ศูนย์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI)

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) เป็นเครือข่ายให้บริการด้านความรู้ พัฒนา ทดสอบ ให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและทั้งแฟชั่นไลฟ์สไตล์ให้บริการในหลากหลายมิติ เน้น นวัตกรรม (Innovation) การออกแบบ (Design) และ การเชื่อมโยง (Connect) ให้วิสาหกิจโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เป็นตัวกลางเชื่อมเอกชนและรัฐ เพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของตลาด อาทิ กลุ่มสิ่งทอเทคนิค และสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษ กลุ่มสิ่งทอในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยานยนต์ กลุ่มสิ่งทอเพื่อสุขภาพและการแพทย์เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังรองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง เป็นต้น

 

ศูนย์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) ให้บริการผู้ประกอบการหลากหลายด้านด้วยกัน

  1. บริการข้อมูลองค์ความรู้ ด้านสิ่งทอทั้ง ข้อมูลโรงงานการผลิตสิ่งทอ  ข้อมูลดิจิทัล  ข้อมูลงานจัดแสดงสินค้า รวมถึงบริการผู้เชี่ยวชาญ ในการผลิตสิ่งทอด้านต่าง ๆ  เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน สิ่งทอยานยนต์ เส้นสิ่งทอรองรับการกระแทกของเครื่องบิน สิ่งทอเพื่อการเกษตร สิ่งทอย่อยสลายได้ พร้อมทั้งมีการ Update Market Trend อยู่เสมอ
  2. บริการฝึกอบรม
  3. ให้คำปรึกษาด้านการย้อม เช่น ผ้าสะท้อนน้ำ, Anti Bacteria 
  4. บริการตกแต่งสำเร็จ 
  5. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม
  6. สอนการเขียนแผนธุรกิจ และการสร้างแบรนด์ของตัวเอง

 

ผู้ประกอบการด้านสิ่งทอที่มีความสนใจอยากใช้บริการสามารถติดต่อเข้ามาได้เลยที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

โดยสามารถติดต่อบริการภายในศูนย์ได้ดังนี้ 

ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ 0 2713 5492-9 ต่อ 512-517

ศูนย์วิจัยพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ 0 2713 5492-9 ต่อ 407, 408, 413

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 543, 882

ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 222, 711, 732, 740

บริการอบรมและสัมมนา 0 27195492-9 ต่อ 101

Messe Frankfurt / งานจัดแสดงสินค้า 0 27135492-9 ต่อ 202, 229

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 0 2712 1592

ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและมาตรฐาน 0 2712 4527 ต่อ 550

 

และบริการรับตัวอย่างบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล เวลาทำการ: จันทร์- ศุกร์ 8.00-17.00 น. (ไม่ปิดพักกลางวัน)

ระยะเวลาการให้บริการทดสอบ 

ปกติ (Regular) 5 วันทำการ 

ด่วน (Express) 3 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 40%

ด่วนพิเศษ (Double Express) 2 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 70%

บริการทดสอบให้ผลภายใน 1 วัน (Same Day) คิดค่าบริการเพิ่ม 100%

ส่งตัวอย่างทดสอบก่อน12.00 น. นับวันที่มาส่งตัวอย่างเป็นวันแรกของวันทำการ

ส่งตัวอย่างทดสอบหลัง12.00 น. นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกของวันทำการ

หมายเหตุ บริการด่วน, ด่วนพิเศษ และบริการที่ให้ผลภายใน 1 วัน เฉพาะบางรายการทดสอบ

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Thailand Textile Institute

โดยมีขั้นตอนการส่งตัวอย่างทดสอบดังนี้

1.กรอกใบคำขอทดสอบ โดยใช้ภาษาที่ต้องการสำหรับรายงานผล (ไทยหรืออังกฤษ)

(link แบบฟอร์ม https://testing.thaitextile.org/wp-content/uploads/2019/11/5.1-Testing-Application-Form.pdf

หมายเหตุ ให้ระบุหน้าผ้า แนวเส้นด้ายยืนบนตัวอย่าง กรณีตัวอย่างเป็นสารเคมีให้แนบ Material Safety Data Sheet และการทดสอบทางเคมีให้บรรจุตัวอย่างแยกตัวอย่างละถุง
 2. ส่งใบคำขอและตัวอย่างมาทดสอบที่ศูนย์วิเคราะห์ โดยสามารถส่งได้ 3วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : ส่งด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ อาคารเคมีและคุณภาพสิ่งทอ หน่วยบริการลูกค้า (ชั้น 2)

