า 200 คลาส” ธีรกร กล่าว และอธิบายเพิ่มเติมว่า 

สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของบริษัท มี 4 รูปแบบประกอบด้วย การเรียน แบบตัวต่อตัว การเรียนที่มีนักเรียน 4 คนต่อครูผู้สอน 1 คน การเรียนกลุ่มย่อยที่มีนักเรียนไม่เกิน 10 คน และการเรียนในรูปแบบของการเรียนการสอนผ่านวิดีโอ หรือ e-Learning (Interactive) ปัจจุบันมีการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวบนแพลตฟอร์มของ Globish ประมาณ 600 คลาสต่อวัน

ธีรกร กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน Globish ไม่ได้สอนภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับผู้เรียนกลุ่มเป้ามาย 

วัยทำงานเพียงอย่างเดียว บริษัทได้ขยายการเรียนการสอนออกไปใน รูปแบบของการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ภายใต้ชื่อ Globish Kid เปิดสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่มีอายุ 8-15 ปี เปิดสอนภาษาจีน Globish Chinese สำหรับผู้เรียนวัยทำงาน มีครูภาษาจีนมากกว่า 10 ท่าน และมีการขยายสาขาโดยการเปิดสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ในประเทศเวียดนาม ภายใต้ชื่อ Globish Vietnam ที่เมือง โฮจิมินห์ มีพนักงานมากกว่า 10 คน

Globish ไปตั้งสาขาที่ประเทศเวียดนามเมื่อปีที่ผ่านมา ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เรามองว่าช่วงโควิด หลายๆคนอยากต่อยอด อยากเรียนรู้เพิ่มทักษะของตัวเอง เราได้รับผลตอบรับดีมาก มีนักเรียนเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์หลายพันคลาสต่อเดือน โดยคลาส Business English ได้รับความนิยมมากที่สุด เช่นเดียวกับที่ประเทศไทย ผู้เรียนที่เรียนจบคอร์สจากเราเขาเก่งขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์” ธีรกร กล่าวและว่า 

ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการการเรียนการสอนของ Globish นอกจากจะใช้ระบบ CRM ช่วยในการเรียนการสอน เก็บข้อมูลผู้เรียน ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ เอไอมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการการเรียนการสอนในรูปแบบ Interactive หรือการเรียนการสอนผ่านวิดีโอ ซึ่งเป็นการเรียนในรูปแบบของการเล่นเกมส์ ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในจุดที่ต้องการเพิ่มทักษะมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

สำหรับแผนงานในอนาคต บริษัทคาดว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าที่จะมีนักเรียนประมาณ 100,000 คน จากปัจจุบันที่มีนักเรียนประมาณ 50,000 คน นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือ IPOในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยในปัจจุบันบริษัทมีมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาท

“เราอยากให้คนไทย ก้าวทันยุคที่โลกมันเปลี่ยนแปลงไว คนไทยต้องไม่พลาดโอกาสในอนาคต คนไทยวัยทำงาน วัยประถมขาดอะไร เราอยากเข้าเสริมตรงนั้น เราเชื่อว่าคนไทยเก่ง มีบางเรื่องที่เขาขาด เราก็อยากเสริมตรงนั้นให้เขาไปต่อได้ในอนาคต และในวันข้างหน้า บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มการสอนภาษาอย่างอื่นนอกเหนือจากภาษาจีน ภาษาอังกฤษ เรายังอยากช่วยผู้เรียนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย” ธีรกร กล่าว 

Globish ถือว่าเป็นสตาร์ทอัพทางด้าน EdTech ที่อำนวยความสะดวกสบายในการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพที่เห็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลรับที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียน และยังเป็นพันธมิตรร่วมกับมหาวิทยาลัยในการทำวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนด้วย เพื่อรองรับการเรียนที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับผู้เรียนแต่ละคน หรือ Tailor-made ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและศาสตร์ทางด้านการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้กับการเรียนในรูปแบบสมัยใหม่มีการเรียนในรูปแบบของ Live English Classroom ที่มีการเรียนเฉพาะบุคคล (Personal course) รองรับคนทำงานมากกว่า 50 สายอาชีพ อาทิ นักการตลาด พนักงานออฟฟิด วิศวกร เป็นต้น 

เราอยากช่วยคนไทยในภาวะวิฏฤตโควิด หรือในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย เราอยากช่วยให้คนไทยได้งานทำ ในมุมมองของเราเราไม่ได้ตั้งเป้าจากรายได้ ไม่ได้ตั้งเป้าจากจำนวนผู้เรียน จำนวนผู้สอน แต่เราตั้งเป้าว่า เราอยากช่วยคนไทยหรือแก้ไข Pain point ให้คนไทยให้สามารถไปต่อข้างหน้าได้เพื่อให้เขามีอนาคตที่ดีขึ้นในอนาคตมองว่าเรื่องของการเข้ามามีบทบาทของนวัตกรรมการศึกษาหรือ Ed tech education technology เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆเพราะมันเป็นเรื่องที่จะเข้ามาแก้ไขไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพความเหลื่อมล้ำและเรื่องของค่าใช้จ่ายทำให้การศึกษาเข้าถึงได้ในราคาที่เรียกว่าย่อมเยา หรือในราคาที่สบายกระเป๋า” ธีรกร กล่าว

 

บทความแนะนำ

เสริมแกร่งธุรกิจ SMEs ให้เติบโตกับ depa และ Partners จาก SCB

ช่วงวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจำนวนมากตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ปรับตัวได้เร็ว และนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ฝ่าวิกฤตโควิดครั้งนี้ไปให้ได้

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐดิจิทัล หรือ depa บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด จัดเสวนาหัวข้อ “เสริมแกร่งธุรกิจให้เติบโตกับ depa และ Partners จาก SCB” พร้อมยกกรณีศึกษาบริษัท ที.ที.เอช. นิตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ยกระดับการบริหารจัดการ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยดำเนินกิจการ สร้างโอกาสการขายให้เพิ่มขึ้นสวนกระแสวิกฤตที่เกิดขึ้น

บริษัท ที.ที.เอช. นิตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงวิกฤตโควิด 19ดิจิทัลยิ่งจำเป็นมากขึ้นในการดำเนินกิจการในช่วงที่ยากลำบาก

