
หัวข้อ : ปรุงรส ธุรกิจ ขายวิธีคิดสร้างความต่าง
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/th/Inspired-Apr-2020.aspx
ในปีนี้ธุรกิจร้านอาหารมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จากปีที่ผ่าน ด้วยสถานการณ์ต่างๆ โดยแยกผลกระทบและการปรับตัวเป็น 2 กลุ่มคือ
เป็นกลุ่มร้านอาหารที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ต้องเน้นไปที่การลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เช่น
โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดกลาง-เล็ก และร้านอาหารข้างทาง ต้องมีการเตรียมด้านการบริหารสภาพคล่องหรือกระแสเงินสด เช่น
จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องปรับตัวและวางแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. วางเป้าหมายให้ชัดเจน
อาจเแบ่งออกเป็น เป้าหมายระยะ สั้น – กลาง – ยาว เปรียบเทียบผลลัพธ์กับเป้าหมายในช่วงที่ผ่านมา ว่าเป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ และนำมาวิเคราะห์ว่าทีได้หรือไม่ได้ตามเป้าเป็นเพราะอะไร
2. วิเคราะห์โอกาสทางการตลาดและสภาพธุรกิจ
ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อจำกัด ทั้งในส่วนของเงินทุน ทำเลที่ตั้ง ทักษะและประสบการณ์ของเจ้าของกิจการไปจนถึงพนักงานภายในร้าน รวมถึงคุณภาพของวัตถุดิบ เป็นต้น เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอด ซึ่งจะช่วยลดคววามเสี่ยงและสร้างโอกาสให้ธุรกิจคุณได้
3. วิเคราะห์ตลาดผู้บริโภคและคู่แข่ง
เพื่อให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เทรนด์อาหารต่าง ๆ ขณะเดียวกันควรวิเคราะห์คู่แข่งในบริเวณใกล้เคียงด้วย ในส่วนของยอดขายและวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อนำมาวางแผนรับมือ
4. กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
ออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งในส่วนของยอดขาย ต้นทุน กำไร จุดคุ้มทุน เพื่อให้ลูกค้าเก่ากลับมาทางซ้ำ และดึงดูดลูกค้าใหม่ เช่น หาเอกลักษณ์ให้ร้าน ตั้งราคาขายให้เหมาะสม นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขึ้น รวมถึงวางแผนการตลาดและโปรโมชันใหม่ ๆ
5. ทบทวน และติดตามประเมินผล
ต้องมีการประเมินผลงานของกิจการเป็นระยะ ๆ อาจจะมาจากฟีดแบคของลูกค้าหรือความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้จุดที่ดีอยู่แล้ว
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือธุรกิจออนไลน์ ยกระดับความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/ecommerce_file/pdf/dbd_ecommmanual_openshopoonline_6202.pdf
ปัจจุบันที่ร้านต่าง ๆ มีการลงขายสินค้าช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น การแข่งขันจึงสูงขึ้นตามมา เพราะบางร้านอาจเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับธุรกิจคุณ หนึ่งในวิธีที่จะช่วยดึงลูกค้าสู่ร้านของคุณคือการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อ ซึ่งจะช่วยให้ร้านของคุณดูโดดเด่นจากคู่แข่งได้ สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ต้องมีเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD Verified) โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ Silver ระดับดี, Gold ระดับดีมาก และ Platinum ระดับดีเด่น โดยออกให้แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด เป็นการบ่งบอกว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐาน เมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้วจะได้รับเครื่องหมายรับรองความหน้าเชื่อถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปติดบนหน้าเว็บไซต์ได้ เครื่องหมายจะมีอายุการใช้งาน 1 ปีนับตั้งแต่วันอนุญาตและสามารถยื่นต่ออายุได้ปีต่อปี
สามารถยื่นผ่านทาง www.trustmarkthai.com
หรือ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โทร. 02-547-5961 หรืออีเมล์ dbd-verifed@dbd.go.th
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Future of Marketing: การตลาดดิจิทัล อาวุธโลกธุรกิจหลังโควิด-19
อ่านเพิ่มเติม : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/future-of-marketing.html
การตลาดในโลกธุรกิจหลังโควิด-19 จะเปลี่ยนไปอย่างไร? คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ CEO แห่ง Group M เอเจนซี่ระดับแนวหน้าของวงการ ผู้อยู่เบื้องหลังการวางกลยุทธ์สื่อโฆษณาและการตลาดขององค์กรธุรกิจและแบรนด์สินค้ามากมายในทุกอุตสาหกรรม มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการปรับกลยุทธ์รับมือให้บริษัทอยู่รอดจากวิกฤตที่เกิดขึ้นและอนาคตที่จะมาต่อจากนี้
