สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์แห่งชาติ ได้แก่

1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ

3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี

5. ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) - มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศ

เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ SME ได้ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเฉพาะทางในการสนับสนุนนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการได้ในทุกอุตสาหกรรม ให้กลุ่มผู้ประกอบการมีความเข้มแข็ง และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้

บริการจากทางหน่วยงาน
 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการจากทาง สวทช. ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ทาง สวทช. จึงได้เปิดช่องทางให้บริการรูปแบบใหม่ ในชื่อ 3X ประกอบด้วย

1. Connex – เป็น One-Stop Solution ที่จะเชื่อมต่อผู้ประกอบการ เข้ากับทุกบริการจาก สวทช. ตั้งแต่ที่ปรึกษา, การให้บริการข้อมูล ไปจนถึงการบ่มเพาะธุรกิจ เรียกได้ว่า หิ้วกระเป๋าเข้ามาที่ Connex ก็สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างสะดวกสบาย

2. TD-X - เป็นศูนย์พัฒนาต้นแบบรวดเร็ว ที่จะให้บริการด้านการผลิตขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงการทดสอบคุณสมบัติ การใช้งานจริง ไปจนถึงการทดสอบตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้น ๆ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ทีมออกแบบ และทีมเชื่อมโยงระบบวิศวกรรม อยู่เคียงข้างให้กับผู้ประกอบการ

3. INNO-X – พื้นที่สำหรับรองรับผู้ประกอบการรายย่อย ที่ยังไม่พร้อมจะมีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ สามารถเข้ามาใช้บริการพื้นที่สำนักงาน เพื่อจดทะเบียนบริษัท และใช้พื้นที่นี้ในการรับรองลูกค้า เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าได้ ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับการพัฒนาธุรกิจ เพราะแวดล้อมไปด้วยระบบนิเวศของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเหล่าผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดในการทำงานต่าง ๆ กันได้

สวทช. เข้าใจทุกปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ให้ 3X เป็นเพื่อนร่วมเดินทางสร้างนวัตกรรมไปกับคุณ ธุรกิจนวัตกรรมจะเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น สวทช. ยังมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการให้บริการนี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ ผู้ประกอบการจะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้


ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่อยู่: 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์: 0-2564-7000

โทรสาร: 0-2564-7001

Call Center: 0-2564-8000

อีเมล: info@nstda.or.th

เว็บไซต์ : www.nstda.or.th

Facebook: NSTDATHAILAND

YouTube: NSTDAChannel TVstation

Line Official: @NSTDA

 

 

บทความแนะนำ

SME SPEED UP เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด

May be an image of 1 person, phone and text that says "SME E สินเชื่อ SME Speed Up เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ติบโตแบบก้าวกระโดด ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน กับ SME Bank จุดเด่น เปิดกว้าง กู้ได้ทั้งบุคคล ธรรมดา และนิติบุคคล ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และการท่องเที่ยว � ระยะเวลามากเพียงพอที่จะ วางแผน บริหารจัดการต้นทุน วงเงินและระยะเวลากู้ วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท � อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6% หรือ MLR-1.25% :) ผ่อนชำระนานสูงสุด 12ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน"

 

📌 SME SPEED UP เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 💸 สินเชื่อนี้น่าสนใจอย่างไร? ติดตามได้เลย!!

 

🟢 จุดเด่น
 เปิดกว้างให้กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
 ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการผลิต ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจการท่องเที่ยว
 ระยะเวลามากเพียงพอที่จะวางแผนบริหารจัดการต้นทุนและธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

 

🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
 วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท
 อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6% หรือ MLR-1.25%
 ผ่อนชำระนานสูงสุด 12 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน

 

* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 

👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่
https://www.smebank.co.th/loan/smespeedup/

ขอขอบคุณข้อมูลจาก SME BANK

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สินเชื่อSME #SMESpeedUp

บทความแนะนำ

ติดปีกให้ธุรกิจบินต่อได้ไกล ลูกค้าแอปฯ ถุงเงิน กู้เลยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก

May be an image of text

 

💸💸 ติดปีกให้ธุรกิจบินต่อได้ไกล ลูกค้าแอปฯ ถุงเงิน กู้เลยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก!! ไม่ต้องใช้หลักประกัน วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท

สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก สินเชื่อธุรกิจ sme ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะสำหรับร้านค้ารายย่อย พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเงินลงทุนเพื่อขยายร้าน

เติมสต็อก เปิดร้านสาขาใหม่ หรือเพิ่มเงินหมุนเวียนในธุรกิจ

 

🟢 จุดเด่น
 แค่ใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทย ขายของบนระบบ POS หรือขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee
 กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท (บสย. ค้ำประกัน)
 ดอกเบี้ยต่ำสุด MRR% ต่อปี

 

🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
 วงเงินรวมสูงสุด 20 ล้านบาท (ในกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน)
 ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี

 

 

* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 

👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ https://krungthai.com/th/content/sme/loan/smart-shop

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก krungthai

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สินเชื่อSME #สินเชื่อกรุงไทย



 
 

บทความแนะนำ

Papacraft งานฝีมือที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

Papacraft งานฝีมือที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

 

      Papacraft เป็นแบรนด์เครื่องหนัง – เครื่องประดับที่มีต้นกำเนิดมาจากความฝันของคุณช้าง - ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล กับคุณขวัญ - ต้นฝน ตั้งมหาสถิตกุล ลูกชายที่อยากจะสร้างตราสินค้าโดยอาศัยความชำนาญของตัวเอง คือ “ช่างหนัง” คุณประสิทธิ์ เล่าให้ฟังว่า ความฝันของตนเองคือ อยากเป็น Craft Man หรือช่างฝีมือที่ออกแบบชิ้นงานจากจินตนาการ โดยมีร้าน หรือแกลเลอรี่เล็กๆ ควบคู่กับงานแปลที่ทำอยู่ แต่ลูกชายซึ่งเห็นความตั้งใจในการทำเครื่องหนังด้วยความปราณีตทุกชิ้นมาตั้งแต่เล็กๆ กลับมีความฝันไกลกว่านั้น คือเขาอยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ทั้งหมดนี้คือที่มาของ Papacraft แบรนด์เครื่องหนังทำมือที่เกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

