
หัวข้อ : กลยุทธ์เปลี่ยนโหมดไฟลต์บังคับให้เป็นโหมดเลือกได้
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/karndee-lifeaftercovid19
ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่เราทุกคนต้องถูกบีบให้ดำเนินชีวิตในความ “ปกติใหม่” ดร. การดี เลียวไพโรจน์ Chief Advisor for Future Foresight and Innovation, Future Tales Lab, MQDC อีกหนึ่งบุคคลในฐานะนักคาดการณ์อนาคตและนวัตกรรมที่ชี้ภาพความปกติใหม่นี้ได้อย่างครอบคลุมทั้งด้านวิกฤตและโอกาส เมื่อโลกทั้งโลกต้องปรับตัว คำถามอาจไม่ได้อยู่ที่ว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดไป หรืออะไรที่จะเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเพียงชั่วครั้งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้า แต่สิ่งที่เราควรพูดถึงยิ่งกว่าในเวลานี้ก็คือ เราจะทำอะไรได้บ้างจากสถานการณ์ที่โลกทั้งใบต้องเผชิญร่วมกัน
ภายในประเทศนั้น โควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจหยุดชะงัก ในเวฟแรกจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดที่เครื่องยนต์ตรงนี้ดับไปแล้ว เวฟที่ 2 คือธุรกิจบริการและการติดต่อกับโลกส่วนอื่นๆ ที่กระทบจากการล็อกดาวน์ ส่วนเวฟที่ 3 ที่กำลังเริ่มเกิดขึ้นโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เกิดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันคือ ‘ดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ถ้าเป็นภาวะปกติเราอาจเลี่ยงได้ แต่ในภาวะวิกฤตนี้กลุ่มธุรกิจที่น่าเป็นกังวลคือ SME ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องของการจ้างงานมากขึ้น
จากเดิมที่เคยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและสวรรค์ของผู้เข้ารับบริการ ตอนนี้สิ่งที่ภาคธุรกิจต่างๆ ควรนำไปต่อยอดจากนี้น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข เรื่องของสุขภาพ เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านทำให้หลายๆ ประเทศมองว่าเรามีการรจัดการในระบบสาธารณสุขที่ดี เราจึงควรดึงจุดนี้มาพัฒนาธุรกิจ และเอาความคิดสร้างสรรค์ไปบวก เช่นคำว่า Healthcare ต้องยกระดับไปเป็น High-Level Healthcare มากขึ้น เพราะต่อให้จีนจะนำหน้าเราเรื่องการผลิต แต่ในเรื่องความเชื่อมั่น ไทยก็ยังทำได้ดี หรือแม้แต่การทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้นในอนาคตเพื่อให้ต่างชาติให้การยอมรับ
สิ่งสำคัญที่สุดต่อจากนี้คือต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ และพร้อมที่จะปรับตัว เพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนที่เข้ามา
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 – พ.ศ.2564)
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PolicyPS/Documents/PaymentRoadmap_2564.pdf
Covid-19 ทำให้เราเห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนทั่วโลก ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จนเกิดเป็นวิถีชีวิตใหม่ หรือ นิว นอร์มอล (New normal) ได้ชัดเจน จากในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยถึงข้อมูลการใช้เงินของคนไทย จะพบว่าคนไทยหันมาใช้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ digital payment กันเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการจ่าย โอนเงิน ผ่านมือถือ ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 116 ต่อปีทีเดียว เรียกได้ว่าเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดกันแล้ว หลังจาก Covid-19 คาดว่าตัวเลขนี้จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้นไปอีก
บริการชำระเงินอย่าง ระบบพร้อมเพย์ ที่ช่วยเราสามารถโอนเงินด้วยเบอร์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือหมายเลข e-Wallet ได้สะดวก รวดเร็ว และค่าบริการต่ำ ได้รับความนิยมใช้เพิ่มสูงขึ้นมาก ยอดลงทะเบียนพร้อมเพย์ที่สูงถึง 46.5 ล้านหมายเลข (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2561) และมีการใช้งานเฉลี่ยสูงถึง 4.5 ล้านครั้งต่อวัน
– พร้อมเพย์ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดบริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย เช่น บริการชำระบิลข้ามธนาคาร (cross-bank bill payment) ซึ่งทำให้เราสามารถจ่ายบิลทุกธนาคารที่รองรับผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยมาตรฐาน Thai QR Payment
– Thai QR Payment ที่สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ทำให้ digital payment สามารถเข้าถึง SMEs และร้านค้าขนาดเล็ก เช่น ร้านค้าในตลาด หาบเร่ แผงลอย ได้อย่างรวดเร็ว
