“เอื้ออารีฟู้ด แปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นไลฟ์สไตล์”

เพราะอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งเสริมเติมแต่งรสชาติ ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทย รสชาติของอาหารไทยมีความจัดจ้าน เครื่องปรุงวัตถุดิบพืชผลเกษตรไทย นั้นเต็มไปด้วยรสชาติที่ต่างประเทศไม่มี เช่น กระเทียมไทย ที่จัดว่าเป็นกระเทียมที่มีรสสัมผัสเป็นเอกลักษณ์ หาไม่ได้จากที่ไหนในโลก 

บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส รวมถึงเครื่องเคียงในอาหาร ด้วยมาตรฐานในด้านความสะอาด และมาตรฐานในระบบมาตรฐานสากล ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดที่อยากสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ที่ช่วยตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยและให้บริการที่ดีที่สุด 

.

จากตลาดสด สู่ระบบโรงงาน

แรกเริ่มตั้งต้นกิจการตั้งแต่รุ่นพ่อ อยู่ที่ปากคลองตลาดมา 50 ปี ทำธุรกิจขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ จำพวกผัก พริกมาบดขาย ในสมัยก่อนนั้นคั่วกันแบบบ้าน ๆ ใส่ถุงไปขายลูกค้าตามตลาดสด หลังจากคุณพ่อเสีย คุณฉัตรชัย วชิระเธียรชัย ในวัย 18 ปี ได้ใช้ชีวิตอยู่ในตลาดขายพืชผักย่านทรงวาด จึงมีโอกาสได้เห็นความเคลื่อนไหวของการซื้อขายกระเทียมในตลาดอยู่ตลอด จนสังเกตเห็นว่ากระเทียมนั้นถูกส่งเข้ามาเป็นคันรถ แต่ขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน จึงเริ่มทำการซื้อกระเทียมมาเปิดหน้าร้านขาย 24 ชั่วโมง เมื่อขายไปขายมาก็พบว่า กระเทียมลูกใหญ่เป็นขนาดที่ลูกค้าตลาดสดไม่ต้องการ ทำให้เริ่มคิดหาหนทางจัดการวัตถุดิบวิธีใหม่ ๆ โดยใช้กระเทียมที่ยังขายไม่ออก ด้วยการติดต่อส่งกระเทียมลูกใหญ่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม โดยยอมขายขาดทุน เพื่อระบายสินค้าให้หมด แต่กลับได้รายการสั่งซื้อสินค้าอื่นๆ จากทางโรงงานกลับมาด้วย และนี่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งวัตถุดิบกระเทียมเข้าสู่ระบบโรงงานอุตสาหกรรม ต่อยอดให้ทางร้านมีรายการสั่งซื้อใหม่ ๆ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ

.

แตกไลน์ตามฝัน สู่สินค้าระดับมาตรฐาน

เพราะมีความฝัน จากเวลาที่ไปร้านสุกี้ แล้วสังเกตเห็นว่าทุกโต๊ะกินกระเทียม จึงเกิดความคิดที่จะนำกระเทียมไปเสนอลูกค้ากลุ่มร้านอาหารที่มีการใช้กระเทียม และมีสาขาหลายแห่ง เมื่อคิดได้แล้วจึงโทรไปเสนอขายสินค้าแต่ทางลูกค้าบอกกลับมาว่า ถ้าจะให้ใช้ กระเทียมก็ต้องมีมาตรฐาน นำไปสู่จุดเริ่มต้นของการสร้างระบบมาตรฐานมาควบคุมการผลิต โดยต้องกลับไปยกระดับตั้งแต่วิธีคิดให้กับเกษตรกร เริ่มทำห้อง แล้ววางระบบ มีโต๊ะให้นั่งคัดกระเทียม โดยควบคุมเวลา เพื่อจะได้คำนวณต้นทุนได้ทันที เป็นการสร้างวิธีคิดให้กับทีมงานก่อน แล้วจึงก็ลงมือทำ ให้เกษตรกรได้เห็นผลว่าถ้าคิดแบบนี้ลงมือทำแบบนี้แล้วจะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเอง เมื่อรักษามาตรฐานได้ ก็ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ในสายตาของลูกค้า

.