ใช้แชทบอตเพิ่มโอกาสการขาย

“ธุรกิจหยุดไม่ได้ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหน หรือเจอสภาวะการณ์อย่างไร แนะนำให้ปรับปรุงองค์กร ทำให้ธุรกิจยืดหยุ่นมากขึ้นช่วงนี้ทุกท่านค้าขายลำบาก หาลูกค้ายาก ให้หันกลับมาดูในบ้าน จะเอาเทคโนโลยีมาช่วยอย่างไร เพื่อลดงานที่ไม่จำเป็น งานที่เสียเวลา ให้ ERP มาทำแทน” กิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ที.ที.เอช. นิตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ให้ข้อคิดก่อนเล่าถึงประสบการณ์ขององค์กรในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ

กิตติพงศ์ เล่าว่า บริษัทเป็น SMEs ดำเนินธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อกีฬา เสื้อโปโล ได้นำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ตั้งแต่10 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อช่วยบริหารจัดการธุรกิจ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด ตั้งแต่สต็อกสินค้า กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต จนส่งถึงมือลูกค้า ช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบบวัน สตอป เซอร์วิสสามารถดูได้แบบเรียลไทม์

หลังจากนั้นได้ขยายธุรกิจไฮบริด สปอร์ต รับจัดงานวิ่งแบบครบวงจร ได้นำระบบ LINE OA มาใช้ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งในโปรแกรมของของ LINE OA จะมีแดชบอร์ดสำเร็จรูปมาช่วยในการวางแผนการทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น

“อย่างตอนนี้บริษัทได้เตรียมวางแผนจัดงานวิ่งหลังสถานการณ์โควิดจบลง ซึ่งมีเวลาอีกครึ่งปีในการวางแผน แดชบอร์ดจะประมวลผลข้อมูลมาเลยว่าตอนนี้จากการรวบรวมข้อมูลสรุปว่าคนเบื่อกทม. ดังนั้นเราอาจจะต้องไปจัดงานที่ภาคตะวันออก เป็นต้น” กิตติพงศ์ ยกตัวอย่าง

หรือในช่วงสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น บริษัทแดชบอร์ดจะประมวลผลข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของลูกค้าแต่ละกลุ่ม กลุ่มไหนที่ยังมีการดำเนินธุรกิจ กลุ่มไหนที่ชะลอ ทำให้พนักงานสามารถโฟกัสลูกค้าได้ถูกกลุ่ม ได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น ลดการสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ และวางแผนการดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยช่วงที่ผ่านมาบริษัทให้ความสำคัญกับสินค้าในกลุ่มหน้ากากผ้า เสื้อป้องกันแบคทีเรียต่างๆ ทำให้ธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

อย่ากลัวการใช้เทคโนโลยี

ประวิทย์ เจริญพัฒนาตระกูล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ให้คำแนะนำว่า สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะพิจารณาเลือกใช้โปรแกรม ERP เบื้องต้นจะต้องทราบก่อนว่าปัญหาขององค์กรคืออะไร และอยากแก้ไขจุดไหนก่อน ในสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นนี้ หลายองค์กรอาจจะต้องหยุด หรือชะลอ ซึ่งให้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการปรับปรุงภายใน และเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหา

“อย่าไปกลัวที่จะใช้เทคโนโลยี เพราะปัจจุบันไม่ยุ่งยากทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และผู้ให้บริการแต่ละราย มีบริการแบบครบวงจร วิเคราะห์ความต้องการ ปัญหาของการทำธุรกิจ เลือกแพลตฟอร์มที่สามารถปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ได้ เมื่อต้องขยายกิจการในอนาคต” ประวิทย์ระบุ

บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัดเป็นผู้ให้บริการระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่ได้รับการสนับสนุนจาก depaซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ในช่วงวิกฤตโควิด 19 มีลูกค้าหลายรายที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการขายเนื่องจากอยู่ในสภาวะไม่ปกติ

ประวิทย์ เล่าว่า มีกรณีของลูกค้าบริษัท เอกวิทยา (2000) จำกัด ผู้จำหน่ายเครื่องเขียน ในจังหวัดระยอง มีปัญหาการขายหน้าร้าน เนื่องจากมีปริมาณออร์เดอร์มากขึ้น ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ เมื่อ FLOW การทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดความยุ่งยาก มีปัญหาสต็อกผิดพลาด ด้วยจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นรายการ ทำให้เกิดผิดพลาดงบบัญชีการเงิน จึงนำระบบ POS มาใช้เชื่อมต่อกับ ERPช่วยลดปัญหาการขายหน้าร้านได้ถึง 100%

นอกจากนี้ ยังแก้ปัญหาการบริหารจัดการสต็อก รวมถึงการช่วยวิเคราะห์สินค้า เพื่อการจัดโปรโมชั่นและส่งเสริมการขาย ช่วยผลักดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น ล่าสุดอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการขายผ่าน Shopeeเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน ระบบของอี-บิซิเนส พลัส รองรับธุรกิจได้หลากหลายขนาดทั้งใหญ่ กลางและเล็ก โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 25,000 บาท สามารถใช้คูปองดิจิทัลจาก depaสนับสนุนอีก 10,000 บาท

สำหรับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)ปัจจุบันมีมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้วยดิจิทัล  2 เครื่องมือได้แก่ 

  1. depa Digital Tranformation Fund คือการร่วมลงทุนกับเอกชนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในสัดส่วนไม่เกิน 60% วงเงินสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท ในกลุ่มDigital Startups ที่พัฒนาระบบทั้งFront End Back End และInfrastructure
  2. Mini Transformation Vocherหรือคูปองส่วนลดในการซื้อซอฟต์แวร์ มูลค่าสูงสุด 1 หมื่นบาท ใช้ได้ทั้งค่าระบบซอฟต์แวร์ ค่าเช่าใช้บริการระบบต่าง ๆ อย่างน้อย 6 เดือน กรณีเป็นค่าอุปกรณ์ หรือฮาร์ดแวร์ จะสนับสนุนในวงเงินไม่เกิน50%ผู้สนใจเข้าไปดูข้อมูลและติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่าน ecatalog.depa.or.th

“เราต้องการช่วยผู้ประกอบการ SMEs ทำธุรกิจ โดยการนำดิจิทัลไปใช้ช่วยเพิ่มโอกาสธุรกิจ หาลูกค้าใหม่ ๆ ช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีในการเตรียมตัว ปรับปรุงกระบวนการ ลดต้นทุน หาวิธีสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น โดยใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วย ทำให้ผู้ประกอบการวางแผนทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น เข้าถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น สร้างความแตกต่างให้ลูกค้าได้ มีโอกาสทำธุรกิจได้ดีขึ้น” สุชาดา โคตรสินผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ depa กล่าวทิ้งท้าย

 

บทความแนะนำ

สถาบันพลาสติก – พลาสติกชั้นดีต้องมีมาตรฐาน

สถาบันพลาสติก – พลาสติกชั้นดีต้องมีมาตรฐาน

หลาย ๆ ครั้ง ที่ผู้ประกอบการพลาสติกต้องพบกับโจทย์การผลิต ที่ถูกกำหนดมาเป็นความต้องการในเชิงคุณสมบัติ เช่น อยากให้แข็งแรงคงทน น้ำซึมผ่านไม่ได้ ต้องระบายอากาศได้ ต้องย่อยสลายได้ดีในธรรมชาติ เป็นต้น แล้วคิดไม่ออกว่าควรจะเลือกใช้วัสดุชนิดใดมาทำการผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ 

.

ทำทุกความต้องการให้เป็นไปได้จริง

เพราะมีความต้องการรูปแบบใหม่ ๆ เกินกว่าจะคาดเดาได้อย่างไม่รู้จบ ทางสถาบันพลาสติกไทย จึงมีการให้ความช่วยเหลือในด้านนี้ เปิดเป็น ศูนย์พัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์ ร่วมกับ ศูนย์ทดสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาปรึกษา หาวัสดุที่เหมาะสมในการจะทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีครบทุกคุณสมบัติตามโจทย์ที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำถึงวัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาด หรือจะเป็นการสร้าง คิดค้น พัฒนาวัสดุใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางศูนย์ฯ จะร่วมกับผู้ประกอบการในการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด 

ยังมีในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่พร้อมเข้ามาช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ให้สามารถที่จะประเมินต้นทุนของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก่อนทำการผลิตได้อีกด้วย

.

ทดลองให้พบคำตอบที่ตามหา

เพราะโจทย์มีหลากหลาย จึงต้องมีกระบวนการที่จะหาคำตอบ สถาบันพลาสติกไทยจึงได้มี ศูนย์พัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์ ให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาทดลอง ผสม เติมแต่งสารต่างๆ เข้าไปในวัตถุดิบ ให้ได้วัสดุที่เมื่อนำมาผลิตแล้วได้คุณสมบัติ และได้คุณภาพตรงตามโจทย์ที่ต้องการ

ในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุ บางครั้งผู้ประกอบการก็พบว่าวัสดุชนิดเดียวกัน แต่ถูกนำเข้ามาจากหลาย ๆ แหล่ง อาจมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องมาใช้บริการที่ ศูนย์ทดสอบและรับรอง เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุที่สั่งมาได้อย่างชัดเจน รวมถึงการทดสอบสมรรถภาพต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ว่าได้มาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ โดยทุกการทดสอบจะมีมาตรฐานซึ่งได้รับการรับรอง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้การนำวัสดุเข้าสู่กระบวนการผลิตนั้น สามารถผลิตได้อย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และสามารถทำการผลิตซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคงคุณสมบัติที่ต้องการเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและผู้ใช้งาน สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ภายในประเทศ หรือส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้

สิ่งที่ทางสถาบันพลาสติกไทย ให้ความใส่ใจในกระบวนการผลิต ก็เพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบายทางด้าน Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างผลิตภัณฑ์จากพลาสติกให้ผ่านกระบวนการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Eco Design เพื่อให้วัสดุเหล่านั้นถูกหมุนเวียนไปใช้ในการรีไซเคิลได้ กลับสู่วงจรการเป็นวัตถุดิบเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง สิ่งนี้นับเป็นกระบวนการผลิตที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อยที่สุด อีกทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค ได้มองเห็นคุณค่าในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ เพื่อการใช้งานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ทดสอบและรับรอง
Testing and Certification Center
อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
86/6 ซอยตรีมิตร แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 02-391 5340-43
website : www.thaiplastics.org
Facebook: PlasticsInstitute
Youtube: สถาบันพลาสติก THAIPLASTICS
Line: Thaiplastics

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

iCurtain จากเปิดท้ายขายผ้าม่าน สู่ Smart Curtain Solution

แม้จะเป็นสายเลือดแท้ๆ ของเจ้าของกิจการ แต่สิริชัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ผู้บริหาร iCurtain ก็เริ่มต้นทำงานกับบริษัทของครอบครัวด้วยเงินเดือนเพียง 5,000 บาท เรียกว่าไม่ได้มีอภิสิทธิ์เหนือพนักงานคนอื่น 

สิริชัยค่อยๆ เรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเป็นเซลส์ในช่วงแรก เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจ และสร้างแบรนด์ iCurtain ผ่านการลองผิดลองถูก จนสามารถนำพาธุรกิจผ้าม่านเล็กๆ ของครอบครัวขึ้นสู่ธุรกิจ 100 ล้านได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี 

หลักคิดและวิธีการบริหารงานของสิริชัย จึงเป็นเหมือนตำราบริหารธุรกิจเล่มใหญ่ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน

 

SME One : จุดเริ่มต้นของ iCurtain เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

สิริชัย : iCurtain ก่อตั้งโดยคุณพ่อเมื่อปี 2526 เดิมทีบริษัทขายเครื่องกรองน้ำมาก่อน  ส่วนธุรกิจครอบครัวของคุณแม่ คือร้านผ้าม่าน มีช่วงหนึ่งคุณพ่อเอา 2 ธุรกิจมาออกบูธในงานแสดงสินค้าร่วมกัน แล้วก็เริ่มทำธุรกิจควบคู่กัน แต่ยังไม่ได้โฟกัสในเรื่องของผ้าม่านมากนัก  จนกระทั่งผมมีโอกาสได้มาฝึกงาน ตอนนั้นอายุ 16  ปี ช่วงปิดเทอมจะมีเวลาว่าง คุณแม่ก็ชวนมาลองทำงานที่บริษัท ก็เลยชวนเพื่อนมาทำงานด้วยอีก 4 คนแล้วก็เอาตัวอย่างผ้าม่านใส่ท้ายรถไปตระเวนขาย

ผมใช้วิธีขับรถไปหมู่บ้านที่ว่าง ๆ สมัยนั้นหมู่บ้านใหม่จะอยู่แถวโซนสุวินทวงศ์ โซนสุขาภิบาล 3 จำได้ว่าบ้านหลังแรกเจ้าของบ้านกำลังรดน้ำต้นไม้อยู่ก็ลงไปสวัสดีแนะนำตัวว่ามาจากบริษัททำผ้าม่าน มู่ลี่ พรม วอลเปเปอร์และเครื่องกรองน้ำ ลูกค้าก็งง ๆ แล้วก็ชวนเข้ามาคุยในบ้านและให้ลองประเมินราคา ความรู้สึกในวันนั้นได้จุดประกายความชอบบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา คือ 1) รู้สึกว่าผมชอบงานเซลส์ ชอบงาน Present 2) รู้สึกสนุกกับการที่เราได้ออกแบบ ได้พูดคุยกับลูกค้าในเรื่องของการทำผ้าม่าน ในเรื่องสินค้า แม้ว่าวันแรกจะขายไม่ได้ก็ตาม

ช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจตอนม.4 ผมขายไปประมาณแสนกว่าบาท พอขึ้นมาม.5 ผมขายไปประมาณ 4 แสนกว่าบาท เบ็ดเสร็จ 2 ปีขายไป 6 แสนกว่าบาท แล้วจึงหยุดไป Work and Travel Program ที่อเมริกา จนวันหนึ่งคุณแม่บอกว่าให้กลับมาทำงานที่บ้านโดยให้เงินเดือน 5,000 บาท ผมบอกถ้าเงินเดือน 5,000 บาท ผมขอทำงานเซลส์เพราะว่าน้อยมาก ๆ ตอนนั้นเป็นช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ สาขาที่เชียงใหม่ถูกปิด สาขาที่พัทยาถูกปิด คุณพ่อต้องวิ่งเคลียร์หนี้ก่อนจะตัดสินใจไปทำงานการเมืองภาคประชาชน 

วันนั้นผมทำงานกับคุณแม่แบบเริ่มต้นจากศูนย์ เพราะว่ายอดขายผ้าม่าน คือ 0 บาท ส่วนยอดขายเครื่องกรองน้ำยังพอมี แต่ต้องตัดสินใจว่าตัวเองจะทำผ้าม่านหรือเครื่องกรองน้ำ ส่วนตัวรู้สึกว่าชอบผ้าม่านมากกว่าจึงเลือกทำผ้าม่าน

ผมเริ่มจากขับรถขายผ้าม่านโดยที่เราแทบจะไม่มีอะไรพิเศษ ไม่ได้มีแต้มต่อคนอื่น ๆ ไม่มีแม้กระทั่งนามบัตรด้วยซ้ำ แบบไปหาลูกค้า เฮ่ย...ไม่มีนามบัตร ตอนเย็นก็แวะ The Mall ทำนามบัตร เฮ่ย...ไม่มีใบเสนอราคากลับมาบ้านก็มานั่งตีเส้นทำใบเสนอราคา

 

SME One : พอมาเป็น SMEs ที่เริ่มต้นจากศูนย์ เรียนรู้วิธีการขาย การบริหารงานจากไหน

สิริชัย : มาจากการทำซ้ำๆ  ผมทำซ้ำจนรู้ว่าอะไรขาด เราก็เติม อะไรที่ทำได้เราทำซ้ำ จุดแรกที่ผมทำซ้ำแล้วรู้สึกได้ผล คือเรื่องของการทำแพ็กเกจราคา ผมสามารถบอกลูกค้าได้ว่าบ้านแต่ละแบบราคาเท่าไหร่  เพราะผมไปหมู่บ้านเดิม ๆ ผมเริ่มรู้ว่าหมู่บ้านนี้มีทั้งหมด 4 แบบ เราสามารถเลือกผ้าประมาณ 3 ประเภท  เราจะทำเป็นราคา A B C ทำเป็นแพ็กเกจราคาให้ลูกค้าเลือก ตอนนั้นคือคนขายยังไม่ค่อยจัดเซ็ตราคาเหมือนปัจจุบัน พอเราทำรายแรกๆ ก็ตอบโจทย์ลูกค้า เราก็มีโอกาสได้คุยสามารถให้ราคาลูกค้าตัดสินใจได้ จนเรามี Reference เราก็ทำ Reference เล็ก ๆ จากการทำหมู่บ้านเดียวก็ขยายไปหมู่บ้านอื่นๆ เริ่มวิ่งหมู่บ้านใกล้ ๆ เริ่มเปิดสาขา พอเริ่มมีลูกค้าเข้ามามากขึ้น เราก็รู้สึกว่าต้องเติมเซลส์ ช่วงแรก ๆ ก็เหมือนจะโตขึ้นมาได้ระดับหนึ่งก็เริ่มคิดการใหญ่ เริ่มขยายสาขาไป ตอนนั้นเพิ่งอายุ 25 เอง แต่เปิดไป 7 สาขา สุดท้ายผมทำงานไม่ทัน คือ Project เยอะ แต่ตัวระบบยังไม่รองรับก็เลยต้องมา Reset ใหม่ เหลือแค่ไม่กี่สาขาที่เป็นรายได้จริง ๆ 

เราก็มาเริ่มคิดใหม่ คือ ผมทำงานตั้งแต่  7 โมงเช้าเลิกเที่ยงคืน คือเราเป็นเจ้าของ เราทำได้ แต่มันทำได้ไม่ยาว ผมเคยขายผ้าม่านถึงตี 3 คือตลกมาก ตอนแรกเราเอาแรงแลกมาอย่างเดียว แต่พอไม่ได้เซ็ตระบบไว้รองรับทุกอย่างก็เลยวุ่นวาย ก็เลยเริ่มหยุดแล้วมานั่งคิด จนในที่สุดก็คิดเรื่องสร้างแบรนด์ iCurtain ขึ้นมาอย่างจริงจัง

วันที่เราสร้างแบรนด์ iCurtain ตัว I ก็มาจาก Imsiam Trading ซึ่งเป็นชื่อบริษัทคุณพ่อ แล้วก็เป็นชื่อบริษัทปัจจุบัน I อันที่ 2 เป็นเรื่องของ Interior คือถ้าเราทำให้ผ้าม่านให้มันสวยงามต้องเกี่ยวข้องกับการตกแต่ง I อันที่ 3 คือตัวฉัน และความเข้าใจลูกค้า คือการเอาความรู้สึกลูกค้ามาเป็นความคิดพื้นฐาน มันคือ Philosophy ของบริษัท 

