สร้างยอดขายโรงแรมขนาดเล็กด้วยการตลาด

หัวข้อ : การตลาดดี สร้างยอดขายโรงแรมขนาดเล็กทะลุเป้า
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/hotel-marketing

 

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมหันมาจับธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กกันมากขึ้น จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกที่เริ่มนิยมเข้าพักในโรงแรมขนาดเล็กที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและบริการที่ดี รวมถึงมีความปลอดภัยสูง ทำให้ธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตมากขึ้น แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้หลายโรงแรมได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ไปตาม ๆ กัน ตอนนี้ได้เวลาเปิดรับนักท่องเที่ยวในประเทศ การจะฟื้นธุรกิจให้ไปต่อได้อาจต้องอาศัยเรื่องของการตลาดเข้าช่วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดได้มีคำแนะนำการตลาดสำหรับโรงแรมขนาดเล็กให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้

 

รู้จักลูกค้าของคุณ

การทำการตลาดธุรกิจโรงแรมสิ่งแรกต้องแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มให้ชัดเจน เพราะจะทำให้เลือกได้ว่าจะทำตลาดกับลูกค้ากลุ่มไหนบ้าง ลูกค้ากลุ่มไหนที่จะชอบและจะเข้าพักโรงแรมของคุณ ซึ่งการแบ่งลูกค้าออกมาเป็นกลุ่มนั้นจะทำให้คุณเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

 

กำหนดจุดยืนทางการตลาด

เพื่อให้ลูกค้าจำคุณได้และนึกถึงคุณเป็นคนแรกเมื่ออยากหาที่พัก ซึ่งข้อดีของการมีจุดยืนทางการตลาดที่ชัดเจน คือคุณอาจเป็นเจ้าตลาดในจุดนั้นได้ด้วย

 

สร้างสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์

หากโรงแรมของคุณไม่ได้ตั้งอยู่ในศูนย์กลางการท่องเที่ยว การสร้างสื่อออนไลน์จะช่วยให้ลูกค้าเจอคุณได้ง่ายมากขึ้น เพราะในธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ลูกค้ามากกว่า 95% พึ่งพาสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ลองเริ่มจากการสร้าง เพจเฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ อินสตาแกรม (Instagram) เพื่อกระจายข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมาย

 

ควรมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

นอกจากสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว เว็บไซต์โรงแรมเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับสังคมสมัยนี้ เพราะเว็บไซต์จะช่วยให้คนที่กำลังหาที่พักสามารถหาคุณเจอได้ง่าย คุณสามารถปรับให้เข้ากับภาพลักษณ์ของโรงแรมได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังทำระบบการจองห้องพักได้ ช่วยเพิ่มยอดการจองตรงให้กับโรงแรมได้อีกทางหนึ่ง

 

ขายผ่านเว็บไซต์โรงแรมชื่อดัง

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้คนสนใจในตัวโรงแรมของคุณคือ การขายผ่านเว็บไซต์ชื่อดัง เช่น อโกด้า (Agoda), บุ๊คกิ้ง (Booking.com) และอื่น ๆ ซึ่งทำให้คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทันที ทั้งนี้ คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายถึงประมาณ 16-20% ให้กับเว็บไซต์ แต่ก็คุ้มค่ากับการใช้บริการเหล่านี้ เพราะโอกาสที่โรงแรมเล็ก ๆ จะประสบความสำเร็จในการเข้าถึงลูกค้าในวงกว้างมีโอกาสน้อยมาก สื่อเหล่านี้จะช่วยให้โรงแรมเล็ก ๆ ได้เปรียบกว่าโรงแรมใหญ่ในการหาลูกค้าอีกด้วย

 

คุณภาพในการให้บริการ

ต้องให้บริการได้รวดเร็วและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สำหรับธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก กระบวนการในการส่งมอบบริการจะครอบคลุมตั้งแต่ 