สังเกต สร้างโอกาส

ด้วยความชำนาญในเรื่องของกระเทียม จึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ ที่จะทำกระเทียมพร้อมทาน จากข้อเสนอแนะของผู้บริโภคต่างชาติ ที่ไม่ชอบเปลือกกระเทียมที่กินแล้วติดฟัน นำเรื่องนี้มาใช้เป็นกรณีศึกษา ทดลองไม่ใส่เปลือกทำเป็นเนื้อกระเทียมล้วน ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า

นอกจากนั้นยังมีการสังเกตรูปแบบไลฟ์สไตล์การกินใหม่ ๆ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียสินค้า เช่น คนเมืองต้องการความรวดเร็ว สะดวกมากขึ้น ประจวบกับได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่มีการใช้ผงโรยข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติเช่นเดียวกัน จึงเกิดไอเดียสินค้าผงโรยข้าวใหม่ โดยปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทย แบ่งออกเป็น 4 ภาค 4 รสชาติ ได้แก่ ผงโรยข้าวลาบไทยอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผงโรยข้าวลาบเหนือ (ภาคเหนือ), ผงโรยข้าวคั่วกลิ้งปักษ์ใต้ (ภาคใต้), และผงโรยข้าวสไตล์ซีฟู้ด (ภาคตะวันออก)

.

ปัจจุบัน เอื้ออารี ฟู้ด ได้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ และในด้านการผลิตและพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทเครื่องปรุงรส, เครื่องเทศ รวมถึงสินค้าอบแห้ง อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า และรับผลิตตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

โดยมีรายการสินค้าหลากหลาย กว่า 100 รายการ ครอบคลุมความต้องการในทุกประเภทธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น

  • สินค้าเพื่ออุตสาหกรรม เช่น วัตถุดิบการเกษตรคัดขนาด อาทิ กระเทียม หอมใหญ่ พริก เป็นต้น
  • สินค้าจ้างทำเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร เช่น วัตถุดิบผ่านกรรมวิธีตามความต้องการ อาทิ กระเทียมเจียว พริกป่น ผักอบแห้ง ผักผงต่างๆ เป็นต้น
  • สินค้าจ้างทำเพื่อผู้ส่งออก เช่น รับผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในกลุ่มเครื่องปรุงรสสำหรับสำหรับผู้ต้องการทำแบรนด์สินค้าเพื่อส่งออกไปทำตลาด

.

เอื้ออารี ฟู้ด มองการทำธุรกิจว่า วิธีคิดกับวิธีทำต้องไปพร้อมกัน เพราะว่าถ้าเกิดคิดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่เกิด หรือถ้าเกิดทำแต่ไม่คิดก็จะมีโอกาสสูญเสีย เพราะฉะนั้นถ้าใช้วิธีคิดไปคู่วิธีทำ ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จอย่างแน่นอน

.

ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการ สามารถติดต่อได้ที่

บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด

27/3 หมู่ 7 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 และ

10 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160

โทร.: 02 868 4994, 02 868 6736-7

โทรสาร: 02 457 5206

อีเมล: auraree@aurareefood.com, sales@aurareefood.com

Line ID: @chefaree

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

รวมเครื่องมือภาษีอากรออนไลน์ สะดวก ง่าย จัดการได้ที่บ้าน

Tax from Home มาตรการที่่ช่วยให้ผู้ประกอบการการจัดการภาษีง่าย ๆ เข้าถึงการทำธุุรกรรมภาษีได้ในทุุกมิติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่่ www.rd.go.th ประกอบด้วย

 

การลงทะเบียน e-Registration 

บริการสมัครสมาชิกออนไลน์ แจ้งเพิ่ม - ลดประเภทแบบ ที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ขอรหัสผ่านใหม่ เปลี่ยนรหัสผ่าน แจ้งยกเลิก และอื่น ๆ สามารถยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์ และส่งเอกสารผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่เสียเวลาเดินทางและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้้อโรค

 

การยื่นแบบ e-Filing 

ขอยื่นแบบภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำแบบออนไลน์ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องไปยื่นด้วยตนเอง พรอ้มให้คุณได้รับสิทธิพิเศษขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ทำให้ธุุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสดได้มีประสิทธิภาพยิ่่งขึ้้น

 

การชำระภาษี e-Payment 

บริการนำส่งข้อมูลชำระเงิน ยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยธนาคารที่่ร่วมโครงการ จะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมนการใช้บริการ สำหรับแบบที่ยื่นและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์

 

การคืนเงินภาษี e-Refund 

บริการสอบถามข้อมูลการขอคือภาษี ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้เสียภาษีที่่ชำระภาษีไว้เกิน กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินให้ผ่านระบบ PromptPay ที่่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทั้งลดปริมาณการใช้กระดาษและ Lean กระบวนงานให้คล่องตัวยิ่่งขึ้้น

 

รวมสิทธิลดหย่อนภาษี ที่ www.rd.go.th 

ระบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)

จากเดิมที่ผู้ทำบุุญต้องเดินทางไปบริจาคที่่หน่วยรับบริจาค โดยจะได้รับหลักฐานการบริจาคในรููปแบบกระดาษ เช่น ใบอนุุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือหนังสือขอบคุุณ เพื่่อนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี แต่ระบบ e-Donation อำนวยความสะดวกให้บริจาคได้ทุุกที่ทุุกเวลา และไม่ต้องเก็บหลักฐานเป็นกระดาษเหมือนที่่ผ่านมา แต่ข้อมููลการบริจาคในระบบ e-Donation จะถููกส่งเข้าไปเก็บในฐานข้อมููลของกรมสรรพากร และเมื่่อถึงเวลายื่่นแบบฯ ประจำปี ผู้บริจาคก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทันที โดยไม่ต้องนำหลักฐานมาแสดงและพิสููจน์ต่อเจ้าหน้าที่่ ซึ่่งจะทำให้ได้รับเงินภาษีคืนรวดเร็วยิ่งขึ้้น

 

ระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp)

ในกรณีที่ต้องทำสัญญาหรือตราสารบางลักษณะ กฎหมายกำหนดให้ต้องติดอากรแสตมป์ หากมููลค่าของสัญญานั้้นเกินกว่าที่่กฎหมายกำหนด เดิมผู้ประกอบการต้องไปชำระค่าอากรแสตมป์ที่สำนักงานสรรพากร ไม่สามารถซื้้ออากรแสตมป์มาติดสัญญาได้ 

ปัจจุุบันกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp) ทำให้การชำระค่าอากรแสตมป์ง่าย สะดวก รวดเร็ว ลดปัญหาการคำนวณมููลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด 5 ประเภทของสัญญาหรือตราสารที่่สามารถชำระค่าอากรแสตมป์ผ่านระบบ e-Stamp ได้แก่ สัญญาจ้างทำของ, สัญญากู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกงินเกินบัญชีจากธนาคาร, ใบมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ และสัญญาค้ำประกัน

 

บริการตรวจสอบสิทธค่าลดหย่นของผู้เสียภาษี (MyTax Account) 

เครื่่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ที่่ใคร ๆ ก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้้ว ทำให้ช่วยลดภาระในการเก็บเอกสารของผู้เสียภาษี เสมือนกรมสรรพากรจัดเก็บเอกสารในรููปแบบดิจิทัลให้แทน จึงลดขั้้นตอนการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่่ การยื่่นแบบภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดาและการคืนภาษีก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้้น

 

จากตัวอย่างเครื่่องมือทางภาษีอากรที่่ภาครัฐให้บริการแก่ผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีช่วยให้ภาครัฐสามารถสร้างนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการมากขึ้้น ทำให้การทำธุุรกรรมภาษีเป็นเรื่่องง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดั ด้านเวลาและสถานที่่อีกต่อไป



อ่านเพิ่มเติม :

https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=85#book/

บทความแนะนำ

ทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ายุคใหม่ อะไรมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการทำธุรกิจ คือ “คนไม่ซื้อ” เพราะปัญหาทุกเรื่องจะยังคงสามารถแก้ไข และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไปได้ตราบใดที่สินค้าหรือบริการของเรายังขายได้อยู่ แต่ถ้าของขายไม่ได้ หรือไม่มีคนซื้อนั้นหมายความว่า “เงิน” ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของธุรกิจกำลังจะหายไป แต่นอกจากขายของได้ มีคนซื้อแล้วก็ต้องสามารถเก็บเงินได้ด้วย การที่เราจะสามารถทำให้คนซื้อของเราได้นั้น สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมาก คือการเข้าใจพฤติกรรม (Consumer Behavior) ว่าอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งตัดสินใจซื้อของ มาอัปเดตกันสักนิดว่าทุกวันนี้ อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของ ของลูกค้ากันบ้าง

 

รีวิว

เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมากในการตัดสินซื้อ ข้อมูลการสำรวจพบว่า 88% ของลูกค้านั้นเชื่อการรีวิวบนโลกออนไลน์มากพอกับการแนะนำจากคนรอบข้าง การรีวิวนั้นก็สามารถเกิดได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น การขอลูกค้ารีวิวสินค้าของเราสั้น ๆ เพื่อแลกรับสิทธิหรือส่วนลด หรือหลาย ๆ แบรนด์เลือกที่จะจ้าง Influencer ให้รีวิวสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบสินค้า หรือบริการของเราด้วย

 

อินฟลูเอนเซอร์

จากข้อแรกที่เป็นเรื่องของการรีวิวที่หลาย ๆ แบรนด์เลือกใช้ คือ Influencer Marketing จากข้อมูลการสำรวจพบว่ากว่า 92% ของผู้ทำแบบสำรวจค่อนข้างเชื่อถือในคำแนะนำหรือการรีวิวจากบุคคลอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้จักก็ตาม หลายแบรนด์จึงเลือกที่จะพยายามส่งสินค้าให้กับเหล่า Influencer เพื่อให้พูดถึงแบรนด์ หรือสินค้าของตนเอง ซึ่งมีทั้งแบบส่งให้ลองใช้ฟรีและแบบที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจ้างให้รีวิว

 

ความง่าย

แม้ว่าสินค้าและบริการนั้นจะดีมากขนาดไหน แต่ถ้าขั้นตอนในการใช้บริการนั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้

 

ตัวตนของแบรนด์

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับตัวตนและจุดยืนของแบรนด์มากขึ้น เพราะแบรนด์ที่เขาเลือกใช้นั้นนอกจากซื้อเพราะต้องการใช้สินค้าแล้ว ในอีกทางหนึ่งยังเปรียบเสมือนสิ่งที่บ่งบอกตัวตนและความเชื่อของพวกเขาด้วย

 

ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสินใจ

ข้อนี้จะชัดที่สุดถ้าหากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีราคาที่ค่อนข้างสูง หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้ซื้อกันบ่อย ๆ อย่าง รถ บ้าน ทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ สินค้าเหล่านี้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะสอบถามจากคนรอบตัว ขอความคิดเห็นจากคนรอบข้าง ค้นหาข้อมูลจากทั้งรีวิวที่เป็นผู้ใช้จริง เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ

 

ท้ายที่สุดไม่ว่าแบรนด์จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีมากแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็นตัวการันตีความสำเร็จในระยะยาวเสมอ หากปราศจากเรื่องพื้นฐานอย่าง คุณภาพ การบริการที่ดี และที่สำคัญที่สุด สินค้าหรือบริการนั้นสามารถมาช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ๆ หรือเปล่า



อ่านเพิ่มเติม :

www.krungsri.com/th/plearn-plearn/customers-decide-to-buy

บทความแนะนำ

Peggy's Cove Resort รีสอร์ตหมู่บ้านชาวประมง ที่คงความใส่ใจไว้เต็มร้อย

Peggy's Cove Resort รีสอร์ตหมู่บ้านชาวประมง ที่คงความใส่ใจไว้เต็มร้อย

เมื่อความชอบกับหนทางธุรกิจ มีจุดร่วมเดียวกัน จากหมู่บ้านชาวประมงในแคนาดา ก่อกำเนิด Peggy's Cove Resort รีสอร์ตในหมู่บ้านชาวประมง ที่มีดีไซน์ที่แตกต่าง เพื่อมอบประสบการณ์การพักผ่อนแบบใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการใส่ใจรายละเอียดเต็มร้อยในทุก ๆ พื้นที่ ต้ังแต่กระบวนการคิด concept การเชื่อมโยงกับลูกค้า จนถึงกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การพักผ่อนของลูกค้ามีความประทับใจที่สุด 

.

จุดเด่นคือการใส่ใจรายละเอียด 

Peggy’s Cove Resort เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างรีสอร์ต บนพื้นที่ของครอบครัวที่หาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี  ซึ่งมีหมู่บ้านชาวประมงหัวแหลมอยู่ในละแวกนั้น ทำให้เกิดความคิดที่จะหยิบ concept ของหมู่บ้านชาวประมงมาสื่อสารเล่าเรื่อง สอดคล้องกับความประทับใจในหมู่บ้านชาวประมงตะวันตก Peggy's Cove ที่สวยงามในประเทศแคนาดา จึงเป็นไอเดียสนุก ๆ ที่อยากจะนำเข้ามาไว้ที่นี่ ซึ่งได้มีการใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่การเริ่มต้นก่อสร้าง โดยศึกษาในเรื่องของสถาปัตยกรรมอย่างจริงจังและได้มีการติดต่อสอบถามขอรายละเอียดจากทางชุมชนหมู่บ้านชาวประมงที่แคนาดาโดยตรง ว่าจะสร้างรีสอร์ตที่มีต้นแบบจากชุมชน Peggy's Cove ซึ่งทางชุมชนก็ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อพัฒนารีสอร์ตให้คนไทยและคนเอเชียได้เห็น

หมู่บ้าน Peggy’s Cove มีจุดเด่นหลายอย่าง ในด้านสถาปัตยกรรม และสีสันของหมู่บ้าน ทางรีสอร์ตได้มีการใช้สีตามหมู่บ้านที่นั่นจริง ๆ มีการจำลองทะเลสาบไว้กลางหมู่บ้านให้สามารถลงไปเล่นน้ำได้ ที่สำคัญอีกสองจุดก็คือโบสถ์ประจำหมู่บ้านที่สร้างไว้เป็นล็อบบี้ และประภาคารที่เป็นร้านกาแฟ 

นอกเหนือจากตัวสถาปัตยกรรมที่ถอดแบบมาจากทางแคนาดาแล้ว ยังมีการนำวัฒนธรรมหรือลักษณะของชาวประมงตะวันตกมาใช้เป็นลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลูกค้าประทับใจ เช่น แตรโบราณที่ชาวประมงสมัยก่อนจะเป่าเมื่อเรือเทียบท่า ก็นำมาทำเป็นลำโพงเซรามิคไว้ในห้องพัก ซึ่งลูกค้าชื่นชอบมาก และยังมีชุดชาวประมงตะวันตกให้ลูกค้าใส่ ทำให้ลูกค้าสนุกสนานและประทับใจจนอยากแชร์ต่อในช่องทางออนไลน์ 

.

ใส่หัวใจให้บริการ

ความสวยงามของรีสอร์ตเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง แต่หัวใจหลักที่ทาง Peggy's Cove Resort ใส่ใจคือด้านการบริการ ด้วยแนวคิดที่ว่าสิ่งสวยงามทางสถาปัตยกรรมที่ไหนก็สร้างได้ แต่เรื่องราว และคุณค่าของเรื่องเล่าที่เราบอกต่อนั้นมีคุณค่ามากกว่าสถาปัตยกรรม Peggy's Cove Resort จึงเน้นการบริการที่ดีให้ประทับใจลูกค้า และมีการใส่เรื่องราวเพื่อเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อลูกค้ากับพนักงาน โดยการปลูกฝังภาพลักษณ์ของแบรนด์ ให้พนักงานรู้สึกว่าลูกค้าทุกท่านคือแขกที่มาเยี่ยมหมู่บ้านจริง ๆ การต้อนรับและการดูแลได้ให้ความรู้สึกได้ว่าเจ้าของบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือน ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้เข้าไปพักที่หมู่บ้านชาวประมง peggy’s cove ไม่ใช่แค่การไปพักที่รีสอร์ต สร้างความประทับใจให้ลูกค้าอยากบอกต่อ และอยากกลับมาใช้บริการอีก 

.

สานสัมพันธ์กับชุมชน 

ในช่วงหน้าร้อน ทางรีสอร์ตมีการจัด one day trip พาลูกค้าล่องเรือชมหมู่บ้านชาวประมง และไปชมปลาฉลามในโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนรอบ ๆ กับทางรีสอร์ต และยังมีการเช่าเรือชาวประมงหลังจากชาวประมงใช้หาปลาเสร็จ เป็นการให้รายได้เสริมแก่พวกเขา และเป็นการให้นักท่องเที่ยว ได้มาซึมซับบรรยากาศของหมู่บ้านชาวประมงที่หาดคุ้งวิมานจริงๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทางรีสอร์ตได้มอบให้กับทางชุมชน สิ่งที่ได้กลับมาคือวัตถุดิบจากทะเลที่สดและสะอาด แถมยังได้กิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า

Peggy's Cove Resort และชาวบ้านในหมู่บ้านชาวประมง มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมของหมู่บ้านชาวประมง ทางรีสอร์ตก็ได้นำไปบอกเล่ารายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่อให้แก่ลูกค้า  รวมถึงพนักงานในรีสอร์ตก็เป็นคนจากหมู่บ้านชาวประมงเอง จึงสามารถช่วยเหลือทางรีสอร์ตได้หลายอย่าง เช่น การแนะนำชนิดของปลาและอาหารทะเลในแต่ละช่วงฤดู  ซึ่งทาง Peggy's cove มองว่า การทำเช่นนี้เมีแต่ได้ทั้งสามฝ่าย คือทั้งตัวรีสอร์ต ชาวบ้าน และลูกค้า

.

พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน

Peggy's Cove Resort พร้อมปรับตัวและเรียนรู้จากลูกค้าไปด้วยตลอด จากการสังเกตและใส่ใจและรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การสังเกตมุมซ้ำ ๆ ในการถ่ายรูปของลูกค้าที่แชร์ในช่องทางออนไลน์ จึงทำเป็นจุดถ่ายรูปให้ลูกค้า เพื่อเป็นมุมที่เห็นแล้วทราบได้เลยว่านี่คือ Peggy’s Cove Resort และยังเปลี่ยนมุมมองการทำการตลาดจากที่เน้นกลุ่มลูกค้าครอบครัวและคู่รัก เริ่มขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกเน้นด้านการทำการตลาดด้วยสื่อออนไลน์และวิดีโอต่าง ๆ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มาประชุมสัมมนา และได้มีการสร้างห้องประชุมเพิ่มเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

.

ผู้ที่สนใจที่พักหรือบริการ สามารถติดต่อ Peggy's Cove Resort ได้ที่

Peggy's Cove Resort

หาดคุ้งวิมาน, 44 หมู่ 7,ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี 22170

website: www.peggyscoveresort.com

Tel: 039-460345

Email: info.peggyscove@gmail.com

Facebook: www.facebook.com/peggyscoveresort

Instagram: @peggyscoveresort

Line: @peggyscove

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

 

บทความแนะนำ

SME กว่า 200 ราย แห่ยื่นเข้าร่วม All Business Matching ขายสินค้าผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น

 

SME กว่า 200 ราย แห่ยื่นเข้าร่วม All Business Matching ขายสินค้าผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น

“ซีพี ออลล์” เดินหน้าโครงการกองหนุน SME ช่วยกลุ่มธุรกิจสู้วิกฤติ COVID-19 ผนึกกำลังหน่วยงานรัฐ-เอกชน เปิด Fast Track ช่องทางด่วนนำสินค้าเข้าจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น ผ่านกิจกรรม “All Business Matching” ในรูปแบบออนไลน์ เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงช่องทางขายใหม่ กระจายความเสี่ยง สร้างรายได้ฝ่าวิกฤติ ด้าน SME แห่ยื่นร่วมจับคู่ธุรกิจกว่า 200 ราย 700 ชนิดสินค้า เล็งเปิดจับคู่รอบใหม่ต่อเนื่อง พ.ย.นี้

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ร่วมกับหลากหลายพันธมิตรจัดกิจกรรม All Business Matching เพื่อเป็นช่องทางพิเศษ (Fast Track) ช่วยเหลือ SME ให้มีโอกาสจับคู่ธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์เป็นครั้งแรก และสามารถเข้าถึงช่องทางการขายโมเดิร์นเทรดของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ได้ง่ายขึ้น จนสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีกว่า 100 ราย และในปีนี้ที่ SME ยังคงเผชิญกับวิกฤติ COVID-19 ซีพี ออลล์ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม SME มาโดยตลอด จึงเร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังผ่านโครงการกองหนุน SME ได้แก่ กองหนุนองค์ความรู้ กองหนุนความร่วมมือ และกองหนุนช่องทางขาย พร้อมจับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เดินหน้าจัดกิจกรรม All Business Matching ต่อเนื่อง

 “ในสถานการณ์ COVID-19 การมีช่องทางการขายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จะช่วยทั้งกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME และเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ผ่านช่องทางใหม่ๆ ในสภาวการณ์ที่ยากลำบาก All Business Matching จะช่วยเป็นกองหนุนช่องทางขาย ขยายช่องทางการตลาดและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความแข็งแกร่ง และเป็นทั้งกองหนุนองค์ความรู้และกองหนุนความร่วมมือ เพื่อให้มีโอกาสเติบโตและก้าวผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปได้” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

 

สำหรับกิจกรรม All Business Matching ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งพันธมิตรเดิมและพันธมิตรใหม่ รวม 8 ราย ประกอบด้วย  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ,กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.), เวทีประกวด 7 Innovation Awards และหอการค้าไทย โดยหน่วยงานพันธมิตรทั้งหมดจะคัดสรร SME ที่มีศักยภาพซึ่งหน่วยงานให้การสนับสนุนเข้าร่วมจับคู่ธุรกิจ

นายยุทธศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้มีกลุ่ม SME จากทั้งกลุ่มพันธมิตรและผู้สนใจสมัครเข้ามาเอง เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 ราย มีจำนวนสินค้ากว่า 700 รายการ ครอบคลุมสินค้าหลากหลายกลุ่ม อาทิ ผักและผลไม้, ขนมและของทานเล่น, เครื่องดื่ม, Health & Beauty โดยจะพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าที่ส่งเข้าสู่ระบบของบริษัท เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ในรูปแบบออนไลน์

ทั้งนี้ SME จำนวนกว่า 200 ราย จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.กลุ่ม Ready to serve (พร้อมขาย) คือ กลุ่มที่มีมาตรฐานเข้มข้นผ่านเกณฑ์ของบริษัท กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พร้อมวางจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น และเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ ของซีพี ออลล์ ทันที

2.กลุ่ม Ready to develop (พร้อมพัฒนาต่อ) เป็นกลุ่มที่สินค้ามีความน่าสนใจและมีศักยภาพในการเติบโต แต่ยังต้องพัฒนาเพิ่มอีกเล็กน้อย ในกลุ่มนี้ทางทีมซีพี ออลล์จะเข้าไปเป็นกองหนุนองค์ความรู้ และร่วมพัฒนาสินค้าจนสามารถเข้าจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดได้   

3.กลุ่ม Ready to learn (พร้อมเรียนรู้) สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ บริษัทจะเข้าไปให้คำแนะนำในเบื้องต้นให้รับทราบถึงสิ่งที่ยังขาด หากต้องการจะเข้าจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรด เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการและนำกลับเสนอใหม่ได้ตลอดเวลา

นายยุทธศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทจะเดินหน้ากิจกรรม All Business Matching อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเร่งประสานความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ๆให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการขยายตลาดและเพิ่มศักยภาพให้กับ SME อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความถี่ในการจัดเป็น 4 ครั้งต่อปี เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับ SMEสำหรับกิจกรรม “All Business Matching” ในครั้งถัดไป จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลงทะเบียนสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2564 สมัครและสอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อความยั่งยืน บมจ.ซีพี ออลล์ โทร 02-071-9751, 091-004-9106  อีเมล์ dpc_sme@cpall.co.th 

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ บริษัท อเกต คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  หรือ สำนักบริหารการสื่อสารองค์กร บมจ.ซีพี ออลล์

คุณจิรากุล เขียวพะวงศ์ (ตาล) 093 942 9442                                    

คุณธนิกานต์ สงฤทธิ์ (เปิ้น) 096 164 2998

คุณสาวิตรี เกลี้ยงเกิด (ก้อย) 092 292 4624

คุณทิพย์รัตน์ พรหมอินทร์ (แป้ง) 094 559 6536

Email: agatepr@agatethai.com

บทความแนะนำ