พอเริ่มวาง Philosophy เริ่มตั้งปรัชญาของบริษัท ก็เริ่มมีวิธีคิดในเรื่องของแบรนด์ แล้วก็เริ่มถ่ายทอดไปยังพนักงาน เริ่มถ่ายทอดไปยังลูกค้า

 

SME One : หลังจากที่ตั้งหลักได้แล้ว วางแผนการขยายธุรกิจไว้อย่างไร

สิริชัย : ผมมีโอกาสได้ไปต่างประเทศ ได้เห็นเทรนด์การตกแต่งบ้านใหม่ๆ โดยเฉพาะม่านม้วน จึงกลับมาเล่าให้คุณแม่ฟัง ปรากฏคุณแม่ไม่เอาด้วย คุณแม่บอกว่าเป็นร้านผ้าม่านก็ดีอยู่แล้ว ผมกลับไปคุยกับภรรยา ภรรยาบอกโอเคจึงเกิดเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ คือโรงงานม่านม้วนชื่อ BIW Product เน้นขายม่านม้วนเป็นหลักแยกธุรกิจออกมาจากคุณแม่ แต่ผมไม่ได้ทำงาน BIW Product ยังทำงานกับ iCurtain 

BIW Product วาง Concept ไว้คือ B มาจาก Blue Ocean เรามองว่าต้องทำการตลาดแบบมีความแตกต่างนะครับ ไม่เน้นการตัดราคา ส่วน I ก็เช่นเดิม Interior Concept Interior Product อันที่สาม W ตอนนั้นคือเป็น Window Covering Product ซึ่งตอนนี้กำลังคิดว่า W ตัวนี้อาจจะต้องเปลี่ยนแล้ว

ทำธุรกิจม่านม้วนปีแรกเราเจอตัดราคา พอมาปีที่ 2 เราเจอสินค้าที่ Copy เหมือนกันแล้วตัดราคามาอีก แต่ว่าโชคดีที่ว่าเราเพิ่ม Product Line เข้าไปทำให้มีแบบครบ มีสีครบ ทำให้เรารอดจากการตัดราคามาได้ พอรอดปีที่ 2 มาได้ ปีที่ 3 ยอดขายก็เริ่มเข้ามา

กระทั่งผมมีโอกาสได้ไปดูงานที่ยุโรปในช่วงปี 2015 และมีโอกาสไปเจอแบรนด์ Coulisse ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเรื่อง Brand Image ก็รู้สึกว่าสินค้าจากยุโรปในประเทศไทยแทบจะไม่มีการทำตลาดอย่างจริงจัง จึงมองว่าตรงนี้เป็นโอกาสที่จะยกระดับแบรนด์ไปจับตลาดบน จนเป็นที่มาของการทำแบรนด์ใหม่ชื่อว่า Royal Blue BIW by Coulisse ซึ่งเป็น Co-branding โดยมีการออกป็น Product ใหม่ ที่มีดีไซน์เนอร์ของ Christian Dior, Hermes ซึ่ง Coulisse มีจุดแข็งในเรื่องนี้มาออกแบบ ก็ทำให้ BIW มีสินค้าที่โดดเด่นขึ้นมาอีก

ส่วน iCurtain เราก็ Re-branding อีกรอบเป็นรอบที่ 3 รอบนี้เริ่มจากเราเปิดร้านเซ็นทรัล บางนา โดยมีการมองกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ มีการปรับโลโก้ให้ดูพรีเมียมมากขึ้น มีความทันสมัยด้วยสีดำ ทองผสมกัน มีความเป็นวินเทจนิด ๆ โดยวาง Concept เป็น Smart Curtain Solution

SME One : ทุกวันนี้สินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตัดราคาผ่าน Cross Border มองปัญหานี้อย่างไร

สิริชัย : ขึ้นอยู่กับ SMEs จะวาง Positioning ของตัวเองอย่างไร คิดว่าสินค้าของจีนอย่างไรก็กระทบกับตลาดอยู่แล้ว จริง ๆ ผมก็มีสั่งซื้อสินค้าของจีนมาขายแต่เลือกที่คุณภาพดี ๆ จริง ๆ คนจีนอยากขายของกับเรา ถ้ามองว่าเขาขายผ้าเป็นวัสดุ ทำไมเราไม่ลองเปลี่ยนมุมมองว่าเราสามารถมีตัวเลือกลายผ้าที่หลากหลายขึ้น แต่ถ้าเกิดเรามองว่าเป็นอุปสรรค ทุกอย่างก็เป็นอุปสรรคหมด แบรนด์ไหนมาเปิดก็เป็นอุปสรรคหมด 

อย่างไรธุรกิจแบบ Cross Boarder ก็ต้องเกิดแน่นอน ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมห่วงมาก สำหรับวงการผ้าม่าน

ผมพยายามที่จะหาชวนคนที่ทำธุรกิจนี้ให้มาเน้น Present ขายของคุณภาพ เน้น Present ขายของยุโรป เขาจะอยู่รอดเมื่อจีนเข้ามา หรือไม่ก็ต้องใช้รูปแบบไป Plug-in กับจีนเลย ก็อาจจะ Win-Win คือเปลี่ยนจากคู่แข่งไปเป็นคู่ค้า

 

SME One : ปัญหา COVID-19 จากปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปีนี้ iCurtain ประคองธุรกิจอย่างไร

สิริชัย : เรายังทำตลาดแบบผสมผสาน Online to Offline แต่หันมาทำ Online Marketing มากขึ้น โดยมีการเช่าตึก 2 ห้องมาทำเป็นสตูดิโอตัดต่อภาพ ทำภาพถ่าย Production In-house ภายใน เริ่มจ้างคนมาทำ IG โดยเฉพาะ เริ่มจ้างคนมาตัดวีดีโอ ตัดคลิป เริ่มโยกทรัพยากรคนจากเดิมที่แบบ 100 คน มีคนทำ Marketing อยู่ 3 คน วันนี้เรามี Marketing เกือบ 20 คนแล้ว เรารู้แล้วว่า COVID-19 มาต้อง Go online เพราะฉะนั้นต้องเติมคนออนไลน์เข้าไปแบบค่อย ๆ เพิ่มทีละนิด ๆ แล้วก็มีการปรับปรุงเว็บไซต์ ปรับปรุง LINE OA ปรับปรุง Promotion มีการปรับ Facebook ให้มีการยิง Ads ที่ Effective ขึ้น มีการทำพวก KPI ทำเรื่องของตัว Data Analytic อะไรต่าง ๆ เป็นรูปแบบการตลาดสมัยใหม่ทำให้ทั้ง 2 ปีนี้ เราก็ยังเติบโตอยู่ 

 

SME One : ทุกวันนี้กลุ่มลูกค้าหลักของ iCurtain มีใครบ้าง

สิริชัย : ถ้าเป็นตลาดบ้านเป็นตลาด iCurtain จะโฟกัสมากกว่า แต่ถ้าเป็นบ้านหรูแบบสร้างแบบหลังใหญ่ ๆ แบบนี้ BIW จะโฟกัส คือ BIW จะมีช่องทางในการเจาะเข้า Interior Designer เข้าหาผู้รับเหมา ร้านผ้าม่านโดยตรง ซึ่งเน้นจับตลาด High-End ส่วน iCurtain ก็จะมีเจาะตลาดโครงการหมู่บ้าน คอนโด บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นลูกค้าเรา เช่น 70% ของวอลเปเปอร์ในโครงการของพฤกษาเราเป็นคนติด หรือในคู่สัญญาปีนี้บ้านและคฤหาสน์ทั้งหมด 1 ใน 3 ของตัวแบบผ้าม่านที่กลุ่มอนันดา กลุ่มแสนสิริใช้เราเป็นคนทำ 

ส่วนตลาดสำนักงานหรือร้านค้า เราก็ทำเยอะมากหลายบริษัท เราเคยทำร้าน 7-Eleven ครึ่งประเทศ เราทำให้ร้านวัตสันเกือบทุกสาขา อย่างงานพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลที่ 10 เราก็ทำในส่วนของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน อันนั้นก็คือเป็นงานที่แบบสูงสุด

หรือมีงานแบบ Queen Elizabeth นำเรือมาจอดที่ประเทศไทยแล้วผ้าม่านเสีย เราไปซ่อมให้ หรือพระองค์ดาโช นัมเกล วังชุก ที่เป็นเสด็จอาของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มีพระประสงค์จะซื้อผ้าม่านไปติดที่ภูฎาน ก็ติดต่อมาทางเรา

 

SME One : มองแนวโน้มของธุรกิจนี้อย่างไร

สิริชัย : คือบ้านเป็นปัจจัย 4 เพราะฉะนั้นอย่างไรก็ไปได้ เพราะก็ต้องมีคนอยากทำให้บ้านสวย ซึ่ง iCurtain ก็เป็น 1 ในฟังก์ชันที่จะทำให้บ้านสวย เพราะฉะนั้นธุรกิจนี้เป็นเทรนด์ที่เติบโตแน่นอน

 

SME One : คิดว่าอะไรคือ Key Success ของบริษัท

สิริชัย : ผมคิดว่าผมเป็นคนชอบเรียนรู้ ผมรู้สึกสนุกกับการทำชีวิตให้มีคุณค่า แล้วสิ่งที่ทำคือคิดดีกับสังคมและประเทศชาติ คือผมอยากทำสินค้าที่ดี ผมอยากขายเพิ่มขึ้นเพราะอยากจะ Present สินค้าที่ดีให้กับประเทศมากขึ้น นี่คือความฝันของผม 

พอฝันว่าอยากจะช่วยเหลือประเทศ ผมรู้สึกว่าผมต้องเติบโต ต้องเรียนรู้อีก ไม่สามารถจะจบแค่นี้ได้  สุดท้าย คือผมเป็นคนที่รู้สึกว่าไม่กลัวความเหนื่อย ไม่เคยรู้สึกว่าการที่เราต้องทำเยอะมันจะแย่อะไร หรือว่าการที่เราต้องต้องลุยมันแย่อะไร ผมทำงานแบบตรวจเช็กเครื่องจักรก็ทำ หิ้วของเองก็ทำ เหนื่อยนอนพักก็หายเหมือนนักกีฬาซ้อมไม่ดี เราก็แพ้ เพราะฉะนั้นเราทำให้เยอะ ซ้อมให้เยอะ 

 

SME One : เป้าหมายทางธุรกิจของ iCurtain ในระยะยาวคืออะไร

สิริชัย : จริง ๆ ผมตั้งเป้าจะเข้าตลาดหุ้นภายใน 5 ปี และก็ผมคิดคาดหวังว่า iCurtain จะต้องนำเสนอ Smart Curtain Solution ให้ลูกค้าจริง ๆ คือเรื่องของสินค้าตกแต่งภายในมีความหลากหลายของสินค้า เช่น เป็น High Quality เป็น European Innovation 

ส่วนลูกค้ารายเดิมเรายังสามารถที่จะขยายได้อีกเยอะ เพราะยังมีอีกหลายอย่างที่เขาซื้อเราเพิ่มได้ เช่น  กลุ่มอนันดาเขาซื้อของเราเยอะมาก เราก็ต้องมานั่งคิดต่อว่า ขอแต่งบ้านนอกจากขายผ้าม่าน เราขายวอลเปเปอร์เพิ่มได้ไหม เราขายพื้นเพิ่มได้ไหม ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ ผมรู้สึกว่าตัวเองยังเล็กอยู่มาก ยังสามารถขยับขยายได้อีกพอสมควร และโอกาสทางตลาดก็ยังเปิดอยู่

 

SME One : ถ้าอยากจะขอคำแนะนำให้กับ SMEs จะให้คำแนะนำอะไร 

สิริชัย : อันดับแรกเลย ผมคิดว่า SMEs เป็นบริษัทที่สามารถเติบโตได้อีกมาก คือถ้าเรามองว่าเราตัวเล็กแล้วเสียเปรียบ บางทีมันก็จะเสียเปรียบจริง ๆ เพราะเราคิดอย่างงั้น แต่ถ้าเรามองว่าการที่ตัวเล็กทำให้เราคล่องตัว เราสามารถที่จะเติบโต ตลาดยังมีพื้นที่สำหรับเราได้อีกเยอะ เรายังหาอะไรให้ทำอีกมากมาย มันจะทำให้ SMEs ความหวัง

ถ้า SMEs มีความหวังที่จะเติบโตมันก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ไปต่อ แต่ถ้า SMEs คิดว่าตัวเองเติบโตแล้ว หรือพอแล้ว เมื่อไหร่ที่คิดว่าพอก็จดไม่มีแรงขับเคลื่อนซึ่งก็แล้วแต่คนนะครับ บางคนก็อาจจะพอใจในสิ่งนั้น ก็โอเค ไม่ได้ผิดอะไร