วิธีที่ 2 : ส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ 

หน่วยบริการลูกค้า ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซ.ตรีมิตร 

ถ.พระราม4แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ10110
 วิธีที่ 3 : ใช้บริการรับตัวอย่างของศูนย์ฯ (เฉพาะเขต กทม.) *
(*) มูลค่าการส่งทดสอบตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นสมาชิก)

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบ

ติดต่อ คุณสุธาทิพย์ เสือหาญ

โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 512

E-mail: suthatip@thaitextile.org

ติดตามผลการทดสอบ

ติดต่อ คุณวันดี มาลัยหอม

โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 514

wandee@thaitextile.org


Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

 

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น หรือ ที่รู้จักกันในนามของ Sci Park ขอนแก่นนั้น ถือเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงองค์ความรู้และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวบรวมเทคโนโลยี งานวิจัย ข้อมูล ห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงเป็นที่ปรึกษาช่วยแก้ไขปัญหาการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อช่วยเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป โดยมีบริการที่โดดเด่นในสองเรื่องด้วยกันคือ

ห้องวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food Analysis Laboratory)  ผู้ประกอบการสามารถมาเริ่มต้นการพัฒนาธุรกิจอาหารธุรกิจ และการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบต่างๆ วิเคราะห์ด้านโภชนาการอาหาร เช่น วิเคราะห์หาปริมาณไขมัน  วิเคราะห์หาพลังงานแคลอรี่  วิเคราะห์หาอายุการเก็บรักษาของอาหาร โดยเหมาะกับผู้ที่มีไอเดียหรือแนวคิดในการผลิตสินค้าใหม่ๆ ร่วมไปถึงการให้บริการออกหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐาน

และบริการที่โดดเด่นอีกอย่างนึงของ Sci-Park ขอนแก่นนั่นก็คือ ก็คือโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหารหรือ Food Pilot Plant ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งที่โรงงานต้นแบบนี้มีนวัตกรรมทางการผลิตที่ทันสมัยสามารถรองรับการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีส่วนผสมของน้ำ หรือ แบบสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป  โดยผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนแนวความคิดที่ตัวเองมีเพื่อมาขึ้นรูปและสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ได้ที่โรงงานแห่งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อผู้ประกอบการได้ทำการทดสอบจนมั่นใจแล้ว ก็สามารถนำองค์ความรู้ทั้งในเรื่องของส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตต่างๆ เพื่อนำไปขยายผลสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมได้ต่อไปในอนาคต

บริการอื่นๆของทางศูนย์ที่มีให้ผู้ประกอบการ คือ

- ให้บริการและคำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก้ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยเน้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์

- บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (TECHNOLOGY BUSINESS INCUBATOR SERVICE)

- รวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เพื่อเผยแพร่และให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) แก่ประชาชน และภาคการผลิต สามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

- บริการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน (IRTC) การใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการฝึกอบรมการเสาะหาเทคโนโลยีจากแหล่งต่าง ๆ 

-บริการงานวิจัย ให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาศึกษาและปรับใช้กับผชิตภัณฑ์ของตนเอง

ที่ Sci- Park ขอนแก่นยังมีบริการ CO Working Space เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในทุกอุตสาหกรรม ได้ เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อหาความรู้และดำเนินธุรกิจ  โดยเน้นไปที่การสร้าง ชุมชนแห่งนวัตกรรมหรือ Innovation Community กับ รูปแบบหลักสองรูปแบบด้วยกันคือ  1. Co Working Space แบบ Open เป็นการให้บริการพื้นที่ทำงานแบบเปิด กับ 2. Co working space แบบ Fix Deck ที่จะมีการระบุ โต๊ะที่นั่งประจำสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว โดยยังมีบริการห้องประชุมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้พื้นที่สำหรับการเจรจาธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ที่รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ 5 คน ไปจนถึงห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับได้ 200 คนขึ้นไป เหมาะสำหรับการจัดงานสัมนาขนาดย่อมสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ 

เพื่อเป็นการสร้างการพัฒนาแบบยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการทาง Sci- Park ขอนแก่น ยังมีศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา  เพื่อการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร สำหรับผลงานหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ที่มีความโดดเด่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อการคุ้มครองไปจนถึงขั้นตอยการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  บริการให้คำปรึกษาในเรื่องของการให้คำปรึกษาด้านการกับการจดสิทธิบัตรเพื่อป้องการการลอกเลียนแบบ 

และในส่วนของการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอมาตราฐาน สินค้าอุปโภคและบริโภค ไม่ว่าจะเป็น มาตราฐานของ  อย.(องค์การอาหารและยา) หรือ GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อให้ผลิตภันผู้ประกอบการสามารถผ่านการรับรองและนำไปเข้าสู่กระบวนการของการจัดจำหน่ายได้อย่างเต็มรูปแบบ


ผู้ประกอบการที่มีไอเดียหรือผลิตภัณฑ์สามารถมาเปลี่ยนแนวความคิดที่ตัวเองมีมาพัฒนา ไอเดียหรือ นำผลิตภัณฑ์มาขึ้นรูปและสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ได้ที่โรงงานแห่งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจเข้าใช้บริการติดต่อมาที่ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น)  เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30 น. - 16.30 น. Tel: +66 4304 8048

Email: info@kkusp.com หรือ กรอกใบสมัครขอรับบริการที่ https://sciencepark.kku.ac.th/project

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

สถาบันไทย-เยอรมัน

สถาบันไทย-เยอรมัน (Thai-German Institute) หรือ TGI จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเป็นองค์กรนำในการเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยการยกระดับเทคโนโลยี นวัตกรรมและบุคลากร รวมทั้งเครื่องจักรกลและแม่พิมพ์ ให้สามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

ช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการโดยการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติเพื่อสามารถกลับไปประยุกต์ใช้งานจริงได้ เช่น การให้คำแนะนำด้านการผลิต และเทคโนโลยี เหมาะกับ  ผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตภาคอุตสาหกรรม 

สถาบันไทย-เยอรมัน  มีบริการหลักเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดังนี้

1.การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี อย่างเช่น เรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องจักร  ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร CNC  การออกแบบเครื่องจักรให้ผลิตได้จำนวนมากขึ้น  งานวิเคราะห์ความเสียหายของอุปกรณ์หลังเกิดเหตุ  ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร โดยนำผลการวิเคราะห์พฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นของเครื่องจักร โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ

2.
การบริการอุตสาหกรรม เช่น บริการทดสอบและสอบเทียบ การทดสอบวัสดุ รวดเร็ว/ราคาถูก/ผลทดสอบพร้อมตีความผลพร้อมคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการผลิต รับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร รับผลิตชิ้นงานเพื่อวิจัย ฯลฯ

3.รับออกแบบและผลิตชิ้นงาน ออกแบบและสร้างระบบอัตโนมัติ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร  แม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปพลาสติก แม่พิมพ์ต้นแบบ  แม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะ การทำชิ้นงานต้นแบบจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (แต่ทั้งนี้ไม่ได้ไปแข่งกับภาคอุตสาหกรรม) ออกแบบเครื่องจักรกล  งานเชื่อมโลหะและประสานโลหะ 

4.เทรนนิ่งและสัมมนา ทั้งทางด้านการจัดการ และ ทางด้านเทคนิค (เพื่อสร้างฝึกผู้สอน)

5.บริการงานวิจัยส่วนของงานภาครัฐ

ลูกค้าภาคเอกชนและผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมฝึกอบรม สัมมนาได้ ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภาคธุรกิจ เนื่องจากนโนบายจากภาครัฐที่สนับสนุนแต่ละปีไม่เหมือนกันโดยพัฒนาต่อยอดแก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต และหลังจากอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มเข้ามาพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น เข้ามาขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน ว่าต้องมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไรต่อไป 

ด้วยความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ของสถาบันไทย-เยอรมัน ทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และนำความรู้ไปสอน จากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ และนำไปประยุกต์การทำงาน สร้างความเชื่อถือให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันไทย-เยอรมันเพื่อเข้าคอร์สฝึกอบรม ได้ที่ https://www.tgi.or.th/app/register/personal และเลือกดูตารางการอบรมที่ https://www.tgi.or.th/ หรือติดต่อทางศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง สถาบันไทย-เยอรมัน (ศูนย์กรุงเทพฯ) อาคารปฏิบัติการ A สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน 86/6 ซอยตรีมิตร ถ.พระราม4 แขวงกล้วยน้ำไท เขตคลองเตย จ.กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทร  038-215033-39, 033-266040-44
E-mail 
crm_dept@tgi.mail.go.th

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ (บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี) สวทช.