SME ONE : จุดเริ่มต้นของ Papacraft เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ประสิทธิ์ : Papacraft เริ่มต้นจากตัวผมเองที่ชอบทำงานเครื่องหนัง แล้วก็ทำมาเป็นงานอดิเรกมานาน จนกระทั่งเมื่อ 6 ปีที่แล้วจึงเริ่มทำเป็นจริงเป็นจังด้วยแรงเชียร์ของลูกชายที่อยากทำแบรนด์ ซึ่งตัวผมเองก็ไม่เคยทำแบรนด์มาก่อน  ก่อนที่จะทำ Papacraft ผมเคยทำกำไร เครื่องประดับ แล้วเรามองเห็นว่ามันน่าจะไปได้ ก็เลยลองส่งไปที่ TCDC ให้พิจารณา จนได้ขายที่ตลาด Creative Market ซึ่งผลตอบรับที่ได้กลับมาก็ดีเกินคาด เลยมองเห็นว่าเป็นไปได้ และน่าที่จะไปต่อได้ ก็เลยเริ่มต้นจากตรงนั้น ตอนนี้ก็ครบ 5 ปีแล้วที่ผมย้ายมาที่ลำปาง มาเปิดแกลลอรีที่กาดกองต้าเป็นคาเฟ่ บวกแกลลอรี 

ถามเรื่องแรงบันดาลใจ จริงๆ แรงบันดาลใจมันเป็น Passion ส่วนตัวของเรา นั่นคือยังมีสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ แล้วเรายังไม่ได้ทำ ก่อนที่ผมจะมาทำแบรนด์ Papacraft ผมเป็นนักแปล ก็เป็นงานที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ผมได้รางวัลนักแปลดีเด่นเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว แต่มันก็มีหลายอย่างที่เราอยากทำ งาน Craft งานฝีมือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจเรามาตลอด ประจวบกับเวลาที่เราเห็นดีไซน์ที่เราทำ เราก็รู้สึกว่าเราพอใจ มันสะท้อนตัวตนเราได้ชัดเจน ทีนี้พอเราทำนอกจากมันเป็น Passion ส่วนตัว มันก็กลายมาเป็น Passion ของครอบครัวด้วย ลูกชายก็มาช่วยทำ เราก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจที่เราสามารถสร้างเงินได้ 

SME ONE : ชื่อแบรนด์ Papacraft มาจากอะไร

ประสิทธิ์ : มาจาก Papa + Craft ตรงตัวเลย Papacraft คืองานฝีมือของพ่อนั่นแหละ จริงๆ ผมตั้งไว้หลายชื่อแต่ชื่อนี้ดูน่ารักที่สุด และบ่งบอกความเป็นธุรกิจของครอบครัว ตัวตนของ Papacraft ดีไซน์ทุกอย่างเราเป็นคนดีไซน์เอง แต่ตอนหลังด้วยเทคนิคของผมมันก็ไปแตกไลน์แตกหน่ออะไรใหม่ๆ ประกอบกับลูกชายที่ทำงานด้วยกันเขาก็จบด้านดีไซน์มา ก็เข้ามาสานต่อในงานดีไซน์ของผมและทำให้มันสวยงามขึ้น เข้ากับตลาดมากขึ้น แรกเริ่มเดิมทีของผมที่ทำ ผมไม่ได้ดูตลาดเลย ผมไม่ได้สนใจว่ามีกลุ่มเป้าหมาย หรือมีความต้องการของตลาดหรือไม่ หลังจากนั้นลูกชายที่มาสานต่อก็มองในเรื่องของการตลาด มองความสวยงามทางด้านศิลปะด้วย ก็คือต้องไปด้วยกัน แล้วก็มาดีไซน์ให้เรา เรื่องเทคนิคต่างๆ เรื่องความประณีตของกระบวนการผลิตและอีกหลายอย่างที่เขาดูแล ตอนนี้ตัวผมก็นานๆ ทีจะดีไซน์แบบใหม่ๆ ขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นลูกชายดูแลแล้ว 


SME ONE : ความต่างระหว่าง 2 เจนเนอเรชั่นเป็นปัญหาในการทำงานบ้างหรือไม่ 

ประสิทธิ์ : ต้องบอกว่า Papacraft ยังไม่ใช่เป็นการสานต่อธุรกิจ ถ้าเป็นกรณีทั่วไปที่พ่อทำมาระยะหนึ่งจนสำเร็จแล้วลูกเรียนจบก็มาสานต่อก็อาจจะมีโอกาสเกิดปัญหา แต่อันนี้ไม่ใช่สานต่อ แต่ต้องเรียกว่าเราเริ่มมาด้วยกัน เพราะในขณะที่ธุรกิจเริ่มต้นไปได้สัก 1-2 ปี ลูกก็เข้ามาช่วยก็ถือว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเลย การที่ Papacraft เป็นที่รู้จักได้ ถ้าไม่มีลูกชายก็เป็นไปไม่ได้เลย

ส่วนเรื่อง Generation Gap ที่ว่าเรื่องยุคสมัยของอาป๊า อากงที่ทำมา เขาทำธุรกิจมาแบบหนึ่ง แล้วทีนี้ลูกชายไปเรียนมา เขาทำธุรกิจในแนวทางของธุรกิจสมัยใหม่ มันจะเกิดปัญหาในหลายๆ ครอบครัวเลยแหละ แต่สำหรับผมไม่มี อย่างที่บอกเพราะเราเริ่มต้นมาด้วยกัน เราค่อนข้างคุยไปในทิศทางเดียวกัน มันอาจจะมีประสบการณ์ส่วนตัวที่แชร์เข้าไป แต่ผมไม่ได้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเลย เพราะฉะนั้นด้านธุรกิจเราถือว่าเราเริ่มต้นจากศูนย์มาด้วยกัน ส่วนเรื่องดีไซน์อะไรต่างๆ ก็มีบ้างที่อาจจะมองกันคนละทาง แต่สุดท้ายก็มาเจอกันจนได้ 

SME ONE : วันที่กลับมาทำธุรกิจเต็มตัวอีกครั้ง มองเห็นโอกาสทางธุรกิจอย่างไร

ประสิทธิ์ : ตอนเริ่มต้นผมไม่มั่นใจว่าบุปผากำลัย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกงานเครื่องประดับจากหนังฟอกฝาดที่ผมออกแบบเอง มาจาก บุปผา + กำไล + มาลัย จะตอบโจทย์ทางการตลาดหรือไม่ แต่การออกร้านครั้งแรกในงาน Bangkok Design Week 2018 ทำให้เรามั่นใจ และมองเห็นโอกาสทางธุรกิจว่างานออกแบบจากจินตนาการของเราสามารถสร้างเป็นธุรกิจได้ ก่อน COVID-19 ผมไปขายในตลาด ไปลุยตลาดท่องเที่ยวเชียงใหม่เองเลย แล้วเราก็พบว่าสินค้าของเรามันดึงดูดนักท่องเที่ยว เราเองก็ทึ่งอยู่เหมือนกัน ชาวจีนหรือฝรั่งส่วนใหญ่จะหยุดแล้วก็ซื้อ เราก็ทึ่ง เราก็มองเห็นว่ามันมีโอกาสที่จะส่งออกได้แน่นอน ในตอนนั้นก็เริ่มมีออเดอร์บ้าง แต่ไม่ได้มากมายอะไร แต่ก็เรียกว่าเริ่มต้นธุรกิจแล้ว แต่ COVID-19 ก็เข้ามาขัดจังหวะเสียก่อน  ตอนช่วง COVID-19 เราก็เลยต้องถอยเพราะไม่รู้จะไปขายที่ไหน ช่องทางทุกอย่างปิดหมดเลย ช่วง COVID-19 เราจึงต้องมาทำคาเฟ่ แล้วก็เริ่มสร้าง Personality ในโลกโซเชียลตั้งแต่ตอนนั้น