SMEs นี่เป็นอะไรอิสระมาก คือบางคนต้องการแค่เลี้ยงลูก บางคนต้องการเลี้ยงลูกน้อง หรือแบบผมต้องการเป็นเป็นบริษัทมหาชน คือ SMEs มันเป็นอะไรที่ไร้ขีดจำกัด อยากเป็นอะไรก็เป็นได้

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ iCurtain มาจากมุมมองของผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการทำธุรกิจแบบ Red Ocean หรือสงครามราคา iCurtain ค่อยๆ พัฒนาจากธุรกิจจากสินค้าทั่วไป จน iCurtain กลายมาเป็นแบรนด์ที่มีเชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของลูกค้า ทั้งในส่วนของผู้บริโภคและผู้ประกอบการอสังหาริมทรพัย์ของไทย ไม่เพียงเท่านั้น iCurtain ยังเป็นที่ไว้วางใจจากราชวงค์ในต่างประเทศในการให้คำปรึกษาและบริการด้านวัสดุกันแสงอีกด้วย

บทความแนะนำ

เจาะอินไซต์ “ผู้สูงอายุ” ยุคดิจิทัล เมื่อไทยเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” SMEs จะคว้าโอกาสนี้อย่างไร ?

ทุกวันนี้โครงสร้างประชากรทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง หลายประเทศเจอกับการเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ปัจจัยหลักมาจากคนอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่อัตราการเกิดลดลง 

“สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs : UNDESA) รายงานว่าในปี 2020 ทั่วโลกมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 727 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในอีก 3 ทศวรรษข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกจะสูงถึง 1,500 ล้านคนในปี 2050 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทุกทวีป 

สำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุในประเทศ ตั้งแต่ปี 2548 เวลานั้นไทยยังเป็น “สังคมสูงวัย” (AgingSociety) คือ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ แต่ปัจจุบันก้าวสู่การเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”(Aged Society) คือ ประชากรกลุ่มผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 ไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างเต็มที่” (Super-Aged Society) หมายความว่า ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นทั่วโลก หมายความว่าเวลานี้ทุกประเทศกำลังอยู่ในยุค “Longevity Revolution”คือ ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งน่าจับตามองว่าต่อไประบบเศรษฐกิจทั่วโลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยระบบ “เศรษฐกิจสูงวัย” (SilverEconomy) และ “เศรษฐกิจอายุวัฒน์” (Longevity Economy)นั่นคือ มูลค่าของตลาดสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่จึงเป็นโอกาสมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ SME ในการพัฒนาสินค้าและบริการ เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ 

 

ทำความรู้จัก “คนสูงวัย” ยุคดิจิทัล 

ที่ผ่านมาภาพจำเดิมของสังคมมักมองผู้สูงอายุว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ทันเทคโนโลยี ไม่ชอบใช้เทคโนโลยี ไม่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ และยังใช้ “ตัวเลขอายุ” มากำหนดตัวตนของคนกลุ่มนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกวันนี้ผู้สูงอายุมีไลฟ์สไตล์แทบไม่แตกต่างจาก GenMillennials เลยด้วยซ้ำ ทั้งการใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้สิ่งใหม่ และที่สำคัญเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูง

ผลวิจัย ”Getting Older – Our Aging World”ของ Ipsosบริษัทวิจัยของฝรั่งเศสเผย ConsumerInsight ของผู้บริโภคกลุ่มสูงอายุ ที่จะทำให้แบรนด์สินค้า และบริการเข้าใจถึงตัวตน และมุมมองของผู้บริโภคกลุ่มนี้ 

  1. ในอดีตคนมองว่าอายุ 60 ปี เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว แต่โลกทุกวันนี้คำว่า “สูงวัย” ของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน

ค่าเฉลี่ยอายุที่เริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัยในปัจจุบันอยู่ที่อายุ 66 ปี แต่ก็มีบางประเทศ มองว่าผู้สูงวัยเริ่มต้นที่อายุ 70 ปี เช่น สเปน 

  1. เปิดรับเทคโนโลยี - ใช้ออนไลน์ - สมาร์ทโฟน - ซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันคนสูงอายุในหลายประเทศ ใช้ออนไลน์กันในชีวิตประจำวัน ไม่ต่างจากคนหนุ่มสาว อย่างในอังกฤษ 43% ของผู้สูงอายุซื้อสินค้าออนไลน์ ขณะที่ในแคนาดา 48% ของคนสูงอายุ ใช้เทคโนโลยีเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์ และสุขภาพ ส่วนประเทศไทย กว่า 1.2 ล้านคนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าถึงอินเทอร์เน็ต  

  1. ไม่ต้องการอยู่กับบ้าน ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ เริ่มต้นชีวิตใหม่หลังเกษียณ 

ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีไลฟ์สไตล์ที่แอคทีฟ ไม่ได้ต้องการอยุ่บ้าน เพื่อเลี้ยงหลาน แต่ต้องการท่องเที่ยว, เรียนรู้สิ่งใหม่ และต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่หลังวัยเกษียณ เช่น เริ่มต้นทำธุรกิจ 

ในฝรั่งเศส 70% ของผู้สูงอายุชอบลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ, ในเปรู 50% ของผู้สูงอายุต้องการออกไปท่องเที่ยว และ 40% ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ในเมืองไทยเองก็เช่นกัน โดย 75% ของผู้สูงอายุในไทยต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ และ 47% บอกว่าต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ 

4.มีอำนาจทางการเงิน 

มูลค่าตลาดผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างในอังกฤษ 47% ของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมาจากกลุ่มผู้สูงอายุ หรือคิดเป็นเงินมูลค่า 320,000 ล้านปอนด์ ขณะที่ฝรั่งเศส มูลค่าเม็ดเงินที่ผู้สูงอายุเตรียมเงินไว้สำหรับท่องเที่ยว รวมแล้วสูงถึง 22,000 ล้านยูโรและคาดการณ์ว่าปี 2030 เศรษฐกิจอายุวัฒน์ที่สหรัฐฯ จะมีมูลค่าใหญ่กว่าทุกภาคส่วนของตลาดอื่นรวมกัน 