– สามารถต่อยอดการพัฒนามาตรฐาน Thai QR payment ไปสู่การให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ บริการเตือนเพื่อจ่าย (PayAlert)
– ร้านค้าสามารถรับชำระเงินด้วยบัตรหรือโทรศัพท์มือถือได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและปลอดภัยมากขึ้น
– ช่วยให้ร้านค้าสามารถรับเงินจากลูกค้าได้หลายช่องทาง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งในเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ และเลือกชำระเงินแบบไร้เงินสดที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้ปรับแผนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยการมุ่งทำตลาดออนไลน์ และมีช่องทางชำระเงินออนไลน์ อย่าลืมพิจารณาในเรื่องของราคาสินค้าที่ดึงดูดใจ และโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อสินค้าได้อีกทางหนึ่ง
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19 รอดได้ด้วย Digital Technology
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.etda.or.th/content/new-normal-after-covid-19.html/
ความไม่เหมือนเดิมหลังต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 เริ่มต้นจากชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เราคิดว่า เรื่องโรคระบาดอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่เราไม่เคยคิดว่ามันจะมาถึงตัว จนกระทั่งโควิด-19 มาถึง ก่อให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก วันนี้ทุกคนจึงตระหนักเพิ่มขึ้นว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำให้ชีวิตไม่เหมือนเดิม
การ Work from Home ได้สร้างเศรษฐกิจคนติดบ้าน (From Home Economy) ทำให้ e-Commerce และการทำธุรกรรมทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแล้ว อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ก็คือ คนให้ความสนใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขมากขึ้น เช่น ให้ความสำคัญกับการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้การรักษามากยิ่งขึ้น อย่างการรักษาทางไกลเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องรับเชื้อเพิ่ม รวมถึงการมี Health Passport ยกระดับเฝ้าระวังการตรวจคัดกรองโควิด-19
สำหรับผู้ประกอบการ หลายองค์กรต้องปรับตัว หันหน้าพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลนำมาใช้ในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้เรื่อง Digital Transformations ที่เคยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นช้ามาก กลับถูกขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด หรือเกิดขึ้นในพื้นที่ใด เราจะเห็นว่า มันได้ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน คือ การกะเทาะแผลของสังคม “ความไม่เสมอภาค (Inequality)” ที่มีอยู่ ให้ลึก กว้างและรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ ที่หลายองค์กรเอกชนต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะสามารถช่วยเรื่องนี้ได้อย่างไร
ผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับช่วงวิกฤตโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ต้องอยู่ให้รอด เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่ประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องสาธารณสุขและชีวิตของคนมากที่สุด ผู้ประกอบการจึงต้องอยู่ให้รอดกับภาระต้นทุนที่ต้องเปิดรับ ต้องกลั้นหายใจ
ระยะที่ 2 ต้องปรับตัว จากความผิดปกติแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม (New Abnormal) นับเป็นช่วงที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในระยะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นบ้าง เริ่มกลับมาหายใจได้บ้าง แต่ก็ไม่เต็มปอดมากนัก
ระยะที่ 3 ต้องอยู่ให้ยืน จากความปกติที่ไม่ปกติหลังโควิด-19 (New Normal) เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องตั้งคำถามว่า “โลกหลังโควิดนี้ ยังต้องการเราอยู่หรือไม่” ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ มีความจำเป็นหรือไม่ อยู่เพื่ออะไร สร้างคุณค่า (Value) อย่างไรให้กับผู้บริโภค ท่ามกลางวิธีการสื่อสาร การติดต่อที่เปลี่ยนไปนี้
ในวิกฤตโควิดนี้ ไม่เพียงทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำหรือไม่ทำอะไรแล้ว ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ปรับตัวเข้าสู่ตลาด e-Commerce มากขึ้น ติดต่อลูกค้า B2B (Business-to-Business) กันมากขึ้นด้วยออนไลน์ สามารถสั่งของ เช็กสต๊อกผ่านระบบดิจิทัล เพียงแค่ระบบหลังบ้านต้องเชื่อมต่อข้อมูลกันเท่านั้นเอง ทำให้ธุรกิจมีความโปร่งใสมากขึ้น ดังนั้น เครื่องมือสำคัญที่จะนำพาเราออกจากวิกฤตนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เทคโนโลยีดิจิทัล และ Mindset ของคนในองค์กร
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หนึ่งในหน่วยงานของรัฐ ที่มีการปรับตัวเช่นเดียวกับเอกชน เพราะใช่ว่าโควิดจะกระทบกับเอกชนและประชาชนเท่านั้น แต่รัฐก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ทำให้รัฐต้องปรับตัวเน้นการเป็นผู้สนับสนุน เพื่อแก้ปัญหาให้อะไรที่ติดขัดในช่วงนี้ สามารถทำต่อไปได้และไม่เป็นภาระของเอกชนหรือประชาชนมากเกินไป
วิกฤตนี้ได้สร้างข้อจำกัดทางกายภาพโดยเฉพาะเรื่องการเดินทาง ดังนั้น ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก จนอาจไปไม่รอดช่วงนี้ ได้แก่
– ธุรกิจที่ต้องอาศัยคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจำนวนมาก
– ธุรกิจมีสินค้าหรือบริการที่ต้องเข้าถึงลูกค้าทางกายภาพ เช่น ธุรกิจการบิน
– ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
หนทางที่ทำให้รอดและการถูก Disrupt ลดลง คือ
– ลดกำลังคน ดึงเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
– จัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่ดี มี Vender ใน Supply Chain มากกว่า 1 ราย และต้องมีความหลากหลาย ทั้งในพื้นที่ สัญชาติ เพื่อกระจายผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
– ปรับการส่งสินค้าและบริการถึงลูกค้าในทุกขั้นตอน ต้องทำผ่านออนไลน์ ปรับตัว ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ทางด่วนแก้หนี้
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/express/default.aspx
ในช่วงมาตรการเว้นระยะเพื่อลดการแพร่เชื้อ (social distancing) อาจทำให้การติดต่อกับสถาบันการเงินโดยตรงทำได้ไม่สะดวก “ทางด่วนแก้หนี้” เป็นช่องทางเสริมสำหรับธุรกิจ SME ที่กำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบงก์ชาติจะช่วยรับเรื่องและเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ติดต่อ หรือเจรจากับสถาบันการเงินในกรณีจำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้จากปัญหาโควิด 19
ธุรกิจ SME ทั้งที่มียังเป็นลูกหนี้ดีสถานะปกติแต่ขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือเป็นหนี้เสีย หรือปรับโครงสร้างหนี้แล้วพยายามติดต่อสถาบันการเงินแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อได้ เพราะช่วงนี้อาจมีผู้โทรติดต่อเข้าไปมาก ติดต่อสถาบันการเงินแล้วแต่เรื่องไม่คืบหน้า หรือข้อเสนอยังไม่ช่วยลดภาระได้จริง หรือยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกับสถาบันการเงินได้
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีผลกระทบต่อรายได้ของหลาย ๆ คน เพื่อลดภาระทางการเงินโดยเฉพาะผู้ที่เป็นหนี้ แบงก์ชาติจึงทำงานร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือ โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง เพื่อให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่
การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ว่าลูกหนี้รายใดได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อาจใช้เวลานาน ไม่ทันต่อการขาดรายได้ของประชาชนอย่างกระทันหัน จึงมีการกำหนดมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยลูกหนี้ทุกรายที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL)
มาตรการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ คลิก
การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้ในระยะสั้น แต่ดอกเบี้ยจะยังเดินอยู่ เมื่อพ้นช่วงนี้แล้ว ก็จะค่อย ๆ ทยอยจ่ายดอกเบี้ยในช่วงที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้ โดยอาจเป็นการจ่ายงวดสุดท้ายครั้งเดียว กระจายจ่ายในแต่ละงวดที่เหลือเท่า ๆ กัน หรือขยายจำนวนงวดการผ่อนออกไป
ลูกหนี้ที่ยังสามารถชำระหนี้ได้ก็ควรชำระตามปกติเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่ นอกจากนี้ ยังช่วยให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องสำหรับช่วยเหลือลูกหนี้รายอื่นด้วย
ความช่วยเหลือของผู้ให้บริการทางการเงิน
นี่เป็นเพียงมาตรการขั้นต่ำ ซึ่งออกมาเพื่อความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเท่านั้น ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบประสบปัญหาขาดรายได้ อาจติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ โดยสามารถศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการให้ความช่วยเหลือของผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งได้ที่นี่
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม :
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย