5 ขั้นตอนพาธุรกิจสู่โลกออนไลน์

หัวข้อ : 100 ธุรกิจออนไลน์ขนาดเล็กกับสูตรสู่ความสำเร็จที่ต้องรู้
อ่านเพิ่มเติม :etda.or.th/publishing-detail/the-100-knowhow-for-smes-go-online.html

 

ร้านค้าออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายอันทรงพลัง ที่จะช่วยสร้างโอกาสและรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้ ทั้งคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่หรือคนที่อยากต่อยอดและพัฒนาธุรกิจเดิม นอกจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีให้เลือกใช้ เว็บไซต์ก็ถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะเป็นเสมือนหน้าร้านที่คุณาสามารถควบคุมจัดการได้ และนี่คือ 5 ขั้นตอนพาธุรกิจสู่โลกออนไลน์ที่เอสเอ็มอีควรรู้

 

1. เริ่มต้นจากแผนธุรกิจที่ดี

แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก เพราะเป็นผลสรุปของกระบวนการคิด ทำหน้าที่เหมือนแผนที่นำทางที่จะช่วยจัดลำดับขั้นตอนในการก่อตั้งกิจการ รวมถึงการตัดสินใจทั้งในเรื่องการตลาด กลยุทธ์ การเงิน รวมถึงชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังอีกด้วย

แผนธุรกิจที่ดี ต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้

  • การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน
  • ธุรกิจน่าลงทุนหรือไม่
  • ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
  • ธุรกิจนี้มีความสามารถในการแข่งขันระยะยาวมากน้อยเพียงใด
  • สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด
  • สินค้าที่จะผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
  • วิธีการผลิตและการวางตลาดมีทางเลือกอื่นที่ประหยัดกว่าหรือไม่
  • หน้าที่ต่าง ๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่



 

2. จดโดเมนด้วยชื่อที่น่าเชื่อถือและเป็นที่จดจำ

ความหมายของคำว่าโดเมนเนม คือชื่อของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปเข้าชมเว็บไซต์ผ่านเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ทั่วไปได้ เช่น www.google.com ซึ่ง google.com คือชื่อโดเมนเนมนั่นเอง

 

 

3. ออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจ

เว็บไซต์ที่ดีอาจไม่ใช่แค่การมีดีไซ์ที่อลังการ แต่เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มด้วยการรู้และทำสิ่งเหล่านี้

  • คุณต้องการขายอะไร แล้วนำเสนอคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการออกมาให้เห็นเด่นชัด
  • ไม่ควรเป็นเพียงแคตาล็อกสินค้าเพียงอย่างเดียว
  • ควรคำนึงถึงการออกแบบ ที่จะทำให้ลูกค้าค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
  • สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรทำให้การโหลดข้อมูลช้าจนเกินไป
  • ควรให้น้ำหนักกับการสร้างเนื้อหาที่เป็นกันเองกับผู้ชมเว็บไซต์ แต่ไม่ทิ้งความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ

 

 

4. สร้างระบบการชำระเงิน

วิธีการชำระเงินควรทำให้ทั้งฝั่งผู้ค้าและลูกค้าใช้บริการได้สะดวกที่สุด โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ ดูว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร จะทำให้รู้ว่าวิธีชำระเงินแบบไหนจะสะดวกต่อกลุ่มลูกค้า จะเป็นการโอนเงินทางธนาคาร โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือจ่ายผ่านบัตรเครดิต

 

 

5. วางระบบการจัดส่งสินค้าที่ไว้ใจได้

แม้ผู้ประกอบการอาจมองว่า การจัดส่งสินค้าไม่ใช่หน้าที่หลักโดยตรงของการทำธุรกิจ แต่หากละเลยและไม่ได้วางแผนระบบการจัดส่งไว้อย่างดี เมื่อเกิดปัญหาในการจัดส่ง ลูกค้าก็ไม่ได้โทษบริษัทขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจโดยตรงอีกด้วย

 

 

Published on 10 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

7 กฎเหล็กทำธุรกิจที่ปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย

หัวข้อ : 7 กฎเหล็กทำธุรกิจที่ปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/business-rules-apply-everytime

 

การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากโชคช่วย แต่มาด้วยการลงมือทำผ่านทักษะหลายด้านจึงจะสามารถสร้างธุรกิจให้ไปไกลได้ หากแต่หลายคนพังก่อนจะปังเพราะก้าวพลาดตั้งแต่เริ่มต้นจากความไม่รู้และขาดประสบการณ์ เพราะการเริ่มธุรกิจด้วยความสนใจหรือความรักเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ซึ่งการจะไปถึง ณ จุดนั้น ได้จะต้องผ่านกฎเหล็กเหล่านี้

 

1. หาจุดที่ก่อให้เกิดปัญหาในตลาดและกลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อนจะหาสินค้าหรือบริการ 

ถ้าเราไม่รู้ความต้องการของผู้บริโภค เราก็มีโอกาสที่จะเริ่มต้นพลาด จะไม่รู้เลยว่าขณะนี้ตลาดเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรให้สินค้ามีความแตกต่าง และไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ เพราะถ้าพลาดในข้อนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะตกม้าตายตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นได้เลย และการหาจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา (pain point) ที่ซ่อนตัวอยู่ในตลาดเจอนั่นคือจุดเริ่มต้นของชัยชนะ

 

2. ทำความเข้าใจสินค้าและบริการของตัวเองอย่างถี่ถ้วน 

  • จะได้รู้ว่าจุดอ่อน จุดแข็งอยู่ตรงไหน 
  • ตัวตนของสินค้าคืออะไร มีสไตล์แบบไหน
  • สินค้าตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มใด 

ถ้าเจ้าของเข้าถึงสินค้าของตัวเองได้ทุกแง่มุม จะง่ายต่อการดำเนินการในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำตลาด

 

3. การตั้งราคาต้องเหมาะสม 

การกำหนดราคาของหนึ่งสิ่งควรมีการคำนวณอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้คุ้มค่าใช้จ่ายทางตรงและค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เกิดขึ้นรอบด้าน

  • ไม่ควรเริ่มจากราคาที่ต่ำสุดจนเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือสูงสุดจนขายไม่ได้
  • หากเป็นสินค้าตามกระแสนิยม (Seasonal Peak) มักมีการบวกเปอร์เซ็นต์กำไรไว้สูงในช่วงแรก เพื่อชดเชยในช่วงที่สินค้าล้าสมัย
  • ถ้าเป็นสินค้าที่ต้องใช้เป็นประจำหรือซื้อบ่อย (Convenience Goods) หาได้ง่ายและมีการแข่งขันกันมาก อาจบวกเปอร์เซ็นกำไรให้ต่ำลง 
  • สินค้าที่ขายไม่ได้บ่อยนักหรือใช้พื้นที่วางสินค้ามาก จำต้องบวกเปอร์เซ็นต์กำไรไว้สูง
  • ถ้าเป็นสินค้าที่จับกลุ่มผู้ซื้อที่มีฐานะดี ก็จะบวกเปอร์เซ็นต์กำไว้สูงเกินกว่าสินค้าที่ผู้ซื้อมีฐานะยากจน

 

4. การทำงานเป็นทีมคือสิ่งสำคัญ

ในการสร้างธุรกิจจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้ความชำนาญจากคนหลายกลุ่มความรู้ การทำอะไรตัวคนเดียวไปทุกอย่าง นอกจากจะไม่สามารถทำออกมาให้ดีที่สุดแล้ว ยังจะทำให้พลาดโอกาสในการใช้เวลาที่มีไปคิดต่อยอดบริหารกิจการ วางแผนกลยุทธ์ในด้านอื่น ดังนั้นทีมทำงานที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจ

 

5. คิดถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับมากกว่าเงินที่จะได้จากลูกค้า 

การยึดสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าเป็นที่ตั้งมากกว่าการคาดหวังเรื่องเงินหรือผลกำไรที่จะได้ อาจนำมาซึ่งฐานลูกค้าอันเหนียวแน่น และทำให้ลูกค้าเดินเข้าหาแทนการที่เราต้องวิ่งไล่ตามลูกค้า เพราะลูกค้าจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับนั้นดีหรือไม่

 

6. ตุนเงินสำรองในการทำธุรกิจอย่างน้อย 6 เดือนแต่จะให้ดีควรมีสัก 1 ปี

การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ อาจไม่ได้นำมาซึ่งผลกำไรหรือยอดขายตามที่หวัง เนื่องจากยังใหม่ต่อตลาด กว่าลูกค้าจะรู้จัก วางใจ ให้การยอมรับ อาจต้องใช้เวลาและการยืนหยัดที่ยาวนานจนลูกค้าเกิดความคุ้นชิน และเห็นว่าธุรกิจมีความมั่นคงน่าเชื่อถือ จนเกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจและนำมาสู่การเข้าหาสินค้าอย่างวางใจ

 

7. แผนสำรองต้องมี เพราะทุกการลงทุนคือความเสี่ยง 

ควรมีแผน 2-3-4 สำรองไว้เสมอ ก่อนจะเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจอะไรต้องทำความเข้าใจให้ได้ด้วยว่า ได้ก้าวขาเข้ามายืนอยู่บนความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่จุดที่แย่ที่สุด (The worst point) ด้วย เพื่อเตรียมแผนการรับมือ อย่าคิดแต่ในทางที่จะได้เพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นจะสะดุดล้มแล้วหายไปแทนที่จะลุกขึ้นได้ใหม่ ในแนวทางที่ดีกว่าเดิม

 

 

Published on 10 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย



บทความแนะนำ

รายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME)

โครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นโครงการส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนได้มากขึ้น โดยสามารถขายหุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพได้ต่อบุคคลในวงจำกัด โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต

โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

รายชื่อกิจการที่ได้ลงทะเบียน อัพเดทล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2567 ดังนี้

  1. โฮมเฮิร์บ 2020
  2. ฮอร์แกไนซ์
  3. นิว สเต็ป เอเชีย
  4. บุญชยะสมบัติ
  5. ทูพีบีเอ็น ฟู้ด
  6. วัลแคน โคอะลิชั่น
  7. ด็อกเตอร์โซล(ไทยแลนด์)
  8. ตรังประดิษฐ์ไม้ วู้ดส์ แอนด์ เฟอร์นิเจอร์
  9. แม่ทมของอร่อย
  10. ดี ไนน์ตี้ แคปปิตอล
  11. โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง
  12. สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น
  13. สมาร์ทคอนแทรคท์ (ไทยแลนด์)
  14. แนบโซลูท
  15. อีเว้นท์ ป็อป
  16. นาสเกต รีเทล
  17. อภิวานิช ครีเอชั่น
  18. ดิวเทค
  19. ค็อบ เทคโนโลยี
  20. คิว บ็อคซ์ พอยท์
  21. เก็ทลิงส์ (ไทยแลนด์)
  22. รีคัลท์ (ประเทศไทย)
  23. เทรคอน (เว็บไซต์)
  24. ฟลิง
  25. ครีเอท โซลูชั่น เซ็นเตอร์
  26. 10 บิต เดเวลอปเมนต์
  27. เวนิวอี
  28. นอร์วิส
  29. เทเลเมดิก้า
  30. โพลาร์ แบร์ มิชชั่น
  31. บิลมีเวนเจอร์
  32. ฮับบา
  33. คอนโดไทย
  34. เฮลท์ แอท โฮม
  35. เอสซี สปาร์ค โซลูชั่น
  36. จูซอินโนฟเอท
  37. ชีวีบริรักษ์
  38. โนวา กรีน เพาเวอร์ ซิสเท็ม
  39. กอล์ฟดิกก์
  40. ฉลาด อินโนเวชั่น
  41. คลาวด์คอมเมิร์ซ
  42. เพ็ท พอว์
  43. โฮมดอทเทค
  44. อีทราน (ไทยแลนด์)
  45. ไฟว์ลูป
  46. คิว คิว (ประเทศไทย)
  47. ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์
  48. ซีคสเตอร์
  49. ดับเบิ้ลยู สมาร์ท (ประเทศไทย)
  50. เปื้อนฝุ่น
  51. เอสเอ็มอี มอล
  52. โกลบอล ฟินเทค
  53. เอเซีย แปซิฟิค อีโคโนมิค ฟาวน์เดชั่น
  54. แอล2อาร์
  55. สตอเรจ เอเชีย
  56. วอนเดอร์ (ไทยแลนด์) 
  57. บีเคเค ออริจินัล
  58. ครีเดน เอเชีย
  59. แฮป (ประเทศไทย)
  60. เอสพีอาร์ ฟู๊ด อินดัสทรี
  61. เพื่อนแท้ ลิสซิ่ง
  62. ช่างไทยมือโปร
  63. บนกองเงินกองทองแอ๊คเคาท์ติ้ง
  64. คอร์แล็บ โกลบอล
  65. คัมปรา โฮลดิ้ง
  66. บริษัท คาริเบอร์
  67. โพสิทิฟ กรุ๊ป
  68. อินเตอร์บิซ (ประเทศไทย)
  69. ทีเคโอ โบร
  70. ที ดับบลิว ซี โมดูลาร์
  71. สยาม เค พี ที
  72. คอร์ปจูริสท์
  73. วี เชฟ (ประเทศไทย)
  74. 945 โฮลดิ้ง