ขณะที่ในประเทศไทย ในรายงาน “ความแตกต่างของช่วงวัย (Generation Gap) ที่ชัดเจน ทำให้ธุรกิจต้องตอบโจทย์ลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงขึ้น”โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประมาณการณ์การใช้จ่ายของกลุ่มผู้สูงอายุไทย มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี (CAGR 2560-2568) หรือราว 350,000 บาทต่อคนต่อปีในปี 2568 โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น 

การใช้จ่ายดังกล่าว สูงกว่าการใช้จ่ายของกลุ่มคน Gen ME ที่คาดว่าค่าใช้จ่ายจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ต่อปี (CAGR 2560-2568) หรือราว 323,000 บาทต่อคนต่อปีในปี 2568 

  1. ผู้สูงอายุไทยชอบออกกำลังกาย ท่องเที่ยว และใช้จ่ายไปกับอาหารมากสุด 

กิจกรรมยอดฮิตติดอันดับที่ผู้สูงอายุไทยชื่นชอบคือ ออกกำลังกาย, เดินทางท่องเที่ยว, การเพาะปลูก, ชอบสังคมเยี่ยมญาติ/เพื่อน และร่วมกิจกรรมชุมชน  

ขณะที่พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุชาวไทย พบว่าใช้จ่ายกับอาหารมากสุด ตามมาด้วยออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านในโอกาสพิเศษ, ใช้เงินซื้อเครื่องไฟฟ้าในบ้าน, ใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้า, ใช้เงินเพื่อการผ่อนคลาย และใช้เงินเพื่อท่องเที่ยว  

 

จับตาเทรนด์ธุรกิจในยุค “Longevity Revolution” 

จาก Insight ตัวตน และไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุในยุคดิจิทัลดังกล่าว เป็นข้อมูลสำคัญให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ SME นำไปทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ เพื่อใช้ต่อยอดการพัฒนาสินค้าและบริการ สำหรับเจาะกลุ่มผู้สูงอายุได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เช่น 

  1. ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 

สุขภาพที่ดี 80% มาจากอาหาร อีก 20% มาจากการออกกำลังกาย ยิ่งทุกวันนี้การดูแลสุขภาพ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแส แต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนแล้ว ทำให้ในช่วง 10 ปีมานี้ ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นดาวเด่นที่นับวันมีแต่จะเติบโตต่อเนื่อง เห็นได้จากข้อมูลบริษัทยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด รายงานว่า 

ปี 2561 มูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 86,648 ล้านบาท

ปี 2562 มูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 88,731 ล้านบาท

ปี 2563 มูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กว่า 100,000 ล้านบาท 

หนึ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่มีทั้งกำลังซื้อ และฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่สำหรับตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ คือ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการ SME ไม่ควรมองข้าม ในการพัฒนาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบ และมีสารอาหารที่ตอบโจทย์สุขภาพ เช่น วัตถุดิบออร์แกนิค, ใส่สารอาหารที่ครบถ้วน และเหมาะกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ, มีรูปแบบอาหารที่เคี้ยวง่าย อ่อนนุ่ม และขนาดพอดีคำ เพื่อให้รับประทานง่าย ป้องกันการสำลักอาหาร  

  1. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ 

จากแนวโน้มสังคมสูงอายุ บวกกับความเป็นเมืองที่คนอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และคนสูงอายุอยู่ตามลำพังมากขึ้น ในระหว่างที่ลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ธุรกิจ Nursing Home และ Day Care (รับดูแลผู้สูงอายุในช่วงกลางวัน) กลายเป็นอีกธุรกิจดาวรุ่งที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตาม Demand ที่เพิ่มขึ้น 

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ฉายภาพว่าธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอกการขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนรายใหญ่มีเพียงไม่กี่ราย หลักๆ เป็นธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ขยายมายังธุรกิจ Nursing Home 

- ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้บริการแก่กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง อัตราค่าบริการอยู่ที่ 15,000 20,000 บาทต่อเดือน และถ้าเป็นรายวันอยู่ที่ 700 900 บาทต่อวัน มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ 

- ผู้ประกอบการขนาดกลาง ให้บริการกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางระดับสูง ไปจนถึงผู้มีรายได้สูง ค่าบริการอยู่ที่ 20,000 40,000 บาทต่อเดือน และถ้าเป็นรายวันอยู่ที่ 900 1,200 บาทต่อวัน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ 

- ผู้ให้บริการขนาดใหญ่ ให้บริการกลุ่มผู้มีรายได้สูง และชาวต่างชาติ ค่าบริการ 40,000 80,000 บาทต่อเดือน และรายวันอยู่ที่ 1,200 3,600 บาทต่อวัน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองตากอากาศ เช่น หัวหิน เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต 

  1. ของใช้ในชีวิตประจำวัน 

นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว ตลาดสินค้าอุปโภคสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนบุคคล, ของใช้ภายในบ้าน เป็นตลาดใหญ่ที่ยังมีช่องว่างให้ผู้ประกอบการ SME เข้ามาได้อีกมาก เช่น

- เครื่องใช้ส่วนบุคคล เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม, บำรุงผิวหน้า,บำรุงผิว, ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก, ผ้าอ้อมผู้สูงวัย 

- สินค้าแฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่างๆ

- อุปกรณ์เทคโนโลยีใช้งานง่าย ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เช่น WearableDeviceมีฟังก์ชั่นแสดงสถานะร่างกายแบบ Real-time เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ, การเคลื่อนไหวร่างกาย, ระบบแจ้งเตือนต่างๆ

- อุปกรณ์ทางการแพทย์, เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย เช่น รถเข็น, ไม้เท้า, เตียงไฟฟ้า, โต๊ะ เก้าอี้แบบปรับระดับได้, ราวจับ, วัสดุกันลื่น, อุปกรณ์ Sensor ติดตามจุดต่างๆ ในบ้าน 

 

  1. ธุรกิจ Health &Wellness

เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ และกิจกรรมสันทนาการผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความสุข ทั้งทางกาย และทางใจ โดยในหมวดหมู่นี้มีหลากธุรกิจ เช่น ธุรกิจสปา, ธุรกิจฟิตเนสทำโปรแกรมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ, บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม, บริษัททัวร์จัดโปรแกรมท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งแตกต่างจากการท่องเที่ยวของคนทั่วไป ตรงที่ทริปผู้สูงอายุ ต้องเน้นความปลอดภัย และมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด, ทำหลักสูตรพัฒนาทักษะความรู้ด้านต่างๆเพื่อตอบโจทย์ยุค LifelongLearning ที่ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เราทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

บทความแนะนำ