  • ขั้นตอนการจองห้องพักทั้งผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และจองตรงกับทางโรงแรมผ่านทางโทรศัพท์ การให้ข้อมูลต่าง ๆ
  • เมื่อถึงวันเข้าพัก กระบวนการในการเช็กอินต้องรวดเร็ว การจัดส่งกระเป๋าถึงห้องพัก 
  • บริการประสานงานกับแหล่งท่องเที่ยว ร้านสปา ร้านอาหาร บริการรถรับส่ง 

ทุกอย่างนี้ ถ้าคุณสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ รับรองลูกค้าจะต้องกลับมาใช้บริการอีกแน่นอน

 

ราคาของห้องพัก

เรื่องของราคามีความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ ซึ่งในส่วนของราคาจะผันแปรตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ฤดูกาลท่องเที่ยว ทำเลของโรงแรม คุณภาพของการบริการ และควรศึกษาอัตราค่าเข้าพักในย่านนั้นก่อน จึงจะนำมาเป็นแนวทางให้การปรับปรุง ออกแบบและกำหนดราคาค่าเข้าพัก ซึ่งหากโรงแรมของคุณมีการบริการที่ดี อยู่ในทำเลที่ดีแล้ว มีโอกาสที่อัตราค่าเข้าพักจะสูงกว่าคู่แข่งในย่านเดียวกันได้

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

ภาษีสำหรับธุรกิจสุขภาพและความงาม

หัวข้อ : ภาษีสำหรับธุรกิจสุขภาพและความงาม
อ่านเพิ่มเติม : https://sme.ktb.co.th/sme/KNOWLEDGE&cateId=9&itemId=184

 

 

ธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิว รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ การเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้

 

คลินิกรักษาสิว คลินิกความงาม รวมทั้งศัลยกรรมตกแต่ง

โดยมีแพทย์ประจำที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ตรวจและรักษา รวมทั้งสั่งจ่ายยา และมีการจ้างพนักงานผู้ช่วยแพทย์

1. การประกอบกิจการในนามของบุคคลธรรมดา

  1. กรณีผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ‘สถานพยาบาล‘ ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ไม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียน VAT ได้ ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของเงินได้
  2. กรณีประกอบกิจการในนามของบุคคลธรรมดา โดยไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ ‘สถานพยาบาล‘ รายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณี ที่ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ต้องคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น

2. การประกอบกิจการในนามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นเดียวกับกรณีภาษีเงินได้นามบุคคลธรรมดาข้างต้น

3. กรณีมีรายได้เกี่ยวกับศัลยกรรมใบหน้าทั้งหลาย 

  • รายได้จากการฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม ฉีดสารเติมเต็ม
  • รายได้ขายครีมสำหรับทาหลังจากทำศัลยกรรม 
  • ค่าฉีดบำรุงด้วยวิตามิน ล้างสารพิษ เมโสหน้าใส 
  • รายได้เกี่ยวกับสิว ฉีดสิว ลดรอยสิว แผลเป็นจากสิว ครีมบำรุง และรักษาสิว ฝ้า กระ รอยด่างดำ 
  • รายได้จากค่าอาหารเสริม

หากรายได้เหล่านี้เป็นรายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล  และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกำหนด ถือว่าเป็นรายได้ของสถานพยาบาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในข่ายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายการ

แต่ถ้าไม่ได้ประกอบกิจการภายใต้กฎหมายสถานพยาบาล เช่น ขายอาหารเสริม โดยไม่มีข้อแนะนำใดๆ จากแพทย์ผู้รักษาพยาบาล เช่นร้านขายยาทั่วไป ถือเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

4. สำหรับแพทย์

ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าทำหน้าที่อะไรในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งนั้น

(1) กรณีเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือนค่าจ้าง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

(2) กรณีได้รับเงินได้ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะทำการรักษาพยาบาลหรือไม่ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

(3) กรณีได้รับเงินได้จากการเปิดคลีนิคในสถานพยาบาล เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

 

ธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามอื่น ๆ

ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม นวดหน้า นวดตัว เครื่องสำอางหรือสมุนไพร ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจโดยบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รายได้ที่ไดัรับจากการประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. กรณีประกอบกิจการในนามของบุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.94 โดยต้องยื่นแบบสตง. รายการและเสียภาษีเงินได้ภายในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของเงินได้ หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้
  2. ภาษีเงินได้บุคคลลธรรมดาประจำภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 โดยต้องยื่นแบบสตง. รายการและเสียภาษีเงินได้ภายในนิติบุคคลภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำจำนวนภาษีเงินได้ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ดมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้

2. กรณีประกอบกิจการในนามของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคคล

ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญขีปีแรกและปีสุดท้ายที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.51 ในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50

3. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้จากการประกอบธุรกิจสุขภาพเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 

  • ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือรับบริการ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้าหรือรับชำระราคา แล้วแต่กรณี
  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับการขายสินค้ารายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการหรือไม่

 

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

พ.ร.บ. สินค้าและบริการที่ผู้ประกอบต้องใส่ใจ

หัวข้อ :  ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/price-and-regulatory-requirements

 

 

รู้หรือไม่? การตั้งราคาขายสินค้าและบริการ จะตั้งตามใจอยากไม่ได้ เพราะมีข้อกฎหมายบัญญัติไว้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ภายใต้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา

กฏหมายนี้ออกมาเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าและบริการ ไม่ให้ราคาสินค้า-บริการสูงขึ้นรวดเร็วเกินสมควร และทำให้ปริมาณสินค้ามีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วย

พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 (สำหรับท่านที่ต้องการศึกษา)
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C753/%C753-20-2542-a0001.pdf

 

สำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่มีการบังคับใช้มาจนถึงวันนี้ ซึ่งกำกับดูแลราคาสินค้าหรือบริการของประเทศไทยและต่างประเทศนั้น มีรายละเอียดโดยคร่าว ๆ ดังนี้

 

การดำเนินการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ กำหนดให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการแสดงราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะต้องมีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าหรือบริการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่าสินค้ารายการใดยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชีรายการที่จะต้องปิดป้ายแสดงราคา ก็จะต้องมีการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สินค้านั้น ๆ อยู่ในบังคับต้องปิดป้ายแสดงราคา

 

การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 29 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใด ๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด

 

าตรการการกำกับดูแลสินค้าควบคุม : ตามข้อกำหนดในมาตรา 30 ได้กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดกักตุนสินค้าควบคุม หรือไม่นำสินค้าควบคุมที่มีไว้เพื่อจำหน่ายออกจำหน่ายหรือเสนอขายตามปกติ หรือปฏิเสธการจำหน่าย หรือประวิงการจำหน่ายหรือการส่งมอบสินค้าควบคุม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

 

มาตรการกำกับดูแลธุรกิจบริการควบคุม : ตามข้อกำหนดในมาตรา 31 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการควบคุมหยุดการให้บริการตามปกติ หรือปฏิเสธการให้บริการ หรือประวิงการให้บริการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร

เนื่องจากปัจจุบันมีการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์กันเยอะมากขึ้น จึงได้มีการประกาศบังคับใช้ ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 49 พ.ศ. 2561 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนให้ผู้ที่ค้าขายทางออนไลน์ต้องแสดงสิ่งเหล่านี้

  1. ราคาสินค้า
  2. ค่าบริการ เช่น ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์
  3. ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนักของสินค้าหรือบริการ
  4. รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ
  5. กรณีมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาจำหน่วยสินค้าหรือบริการข้อ 1- 4 ต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจน

 

โดยวิธีการแจ้งราคาสินค้าและบริการที่ถูกต้อง คือ 

(1) เขียน พิมพ์ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจ

(2) ในลักษณะชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย และสามารถอ่านได้โดยง่าย

(3) ให้แสดงราคาต่อหน่วย

(4) ราคาหรือค่าบริการนั้น จะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย

(5) ข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้

 

ดูรายละเอียดรายการสินค้าควบคุมตามประกาศกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562
เพิ่มเติมได้ที่ www.dit.go.th

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

Facebook Group ช่องทางเพิ่มยอดขาย เข้าถึงง่ายขึ้น

หัวข้อ : 7 ข้อดีเพิ่มยอดขายด้วย Facebook group
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190419113208.pdf

 

 

เฟซบุ๊ก กรุ๊ป (Facebook Group) อีกหนึ่งช่องทางการกระตุ้นยอดขายที่หลาย ๆ คนมองข้าม รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วช่องทางนี้มีอัตราความสำเร็จในการปิดการขายสูงกว่า เฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage) และยังสามารถรักษากลุ่มลูกค้าเก่าได้อย่างเหนียวแน่นอีกด้วย

เฟซบุ๊ก กรุ๊ป ไม่ได้เป็นเพียงชุมชนออนไลน์ที่มีเพียงการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ชื่นชอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาช่วยเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ให้สินค้าหรือบริการได้มากขึ้น และยังช่วยสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ได้จากการแนะนำสินค้าให้กับสมาชิกภายในกรุ๊ป รวมถึงการรับฟังปัญหาต่าง ๆ จากลูกค้าโดยตรง เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และการบริการในอนาคต 

 

วิธีเพิ่มยอดขายด้วยเฟซบุ๊ก กรุ๊ป

 

1. ทำให้กลุ่มเป้าหมายแคบลง 

เพราะผู้ที่เข้าร่วมเฟซบุ๊ก กรุ๊ป ในกรุ๊ปเดียวกันมักเป็นคนที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน มีการติดตามความเคลื่อนไหวกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งเราเองก็สามารถสร้างกรุ๊ปหรือเข้าร่วมกรุ๊ป ที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของเรา นอกจากจะได้ลูกค้าเพิ่มแล้ว ยังมีโอกาสสูงที่จะสามารถปิดการขายกับเหล่าสมาชิกในกรุ๊ปได้ เพราะสิ่งเขาสนใจคือสินค้าที่เรามีอยู่ในมือนั่นเอง

 

2. สามารถส่งคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมที่ร้านจัดขึ้นได้

ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย กิจกรรมเพื่อการกุศลโดยการสนับสนุนจากแบรนด์สินค้าของเรา ซึ่งเราสามารถสำรวจจำนวนผู้ที่สนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมจากการส่งคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ ได้อีกด้วย สมาชิกในกรุ๊ปยังสามารถเชิญเพื่อนนอกกรุ๊ปให้เข้าร่วมกิจกรรมของเราเพิ่มขึ้น ช่วยกระจายแบรนด์สินค้าของเราให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 

3. กูรูในกรุ๊ปช่วยสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ได้

ในแต่ละกรุ๊ปมักจะมีกูรูที่ช่วยให้คำแนะนำปรึกษาและให้ความรู้ รวมไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่สมาชิกในเข้ามาตั้งคำถาม เราก็สามารถเป็นหนึ่งในกูรูในกร๊ปได้เช่นกัน ด้วยการให้ความรู้คำแนะนำต่าง ๆ นอกจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวตนของเราแล้ว สินค้าที่แนะนำให้กับสมาชิกก็จะมีความน่าเชื่อถือตามไปด้วย

 

4. เชื่อมโยงเฟซบุ๊ก กรุ๊ปและแฟนเพจ

หากเราเป็นแอดมินในกรุ๊ป จะสามารถเชื่อมโยงแฟนเพจที่ใช้ขายสินค้าเข้ากับกรุ๊ปได้ เท่ากับสามารถแสดงตนได้ถึง 2 สถานะ คือแอดมินกรุ้ป กูรูผู้ให้คำแนะนำที่น่าเชื่อถือ และแอดมินแฟนเพจ เจ้าของสินค้าที่พร้อมให้ข้อมูลสินค้าและบริการ แต่ไม่ควรโพสต์ขายสินค้าในกรึ๊ปมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้สมาชิกรู้สึกเสียบรรยากาศได้

 

5. สร้างการมีส่วนร่วม ไม่เน้นขายของเยอะ

ต้องไม่ลืมว่าเฟซบุ๊ก กรุ๊ป คือชุมชมออนไลน์ของผู้ที่มีความสนใจเหมือนกัน เข้ามาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ไม่ใช่กลุ่มค้าขาย (หากไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มค้าขายตั้งแต่แรก) การโพสต์ขายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิดผลเสียแทนได้ การสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ น่าสนใจ และสดใหม่ พร้อมแทรกข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เราอยากนำเสนอ จึงมีความน่าสนใจมากกว่าการโพสต์ขายสินค้าตรง ๆ 

 

6. สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

ใช้เฟซบุ๊ก กรุ๊ป บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหลังการขาย โดยการเชิญชวนให้ลูกค้าของเราเข้าร่วมกรุ๊ป เพื่อพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และทริกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น มอบส่วนลดพิเศษเฉพาะสมาชิกในกรุ๊ปเท่านั้น

 

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

ข้อดีและข้อเสีย คิดก่อนลงทุนแฟรนไชส์

หัวข้อ : จุดเด่น VS จุดด้อย “คิดก่อนลงทุน  FRANCHISE”
อ่านเพิ่มเติม : https://www.flathailand.com/news_franchise_detail.asp?topicid=242

 

 

ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ก็เช่นกัน แม้จะเหมือนเป็นการซื้อระบบ ซื้อความสำเร็จของแบรนด์นั้นมาบริการจัดการ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันทุกคน สำหรับคนที่สนใจที่กำลังอยากลงทุน หรือกำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์สักแบรนด์ นี่คือข้อดีและข้อเสียของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้คุณได้ลองเช็กดูว่าเหมาะสมกับตัวคุณเองหรือไม่

 

ข้อดีของระบบธุรกิจแฟรนไชส์

  1. ลดความเสี่ยง : เพราะเหมือนเป็นการซื้อความสำเร็จจากเจ้าของธุรกิจนำมาบริหารให้เหมือนกับต้นแบบ หากคุณศึกษาระบบและรู้ักแบรนด์อย่างดีแล้ว จะช่วยลดความเสี่ยงได้อีกมาก
  2. ได้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า : คือ การได้สิทธิ์ใช้ตราสัญลักษณ์ โลโก้แบรนด์แฟรนไชส์นั้น ๆ หรือแม้แต่หนังสือรับรองมาตรฐานต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณได้ทันที
  3. ประหยัดเงินและเวลา : เป็นการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ครั้งเดียวจบ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง และยังช่วยลดต้นทุนในการทดลองวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ 
  4. เส้นทางลัดของความสำเร็จ : การซื้อแฟรนไชส์จะมีการสอนงานและความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้แก่คุณ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยตรงกับเจ้าของแบรนด์หรือทีมงานผู้ฝึกสอนมืออาชีพ โดยใช้เวลาไม่นาน
  5. ได้รับสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ : เช่น การได้รับการสนับสนุนสินค้าตัวใหม่ หรือ โปรโมชั่นใหม่ ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายให้หน้าร้านของคุณ โดยที่คุณไม่ต้องมานั่งคิดสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ตลอดเวลา

 

ข้อเสียของระบบธุรกิจแฟรนไชส์

  1. มีขีดจำกัด ขาดความอิสระ : เพราะจะต้องปฏิบัติตามเอกสารสัญญา และคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่เจ้าของแบรนด์กำหนดไว้แต่ต้น
  2. มีค่าใช้จ่ายอื่น นอกเหนือจากค่าซื้อแฟรนไชส์ : เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee)  ค่าเก็บส่วนแบ่งทางการตลาดหรือยอดขายต่อเดือนหรือต่อปี (Royalty Fee) ฯลฯ
  3. มีโอกาสถูกยกเลิกสัญญา : หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบในเอกสารสัญญาที่ตกลงกันระหว่างไว้ อาจมีสิทธิ์ที่จะถูกบอกยกเลิกสัญญา และปิดกิจการสาขาแฟรนไชส์นั้นได้

 

Published on 25 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