  75. เวิร์คกิ้ง
  76. อาวาลอน นูทรีมาร์ท
  77. กราวน์บิสซิเนส
  78. สหเศรษฐสิริ อินเตอร์เนชั่นแนล
  79. เอชจี โรโบติกส์
  80. หนึ่งศูนย์เก้า
  81. ไอดา เมดิคอล
  82. เพอร์เซพชั่น โค้ดส์
  83. เทคซอส มีเดีย
  84. ดิ ออมเลต
  85. ทิพวัติเทรด
  86. ฟาร์ม่าเฮอร์เบิล
  87. ฏีม เอนเตอร์ไพรส์
  88. เอ็น.ดับเบิลยู.ไฟน์เนสท์ โพรดักส์
  89. สวิฟท์ ไดนามิคส์
  90. สปีดี้แคช
  91. ออร์ก้าฟีด
  92. นอร์ทเทิร์น ไบโอแก๊ซ
  93. ยูทิลิตี้ แมเนจเมนท์
  94. ซีควัน โฮลดิ้ง
  95. เอโวลูชั่น เพย์เมนต์ กรุ๊ป
  96. เมคเซนด์ เอ็กซ์เพรส
  97. โบฟี่
  98. นิภา เทคโนโลยี
  99. ควิกฟิต รีเทล
  100. ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น
  101. ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป
  102. เมชิยะ
  103. กรีนเอิร์ธ อินโนเวชั่น
  104. อินโฟแอสโซซิเอท
  105. อูรัก อันดา
  106. ทีเอสที เมทัลเวิร์ค
  107. ทรัพย์วารี คอนสตรัคชั่น
  108. เอ็ม โปร เซอร์วิส
  109. ภคสพร อินเตอร์เนชั่นแนล
  110. เวอร์ทาซอฟท์
  111. ทรัพย์หิรัญ รีซอร์ส
  112. เอมวัน (ประเทศไทย)
  113. สกาน่า เอ็นจิเนียริ่ง
  114. ชิเซ็นเคม (ประเทศไทย)
  115. อีไอบิซ
  116. จีเอสบี อินเตอร์เนชั่นแนล
  117. อาร์มสตรอง เทคโนโลยี
  118. พาวเดอร์ บั๊กส์ (ประเทศไทย)
  119. เอ.บี.โปร เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์
  120. เวอร์ทูอาร์ช
  121. มัมมี้ลิเชียส ทเวนตี้โฟร์
  122. อินโวสตาร์
  123. สินทรัพย์เนื่องวงษา
  124. เมกะคลินิค
  125. ซอฟต์เบอร์รี่
  126. ณินทร์จินดา เบเกอรี่
  127. โนเบล อินดัสทรี่
  128. วาวา อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  129. เกษตรศิวิไลซ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
  130. เป็นเอก ควอลิตี้ออยล์
  131. นิว พาราไดม์
  132. ไทยแซนด์บ็อกซ์
  133. แอ็คโคเมท
  134. เมดเมติก
  135. โชคนำชัย ออโต้เพรสซิ่ง
  136. มาร์ยอง
  137. เครื่องปั่นไฟพลังใจไทย
  138. โอ โฮ แคปปิตอล
  139. เดอะเฟิสท์เอฟโวลูชั่น
  140. พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม
  141. บนกองเงินกองทอง
  142. มั่งมี อีคอมเมิร์ซ
  143. เกรทเตอร์ แอสเซท
  144. บ้านโป่ง โนวิเทท
  145. ที แอนด์ ที โอเพนนิ่ง
  146. เอทรู เทรดดิ้ง บิชิเนส
  147. คุณเก๋ ขนมหวาน
  148. ฟาสซายเนท อินโนเวชั่น
  149. เอ็มอาร์ซี เจริญเคมีคอล
  150. อีวีพี เนทเวิร์ค
  151. เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น
  152. ณัฐ บิวดิ้ง 
  153. กรีนเทค อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  154. โฟลเอเวอร์ (ไทยแลนด์)
  155. พูนพูนด้วยใจยินดี
  156. ไอ-ซีวาย ชยา
  157. ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม
  158. โกโค่ แบงค็อก
  159. ชมชอบกรุ๊ป
  160. อุ๊คบี
  161. ไมนีด เทคโนโลยี
  162. ดิจิตอล แอสโซซิเอทส์

ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2567

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิก!!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาทำการ โทร. 02-263-6232, 02-033-9520, 02-298-3171

หรือทางอีเมลที่ : sme@sec.or.th , info@sme.go.th 


SMEONE “เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย”

บทความแนะนำ