SME ONE : อยากให้อธิบายแนวคิดและการต่อยอดเทคนิคการดีไซน์ที่ส่งผลต่อการสร้างโอกาสทางการตลาด ใหม่ๆ

ประสิทธิ์ : Papacraft มีไอเดียที่เราคิดมาตั้งแต่ต้นก่อนจะมี BCG Model หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ขับเคลื่อนกันในปัจจุบัน คือการใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดในกระบวนการผลิตของเรา และการนำวัสดุมาหมุนเวียน ซึ่งตอนนี้เราเริ่มทำสำเร็จแล้ว โดยนำนมที่หมดอายุมาสกัดโปรตีน และผสมแป้ง จนได้วัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งที่คล้ายเซรามิค สามารถนำมาปั้น และประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบุปผากำลัย  ผลงานการค้นพบนี้เป็นงานวิจัยที่เราทำร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

ที่มาที่ไปของโครงการนี้มาจากเราเห็นปัญหาของเราว่า แบบบางอันเราไม่ชอบ แต่เราไม่รู้จะใช้วัสดุอะไรอย่างเช่น พวกสีมันก็เป็นสีย้อมหนังซึ่งก็เป็นสีเคมี เราสัมผัสเราก็ไม่ชอบแต่เราก็ไม่มีทางเลือก ก็คิดมาอยู่ตลอด แต่ในส่วนของวัสดุของหนัง ผมเลือกหนังฟอกฝาน เพราะเป็นวัสดุที่ใกล้กับธรรมชาติจริงๆ ต้องเล่าก่อนว่ากระบวนการฟอกฝานเป็นกระบวนการฟอกหนังที่มีมาแต่ดั้งเดิม เหมือนพวกอินเดียนเขาก็ใช้การฟอกอะไรแบบนี้ คล้ายๆ กัน คือการลอกขนออกด้วยปูนขาว แล้วก็ใช้พวกแทนนินที่เรียกว่าฝาน ซึ่งเป็นพวกเปลือกไม้ฟอกสีให้มันขาว อันนี้จะเป็นวัสดุธรรมชาติ เราไปดูกระบวนการที่โรงงานแล้ว การควบคุมอะไรต่างๆ ของโรงงานก็ทำได้ดี อันนี้เราไว้ใจได้ ถ้าเทียบกับหนังที่ผ่านกระบวนการต่างๆ แบบที่ลดต้นทุน หนังฟอกฝานมันดีกว่ามาก ทำให้เราสร้างสรรค์งานได้เยอะ มันไม่ใช่หนังสำเร็จที่เราเล่นอะไรกับมันไม่ได้ ตอนที่เริ่มทำ เราคิดค้นเทคนิคการทำสี ทำ Texture ทำอะไรต่างๆ ด้วยตัวเอง อย่างเช่น ชุด Woven Brass เราเอาทองเหลืองมาร้อยแล้วทำให้ Texture มันคล้ายๆ กับงานสานของแบบไทยๆ หรือเอเชีย

ยังมีหลายเทคนิคที่เราคิดค้นขึ้นเอง ซึ่งถ้าเป็นกับหนังอื่นที่ทำสำเร็จ หนังออยล์อะไรแบบนี้ เราจะไม่สามารถสร้างสรรค์งานได้ อันนี้คือเรื่องของวัสดุ ซึ่งก็เป็น BCG Modelยอมรับว่าโลกยุคนี้เป็นโลกยุคสมัยใหม่ การใช้หนังสัตว์ก็มีส่วนทำลายธรรมชาติ แต่เรายังไม่สามารถหาวัสดุมาทดแทนหนังที่มันดีกว่าตรงนี้ได้ ส่วนเรื่องสีเราทดลองมาระยะหนึ่งแล้ว เราลองใช้สีอื่นๆ เช่น สีย้อมผ้า เมืองลำปางเราส่งออกครั่ง ครั่งเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่แล้ว เราทดลองเราครั่งมาย้อมปรากฏว่าก็ย้อมติดและติดทนด้วย อันนี้ก็เป็นอีกโครงการที่เรากำลังจะทำ แต่มันเป็นช่วงของการเริ่มต้น แล้วสีครั่งที่เราได้มา ย้อมลงบนหนัง มันยังไม่สวยถูกใจ ตอนนี้ยังเทียบกันไม่ได้กับสีเคมี แต่ตอนนี้เราก็พยายามหาส่วนผสมที่จะทำให้สีสดขึ้น นอกจากนี้ก็มีคราม เราก็ทดลองทำครามเปียก แต่ครามที่เราทดลองอยู่มันใกล้เคียงธรรมชาติมาก อันนี้ก็อยู่ในช่วงทดลอง อยู่ระหว่างการพัฒนา


SME ONE : ช่วงที่เริ่มต้นทำธุรกิจกับปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด

ประสิทธิ์ : ปัจจุบันเรามีร้านกาแฟ เพิ่มขึ้นมา ร้านกาแฟเดิมทีเราไปขายเชียงใหม่ เราพบว่ากลุ่มเป้าหมาย 70% ของเราเป็นคนจีน ที่เหลือคือคนไทย เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่ง ตรงนั้นเรามั่นใจเลยว่าเป็น Target หลักของเรา แต่ว่าช่วง 3 ปีที่เจอ COVID-19 เราขายน้อยลง ซึ่งยังดีที่เรามีธุรกิจร้านกาแฟมาช่วยประคอง สิ่งที่ Papacraft แตกหน่อออกไปก็คือ เราทำแกลเลอรีให้เป็นพื้นที่จำหน่ายให้กับงานคราฟต์ในลำปาง นี่คือจุดหนึ่งที่เราแปลงร้านเป็นพื้นที่จำหน่ายที่สร้างรายได้ให้กับคนทำงานคราฟต์ในลำปางหลายแบรนด์ แล้วก็มีการแตกไปทำงานรวมกลุ่มกับคนงานคราฟต์ในลำปาง แต่ช่วงนี้ก็เงียบๆ ไปหน่อย เพราะหลังช่วง COVID-19 ตลาดเปิดแต่ประเทศไม่เปิด หลายๆ คนก็ทำมาหากินได้ และมีที่ทางของตัวเองแล้ว คนที่ทำงานคราฟต์ คนที่ทำงานอิสระหลายๆ คนก็เกิดจากการรวมกลุ่มตรงนี้ แล้วก็มีที่ทางของตัวเองแล้ว


นอกจากนี้เรามีจัดกิจกรรม Workshop เล็กๆ บ้าง แต่ว่ายังไม่ได้ชูเป็นเรื่องหลัก จริงๆ Workshop เราจัดมาตลอด แล้วเรามีจัดกิจกรรมอีเวนท์ในบ้านด้วย ในช่วง COVID-19 เราจัดหมุนเวียนกันไป มีหลายๆ Workshop แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้เต็มที่ เพราะเราไม่ได้จ้างคน แรงงานเราน้อย เดิมทีผมต้องทำทุกอย่าง เป็นคนผลิตงานเองด้วย เพื่อที่เราจะได้ช่วยให้คนที่ทำงานคราฟต์มีที่ทาง เราก็เปิดตัวด้วยการทำ Workshop ช่วงหลังก็เลยหยุดไป แต่เราเพิ่งจะคุยกันไม่กี่วันนี้เองว่ากำลังจะมีทัวร์จีนมา ถ้ามีในลักษณะแบบนี้เราก็พอจัดให้ได้ ก็จะกลับมาทำใหม่ โดยเฉพาะ Workshop เครื่องหนังของเรา กำลังเซ็ตอยู่ว่าเราจะทำอะไรบ้าง

ต้องบอกตรงๆ ว่าปกติถ้าทำ Workshop เลยเราไม่มีเวลาจริงๆ แต่ถ้าเป็นกลุ่มชาวต่างชาติมาแล้วเขาต้องการจริงๆ เราก็สอนให้ได้ แต่เราไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวต่างชาตินะ เป็นคนไทยก็ได้ ถ้าอยากได้วิชาจริงๆ แล้วมาคุยกับเรา เราก็เปิดให้ได้ เพียงแต่ว่าช่วงก่อนที่เปิดมาแล้วมันเงียบ ตอนนั้นความต้องการตลาดตรงนี้มันยังน้อย แต่ถ้ามีการประสานงานกับกรุ๊ปทัวร์ แล้วมีทัวร์มาลงแบบนี้ก็คุ้มค่าในการจัด


SME ONE : Papacraft มีแผนงานที่จะต่อยอดธุรกิจอย่างไรในอนาคต

ประสิทธิ์ :  ในมุมมองของผม Papacraft ยังถือว่าไม่ได้ไปถึงจุดนั้น Papacraft ยังเป็นแค่แบรนด์เล็กๆ ที่เริ่มมีฐานลูกค้า และเริ่มเป็นที่รู้จักบ้างเท่านั้นเอง ก้าวต่อจากนี้ไป เราพยายามพัฒนาดีไซน์ผลิตภัณฑ์ ตามโมเดลของการช่วยบรรเทาวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก โดยไม่ให้สูญเสียอัตลักษณ์ของแบรนด์ และจะมุ่งโฟกัสไปที่การตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ตอนนี้เราพยายามจะทำการตลาดออนไลน์ให้แข็งแรงขึ้น เราก็ลองผิดลองถูกมาพอสมควร ถึงอย่างไรเราก็ต้องพึ่งพาตลาดออนไลน์ เพราะตอนนี้ Papacraft อยู่ได้ด้วยงานอีเวนท์ และแพลตฟอร์มที่เอาของเราไปขายมี Consignment ฝากขายในประเทศก็มีหลายเจ้าติดต่อมาแล้ว ระยะใกล้ๆ นี้เราต้องการทำออนไลน์ให้แข็งแรง ส่วนระยะยาวเรามี Design Product ที่อยู่ในลิสต์ของเราค่อนข้างเยอะ แต่ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป Papacraft ยังสามารถแตกไลน์ไปได้อีก

Papacraft เป็นงานคราฟต์ ผมอยากรักษาเสน่ห์ของมันเอาไว้คือ ทำมือ แต่งานที่ทำมือต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ามันโตช้า โตยาก ในต่างประเทศก็อยู่ยากเหมือนกัน ถ้าทำเลหรือสถานที่ไม่อำนวยก็อยู่ยาก ถ้าศิลปินมีร้านส่งอะไรเองมันก็ได้ แต่ของบ้านเรามันไม่ได้พร้อมขนาดนั้น ตอนนี้ผมพยายามจะทำอยู่ อย่างน้อยในลำปางก็มีที่จำหน่ายให้กับพวกศิลปินซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้น ในส่วนของงานคราฟต์ที่ทำอาจจะโตไปเลี้ยงลูกน้องได้ประมาณ 4-5 คนที่มาทำงานกับเรา ตอนนี้หลัง COVID-19 เราเริ่มจ้างคนเพิ่ม เราอยากโตไปโดยที่ยังสามารถรักษาเสน่ห์ของงานคราฟต์ได้ทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องดีไซน์ก็มองไปในอนาคตว่าอาจจะต้องพึ่งระบบกึ่งอุตสาหกรรม เราก็มองว่าจะทำยังไงที่จะผสมผสานระหว่างงานพื้นบ้านมาผสมกับงานโรงงานแล้วสามารถที่จะทำตลาดได้ ตรงนั้นก็เป็นเรื่องที่คิดอยู่ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป


SME ONE : Papacraft อยากไปขายในแพลตฟอร์มที่นิยมในประเทศจีน เช่น AliExpress, Alibaba,  Taobao บ้างหรือไม่

ประสิทธิ์ : ตอนนี้มีคนติดต่อมาแล้ว เป็นคนฮ่องกงติดต่อมากำลังคุยกันอยู่ ส่วนแพลตฟอร์มงานคราฟต์เราก็ทำอยู่ ใน Etsy แต่ก็ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เรื่องของการทำออนไลน์ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย พอเราเข้ามาทำเอง รู้เลยมันไม่ง่าย แต่เราก็มองว่าอาจจะเป็นเพราะเรายังทำไม่สุดทาง ความท้าทายของเราตอนนี้ คือการทำตลาดออนไลน์  เพราะตลาดออนไลน์แต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก บางทีข้ามปีไปแพลตฟอร์มใหม่มาอีกแล้ว อันเก่ายังไม่ได้ทำเลย ต้องยอมรับว่าในขณะที่เราสร้างชื่อแบรนด์ เราต้องพึ่งตลาดออนไลน์ด้วย จนกว่าจะถึงระดับที่คนมาหาเราแล้วเราอยู่ได้ มันก็ต้องมีช่องทางจำหน่ายอื่นๆ เข้ามาเสริม อันนี้คือความท้าทายจริงๆ และคิดว่าน่าจะท้าทายไปอีกระยะหนึ่งเลย 

SME ONE : อยากให้ฝากคำแนะนำกับผู้ประกอบการ SME

ประสิทธิ์ : การทำธุรกิจ และการตลาด ในยุคนี้เรามีเครื่องมือดิจิทัล มี AI มาช่วยงานเรา ทำให้ทุ่นแรงงานคนไปได้เยอะ แต่การทำธุรกิจ กับงาน Craft งานออกแบบสร้างสรรค์ อย่างที่ Papacraft ทำ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ในวิธีการแบบดั้งเดิม ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหน แต่คนยังต้องการสิ่งที่แสดงออกมาจากใจ ไม่ใช่คำพูดสำเร็จรูปของ AI

บทสรุป

ความสำเร็จของ Papacraft นั้นมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ 1. คุณภาพของสินค้าที่สร้างจากความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจในการผลิตแบบงานฝีมือทุกชิ้น จนทำให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาซื้อซ้ำ และคำว่า คุณภาพยังครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย คือต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย 2. การให้ความสำคัญกับเรื่องการตลาด เพราะต่อให้ผลิตภัณฑ์ดีไซน์สวยงามขนาดไหน ถ้าไม่ทำการตลาดก็ยากที่ผู้บริโภคจะรู้จัก 3.ความซื่อสัตย์และจริงใจ Papacraft ถือข้อนี้เป็นหลักธรรมสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเรียกลูกค้าว่าเป็นกำลัยมิตร ทุกๆ ปี Papacraft จะออกแบบการ์ด และของที่ระลึก พร้อมเขียนขอบคุณด้วยลายมือ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

 

บทความแนะนำ

เปิดแนวคิด “ร้านทางเลือก” ทางเลือกของคนรักสุขภาพ

เปิดแนวคิด “ร้านทางเลือก” ทางเลือกของคนรักสุขภาพ

       ก่อนจะเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ คุณการะเกด สรพิพัฒน์ เคยทำงานเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือเป็นพยาบาลในจังหวัดตรัง และได้สัมผัสคลุกคลีกับคนไข้ในกลุ่ม NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่บ่อนทำลายสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งมาตลอด คุณการะเกดมองว่า ถ้าคนในต่างจังหวัดมีข้อมูลด้านโภชนาการที่ดีเหมือนคนกรุงเทพก็มีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อันจะนำมาซึ่งการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ในที่สุด จนถึงจังหวะที่เหมาะสม คุณการะเกดจึงตัดสินใจออกจากงานมาเปิด “ร้านทางเลือก” ร้านอาหารที่เน้นจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีเมนูอาหารพื้นบ้านของภาคใต้อย่าง “ข้าวยำทางเลือก” เป็นตัวชูโรง


SME ONE : แรงบันดาลใจที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “ร้านทางเลือก”

       การะเกด : ร้านทางเลือกเกิดขึ้นมา 20 กว่าปีแล้ว เริ่มเปิดมาตั้งแต่ปี 2543 แต่แรกเราเริ่มมีกลุ่มเพื่อนที่สนใจอาหารสุขภาพและงานของชุมชน คุยกันว่าเราน่าจะมีร้านค้าที่รวบรวมผลผลิตของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้หรืองานหัตถกรรมต่างๆ มาจำหน่าย เพื่อจะช่วยเหลือชาวบ้านให้มีรายได้ สมัยนั้นรัฐบาลยังไม่มีโครงการ OTOP ส่วนตัวมองว่าโครงการนี้น่าจะอยู่ได้ยากถ้าไม่มีการเพิ่มพูนมูลค่าของสินค้า อย่างเช่นผักพื้นบ้านสมัยก่อนก็มีราคาที่ถูกมาก ก็เลยคิดว่าควรจะเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และมีร้านค้าด้วยเพื่อช่วยขายผลิตภัณฑ์ สาเหตุที่เราคิดถึงเรื่องอาหารสุขภาพก็คือ ตอนนั้นเราก็มีข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังที่บอกว่าสาเหตุของคนที่เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือด มะเร็งเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากเรื่องของการกิน กินเนื้อสัตว์ กินแป้ง
กินหวานมาก กินผักน้อย หรือกินผักที่ปนเปื้อนสารเคมี และจะมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่กินอาหารนอกบ้าน เวลาที่เราแนะนำให้คนกินอาหารสุขภาพก็มักจะมีคำตอบว่า ไม่รู้จะหากินได้ที่ไหน ความรู้ความเข้าใจของคนสมัยนั้น คือคิดว่าอาหารสุขภาพมีแต่ผัก กินยาก และไม่อร่อย เราก็เลยคิดว่าเราจะต้องมาทำเกี่ยวกับเรื่องความรู้ความเข้าใจตรงนี้เพื่อเป็นตัวอย่าง พอเปิดร้านก็เลยตั้งชื่อว่า “ร้านทางเลือก” ทางเลือกที่เป็น Alternative หมายความว่าเราจะสนใจผู้คนและสิ่งแวดล้อม และอีกความหมายหนึ่งก็คือ อยากให้เป็นทางเลือกเกี่ยวกับการกินของคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดตรัง เพราะว่าอาหารอร่อยๆ ก็มีเยอะ แต่เราอยากจะเสนอทางเลือกแบบนี้อีกทางหนึ่ง

       ด้วยความที่ไม่มีพื้นฐานในด้านธุรกิจทางด้านอาหารเลย แต่ก็รู้ว่าถ้าจะทำร้านอาหารแล้วอยู่ได้ จะต้องมีเมนูเด่นสักเมนูหนึ่งเพื่อที่จะดึงลูกค้า เราก็คิดว่าเราจะเอาอะไรมาเป็นเมนูเด่นเพื่อที่จะดึงลูกค้าได้ และเมนูเด่นต้องเป็นเมนูเพื่อสุขภาพด้วย แล้วก็เลยคิดเป็นเมนูข้าวยำขึ้นมา เนื่องจากว่าข้าวยำเป็นอาหารพื้นถิ่นของปักษ์ใต้ เราก็ตั้งชื่อเป็นข้าวยำทางเลือก ที่เลือกเมนูนี้ก็เพราะว่าข้าวยำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชั้นยอด เพราะมีสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ อันนี้ก็เป็นแนวคิดตั้งต้น แล้ววัฒนธรรมการกินข้าวยำเมื่อ 20 กว่าปีก่อนก็จะเป็นแค่อาหารในท้องถิ่น เป็นอาหารราคาถูก ไม่พิถีพิถันในการปรุง ปรุงแบบง่ายๆ ให้ครบเครื่องตามตำรับดั้งเดิม ส่วนใหญ่เลยไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป จะมีกินเฉพาะในกลุ่มของคนใต้ ทีนี้เมื่อเราเลือกเมนูนี้ขึ้นมาในร้าน เราก็คิดว่าถ้าเราจะขายข้าวยำราคาถูก เราจะต้องขายวันละกี่จานถึงจะได้ค่าแรงพนักงาน ก็เลยเป็นแนวคิดที่เราต้องทำข้าวยำให้เป็นเมนูที่โดดเด่นขึ้นมาจากอาหารทั่วไป เป็นอาหารที่ขึ้นโต๊ะได้ มีมูลค่ามากพอจนคนยินดีที่จะจ่าย อันนี้เป็นแนวคิดเริ่มต้นของร้าน แต่ตอนแรกเราก็ขายได้แค่จานละ 15 บาท ขายเกือบตายกว่าจะได้เงินสักร้อยบาท เราก็มีการขายอาหารหลายเมนู เพราะถ้าขายข้าวยำอย่างเดียวคงไม่มีเงินพอเลี้ยงพนักงาน  เมื่อขายได้สักพักก็สังเกตว่าลูกค้าเวลามากินที่ร้านเราชอบซื้อกลับบ้าน เราก็คิดว่าถ้าเราจะทำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใส่อาหารแล้วเก็บได้ยาวนานและดูดี จนสามารถเป็นของฝากที่คนรับไปแล้วรู้สึกชื่นใจ เพราะมีความอร่อยด้วย และสวยงามด้วย เราก็เลยคิดบรรจุภัณฑ์ขึ้นมา บรรจุภัณฑ์ของเราก็ต้องทำด้วยกระดาษ เพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้ รีไซเคิลได้ แนวคิดตรงนี้ก็เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะเพิ่มยอดขายเพื่อให้เราอยู่ได้


SME ONE : 20 ปีที่แล้ว คำว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอะไรที่ใหม่มาก แม้แต่คนที่อยู่กรุงเทพฯ ยังไม่คิดถึงเรื่องนี้ อะไรทำให้เราตัดสินใจว่าจะทำในต่างจังหวัดได้สำเร็จ

การะเกด : จริงๆ ในต่างจังหวัดจะมีกลุ่มคนที่สนใจอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว เราอาศัยเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา ก็คิดว่าต่อไปในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองไทยจะได้รับความนิยม ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ต่างถิ่นแต่เรามีอาหารที่ดีมีประโยชน์ แล้วการให้เป็น Signature ก็เชื่อว่าน่าจะสามารถดึงดูดผู้คนให้มากินอาหารที่ดีได้อะไรประมาณนั้น 

SME ONE : อาหารเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มักจะไม่อร่อย เพราะผักเยอะ และรสชาติอ่อน มีวิธีการทำให้อาหารสุขภาพอร่อยได้อย่างไร

การะเกด : จริงๆ เราสามารถรักษาสมดุลระหว่างสุขภาพและความอร่อยได้จากความสดใหม่ของวัตถุดิบ พืชผักที่มีความสดใหม่มันทำให้มีรสชาติอยู่แล้วในตัว ตรงนี้เราเลยต้องเน้นเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบ และมีความปราณีตในการปรุง ในเรื่องของผักหรือ เส้นใย คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยชอบกินผักเพราะว่าผักมันเคี้ยวยาก พอเรามาทำอาหารประเภทผักที่เป็นข้าวยำ เราก็ต้องมาเน้นในเรื่องของกระบวนการว่าเราจะต้องหั่นซอยยังไงให้ละเอียดคนกินง่ายขึ้น ที่สำคัญคือต้องจัดรูปแบบให้ดูน่ากิน คนมาเห็นก็รู้สึกว่าอาหารตาก็มีด้วย รู้สึกดึงดูดไปถึงความอร่อยของอาหารด้วย 

SME ONE : การยอมรับอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงแรกๆ กับช่วงปัจจุบันแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน

การะเกด : ปัจจุบันการยอมรับก็มีมากขึ้น เพราะเราสามารถเผยแพร่ในเรื่องของอาหารสุขภาพได้มากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการปรับตัวของเราด้วยในการเข้าถึงลูกค้า แม้แต่ในเรื่องของรสชาติเราก็ต้องดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อมาใช้ในการประเมินและปรับไปเรื่อยๆ เราต้องมาดูว่าอาหารทางใต้มีรสชาติเฉพาะอย่างไร หรือคนทั่วไปกินแบบไหน เราก็ต้องมีการปรับตัวไปเรื่อยๆ ช่วงแรกๆ เราเน้นขายพวกอาหารพื้นบ้านพื้นถิ่นค่อนข้างเยอะ พวกแกงส้ม แกงเผ็ดอะไรพวกนี้ ปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนไปเมนูมากขึ้น แต่เมนูมากหรือน้อยมันเป็นข้อจำกัดของร้านเราในเรื่องของกำลังที่จะผลิตได้แค่ไหน แต่ทั้งหมดก็จะยังอยู่ในโซนของเมนูสุขภาพ ทั้งในเรื่องของการปรุงและรสชาติ ไม่เค็มเกินไป ไม่หวานเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความอร่อยด้วย ในเรื่องของเมนูก็จะมีเมนูข้าว เมนูอาหารเส้น เมนูยำ ก็มีมากขึ้นตามที่ลูกค้าต้องการเหมือนกัน แต่ขณะเดียวกันที่มากขึ้นบางอย่าง เราก็ลดบางอย่างเหมือนกัน ไม่อย่างนั้นมันจะเกินกำลังที่เราทำ เพราะเราไม่ได้เป็นร้านที่ใหญ่โตอะไร ปัจจุบันลูกค้าของเราเป็นคนพื้นถิ่นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นนักท่องเที่ยวไทยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และเป็นคนต่างชาติประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ คนต่างชาติส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ครูสอนศาสนาหรือครูสอนนักเรียนทั่วไป


SME ONE : สมมติว่าเจอลูกค้าที่ไม่ชอบกินผักมาที่ร้าน คุณการะเกดจะแนะนำอาหารอย่างไร

การะเกด : ก็ต้องพยายามอธิบายว่าข้าวยำเป็น signature ของร้าน ประกอบด้วยข้าวกล้อง แต่เราก็คัดเลือกข้าวกล้องที่นิ่ม ที่ร้านจะใช้ข้าวเบายอดม่วงที่เป็นข้าว GI ของตรังผสมกับข้าวกล้องมะลิ ซึ่งข้าวกล้องมะลิเป็นข้าวที่นิ่มอยู่แล้ว ข้าวเบายอดม่วงก็นิ่มก็เลยทานง่าย อย่างที่เรารู้ว่าข้าวกล้องมีประโยชน์ตรงที่เส้นใยเยอะ วิตามินครบถ้วน ส่วนเรื่องผัก ผักที่ใช้ตรงนี้เป็นผักพื้นบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งหมดเลย ผักของเราจะหั่นละเอียดฝอย เคี้ยวไม่ยาก เครื่องปรุงต่างๆ ก็ลงตัว ถ้ามาถึงที่ร้านอย่างแรกเลยคืออยากให้ลองชิมก่อน แล้วจะรู้ว่าอร่อย 

SME ONE : ร้านทางเลือกช่วงแรกเจอปัญหาในการทำธุรกิจบ้างหรือไม่ และแก้ปัญหาอย่างไร

การะเกด : อย่างที่บอกว่าช่วงแรกในเรื่องอาหารสุขภาพคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ คนมองว่าเข้าถึงยาก กินยาก มองว่าอาหารสุขภาพมีแต่ผักหรือข้าวกล้องกินยาก มีลูกค้าบางคนจะชวนเพื่อนมากิน เพื่อนบอกว่าไม่ไปหรอก ฉันยังไม่ป่วยฉันยังไม่ไป ช่วงแรกเป็นอย่างนั้นจริงๆ บางคนก็ไม่กล้าเข้ามา เพราะมันเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับคนกลุ่มเล็กๆ ในต่างจังหวัดในสมัยก่อน  การแก้ปัญหาก็คือ เวลาที่คนเข้ามาเราก็ต้องมีการเชิญชวน มีสาระความรู้ในร้านเกี่ยวกับเรื่องอาหารสุขภาพ หน้าร้านก็มีโปสเตอร์เชิญชวน มีโปรโมชั่น ช่วงแรกๆ เราก็ต้องออกสื่อท้องถิ่นว่าเรามีร้านแบบนี้แล้วก็มีไปแจกใบปลิว หรือถ้ามีงานที่ไปออกบูธ เราก็ต้องเอาอาหารของเราไปนำเสนอให้คนได้รู้จัก การที่เราสามารถทำธุรกิจมาได้ยาวนานขนาดนี้ก็เพราะว่า ช่วงแรกมีสื่อต่างๆ มองเห็นถึงความตั้งใจ เห็นเราจากการที่ไปออกบูธอะไรต่างๆ ก็เลยช่วยเขียนโฆษณาให้

SME ONE : การระบาดของ COVID-19 ทำให้คนใส่ใจเรื่องของสุขภาพมากขึ้นทุกๆ วัน อยากรู้ว่าร้านทางเลือกได้รับผลกระทบในเชิงบวกหรือเชิงลบมากกว่ากัน

การะเกด : เชิงบวก ก็คือทำให้คนใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น สนใจอาหารที่สะอาดและดีต่อสุขภาพ เพราะคนรู้ว่าการที่ร่างกายจะแข็งแรงต้าน COVID-19 ได้ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ เพราะจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานสู้กับโรคต่างๆ ได้ อย่างที่มีการทำวิจัยว่า คนที่กินผักอยู่แล้วประจำเยอะๆ พอเป็น COVID-19 ร่างกายก็ยังดีกว่าคนที่กินหวานกินเค็ม ตรงนี้ก็เป็นความรู้ซึ่งมีผลในเชิงบวก แต่ถ้าเป็นผลในเชิงลบ ในช่วง 1-2 ปีกว่าที่ผ่านมา ก็ทำให้คนเดินทางไปมาหาสู่กันน้อยลง คนไม่กล้ามานั่งในร้าน ร้านของเรายอดขายก็ลดลงเยอะในช่วงนั้น ตอนนั้นที่เราแก้ปัญหาได้ก็เพราะว่ามีไรเดอร์เยอะขึ้น และเราก็ให้พนักงานในร้านของเราเองไปส่งด้วย เพราะไม่มีลูกค้ามาในร้าน พนักงานก็ต้องทำหน้าที่ตรงนี้ด้วยเพื่อความอยู่รอด สิ่งที่ทำให้เราประคับประคองธุรกิจได้ก็คือ เราหาทางลดค่าใช้จ่ายด้วย


SME ONE : วัตถุดิบของที่ร้านมาจากท้องถิ่นทั้งหมดเลยหรือไม่ 

การะเกด :  วัตถุดิบที่ร้านของเราจะมาจากท้องถิ่นหมดเลย ผักของเราเป็นผักสดและเน้นผักที่ปลอดสารพิษ ปัจจุบันเรามีฟาร์มผักออร์แกนิคของเราเอง แต่ถ้าจะต้องหาซื้อบ้างเราก็จะดำเนินตามหลักของความสะอาด การล้างอะไรแบบนี้แต่ก็เอาเฉพาะในท้องถิ่น ส่วนในเรื่องของการปรุงก็เป็นท้องถิ่นหมดเลย ใช้มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง กะปิ บูดู ทั้งหมดเราจะใช้ของจากท้องถิ่นหมด 100 เปอร์เซ็นต์

SME ONE : ที่ผ่านมาคุณการะเกดเคยไปขอคำปรึกษาจากทางหน่วยงานภาครัฐบ้างหรือไม่

การะเกด : ช่วงแรกก็มีบ้าง เราเองเป็นธุรกิจเล็กๆ แต่ก็มีวัตถุประสงค์ใหญ่ในแง่อาหารเพื่อสุขภาพ ก็เลยมีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ช่วงแรกๆ สถาบันอาหารของกระทรวงอุตสาหกรรมก็เคยเข้ามาแนะนำในเรื่องของมาตรฐาน GMP แล้วก็มีทางสาธารณสุขจังหวัดก็มาให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน อย. และการผลิตอาหาร ซึ่งก็มีมาอยู่เรื่อยๆ 

SME ONE : ทุกวันนี้ร้านทางเลือกขายผ่านช่องทางร้านค้าอย่างเดียวหรือไม่การะเกด : เราเป็นร้านอาหารขนาดกลางไม่ถือว่าใหญ่มาก มีประมาณ 15 โต๊ะ นอกจากขายในร้านแล้วเรามีขายส่งให้คนอื่นไปขาย เช่น ที่สนามบินขายเป็นของฝากที่สามารถหิ้วขึ้นเครื่องเพื่อไปกินที่บ้าน

นอกจากนี้ก็ยังมีสาขาที่กรุงเทพฯ อยู่ที่ตลาดหลังบริษัทการบินไทยสำนักงานใหญ่ ซอยวิภาวดี 22 ที่ถือว่าเป็นร้านขายดีในศูนย์อาหาร เพราะมีขายผ่านเดลิเวอรี่ และมีร้านค้าย่อยตามสำนักงานมารับไปขายตามออฟฟิศ ร้านที่กรุงเทพกลุ่มเป้าหมายก็ยังคงเป็นกลุ่มที่สนใจอาหารสุขภาพเหมือนที่ตรัง แต่อยากได้ความสะดวก และอาหารอร่อย พอเรามาทำข้าวยำในลักษณะพิเศษแบบนี้ ก็พบว่าสามารถกินเป็นอาหารที่เย็นได้เหมือนกัน เช่นผักหรือเครื่องปรุงไม่จำเป็นต้องกินร้อน แล้วก็มีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้ ก็คืออร่อยได้นาน สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นกินวันรุ่งขึ้นได้ง่ายๆ

SME ONE : วางแผนที่จะต่อยอดธุรกิจไว้อย่างไร  

การะเกด : ตอนนี้ของเราค่อนข้างเป็นอาหารพื้นถิ่นอยู่ อย่างที่บอกของเราเป็นร้านเล็กๆ มันจะต้องขยายของเราออกไปให้กว้างและไกลมันถึงจะเพิ่มยอดขายได้ ก็คงจะต้องทำตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บได้ และสะดวกในการไปทำกินเองได้ที่บ้าน ตัวนี้ก็เป็นตัวที่สามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้  ปัจุบันเรามีขายเมนูเครื่องปรุงที่ทำสำเร็จสามารถซื้อไปกินกับเองได้ เราผลิตเอง ที่ร้านจะทำสดขายสด แต่ก็จะมีหน่วยผลิตที่เป็นเหมือนโรงงานเล็กๆ ผ่านมาตรฐานทั้งหมด ทำเป็นน้ำเป็นชุดปรุงอะไรแบบนี้ เป็นบรรจุภัณฑ์ออกมาเก็บได้อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี แล้วก็มีน้ำ มีมะพร้าวคั่ว มีกุ้งแห้ง มีข้าว มีผัก ผสมเสิร์ฟได้เลยที่ขายเป็นชุด


SME ONE : อยากจะเปิดสาขาเพิ่มอีกหรือไม่

การะเกด : ไม่แล้วค่ะ อาหารท้องถิ่นโดยเฉพาะข้าวยำเป็นงานที่ค่อนข้างใช้แรงงานเยอะ ผักแต่ละยอดที่ได้มาต้องทำความสะอาดต้องเลือก คือต้องใช้เวลา เครื่องปรุงเยอะ วัตถุดิบอะไรต่างๆ ที่มาอยู่ในเมนูข้าวยำมีเยอะมาก จะเห็นว่าข้าวยำคนก็ชอบกินแต่ว่าคนทำน้อย เพราะยุ่งยาก แล้วผลกำไรไม่มาก ถ้าจะให้ได้กำไรมากก็ต้องทำขายปริมาณเยอะๆ ซึ่งก็ย้อนไปเรื่องการควบคุมคุณภาพอีก 

SME ONE : คิดว่าอะไรคือ Key success ของร้านทางเลือก

การะเกด : มาจากเราผลิตของที่มีคุณภาพ และมุ่งเน้นความยั่งยืน มีประโยชน์ต่อคนต่อมวลมนุษย์ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนความท้าทายของร้านตอนนี้ คือ ปัจจุบันแรงงานหายากขึ้น ค่าแรงและค่าวัตถุดิบก็แพงขึ้น ค่าครองชีพของคนทั่วไปก็สูง ทุกคนก็ต้องประหยัด ทำให้เราผลิตสินค้าออกมาแต่ยังไม่สามารถเพิ่มราคาให้มันสมดุลกับต้นทุนพื้นฐานที่มันเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเราขายข้าวยำอยู่ที่ 60 บาท ซึ่งอาหารที่มีผักสดจริงๆ เป็นวัตถุดิบหลักก็เรียกว่าไม่ได้แพง เพราะตอนนี้ผักสดราคาแพงมาก ผักพื้นบ้านแต่เดิมสมัยก่อนซื้อ 2 บาท ปัจจุบันนี้เพิ่มเป็น 10 บาทแล้ว ส่วนต้นทุนการผลิตก็แพงขึ้นเนื่องจากแรงงานแพง ส่วนหนึ่งของเราที่ยังไปได้เพราะเราผลิตเองอยู่บ้าง แต่ผลิตเองค่าแรงก็แพงเหมือนกัน

SME ONE : อยากให้คุณการะเกดฝากคำแนะนำกับ SMEs

การะเกด : ความจริงแล้ว เป้าหมายของแต่ละคนในการมาเป็น SMEs นั้นแตกต่างกัน บางคนทำเพราะต้องการกำไรสูงสุดในธุรกิจนั้นๆ บางคนมีวัตถุดิบอยู่แล้วก็อยากเอามาเพิ่มมูลค่า บางคนอาจจะทำเพราะรักในงานนั้น หรือเพื่อที่จะสร้างงานในชุมชน แล้วแต่เป้าหมาย แต่การที่ธุรกิจจะดำเนินไปได้ โชคดีที่ปัจจุบันมีหน่วยงานสนับสนุนมากกว่าสมัยก่อนทั้งในเรื่องวิชาการและเงินทุนของทางภาครัฐและเอกชนก็มีเยอะ จึงมีโอกาสมากมายที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วการทำธุรกิจอยากให้คำนึงถึงความยั่งยืน และมีความสุขในการทำธุรกิจนั้นๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ

บทสรุป

ร้านทางเลือกประสบความสำเร็จมาจาก Brand Purpose หรือความตั้งใจของคุณการะเกดที่ต้องการเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นทางเลือกของคนในจังหวัดตรัง โดยมีการชูโรงเมนูอาหารท้องถิ่นอย่าง “ข้าวยำ” ขึ้นมาเป็น Signature Menu ซึ่งในยุคนั้นอาหารเพื่อสุขภาพเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ ข้าวยำทางเลือกเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ปรุงจากข้าวกล้องปลอดสารพิษ ผักสมุนไพรปลอดสารพิษ ปลอดผงชูรส แต่ยังคงรับประทานได้ง่าย เพราะมีรสชาติกลมกล่อม เมื่อโปรดักต์กับคอนเซ็ปต์ของร้านลงตัว ในเวลาไม่นานเมนูข้าวยำทางเลือกของร้านก็ได้รับความนิยม จนร้านทางเลือกก็กลายเป็นจุดปักหมุดของนักท่องเที่ยวในจังหวัดตรังในที่สุด

บทความแนะนำ