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. หรือ BIC เป็นหน่วยงานรัฐภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการและ Start Up ด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืน สำหรับผู้ประกอบการที่มีไอเดียแล้วต้องการต่อยอดธุรกิจ หรือ พบเจอปัญหาด้านเทคโนโลยีหรือการดำเนินงานทางธุรกิจแล้วต้องการแก้ปัญหา ทางศูนย์จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจก่อน  ไม่ว่าจะเป็นบริการสำหรับผู้ประกอบการทุกรูปแบบทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแม้แต่เว็บไซต์ การวางแผนธุรกิจ การพัฒนาสินค้า จับคู่ที่ปรึกษา ไปจนถึงการหาแหล่งเงินทุน โดยมุ่งเน้นที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของตนเอง เช่น Software, Material, Machinery, Medical, Agricutural,Electronics, Energy ฯลฯ เน้นการช่วยแก้ปัญหาธุรกิจ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยขึ้นตรงกับรัฐ มีโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการหลายโครงการ เช่น โครงการเถ้าแก่น้อย , Startup ​Voucher , Bio Based Start-Up เพื่อสร้างรายได้ เกิดการจ้างงาน และการลงทุนให้กับประเทศ 

บริการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช. ประกอบด้วย การให้คำปรึกษา การจับคู่ธุรกิจ สถานที่ทำงาน การอบรมความรู้ด้านธุรกิจ การประสานแหล่งทุน การออกบูธแสดงสินค้า การวิเคราะห์ธุรกิจ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่สนใจในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Software IT หรือ ผู้ประกอบการที่ต้องการทำzero waste ตัวอย่างผู้ประกอบการที่เคยมาใช้บริการ ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร  ผู้ประกอบการธุรกิจขายออนไลน์ E-commerce Marketplace


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. บ่มเพาะธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

1 Product Incubation พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ปัญหา

2 Business incubation

BIC มีโครงการและกิจกรรมมากมาย ที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและ Start Up เช่น โครงการอบรมผู้ประกอบการที่ยังไม่มี Product หรือกลุ่มเริ่มต้นธุรกิจ โดยเริ่มสอนตั้งแต่ การทำบัญชี ภาษี องค์ประกอบธุรกิจ ศึกษาตลาด รู้จักกลุ่มเป้าหมาย การทำตลาด การสร้างองค์กร กำหนดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงการตลาด เชื่อมโยงที่ปรึกษา แหล่งทุน พาไปออกงาน ได้ฝึกทำ Business Model ได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง

BIC  มีแพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งที่เข้าโคงการและไม่ได้เข้าโครงการ คือ Start Up ​Voucher เป็นการมอบทุนที่ช่วยให้ทำการตลาด โดยมอบเงินสนับสนุน 75% เพื่อช่วยในการทำตลาด จากเงินทุน 800,000 บาท โดยต้องสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ต้องทำสัญญา

BIC  มีโครงการเถ้าแก่น้อย เทคโนโลยี มีการร่วมมือกับกลุ่ม สามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้จัดการประกวดนวัตกรรม และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย

บริการอื่น ๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช.

  1. งานวิจัยต้นน้ำ เช่น ข้าวที่สามารถปลูกในน้ำได้ , ไส้กรอกที่ไร้มันแต่ยังคงความกรอบเด้ง , มีจุลินทรีย์ให้เข้ามากศึกษากว่า30,000สายพันธุ์
  2. โครงการอบรม สำหรับผู้มีชิ้นงาน ให้ทำการวางแผนธุรกิจ Business Model Canvas เช่น ขายอะไร ขายยังไง กำไรเท่าไร ต้นทุนเท่าไร
  3. สามารถเช่าพื้นที่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ หรือ เช่าพื้นที่ทำหน้าร้านที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี
  4. รองรับการทำงานวิจัยพัฒนา สามารถยื่นจดทะเบียนงานวิจัยได้แม้จะมีเงินทุนไม่สูงมาก
  5. ภาษีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารต่าง ๆ จะมีการขั้นตอนพิจารณา สามารถลดหย่อนภาษีได้

ยังมีส่วนให้การสนับสนุน Start Up สามารถเช่าพื้นที่ในราคาที่ผู้ประกอบการ สามารถมีหน้าร้านได้  พอธุรกิจ Start Up แข็งแรงพอก็สามารถออกไปเปิดเป็นกิจการจริงภายนอกได้ต่อ  ถือว่าศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่ตั้งไข่ถึงเดินได้ในตลาด โดยเน้นไปที่ Science and Technology สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ มากมายได้ที่ Website : https://www.nstda.or.th/bic/project  , Facebook : https://www.facebook.com/NstdaBIC หรือติดต่อทาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี 12120    โทรศัพท์ 0-2564-7000 Call Center 0-2564-8000

e-mail : info@nstda.or.th

Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (OSSC) เป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย และการตรวจชันสูตรเพื่อเป็นการสนับสนุนการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาล
      
              ซึ่งในปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีหน่วยงานที่ให้บริการดังกล่าวกระจายอยู่ตามอาคารต่างๆ ทั้งสิ้น 10 อาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปต่างต้องเสียเวลา ไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ามาติดต่อและรับบริการ จากหน่วยงานให้บริการต่างๆ

ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้จัดตั้ง ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือศูนย์รวมบริการ

             (One Stop Service Center : OSSC) เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว แก่ประชาชนผู้ที่มาติดต่อส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการขอรับคำปรึกษา การยื่นคำขอ การขอรับใบอนุญาตรับรอง การชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการตลาดและการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว


One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (OSSC) ให้บริการผู้ประกอบการSMEหรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการยกระดับมาตรฐานเพื่อเป็นผู้ประกอบการSME ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยผู้ประกอบการต้องขอข้อมูลจากทางอย. มาก่อนว่าสินค้าต้องตรวจอะไร  และทางศูนย์จะวิเคราะห์ ออกผลให้ รวมทั้งติดตามผล ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถใช้บริการได้ เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการที่เน้นการผลิตด้านอาหาร เครื่องสำอางค์ ยา

            โดยในระยะเริ่มต้นนี้จะให้บริการ รับตัวอย่างเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์สารและรับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อันประกอบด้วยด้านอาหาร ยา ชีววัตถุ เครื่องสำอาง รังสี เครื่องมือแพทย์ และสมุนไพร ยกเว้น วัตถุเสพติด โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากLABต่างๆ มารอรับตัวอย่างและให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปยื่นเพื่อขอรับอย. โดยจะรับตรวจผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภท เช่น ด้านอาหาร , ยา , การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , อาหารในภาชนะปิดสนิท , เครื่องสำอาง , ครีมกันแดด , ครีมทาหน้าขาว , ยา , เจลแอลกอฮอลล์ , วัตถุอันตราย รวมไปถึงตรวจวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ว่าไม่มีสารตกค้าง และปลอดภัยตามมาตรฐานอย. เช่น จุกยางนม , กระป๋อง , แก้วน้ำ 

มีบริการตรวจเช็คความปลอดภัยของตัวสินค้าผ่านการผลิต คือ อันดับแรกจะดูสารเคมีหรือจุนลินทรีย์ในวัตถุดิบว่ามีสารปนเปื้อนไหม ตลอดจนตัวบรรจุภัณฑ์ รวมถึงความปลอดภัยในขั้นตอนการผลิต และเฝ้าระวังติดตามผลภายหลัง เคสตัวอย่างเรื่องความปลอดภัยที่เคยตรวจ เช่น ตัวน้ำดื่มบรรจุขวด , เคสซูชิเรืองแสง , ราในน้ำผลไม้กล่อง

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะนำผู้ประกอบการที่จะส่งตัวอย่างเพื่อขอใบอนุญาติ อย. ให้ไปปรึกษากับทางอย.ก่อนเพื่อจะมาขอรับการตรวจมาตรฐาน ผู้ประกอบการจะได้รู้ว่าต้องเอาผลตรวจอะไรไปขอใบอนุญาติ อย. แต่สำหรับผู้ประกอบการที่จะมาตรวจเพื่อตรวจสอบคุณภาพ สามารถขอคำแนะนำที่ศูนย์ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีการส่งตัวอย่าง แบบขอตรวจออนไลน์ และสามารถส่งตัวอย่างผ่านไปรษณีย์ หรือบริษัทเอกชน โดยสามารถดูผลตรวจได้ที่ E-Report เพื่อเพิ่มช่องทางการตรวจให้ผู้ประกอบการ

One Stop Service Center กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังมีโครงการสนับสนุนช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งสินค้าและเครื่องสำอาง OTOP ตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มจุดที่ขาดเพื่อให้สินค้าได้มีมาตรฐาน เป็นส่วนช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ 


ผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจ หลังจากศึกษารายละเอียดที่ต้องตรวจจากทางอย. แล้วให้นำตัวอย่าง  ใบประกาศ ใบนำส่ง แล้วแจ้งรายละเอียดกับทางศูนย์ว่าต้องการตรวจอะไรบ้างตามมาตรฐานอย. สามารถติดต่อด้วยตัวเองได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่อยู่ : 88/7 ซอยบำราศนราดูร ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือที่ศูนย์ใกล้เคียง 16 ศูนย์ทั่วประเทศ หรือกรอกใบนำส่งตัวอย่างออนไลน์ที่เว็บไซต์และส่งตัวอย่างผ่านขนส่ง

โทรศัพท์ : 0-2951-0000,0-2589-9850-8 . โทรสาร : 0-2591-1707 . E-mail : prdmsc@dmsc.mail.go.th

เว็บไซต์ https://www3.dmsc.moph.go.th/ 

หมายเหตุ ราคาและระยะเวลาขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