ธุรกิจขนาดใหญ่หลายธุรกิจยังคงใช้จ่ายงบสื่อโฆษณาไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก แต่มีการปรับรูปแบบโฆษณาให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น ธุรกิจยานยนต์ ที่ไม่สามารถจัดงานมอเตอร์โชว์ได้ ปรับเปลี่ยนมาใช้ช่องทางโฆษณาออนไลน์เป็นหลัก โดย
– โฆษณาโดยใช้ช่องทางการเซิสคำค้นหาบนเว็บไซต์ เช่น กูเกิ้ล (google) เพราะการที่มีคน เซิสคำค้นหาเกี่ยวกับรถ แสดงว่ามีความต้องการในตลาดอยู่
– กรณีที่ลูกค้ายังไม่ซื้อ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล และยิงโฆษณาซ้ำเข้าหาลูกค้าที่สนใจ (Remarketing)
ธุรกิจสินค้าเครื่องสำอาง ดูแลผิว
– สิ่งที่เปลี่ยนไปคือช่องทางการจำหน่าย เพราะห้างปิดลูกค้าจำเป็นต้องซื้อทางอีคอมเมิร์ซ ทำให้ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ อาจมีลูกค้าบางส่วนที่ไม่กลับไปซื้อที่หน้าร้านอีก
– การทำโฆษณาควรใช้ข้อมูลลูกค้าที่ได้จากตอนขายออนไลน์ มาทำกลยุทธ์ยิงโฆษณาหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าเก่าที่คุ้นเคยกับสินค้า มากกว่าจะดึงลูกค้าใหม่จากแบรนด์อื่น
ธุรกิจสินค้ากลุ่มของใช้ประจำวัน
– ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในก่อนหน้านี้อาจไม่ค่อยซื้อผ่านทางออนไลน์ แต่ช่วงล็อกดาวน์ มีความจำเป็นต้องสั่ง เมื่อห้างเปิดบางกลุ่มยังคงซื้อออนไลน์อยู่ เราจึงต้องมองให้ออกว่าลูกค้าอยู่กลุ่มไหน มีสัดส่วนอย่างไร
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
– ร้านไหนที่มีจุดเด่นเป็นตัวอาหารและทำการส่งถึงบ้านอยู่แล้ว ช่วง Covid-19 ก็เป็นช่วงที่ขายดียิ่งขึ้น แต่ถ้าร้านมีจุดเด่นที่บริการ จำเป็นต้องปรับตัวมากกว่า สิ่งที่หลายร้านเลือกทำคือ จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษ หรือออกเมนูใหม่ให้เหมาะกับการส่งเดลิเวอรี่
– ร้านอาหารบางร้านเลือกใช้วิธีขายบัตรกำนัลหรือคูปองเงินสดให้ลูกค้าไปก่อน เพื่อเอาเงินสดเข้ามา
– ขนมทำง่ายๆ อย่าง ขนมเบื้อง ขนมโตเกียว จะมีการขายวัตถุดิบเป็นอาหารแบบทำเองได้ที่บ้าน เป็นที่นิยมมากเพราะลูกค้ารู้สึกสนุกในการทำอาหาร
– กรณีศึกษาจาก KFC ที่ต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ส่งทันกับออเดอร์ที่มีเข้ามามากขึ้น และมีการปรับกลยุทธ์สื่อสารว่าจะใช้ไก่ KFC มาปรุงทำอาหารที่บ้านอะไรได้บ้าง
ธุรกิจท่องเที่ยว การโรงแรม
– โรงแรมที่พักหรือธุรกิจท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รับผลกระทบหนัก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักหายไป บางโรงแรมก็ต้องปิดชั่วคราว หรือลดขนาด และรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่าย
– หลายโรงแรมมีการปรับตัว โดยเลือกเปลี่ยนมาขายร้านอาหาร เซอร์วิสในโรงแรม
– ในทางการตลาดดิจิทัลถ้ายังมีคนเซิสค้นหาที่พักอยู่ เช่นกลุ่มลูกค้าคนไทย ก็แปลว่ายังมีความต้องการห้องพักอยู่ เป็นโอกาสเข้าไปทำตลาดกับลูกค้ากลุ่มนี้
– การทำตลาดกับลูกค้าเก่า สำหรับโรงแรมที่พักที่มีระบบข้อมูลลูกค้าเดิมดีอยู่แล้ว ก็สามารถใช้กลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์กับลูกค้าเก่าได้หลากหลาย เช่น เสนอส่วนลดพิเศษ ยิงโฆษณา ฯลฯ
– ธุรกิจโรงแรมไทยต้องเตรียมตัวรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยชื่อเสียงที่ไทยจัดการโควิดมีประสิทธิภาพทำให้เรามีภาษีดีกว่าที่อื่น และทำการตลาดด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่า ประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากมา
สิ่งสำคัญคือต้องดูว่าพฤติกรรมลูกค้าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทั้งการใช้จ่าย ความต้องการสินค้า กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำการตลาด ดังนี้
– ใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่แบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อเจาะหาลูกค้าให้แม่นยำขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโชคดีที่เครื่องมือการตลาดดิจิทัลมีความสามารถในการสื่อสารหาลูกค้าได้แม่นยำอยู่แล้ว
– เมื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ถูก เลือกแพลตฟอร์มได้เหมาะสม ก็จะสามารถยิงโฆษณาสู่ลูกค้าแต่ละคนได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
– ควรมีการปรับและวัดผลโฆษณาอยู่ตลอดเวลา พร้อมเสริมกลยุทธ์ระหว่างทาง ก็จะมีสร้างยอดขายได้มากที่สุด เรียกว่าใช้งบได้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีเงินเหลือทำโปรโมชั่นอื่นๆ ได้
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf
ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย
บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้
(1) ธุรกิจบริการทางแพทย์
(2) ธุรกิจสปา
(3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค)
(4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา
2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก
3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ
4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานคร – ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
ส่วนภูมิภาค – ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น
สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้
หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน
เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้
1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)
เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น
2. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff)
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น
3. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)
เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น
4. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)
เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น
5. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)
เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน
เว็บไซต์ hss.moph.go.th
ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02 193 7999
อีเมล ict@hss.moph.go.th
สมาคมสปาไทย
สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย
เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com
ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 3814441
อีเมล info@thaispaassociation.com
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา
เว็บไซต์ www.dsd.go.th
ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 248 3393
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 10 แฟรนไชส์อาหาร ที่ยังไปได้ดีแม้เศรษฐกิจผันผวน
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-food-investment
การขายอาหารการกินไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีตกยุค ยิ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและมีธุรกิจตัวกลางคอยเชื่อมโยงร้านอาหารกับกลุ่มลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ การเติบโตทางการตลาดจึงเป็นไปอย่างดี โดย Euromonitor รายงานว่าในช่วงปี 2013-2018 ยอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food service) ของไทยยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจอาหาร แฟรนไชส์อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากแนวโน้มของตลาดที่ให้การตอบรับดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจอย่าลืมที่จะพิจารณาถึงผลเสียและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่จะได้รับอย่างรอบคอบ เพื่อวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตได้
ผู้ที่สนใจเแฟรนไชส์อาหาร นี่คือ 10 แฟรนไชส์ที่ยังไปได้ดีในยุคนี้
1. แฟรนไชส์น้ำปลาหวาน จิ้มแกล้มกับผลไม้
2. เนื้อย่างเสียบไม้ มีแนวคิดมาจากความนิยมทานเนื้อแบบปิ้งย่างของคนไทย เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการทานแบบสะดวก พออิ่มท้อง และไม่อยากจ่ายเยอะ
3. เครป ขนมทานเล่นยอดนิยมมานานยังคงไปได้ดี
4. หม่าล่า อาหารปิ้งย่างเคลือบน้ำจิ้มรสเผ็ด ได้รับความนิยมมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
5. เฟรนช์ฟรายส์ อาหารทานเล่นที่บริหารจัดการได้ไม่ยาก
6. ซูชิ อาหารจากญี่ปุ่นที่ถูกปากคนไทยมานาน
7. ก๋วยเตี๋ยว ยังไปได้ในทุกยุคเศรษฐกิจ
8. ส้มตำ ยำแซ่บ อีสานยกชุด อาหารที่คนไทยทานได้ไม่เบื่อ
9. สเต๊ก สามารถคืนทุนได้เร็ว หากทำเลดีและเลือกลงทุนแฟรนไชส์ดี
10. ชาบู มีทั้งแบบจัดเป็นชุดบุฟเฟต์ หรือเสียบไม้
ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเป็นสินค้าที่มีผลกำไรต่อหน่วยน้อย ต้องอาศัยการขายในจำนวนมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกเหนือไปจากทุน จุดคุ้มทุน และผลกำไรแล้ว ยังมีเรื่องอื่นที่ผู้ประกอกการต้องใส่ใจด้วย เช่น
– การพิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้ง เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปได้ไกล
– วัตถุดิบอาหารต้องสดใหม่และมีอายุในการเก็บรักษา จำต้องหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย